สวัสดีครับ ผมมีโอกาสได้เดินทางไปประเทศญี่ปุ่นอีกครั้ง ซึ่งในครั้งนี้จะไปด้วยกัน 3 เมือง คือเกียวโต นารา และโอซาก้า และการเดินทางครั้งนี้ผมได้ติดกล้องตัวเล็กอย่างเจ้า Canon EOS M3 พร้อมเลนส์ EF-M 18-55 IS FTM f.3.5-5.6 (เทียบเท่ากับเลนส์ 28-88 ของกล้อง 135) ไปด้วยเป็นบอดี้สำรองจากกล้องหลัก เพราะไม่อยากแบกอะไรที่เทอะทะและหนักมากจนเดินไป เนื่องจากการไปชมใบไม้เปลี่ยนสีที่ภูมิภาคคันไซนั้น เราจะต้องใช้พาหนะอย่างรถเมล์ และรถไฟใต้ดินซะเป็นส่วนใหญ่ กล้องเล็กๆ อย่างเจ้า Canon EOS M3 จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจในการนำไปเป็นกล้องสำรองในการถ่ายภาพครั้งนี้
ด้วยความละเอียดของเซ็นเซอร์ขนาด 24 ล้านพิกเซล แม้กล้องตัวนี้จะมีเซ็นเซอร์ขนาด APS-C ก็ตามที แต่ก็ถือได้ว่าเพียงพอแล้วกับการทำงานของผม ภาพที่ได้สามารถนำไปใช้งานตีพิมพ์ในนิตยสารได้เหลือเฟือแล้ว ดีกว่าแบกกล้องใหญ่ไป 2 บอดี้ให้หลังแอ่นเปล่าๆ ในกรณีที่การเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ไม่สะดวกและคล่องตัวแบบนี้
ผมถ่ายภาพด้วยหมวด M (Manual) ทั้งหมด และใช้เลนส์ EF-M 18-55 IS FTM f.3.5-5.6 เพียงตัวเดียวเท่านั้น เพราะไม่มีอแดปเตอร์แปลงเลนส์จากกล้อง DSLR ติดมาด้วย แต่ก็ถือว่าเพียงพอในการทำงานของผมในระดับหนึ่งก็ว่าได้
ส่วนระบบการบันทึกภาพนั้น ผมตั้งไว้เป็น RAW+JPEG และตั้งโหมดการถ่ายภาพเป็น Continue เพื่อความรวดเร็วในการถ่ายภาพอย่างต่อเนื่อง และเปิดการใช้งานการกดชัตเตอร์ด้วยจอทัชสกรีน เพื่อการโฟกัสที่แม่นยำและรวดเร็วมากขึ้นกว่าการกดปุ่มชัตเตอร์บนตัวกล้อง
สำหรับใครที่ต้องการถ่ายภาพให้เป็นภาพขาวดำจากตัวกล้องเลยก็สามารถทำได้ โดยเข้าไปที่หมวด Creative Assist และปรับแต่งได้ตามชอบใจ จะหน้าชัดหลังเบลอ สีซีเปีย สีโทนเย็น โทนร้อน ก็มีให้เลือก แต่กล้องจะบันทึกออกมาเป็นไฟล์ Jpeg เพียงเท่านั้น
ภาพนี้ถ่ายจากชั้น 2 ของ Kyoto Station ซึ่งเป็นศูนย์กลางของการเดินทางด้วยรถเมล์และรถไฟไปยังสถานที่ท่องเที่ยวอื่น
ข้อดีอีกอย่างของกล้องตัวเล็กๆ อย่าง Canon EOS M3 คือ ไม่เป็นที่สังเกตของคนทั่วไปซักเท่าไหร่ เหมือนอย่างเช่นภาพนี้ ผมใช้วิธียกกล้องขึ้นมาในระดับเอว เปิดจอพับขึ้นมา 90 องศา เปิดรูรับแสงที่ f.8 ความเร็วชัตเตอร์ 1/13 วินาที ISO 640 เปิด IS (Image Stabilizer) ในตัวกล้อง แล้วรอคนเดินผ่านมาด้านหลัง เมื่อได้จังหวะก็กดชัตเตอร์บนจอทัชสกรีน อย่างต่อเนื่องไป 3-4 ช็อต เป็นอันเสร็จพิธี
2 ภาพด้านล่างก็ใช้วิธีการเดียวกัน
สำหรับภาพเซ็ตนี้เป็นไฟล์ภาพ Jpeg จากกล้อง โดยนำมาปรับสีและคอนทราสต์เพิ่มเติมอีกเล็กน้อย
ทางน้ำเล็กๆ ระหว่างทางเดินไปวัด Sanzen-in ในเมือง Ohara
ลวดลายของใบเมเปิ้ลบนหลังคาผ้าใบร้านขายของริมทางเดินไปยังวัด Sanzen-in
สวนภายในวัด Sanzen-in
ปลาคาร์ฟสีสันสวยงามและใบเมเปิ้ล
สำหรับภาพนี้ผมใช้วิธีวางกล้องลงเรี่ยๆ กับพื้น แล้วพับจอตั้งขึ้นมาเพื่อต้องการมุมมองที่เรียผ่านรากไม่ที่ปกคลุมไปด้วยมอสสีเขียว ไปยังตัวอาคารของวัด
ข้ามมาที่ศาลเจ้า Fushimi Inari กันบ้างครับ กับเสาประตูโทเรอิ 2 ภาพ สุดท้ายจากไฟล์ Jpeg
สำหรับภาพนี้ถ่ายโดยใช้วิธีย้ายจุดโฟกัสบนตัวกล้องไปยังตัวเจดีย์แล้วกดปุ่มชัตเตอร์ในการบันทึกภาพ หรือจะใช้วิธีเอานิ้วจิ้มลงไปบนจอทัชสกรีนข้างหลังกล้องเพื่อเลือกจุดโฟกัสและกดชัตเตอร์ไปพร้อมกันเลยก็ได้ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกกว่า แต่ต้องถือกล้องให้นิ่งพอสมควรภาพจึงจะไม่สั่นไหว
ภาพนี้ก็เช่นกัน ใช้วิธีเอานิ้วจิ้มไปหลังจอทัชสกรีนของกล้อง ให้เลนส์โฟกัสที่ตัวปราสาทสีทองพร้อมกดชัตเตอร์ไปในตัว แม้จะมีอะไรกีดขวางรกรุงรังอยู่เยอะแยะ การโฟกัสด้วยวิธีนี้ก็ทำได้ง่ายดายและรวดเร็วใช้เวลาเพียงแค่เสี้ยววินาทีแค่นั้นเอง ทำให้การถ่ายภาพกลายเป็นเรื่องสนุกขึ้นอีก โดยที่ไม่ต้องมานั่งอารมณ์เสียกับอาการวืดวาดหาจุดโฟกัสเหมือนกับวิธีอื่น
ภาพนี้ก็ใช้วิธีการเดียวกันกับภาพด้านบน การโฟกัสแม่นยำเข้าเป้าดีทีเดียว ไมามีอาการวืดวาดให้เห็น
มาดูภาพอื่นๆ ในเซ็ตนี้กันบ้างครับ ใช้วิธีการเดียวกัน
สีสันของใบไม้ในวัด Yoshimine-dera
จอแบบทัชสกรีนมีประโยชน์อย่างยิ่งในบางสถานการณ์ที่ต้องการความรวดเร็วในการถ่ายภาพ เหมือนกับภาพนี้ผมเลือกโฟกัสบนจอทัชสกรีนไปที่นักปั่นจักรยานมุมขวาล่าง แล้วกดชัตเตอร์
สำหรับเลนส์ EF-M 18-55 IS FTM f.3.5-5.6 ตัวนี้ จะว่าไปแล้วก็สามารถถ่ายหน้าชัดหลังเบลอได้อยู่เหมือนกัน เพียงแต่ต้องเลือกฉากหน้าและฉากหลังให้ทิ้งระยะห่างกันพอสมควรก็สามารถถ่ายแบบนี้ได้ ภาพนี้ถ่ายที่ช่วง 55 มิลลิเมตร f.5.6
ภาพนี้ถ่ายที่ช่วง 55 มิลลิเมตร f.5.6
ส่วนภาพนี้ถ่ายที่ช่วง 43 มิลลิเมตร f.5 ฉากหลังยังคงละลายได้ดี
มาดูภาพที่ถ่ายในสภาพแสงซับซ้อนกันบ้าง ซึ่งในฟังก์ชั่นของกล้อง Canon EOS M3 จะมีโหมด Auto Lighting Optimizer ให้เลือกใช้ ซึ่งจะช่วยให้การถ่ายภาพในสภาพแสงที่มีความเปรียบต่างสูงมีรายละเอียดในเงามืดเพิ่มมากขึ้น หรือใครจะเลือกใช้โหมด Highlight tone priority ซึ่งกล้องจะให้ความสำคัญกับส่วนที่สว่างเพื่อป้องกันรายละเอียดในส่วนที่สว่างของภาพไม่สูญสียรายละเอียดมากจนเกินไป ส่วนใครจะเปิดใช้โหมดไหนก็เลือกได้ตามสภาพแสง หรือใครจะไม่เปิดใช้ก็ตามสะดวก มาดูภาพตัวอย่างกันครับ ซึ่งทุกภาพผมจะเปิดการใช้งาน Auto Lighting Optimizer เอาไว้ในระดับ Standard ครับ
มาถึงการถ่ายภาพในช่วงแสงเย็น หรือช่วงทไวไลท์กันบ้าง ภาพที่ถ่ายมามีทั้งใช้ ISO 100 ไปจนถึง ISO 1600 และปิด High ISO Speed NR และ Long exp. Noise reduction ทุกภาพ เริ่มจากภาพนี้ ภาพตึก Kyoto Tower ถ่ายจากหน้า Kyoto Station ใช้ ISO 1000 f.4.5 Speed Shutter 1/20 วินาที ที่ช่วง 18 มิลลิเมตร ไม่ได้ใช้ขาตั้งกล้อง ระบบIS หรือกันสั่นยังคงทำงานได้ดี
ภาพหลวงพ่อโตหรือ หลวงพ่อ ไดบุตสึเดน แห่งวัด โทไดจิ (Todai-ji Temple) แห่งเมืองนารา ประดิฐสถานอยู่ในอาคารไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งภายในอาคารค่อนข้างมืดมาก ภาพนี้ใช้ ISO 1600 f.3.5 Shutter Speed 1/15 วินาที ที่ระยะ 18 มิลลิเมตร
ภาพนี้ถ่ายที่ริมแม่น้ำคะสึระ แถว Arashiyama ใช้ ISO 1600 f.3.5 Shutter Speed 1/25 วินาที ไม่ใช้ขาตั้งกล้อง
ศาลเจ้ายาซากะ ISO 100 f.8 Speed Shutter 2 วินาที ใช้ขาตั้งกล้อง
ศาลเจ้ายาซากะ อีกมุมหนึ่ง ISO 100 f.8 Speed Shutter 2 วินาที ใช้ขาตั้งกล้อง
ปิดท้านกันด้วยภาพนี้ ถ่ายจากย่าน Shijo Kawaramachi แหล่งช้อปปิ้งสตรีทในเมืองเกียวโต ISO 400 f.5.6 Speed Shutter 1/160 ไม่ใช้ขาตั้งกล้อง
สรุปส่งท้าย
หลังจากได้ใช้งานกล้องตัวนี้มาเป็นเวลา 10 กว่าวัน ทำให้พอสรุปได้ว่า กล้อง Canon EOS M3 นั้น เป็นกล้องขนาดเล็กพกพาสะดวกที่สามารถเปลี่ยนไปใช้เลนส์จากกล้อง DSLR ของ Conon ได้กว่า 70 ตัว โดยใช้ร่วมกับอแดปเตอร์ มีการปรับตั้งค่าการใช้งานตัวกล้องคล้ายกับกล้อง DSLR ได้เกือบจะทุกระบบ ระบบออโต้โฟกัส 49 จุด ซึ่งหากใช้กับการโฟกัสบนจอทัชสกรีน จะโฟกัสได้ดีและเร็วกว่าการแตะปุ่มชัตเตอร์บนตัวกล้องเพื่อหาโฟกัสและลั่นชัตเตอร์โดยตรง
จากการใช้งานแบตเตอรี่ที่มีไปเพียงก้อนเดียว ก็สามารถถ่ายภาพได้ทั้งวันโดยที่แบตเตอรี่ ยังใช้ไม่ถึงครึ่งก้อนซักวันเลยด้วยซ้ำ แต่ต้องอาศัยวิธีเปิดปิดกล้องบ่อย ๆ จะช่วยได้เยอะ ขนาดสภาพอากาศในเดือนพฤศจิกายน 10 กว่าองศา แบตเตอรี่ ยังเหลือเพียงพอต่อการใช้งานในแต่ละวัน
สำหรับไฟล์ภาพและสีสัน ก็อยู่ในมาตรฐานที่ดีของแคนนอนเองอยู่แล้ว แต่ถึงกระนั้นด้วยเซ็นเซอร์ขนาด APSC หากนำไปเทียบกับกล้อง DSLR ตัวใหญ่ทีมีเซ็นเซอร์รับภาพแบบ Full frame เจ้าจิ๋วอย่างกล้อง Canon EOS M3 ถือว่าคุณภาพไฟล์ที่ได้นั้นก็ยังดีอยู่ ตอบสนองในการทำงานท่องเที่ยวได้ดีมากทีเดียว หรือจะเอาไปเป็นกล้องสำรองไว้ใช้งานอาชีพในยามฉุกเฉินก็ได้
[SR] 12 วัน บนเส้นทางใบไม้เปลี่ยนสี Kyoto Nara Osaka ด้วย กล้อง Canon EOS M3
ด้วยความละเอียดของเซ็นเซอร์ขนาด 24 ล้านพิกเซล แม้กล้องตัวนี้จะมีเซ็นเซอร์ขนาด APS-C ก็ตามที แต่ก็ถือได้ว่าเพียงพอแล้วกับการทำงานของผม ภาพที่ได้สามารถนำไปใช้งานตีพิมพ์ในนิตยสารได้เหลือเฟือแล้ว ดีกว่าแบกกล้องใหญ่ไป 2 บอดี้ให้หลังแอ่นเปล่าๆ ในกรณีที่การเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ไม่สะดวกและคล่องตัวแบบนี้
ผมถ่ายภาพด้วยหมวด M (Manual) ทั้งหมด และใช้เลนส์ EF-M 18-55 IS FTM f.3.5-5.6 เพียงตัวเดียวเท่านั้น เพราะไม่มีอแดปเตอร์แปลงเลนส์จากกล้อง DSLR ติดมาด้วย แต่ก็ถือว่าเพียงพอในการทำงานของผมในระดับหนึ่งก็ว่าได้
ส่วนระบบการบันทึกภาพนั้น ผมตั้งไว้เป็น RAW+JPEG และตั้งโหมดการถ่ายภาพเป็น Continue เพื่อความรวดเร็วในการถ่ายภาพอย่างต่อเนื่อง และเปิดการใช้งานการกดชัตเตอร์ด้วยจอทัชสกรีน เพื่อการโฟกัสที่แม่นยำและรวดเร็วมากขึ้นกว่าการกดปุ่มชัตเตอร์บนตัวกล้อง
สำหรับใครที่ต้องการถ่ายภาพให้เป็นภาพขาวดำจากตัวกล้องเลยก็สามารถทำได้ โดยเข้าไปที่หมวด Creative Assist และปรับแต่งได้ตามชอบใจ จะหน้าชัดหลังเบลอ สีซีเปีย สีโทนเย็น โทนร้อน ก็มีให้เลือก แต่กล้องจะบันทึกออกมาเป็นไฟล์ Jpeg เพียงเท่านั้น
ภาพนี้ถ่ายจากชั้น 2 ของ Kyoto Station ซึ่งเป็นศูนย์กลางของการเดินทางด้วยรถเมล์และรถไฟไปยังสถานที่ท่องเที่ยวอื่น
ข้อดีอีกอย่างของกล้องตัวเล็กๆ อย่าง Canon EOS M3 คือ ไม่เป็นที่สังเกตของคนทั่วไปซักเท่าไหร่ เหมือนอย่างเช่นภาพนี้ ผมใช้วิธียกกล้องขึ้นมาในระดับเอว เปิดจอพับขึ้นมา 90 องศา เปิดรูรับแสงที่ f.8 ความเร็วชัตเตอร์ 1/13 วินาที ISO 640 เปิด IS (Image Stabilizer) ในตัวกล้อง แล้วรอคนเดินผ่านมาด้านหลัง เมื่อได้จังหวะก็กดชัตเตอร์บนจอทัชสกรีน อย่างต่อเนื่องไป 3-4 ช็อต เป็นอันเสร็จพิธี
2 ภาพด้านล่างก็ใช้วิธีการเดียวกัน
สำหรับภาพเซ็ตนี้เป็นไฟล์ภาพ Jpeg จากกล้อง โดยนำมาปรับสีและคอนทราสต์เพิ่มเติมอีกเล็กน้อย
ทางน้ำเล็กๆ ระหว่างทางเดินไปวัด Sanzen-in ในเมือง Ohara
ลวดลายของใบเมเปิ้ลบนหลังคาผ้าใบร้านขายของริมทางเดินไปยังวัด Sanzen-in
สวนภายในวัด Sanzen-in
ปลาคาร์ฟสีสันสวยงามและใบเมเปิ้ล
สำหรับภาพนี้ผมใช้วิธีวางกล้องลงเรี่ยๆ กับพื้น แล้วพับจอตั้งขึ้นมาเพื่อต้องการมุมมองที่เรียผ่านรากไม่ที่ปกคลุมไปด้วยมอสสีเขียว ไปยังตัวอาคารของวัด
ข้ามมาที่ศาลเจ้า Fushimi Inari กันบ้างครับ กับเสาประตูโทเรอิ 2 ภาพ สุดท้ายจากไฟล์ Jpeg
สำหรับภาพนี้ถ่ายโดยใช้วิธีย้ายจุดโฟกัสบนตัวกล้องไปยังตัวเจดีย์แล้วกดปุ่มชัตเตอร์ในการบันทึกภาพ หรือจะใช้วิธีเอานิ้วจิ้มลงไปบนจอทัชสกรีนข้างหลังกล้องเพื่อเลือกจุดโฟกัสและกดชัตเตอร์ไปพร้อมกันเลยก็ได้ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกกว่า แต่ต้องถือกล้องให้นิ่งพอสมควรภาพจึงจะไม่สั่นไหว
ภาพนี้ก็เช่นกัน ใช้วิธีเอานิ้วจิ้มไปหลังจอทัชสกรีนของกล้อง ให้เลนส์โฟกัสที่ตัวปราสาทสีทองพร้อมกดชัตเตอร์ไปในตัว แม้จะมีอะไรกีดขวางรกรุงรังอยู่เยอะแยะ การโฟกัสด้วยวิธีนี้ก็ทำได้ง่ายดายและรวดเร็วใช้เวลาเพียงแค่เสี้ยววินาทีแค่นั้นเอง ทำให้การถ่ายภาพกลายเป็นเรื่องสนุกขึ้นอีก โดยที่ไม่ต้องมานั่งอารมณ์เสียกับอาการวืดวาดหาจุดโฟกัสเหมือนกับวิธีอื่น
ภาพนี้ก็ใช้วิธีการเดียวกันกับภาพด้านบน การโฟกัสแม่นยำเข้าเป้าดีทีเดียว ไมามีอาการวืดวาดให้เห็น
มาดูภาพอื่นๆ ในเซ็ตนี้กันบ้างครับ ใช้วิธีการเดียวกัน
สีสันของใบไม้ในวัด Yoshimine-dera
จอแบบทัชสกรีนมีประโยชน์อย่างยิ่งในบางสถานการณ์ที่ต้องการความรวดเร็วในการถ่ายภาพ เหมือนกับภาพนี้ผมเลือกโฟกัสบนจอทัชสกรีนไปที่นักปั่นจักรยานมุมขวาล่าง แล้วกดชัตเตอร์
สำหรับเลนส์ EF-M 18-55 IS FTM f.3.5-5.6 ตัวนี้ จะว่าไปแล้วก็สามารถถ่ายหน้าชัดหลังเบลอได้อยู่เหมือนกัน เพียงแต่ต้องเลือกฉากหน้าและฉากหลังให้ทิ้งระยะห่างกันพอสมควรก็สามารถถ่ายแบบนี้ได้ ภาพนี้ถ่ายที่ช่วง 55 มิลลิเมตร f.5.6
ภาพนี้ถ่ายที่ช่วง 55 มิลลิเมตร f.5.6
ส่วนภาพนี้ถ่ายที่ช่วง 43 มิลลิเมตร f.5 ฉากหลังยังคงละลายได้ดี
มาดูภาพที่ถ่ายในสภาพแสงซับซ้อนกันบ้าง ซึ่งในฟังก์ชั่นของกล้อง Canon EOS M3 จะมีโหมด Auto Lighting Optimizer ให้เลือกใช้ ซึ่งจะช่วยให้การถ่ายภาพในสภาพแสงที่มีความเปรียบต่างสูงมีรายละเอียดในเงามืดเพิ่มมากขึ้น หรือใครจะเลือกใช้โหมด Highlight tone priority ซึ่งกล้องจะให้ความสำคัญกับส่วนที่สว่างเพื่อป้องกันรายละเอียดในส่วนที่สว่างของภาพไม่สูญสียรายละเอียดมากจนเกินไป ส่วนใครจะเปิดใช้โหมดไหนก็เลือกได้ตามสภาพแสง หรือใครจะไม่เปิดใช้ก็ตามสะดวก มาดูภาพตัวอย่างกันครับ ซึ่งทุกภาพผมจะเปิดการใช้งาน Auto Lighting Optimizer เอาไว้ในระดับ Standard ครับ
มาถึงการถ่ายภาพในช่วงแสงเย็น หรือช่วงทไวไลท์กันบ้าง ภาพที่ถ่ายมามีทั้งใช้ ISO 100 ไปจนถึง ISO 1600 และปิด High ISO Speed NR และ Long exp. Noise reduction ทุกภาพ เริ่มจากภาพนี้ ภาพตึก Kyoto Tower ถ่ายจากหน้า Kyoto Station ใช้ ISO 1000 f.4.5 Speed Shutter 1/20 วินาที ที่ช่วง 18 มิลลิเมตร ไม่ได้ใช้ขาตั้งกล้อง ระบบIS หรือกันสั่นยังคงทำงานได้ดี
ภาพหลวงพ่อโตหรือ หลวงพ่อ ไดบุตสึเดน แห่งวัด โทไดจิ (Todai-ji Temple) แห่งเมืองนารา ประดิฐสถานอยู่ในอาคารไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งภายในอาคารค่อนข้างมืดมาก ภาพนี้ใช้ ISO 1600 f.3.5 Shutter Speed 1/15 วินาที ที่ระยะ 18 มิลลิเมตร
ภาพนี้ถ่ายที่ริมแม่น้ำคะสึระ แถว Arashiyama ใช้ ISO 1600 f.3.5 Shutter Speed 1/25 วินาที ไม่ใช้ขาตั้งกล้อง
ศาลเจ้ายาซากะ ISO 100 f.8 Speed Shutter 2 วินาที ใช้ขาตั้งกล้อง
ศาลเจ้ายาซากะ อีกมุมหนึ่ง ISO 100 f.8 Speed Shutter 2 วินาที ใช้ขาตั้งกล้อง
ปิดท้านกันด้วยภาพนี้ ถ่ายจากย่าน Shijo Kawaramachi แหล่งช้อปปิ้งสตรีทในเมืองเกียวโต ISO 400 f.5.6 Speed Shutter 1/160 ไม่ใช้ขาตั้งกล้อง
สรุปส่งท้าย
หลังจากได้ใช้งานกล้องตัวนี้มาเป็นเวลา 10 กว่าวัน ทำให้พอสรุปได้ว่า กล้อง Canon EOS M3 นั้น เป็นกล้องขนาดเล็กพกพาสะดวกที่สามารถเปลี่ยนไปใช้เลนส์จากกล้อง DSLR ของ Conon ได้กว่า 70 ตัว โดยใช้ร่วมกับอแดปเตอร์ มีการปรับตั้งค่าการใช้งานตัวกล้องคล้ายกับกล้อง DSLR ได้เกือบจะทุกระบบ ระบบออโต้โฟกัส 49 จุด ซึ่งหากใช้กับการโฟกัสบนจอทัชสกรีน จะโฟกัสได้ดีและเร็วกว่าการแตะปุ่มชัตเตอร์บนตัวกล้องเพื่อหาโฟกัสและลั่นชัตเตอร์โดยตรง
จากการใช้งานแบตเตอรี่ที่มีไปเพียงก้อนเดียว ก็สามารถถ่ายภาพได้ทั้งวันโดยที่แบตเตอรี่ ยังใช้ไม่ถึงครึ่งก้อนซักวันเลยด้วยซ้ำ แต่ต้องอาศัยวิธีเปิดปิดกล้องบ่อย ๆ จะช่วยได้เยอะ ขนาดสภาพอากาศในเดือนพฤศจิกายน 10 กว่าองศา แบตเตอรี่ ยังเหลือเพียงพอต่อการใช้งานในแต่ละวัน
สำหรับไฟล์ภาพและสีสัน ก็อยู่ในมาตรฐานที่ดีของแคนนอนเองอยู่แล้ว แต่ถึงกระนั้นด้วยเซ็นเซอร์ขนาด APSC หากนำไปเทียบกับกล้อง DSLR ตัวใหญ่ทีมีเซ็นเซอร์รับภาพแบบ Full frame เจ้าจิ๋วอย่างกล้อง Canon EOS M3 ถือว่าคุณภาพไฟล์ที่ได้นั้นก็ยังดีอยู่ ตอบสนองในการทำงานท่องเที่ยวได้ดีมากทีเดียว หรือจะเอาไปเป็นกล้องสำรองไว้ใช้งานอาชีพในยามฉุกเฉินก็ได้