สวัสดีครับ เดือนนี้ผมมีโอกาสได้นำเอากล้องในระดับ Mid - Range DSLR จาก Canon มาใช้งาน ซึ่งเป็นกล้องรุ่นใหม่ล่าสุดซึ่งเพิ่งเปิดตัวไปในเดือน พฤษภาคม 59 ที่ผ่านมานี่เอง นั่นก็คือกล้อง Canon EOS 80D โดยผมได้พกพาเจ้ากล้องรุ่นนี้ออกไปถ่ายภาพยังสถานที่ต่าง ๆ ภายในระยะเวลาประมาณอาทิตย์กว่าๆ ซึ่งกล้อง Canon EOS 80D ตัวนี้มาพร้อมกับเลนส์นาโนตัวใหม่ EF-S 18-135 mm f/3.5-5.6 IS USM (Nano) ซึ่งเทียบเท่ากับเลนส์ระยะประมาณ 28-210 mm. ของกล้อง DSLR Fullframe เนื่องจากกล้องตัวนี้มีเซ็นเซอร์ CMOS ในขนาด APS-C (22.5 x 15.0 mm.) หรือจะเรียกในภาษาแบบเราๆ ท่านๆ ก็คือกล้องตัวคูณนั่นเอง ซึ่งกล้องตัวนี้มีอัตราการคูณอยู่ที่ประมาณ 1.6
คงต้องออกตัวไว้ก่อนครับว่า โดยปกติแล้วผมไม่ค่อยจะได้สัมผัสใช้งานหรือคุ้นชินกับกล้องในระดับ Semi Pro ซักเท่าไหร่นัก เรียกว่าแทบจะไม่ได้ใช้งานในอาชีพเลยก็ว่าได้ เพราะปกติจะใช้แต่กล้อง Fullframe เป็นหลักในการทำงาน แต่จะว่าไปแล้วหลักของการถ่ายภาพมันก็เหมือนกัน และก็ใช้วิธีการเดียวกัน จะต่างกันแค่เพียงขนาดของเซ็นเซอร์เท่า¬นั้นเอง
กล้อง Canon EOS 80D ใช้เซ็นเซอร์ที่มีความละเอียดของพิกเซลเพิ่มขึ้นจากกล้องตระกูลเดิมคือ 70D จากเดิมซึ่งมีความละเอียดอยู่ที่ 20 ล้านพิกเซล เพิ่มขึ้นมาเป็น 24 ล้านพิกเซล ทำให้ภาพถ่ายมีคุณภาพและมีความคมชัดเพิ่มมากขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง แถมยังเป็น Dual Pixel CMOS Sensor ทำให้กล้องสามารถโฟกัสได้รวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น บวกกับระบบโฟกัสแบบใหม่ซึ่งเป็น Cross-Type ที่ให้มาถึง 45 จุด แถมตรงกลางยังเป็น Dual Cross-Type ซะอีก แม้จะใช้รูรับแสงที่ f.8 ก็ตาม กล้องก็ยังสามารถโฟกัสแบบ Cross-Type ได้ถึง 27 จุดกันเลยทีเดียว ทำให้การโฟกัสแมนยำและรวดเร็วมากขึ้น และกล้อง Canon EOS 80D ตัวนี้ยังสามารถโฟกัสในที่มืดได้ถึง -3 Ev เพียงแต่ต้องใช้ระบบโฟกัสบริเวณกลางภาพเพียงเท่านั้น สำหรับชิปประมวลผลนั้น กล้อง Canon EOS 80D ใช้ชิปประมวลผลตัวใหม่ซึ่งเป็น DIGIC 6 เมื่อรวมกับระบบออโต้โฟกัสแบบใหม่แล้ว ทำให้การถ่ายภาพและการประมวลผลของกล้องรวดเร็วมากยิ่งขึ้น คงจะถูกอกถูกใจสำหรับใครที่ชื่นชอบการถ่ายภาพในระดับเริ่มต้นได้เป็นอย่างดี
กล้อง Canon EOS 80D รุ่นนี้ยังมีฟังก์ชั่นอื่นๆ อีกหลายอย่างที่น่าใช้ไม่ว่าจะเป็น EOS Scene Analysis ที่สามารถตรวจจับการกะพริบของคลื่นแสงความถี่สูงที่ตามองไม่เห็น คือผู้ใช้สามารถเปิดโหมด Anti-flicker สำหรับการถ่ายภาพในอาคารซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแสงจากหลอดไฟ เพื่อลดปัญหาแสงในภาพไม่สม่ำเสมอและสีเพี้ยนได้ หรือ Colour Tracking AF ที่ค้นหาจุดโฟกัสด้วยการตรวจจับสีผิวเพื่อเพิ่มความแม่นยำในเรื่องของแสงในการถ่ายภาพพอร์เทรต และอีกหลายๆ ฟังก์ชั่นให้เลือกใช้งานครับ สำหรับสเปคและข้อมูลเต็มๆ สามารถไปอ่านดูได้จากเว็บไซต์ของกล้องรุ่นนี้ได้โดยตรงครับ
คราวนี้ก็มาดูการใช้งานในสภาพแสงสีจริงกันดูบ้างครับ เริ่มต้นจากศาลเจ้ามูลนิธิธรรมกตัญญู (เสียนหลอไต้เทียนกง) เลนส์ซูมตัวใหม่ติดกล้อง EF-S18-135mm f/3.5-5.6 IS USM (Nano) ซึ่งเป็นเลนส์ที่พัฒนาต่อยอดมาจากตัวเดิมโดยออกแบบมอเตอร์ให้มีขนาดเล็กลง (Nano USM) จะว่าไปแล้วเลนส์ตัวนี้มันสามารถถ่ายอะไรได้หลากหลายได้ดีทีเดียวเรียกได้ว่าขาเที่ยวสามารถพกเลนส์ตัวนี้ตัวเดียวก็เที่ยวได้ทั่วไทยแล้ว ด้วยระยะเทียบเท่ากับเลนส์ Fullframe ที่ 28-210 มิลลิเมตร โดยประมาณ และยังเป็นเลนส์ที่มีมอเตอร์ USM (Ultrasonic Motor) ทำให้โฟกัสได้รวดเร็วและนิ่มนวลและเงียบมาก แถมยังมีระบบกันสั่น ( IS : Image Stabilizer) ที่ช่วยป้องกันภาพสั่นไหวในขณะถ่ายภาพในสภาพแสงน้อย จากข้อมูลสามารถป้องกันการสั่นไหวได้ประมาณ 4 สต๊อป
จากการใช้งานเลนส์ตัวนี้พอว่ามี Distortion แบบ Barrell (แบบป่องกลาง) อยู่พอสมควรในช่วงกว้างสุดที่ 18 มิลลิเมตร แต่ก็สามารถแก้ได้ไม่ยากเพียงไม่กี่คลิ๊กในโปรแกรม Lightroom หรือใน Photoshop
ภาพแรกถ่ายโดยไม่ได้เปิด Auto Lighting Optimizer สามารถเก็บรายละเอียดของใบไม้ในร่มได้ดีทีเดียวเอาไฟล์มาทำต่อได้สะดวกขึ้น ISO 100 f.11 Shutter Speed 1/80 ถ่ายที่ระยะ 18 มิลลิเมตร
มุมหน้าตรงของศาลเจ้ามูลนิธิธรรมกตัญญู ISO 100 f.11 Shutter Speed 1/100 ถ่ายที่ระยะ 18 มิลลิเมตร
ซุ้มประตูชั้นที่ 2 ของศาสเจ้ามูลนิธิธรรมกตัญญู ISO 100 f.11 Shutter Speed 1/125 ถ่ายที่ระยะ 18 มิลลิเมตร
ตัวอาคารของศาสเจ้ามูลนิธิธรรมกตัญญู ISO 100 f.11 Shutter Speed 1/200 ถ่ายที่ระยะ 18 มิลลิเมตร
หลังคาของตัวศาลเจ้า ภาพนี้ถ่ายที่ระยะ 72 มิลลิเมตร ISO 100 f.11 Shutter Speed 1/200
มาดูภาพเซ็ตอื่นกันบ้าง ภาพเซ็ตนี้ใช้วิธีการถ่ายโดยใช้ Live View จากจอพับด้านหลัง โดยวางกล้องลงกับพื้น ลืมบอกไปว่ากล้อง Canon EOS 80D รุ่นนี้เป็นจอทัชสกรีน คือสามารถเลือกจุดโฟกัสที่เราจะถ่ายหรือลั่นชัตเตอร์ได้เลยที่จอด้านหลัง และยังตั้งได้ว่าจะให้โฟกัสอย่างเดียวหรือโฟกัสแล้วลั่นชัตเตอร์ไปเลยในครั้งเดียวกัน โดยจะมีสัญลักษณ์รูปกล้องเล็กๆ ทางมุมล่างซ้ายของจอจะเป็นคำสั่ง Touch Shutter ว่าจะให้ทำงานหรือไม่ทำงานก็จิ้มเอาได้เลย
เงาสะท้อนจากพื้นกระเบื้องหินอ่อน ISO 100 f.11 Shutter Speed 1/125 ถ่ายที่ระยะ 18 มิลลิเมตร
ภาพนี้ก็ใช้วิธีการเดียวกัน วางกล้องลงกับพื้น ISO 100 f.11 Shutter Speed 1/200 ถ่ายที่ระยะ 18 มิลลิเมตร
กล้อง Canon EOS 80D สามารถถ่ายภาพได้ที่ความเร็ว 7 ภาพต่อวินาทีหากใช้ช่องมองภาพ และถ่ายที่ความเร็ว 5 ภาพต่อวินาทีหากถ่ายด้วย Live View ทำให้เราสามารถบันทึกเหตุการณ์หรือสิ่งที่เราจะถ่ายได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ทำให้พลาดโอกาสในการบันทึกช่วงเวลาแค่เสี้ยววินาทีลดน้อยลง ได้ภาพดี ๆ เพิ่มมากขึ้น ลองมาดูกันครับว่าเราสามารถไปถ่ายอะไรได้บ้างกับความเร็ว 7 ภาพต่อวินาที
ภาพนี้ถ่ายโดยการตั้งหมวดการถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูง High-speed continuous และเลือกระบบออโต้โฟกัสเป็นแบบ AI Servo และเลือกโหมดการโฟกัสอัตโนมัต 45 จุด แล้วกดชัตเตอร์ไล่มาตั้งแต่รถไฟเหาะเริ่มตีโค้งพ้นเสาสีขาวมาเล็กน้อย โดยกดชัตเตอร์ไปประมาณ 10 ภาพแล้วเลือกภาพที่เราชอบหรือจังหวะดีที่สุด ISO 200 f.5.6 Shutter Speed 1/800 ถ่ายที่ระยะ 76 มิลลิเมตร
ภาพนี้ใช้วิธีการตั้งค่าเหมือนกันกับภาพบน ISO 320 f.4.5 Shutter Speed 1/1000 ถ่ายที่ระยะ 35 มิลลิเมตร
ลองมาดูภาพอื่นๆ กันบ้างครับ ISO 200 f.5 Shutter Speed 1/640 ถ่ายที่ระยะ 64 มิลลิเมตร
ISO 200 f.5 Shutter Speed 1/640 ถ่ายที่ระยะ 62 มิลลิเมตร
ISO 400 f.5.6 Shutter Speed 1/640 ถ่ายที่ระยะ 135 มิลลิเมตร
ISO 640 f.5 Shutter Speed 1/1600 ถ่ายที่ระยะ 50 มิลลิเมตร
คราวนี้ลองมาดูการถ่ายภาพโดยใช้ Live View กันบ้างครับ จะถ่ายได้ที่ความเร็ว 5 ภาพวินาที การตั้งค่าก็เหมือนกับการถ่ายด้วยช่องมองภาพ ผมกดบันทึกภาพไปประมาณ 8 ภาพ ทุกภาพถ่ายที่ ISO 400 f.5.6 Shutter Speed 1/60 ถ่ายที่ระยะ 135 มิลลิเมตร เพราะอยากให้ปีกผีเสื้อยังคงเคลื่อนไหวเพื่อจะดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น
ซึ่งภาพที่ผมเลือกมา 1 ภาพก็เป็นภาพนี้ครับ ISO 400 f.5.6 Shutter Speed 1/60 ถ่ายที่ระยะ 135 มิลลิเมตร
ภาพนี้ก็เช่นเดียวกัน ใช้ Live View ในการถ่ายเพราะไม่ต้องก้มลงไปนอนกับพื้น ทำให้การถ่ายภาพสะดวกมากขึ้น ก็ได้ภาพอย่างที่เราต้องการ ISO 400 f.5.6 Shutter Speed 1/60 ถ่ายที่ระยะ 135 มิลลิเมตร
ผีเสื้อกำลังบินเข้าไปตอมดอกไม้ ISO 1000 f.5.6 Shutter Speed 1/640 ถ่ายที่ระยะ 135 มิลลิเมตร
ISO 1250 f.5.6 Shutter Speed 1/250 เลนส์ EF 400 mm f.5.6L USM
ISO 400 f.5.6 Shutter Speed 1/640 เลนส์ EF 400 mm f.5.6L USM
สำหรับช่วงเลนส์ EF-S18-135mm f/3.5-5.6 IS USM (Nano) ตัวนี้ หลายคนอาจจะยังนึกภาพไม่ออกว่ามันสามารถถ่ายได้ระยะใกล้ไกลแตกต่างกันแค่ไหน เพียงพอหรือไม่กับการพกเลนส์ตัวเดียวเที่ยวทั่วไทย ผมเลยลองถ่ายมาให้ดูกันครับว่าจะเป็นยังไง
ภาพแรกถ่ายที่ช่วง 18 มิลลิเมตร ISO 100 f.11 Shutter Speed 1/160
ภาพที่สองถ่ายที่ช่วง 135 มิลลิเมตร ISO 100 f.11 Shutter Speed 1/100
ลองดูภาพอีกซักชุดนึงแล้วกันครับ ภาพแรกถ่ายที่ช่วง 18 มิลลิเมตร ISO 100 f.11 Shutter Speed 1/160
ภาพที่สองถ่ายที่ช่วง 50 มิลลิเมตร ISO 100 f.11 Shutter Speed 1/160
ส่วนภาพที่สามถ่ายที่ช่วง 135 มิลลิเมตร ISO 100 f.11 Shutter Speed 1/160
สรุปจากที่ได้ทดลองใช้งานมาในระยะเวลาประมาณสิบกว่าวัน กล้อง Canon EOS 80D พร้อมด้วยเลนส์นาโนตัวใหม่ EF-S 18-135 mm f/3.5-5.6 IS USM (Nano) เป็นกล้องที่กดชัตเตอร์ได้สนุกมาก ยิ่งถ้าตั้งโหมดการถ่ายภาพเป็น High-speed continuous และตั้งโหมดการโฟกัสไม่ว่าจะเป็นแบบ 1 จุด โซนเล็ก โซนใหญ่ หรือจะเป็น อัตโนมัต 45 จุด ก็ถ่ายได้สนุกไม่แพ้กัน ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องขึ้นอยู่กับลักษณะซับเจ็คหรือสิ่งที่เราจะถ่ายด้วย ด้วยช่องมองภาพที่มีมาให้แบบเห็นภาพได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ไม่ต้องกังวลกับสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาติดอยู่ในเฟรมภาพ อีกทั้งจอแสดงผลแบบทัชสกรีนก็ตอบสนองต่อการสัมผัสใช้งานได้ดี ลื่นไหลไม่มีอาการหน่วง ทำให้สะดวกรวดเร็วในการโฟกัสซับเจ็คที่เราจะได้รวดเร็วและง่ายมากขึ้น ในกรณีที่เราใช้ Live View ในการถ่ายภาพ รวมทั้งการปรับตั้งค่ากล้องต่างๆ ก็สามารถปรับได้ด้วยจอทัชสกรีนเช่นเดียวกัน
เหมาะมากสำหรับผู้ที่เพิ่งจะเริ่มต้นการถ่ายภาพ หรือแม้กระทั้งผู้ใช้งานในระดับกึ่งโปร เพราะฟังก์ชั่นการทำงานก็ตอบสนองการถ่ายภาพได้อย่างเพียงพอทั้งขนาดของความละเอียดของภาพ ระบบโฟกัสที่ให้มาอย่างมากมาย ระบบหน้าจอสัมผัส และ Noise ที่ลดลงหากเทียบกับรุ่นก่อนหน้านี้ รวมไปถึงฟังก์ชั่นต่างๆ ที่มีอยู่ในกล้องรุ่นนี้อีกเยอะแยะ
[SR] Canon EOS 80D : กับการทดลองใช้งาน
สวัสดีครับ เดือนนี้ผมมีโอกาสได้นำเอากล้องในระดับ Mid - Range DSLR จาก Canon มาใช้งาน ซึ่งเป็นกล้องรุ่นใหม่ล่าสุดซึ่งเพิ่งเปิดตัวไปในเดือน พฤษภาคม 59 ที่ผ่านมานี่เอง นั่นก็คือกล้อง Canon EOS 80D โดยผมได้พกพาเจ้ากล้องรุ่นนี้ออกไปถ่ายภาพยังสถานที่ต่าง ๆ ภายในระยะเวลาประมาณอาทิตย์กว่าๆ ซึ่งกล้อง Canon EOS 80D ตัวนี้มาพร้อมกับเลนส์นาโนตัวใหม่ EF-S 18-135 mm f/3.5-5.6 IS USM (Nano) ซึ่งเทียบเท่ากับเลนส์ระยะประมาณ 28-210 mm. ของกล้อง DSLR Fullframe เนื่องจากกล้องตัวนี้มีเซ็นเซอร์ CMOS ในขนาด APS-C (22.5 x 15.0 mm.) หรือจะเรียกในภาษาแบบเราๆ ท่านๆ ก็คือกล้องตัวคูณนั่นเอง ซึ่งกล้องตัวนี้มีอัตราการคูณอยู่ที่ประมาณ 1.6
คงต้องออกตัวไว้ก่อนครับว่า โดยปกติแล้วผมไม่ค่อยจะได้สัมผัสใช้งานหรือคุ้นชินกับกล้องในระดับ Semi Pro ซักเท่าไหร่นัก เรียกว่าแทบจะไม่ได้ใช้งานในอาชีพเลยก็ว่าได้ เพราะปกติจะใช้แต่กล้อง Fullframe เป็นหลักในการทำงาน แต่จะว่าไปแล้วหลักของการถ่ายภาพมันก็เหมือนกัน และก็ใช้วิธีการเดียวกัน จะต่างกันแค่เพียงขนาดของเซ็นเซอร์เท่า¬นั้นเอง
กล้อง Canon EOS 80D ใช้เซ็นเซอร์ที่มีความละเอียดของพิกเซลเพิ่มขึ้นจากกล้องตระกูลเดิมคือ 70D จากเดิมซึ่งมีความละเอียดอยู่ที่ 20 ล้านพิกเซล เพิ่มขึ้นมาเป็น 24 ล้านพิกเซล ทำให้ภาพถ่ายมีคุณภาพและมีความคมชัดเพิ่มมากขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง แถมยังเป็น Dual Pixel CMOS Sensor ทำให้กล้องสามารถโฟกัสได้รวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น บวกกับระบบโฟกัสแบบใหม่ซึ่งเป็น Cross-Type ที่ให้มาถึง 45 จุด แถมตรงกลางยังเป็น Dual Cross-Type ซะอีก แม้จะใช้รูรับแสงที่ f.8 ก็ตาม กล้องก็ยังสามารถโฟกัสแบบ Cross-Type ได้ถึง 27 จุดกันเลยทีเดียว ทำให้การโฟกัสแมนยำและรวดเร็วมากขึ้น และกล้อง Canon EOS 80D ตัวนี้ยังสามารถโฟกัสในที่มืดได้ถึง -3 Ev เพียงแต่ต้องใช้ระบบโฟกัสบริเวณกลางภาพเพียงเท่านั้น สำหรับชิปประมวลผลนั้น กล้อง Canon EOS 80D ใช้ชิปประมวลผลตัวใหม่ซึ่งเป็น DIGIC 6 เมื่อรวมกับระบบออโต้โฟกัสแบบใหม่แล้ว ทำให้การถ่ายภาพและการประมวลผลของกล้องรวดเร็วมากยิ่งขึ้น คงจะถูกอกถูกใจสำหรับใครที่ชื่นชอบการถ่ายภาพในระดับเริ่มต้นได้เป็นอย่างดี
กล้อง Canon EOS 80D รุ่นนี้ยังมีฟังก์ชั่นอื่นๆ อีกหลายอย่างที่น่าใช้ไม่ว่าจะเป็น EOS Scene Analysis ที่สามารถตรวจจับการกะพริบของคลื่นแสงความถี่สูงที่ตามองไม่เห็น คือผู้ใช้สามารถเปิดโหมด Anti-flicker สำหรับการถ่ายภาพในอาคารซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแสงจากหลอดไฟ เพื่อลดปัญหาแสงในภาพไม่สม่ำเสมอและสีเพี้ยนได้ หรือ Colour Tracking AF ที่ค้นหาจุดโฟกัสด้วยการตรวจจับสีผิวเพื่อเพิ่มความแม่นยำในเรื่องของแสงในการถ่ายภาพพอร์เทรต และอีกหลายๆ ฟังก์ชั่นให้เลือกใช้งานครับ สำหรับสเปคและข้อมูลเต็มๆ สามารถไปอ่านดูได้จากเว็บไซต์ของกล้องรุ่นนี้ได้โดยตรงครับ
คราวนี้ก็มาดูการใช้งานในสภาพแสงสีจริงกันดูบ้างครับ เริ่มต้นจากศาลเจ้ามูลนิธิธรรมกตัญญู (เสียนหลอไต้เทียนกง) เลนส์ซูมตัวใหม่ติดกล้อง EF-S18-135mm f/3.5-5.6 IS USM (Nano) ซึ่งเป็นเลนส์ที่พัฒนาต่อยอดมาจากตัวเดิมโดยออกแบบมอเตอร์ให้มีขนาดเล็กลง (Nano USM) จะว่าไปแล้วเลนส์ตัวนี้มันสามารถถ่ายอะไรได้หลากหลายได้ดีทีเดียวเรียกได้ว่าขาเที่ยวสามารถพกเลนส์ตัวนี้ตัวเดียวก็เที่ยวได้ทั่วไทยแล้ว ด้วยระยะเทียบเท่ากับเลนส์ Fullframe ที่ 28-210 มิลลิเมตร โดยประมาณ และยังเป็นเลนส์ที่มีมอเตอร์ USM (Ultrasonic Motor) ทำให้โฟกัสได้รวดเร็วและนิ่มนวลและเงียบมาก แถมยังมีระบบกันสั่น ( IS : Image Stabilizer) ที่ช่วยป้องกันภาพสั่นไหวในขณะถ่ายภาพในสภาพแสงน้อย จากข้อมูลสามารถป้องกันการสั่นไหวได้ประมาณ 4 สต๊อป
จากการใช้งานเลนส์ตัวนี้พอว่ามี Distortion แบบ Barrell (แบบป่องกลาง) อยู่พอสมควรในช่วงกว้างสุดที่ 18 มิลลิเมตร แต่ก็สามารถแก้ได้ไม่ยากเพียงไม่กี่คลิ๊กในโปรแกรม Lightroom หรือใน Photoshop
ภาพแรกถ่ายโดยไม่ได้เปิด Auto Lighting Optimizer สามารถเก็บรายละเอียดของใบไม้ในร่มได้ดีทีเดียวเอาไฟล์มาทำต่อได้สะดวกขึ้น ISO 100 f.11 Shutter Speed 1/80 ถ่ายที่ระยะ 18 มิลลิเมตร
มุมหน้าตรงของศาลเจ้ามูลนิธิธรรมกตัญญู ISO 100 f.11 Shutter Speed 1/100 ถ่ายที่ระยะ 18 มิลลิเมตร
ซุ้มประตูชั้นที่ 2 ของศาสเจ้ามูลนิธิธรรมกตัญญู ISO 100 f.11 Shutter Speed 1/125 ถ่ายที่ระยะ 18 มิลลิเมตร
ตัวอาคารของศาสเจ้ามูลนิธิธรรมกตัญญู ISO 100 f.11 Shutter Speed 1/200 ถ่ายที่ระยะ 18 มิลลิเมตร
หลังคาของตัวศาลเจ้า ภาพนี้ถ่ายที่ระยะ 72 มิลลิเมตร ISO 100 f.11 Shutter Speed 1/200
มาดูภาพเซ็ตอื่นกันบ้าง ภาพเซ็ตนี้ใช้วิธีการถ่ายโดยใช้ Live View จากจอพับด้านหลัง โดยวางกล้องลงกับพื้น ลืมบอกไปว่ากล้อง Canon EOS 80D รุ่นนี้เป็นจอทัชสกรีน คือสามารถเลือกจุดโฟกัสที่เราจะถ่ายหรือลั่นชัตเตอร์ได้เลยที่จอด้านหลัง และยังตั้งได้ว่าจะให้โฟกัสอย่างเดียวหรือโฟกัสแล้วลั่นชัตเตอร์ไปเลยในครั้งเดียวกัน โดยจะมีสัญลักษณ์รูปกล้องเล็กๆ ทางมุมล่างซ้ายของจอจะเป็นคำสั่ง Touch Shutter ว่าจะให้ทำงานหรือไม่ทำงานก็จิ้มเอาได้เลย
เงาสะท้อนจากพื้นกระเบื้องหินอ่อน ISO 100 f.11 Shutter Speed 1/125 ถ่ายที่ระยะ 18 มิลลิเมตร
ภาพนี้ก็ใช้วิธีการเดียวกัน วางกล้องลงกับพื้น ISO 100 f.11 Shutter Speed 1/200 ถ่ายที่ระยะ 18 มิลลิเมตร
กล้อง Canon EOS 80D สามารถถ่ายภาพได้ที่ความเร็ว 7 ภาพต่อวินาทีหากใช้ช่องมองภาพ และถ่ายที่ความเร็ว 5 ภาพต่อวินาทีหากถ่ายด้วย Live View ทำให้เราสามารถบันทึกเหตุการณ์หรือสิ่งที่เราจะถ่ายได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ทำให้พลาดโอกาสในการบันทึกช่วงเวลาแค่เสี้ยววินาทีลดน้อยลง ได้ภาพดี ๆ เพิ่มมากขึ้น ลองมาดูกันครับว่าเราสามารถไปถ่ายอะไรได้บ้างกับความเร็ว 7 ภาพต่อวินาที
ภาพนี้ถ่ายโดยการตั้งหมวดการถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูง High-speed continuous และเลือกระบบออโต้โฟกัสเป็นแบบ AI Servo และเลือกโหมดการโฟกัสอัตโนมัต 45 จุด แล้วกดชัตเตอร์ไล่มาตั้งแต่รถไฟเหาะเริ่มตีโค้งพ้นเสาสีขาวมาเล็กน้อย โดยกดชัตเตอร์ไปประมาณ 10 ภาพแล้วเลือกภาพที่เราชอบหรือจังหวะดีที่สุด ISO 200 f.5.6 Shutter Speed 1/800 ถ่ายที่ระยะ 76 มิลลิเมตร
ภาพนี้ใช้วิธีการตั้งค่าเหมือนกันกับภาพบน ISO 320 f.4.5 Shutter Speed 1/1000 ถ่ายที่ระยะ 35 มิลลิเมตร
ลองมาดูภาพอื่นๆ กันบ้างครับ ISO 200 f.5 Shutter Speed 1/640 ถ่ายที่ระยะ 64 มิลลิเมตร
ISO 200 f.5 Shutter Speed 1/640 ถ่ายที่ระยะ 62 มิลลิเมตร
ISO 400 f.5.6 Shutter Speed 1/640 ถ่ายที่ระยะ 135 มิลลิเมตร
ISO 640 f.5 Shutter Speed 1/1600 ถ่ายที่ระยะ 50 มิลลิเมตร
คราวนี้ลองมาดูการถ่ายภาพโดยใช้ Live View กันบ้างครับ จะถ่ายได้ที่ความเร็ว 5 ภาพวินาที การตั้งค่าก็เหมือนกับการถ่ายด้วยช่องมองภาพ ผมกดบันทึกภาพไปประมาณ 8 ภาพ ทุกภาพถ่ายที่ ISO 400 f.5.6 Shutter Speed 1/60 ถ่ายที่ระยะ 135 มิลลิเมตร เพราะอยากให้ปีกผีเสื้อยังคงเคลื่อนไหวเพื่อจะดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น
ซึ่งภาพที่ผมเลือกมา 1 ภาพก็เป็นภาพนี้ครับ ISO 400 f.5.6 Shutter Speed 1/60 ถ่ายที่ระยะ 135 มิลลิเมตร
ภาพนี้ก็เช่นเดียวกัน ใช้ Live View ในการถ่ายเพราะไม่ต้องก้มลงไปนอนกับพื้น ทำให้การถ่ายภาพสะดวกมากขึ้น ก็ได้ภาพอย่างที่เราต้องการ ISO 400 f.5.6 Shutter Speed 1/60 ถ่ายที่ระยะ 135 มิลลิเมตร
ผีเสื้อกำลังบินเข้าไปตอมดอกไม้ ISO 1000 f.5.6 Shutter Speed 1/640 ถ่ายที่ระยะ 135 มิลลิเมตร
ISO 1250 f.5.6 Shutter Speed 1/250 เลนส์ EF 400 mm f.5.6L USM
ISO 400 f.5.6 Shutter Speed 1/640 เลนส์ EF 400 mm f.5.6L USM
สำหรับช่วงเลนส์ EF-S18-135mm f/3.5-5.6 IS USM (Nano) ตัวนี้ หลายคนอาจจะยังนึกภาพไม่ออกว่ามันสามารถถ่ายได้ระยะใกล้ไกลแตกต่างกันแค่ไหน เพียงพอหรือไม่กับการพกเลนส์ตัวเดียวเที่ยวทั่วไทย ผมเลยลองถ่ายมาให้ดูกันครับว่าจะเป็นยังไง
ภาพแรกถ่ายที่ช่วง 18 มิลลิเมตร ISO 100 f.11 Shutter Speed 1/160
ภาพที่สองถ่ายที่ช่วง 135 มิลลิเมตร ISO 100 f.11 Shutter Speed 1/100
ลองดูภาพอีกซักชุดนึงแล้วกันครับ ภาพแรกถ่ายที่ช่วง 18 มิลลิเมตร ISO 100 f.11 Shutter Speed 1/160
ภาพที่สองถ่ายที่ช่วง 50 มิลลิเมตร ISO 100 f.11 Shutter Speed 1/160
ส่วนภาพที่สามถ่ายที่ช่วง 135 มิลลิเมตร ISO 100 f.11 Shutter Speed 1/160
สรุปจากที่ได้ทดลองใช้งานมาในระยะเวลาประมาณสิบกว่าวัน กล้อง Canon EOS 80D พร้อมด้วยเลนส์นาโนตัวใหม่ EF-S 18-135 mm f/3.5-5.6 IS USM (Nano) เป็นกล้องที่กดชัตเตอร์ได้สนุกมาก ยิ่งถ้าตั้งโหมดการถ่ายภาพเป็น High-speed continuous และตั้งโหมดการโฟกัสไม่ว่าจะเป็นแบบ 1 จุด โซนเล็ก โซนใหญ่ หรือจะเป็น อัตโนมัต 45 จุด ก็ถ่ายได้สนุกไม่แพ้กัน ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องขึ้นอยู่กับลักษณะซับเจ็คหรือสิ่งที่เราจะถ่ายด้วย ด้วยช่องมองภาพที่มีมาให้แบบเห็นภาพได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ไม่ต้องกังวลกับสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาติดอยู่ในเฟรมภาพ อีกทั้งจอแสดงผลแบบทัชสกรีนก็ตอบสนองต่อการสัมผัสใช้งานได้ดี ลื่นไหลไม่มีอาการหน่วง ทำให้สะดวกรวดเร็วในการโฟกัสซับเจ็คที่เราจะได้รวดเร็วและง่ายมากขึ้น ในกรณีที่เราใช้ Live View ในการถ่ายภาพ รวมทั้งการปรับตั้งค่ากล้องต่างๆ ก็สามารถปรับได้ด้วยจอทัชสกรีนเช่นเดียวกัน
เหมาะมากสำหรับผู้ที่เพิ่งจะเริ่มต้นการถ่ายภาพ หรือแม้กระทั้งผู้ใช้งานในระดับกึ่งโปร เพราะฟังก์ชั่นการทำงานก็ตอบสนองการถ่ายภาพได้อย่างเพียงพอทั้งขนาดของความละเอียดของภาพ ระบบโฟกัสที่ให้มาอย่างมากมาย ระบบหน้าจอสัมผัส และ Noise ที่ลดลงหากเทียบกับรุ่นก่อนหน้านี้ รวมไปถึงฟังก์ชั่นต่างๆ ที่มีอยู่ในกล้องรุ่นนี้อีกเยอะแยะ