หลังจากที่ต้องเผชิญกับอุทกภัยครั้งใหญ่ในปี 2531 หมู่บ้านคีรีวง แห่งอำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช พื้นที่ชุมชนและสวนสมรมอันเป็นอาชีพหลักของชาวบ้านในยุคนั้น ได้ถูกน้ำป่าฉุดกระชากให้หายกลายเป็นเวิ้งตะกอนทราย
ชาวบ้านผู้รอดชีวิตจากภัยพิบัติดังกล่าว ต้องต่อสู้กับการดำเนินชีวิตที่เหลือบนแผ่นดินเกิดอันเป็นที่รัก แม้ในระยะแรกจะเรียกว่ายากแค้นแสนสาหัสก็ตามที
"ไม่ใช่แค่สิ่งปลูกสร้าง ผู้คนก็ล้มหายตายจากไปพร้อมกับน้ำป่า ทุกอย่างราบไปหมด เหลือแค่วัดที่คอยยึดเหนี่ยวจิตใจของเราไว้ด้วยกัน"
"พวกเรารอไม่ได้ ตอนนั้นเงินเก็บมีเท่าไหร่ก็ต้องเอาออกมาช่วยเหลือดูแลกันเอง จะให้รอราชการมาทำให้ทุกอย่าง เรารอไม่ไหว" ชาวบ้านกลุ่มผ้าบาติกสีธรรมชาติและกลุ่มสมุนไพรคีรีวง ช่วยกันเล่าถึงความยากลำบากของการดำรงชีวิตในช่วงเวลาหลังประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ
แต่คำว่าฟ้าหลังฝนมักจะสวยงามยังคงใช้ได้ดีกับหมู่บ้านคีรีวงแห่งนี้หลังจากที่หมู่บ้านเชิงเขาแห่งนี้ถูกกระหน่ำซัดด้วยภัยธรรมชาติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระเมตตา มีพระราชดำรัสให้กรมชลประทานดำเนินการขุดลอกคลอง ตกแต่งขอบตลิ่งด้วยหินเรียงเพื่อระบายน้ำให้ได้ทันในกรณีฝนตกหนัก และยังเป็นจุดกำเนิดของแลนด์มาร์กประจำหมู่บ้าน นั่นคือสะพานคลองท่าดี ชุมชนคีรีวงจึงขยับเข้าสู่ความปกติสุขตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา พร้อมกับคำยกย่องที่ว่า คีรีวงคือหมู่บ้านที่เหมาะแก่การสูดโอโซนมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ
แต่อย่างไรก็ดี ด้านเศรษฐกิจก็ต้องได้รับเยียวยาอย่างทันท่วงที เนื่องจากพื้นที่ประกอบอาชีพส่วนใหญ่ได้ถูกภัยพิบัติทำลายล้างลงไป การก่อร่างสร้างเศรษฐกิจชุมชนขึ้นมาใหม่ของหมู่บ้านคีรีวงก็ยังคงยึดปรัชญาแห่งองค์ราชัน หลักเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการขยายผลจากวัสดุในท้องถิ่น แปรรูป เปลี่ยนสภาพให้เกิดเป็นมูลค่าที่ทบทวี
อาทิ มังคุดสดผลใหญ่ ๆ ของคีรีวงที่มีราคาดีมาก มีราคาหน้าสวนถึงกิโลกรัมละ 300 บาท หากนำไปคัดจัดสรรเข้าห้างสรรพสินค้าในกรุงเทพฯ เมื่อปีที่ผ่านมาป้ายมังคุดคีรีวงติดตัวเลขอยู่ที่ 700 บาท แต่ถึงอย่างนั้นลูกใดที่ไม่ได้ขนาดมาตรฐานก็ยังมีประโยชน์ต่อการนำไปเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์จำพวกสบู่ โลชั่น แชมพู โดยไม่ใช่เพียงเป็นที่ต้องการของคนไทย แต่ลือชื่อไกลไปถึงต่างประเทศ ทั้งอิรัก จีน มาเลเซีย ญี่ปุ่น ฯลฯ
ส่วนใบของมังคุด ก็ยังสามารถนำไปต้มให้สีย้อมผ้าธรรมชาติ เช่นเดียวกันกับใบหูกวาง แก่นขนุน ขมิ้น แก่นฝาง ฯลฯ ผ้าย้อมสีธรรมชาติจากแหล่งอื่นอาจมีเฉดสีซ้ำ ๆ เดิม ๆ แต่สำหรับที่คีรีวง ชาวบ้านได้ค้นพบ "สีม่วงสดใส" อันได้จากแก่นไม้หม้อแตก ซึ่งกลุ่มลายเทียนบาติกสีธรรมชาติ ผู้พบสีดังกล่าวเผยว่า ณ ปัจจุบันสีม่วงจากไม้ธรรมชาติกำลังได้รับความนิยมมากที่สุดกว่าทุกเฉดสีที่เคยมีมา
ไม่เพียงเท่านั้นในป่าในสวนของชาวบ้านคีรีวงมักจะพบ "สวาด" ไม้เลื้อยที่มีหนามแหลมคม เมล็ดกลมเกลี้ยง เปลือกแข็งเป็นมัน ในอดีตใบสวาดมีสรรพคุณเป็นยาแก้กระษัย ขับลม ไล่พยาธิ แต่ปัจจุบันมีค่าเป็นวัชพืชรกร้าง ชาวคีรีวงกลุ่มหนึ่งจึงหยิบลูกสวาด รวมถึงวัสดุที่หาได้จากป่า อาทิ ลูกหมามุ่ย ลูกหลุมพอ ลูกยาง มารังสรรค์เป็นเครื่องประดับ จากสิ่งที่ไม่มีใครต้องการ ถูกโค่นถึงกลับสร้างกำไรได้ราคาถึงเมล็ดละ 50 บาทเลยทีเดียว
วารุณี คำศรี ตัวแทนกลุ่มลูกไม้ ผู้สร้างรายได้จากเศษพืช ได้เผยว่า ด้วยชื่อของลูกสวาดที่พ้องเสียงกับคำว่า สวาท อันหมายถึงความนิยมชมชอบ และความสวยงามแปลกตาของตัวมันเอง ทำให้ลูกสวาดได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก จากที่ต้องเข้าไปเก็บตามป่าธรรมชาติ ซึ่งเริ่มเติบโตไม่ทันกับความต้องการของตลาด ตนเองจึงเกิดไอเดียว่าอยากปลูกแบบเป็นเรื่องเป็นราวเลยทีเดียว เพราะนอกจากจะได้เป็นการสำรองเรื่องวัตถุดิบในการทำเครื่องประดับแล้ว ยังสามารถสร้างเป็นแหล่งท่องเที่ยวของชุมชนได้อีกทางหนึ่งด้วย
"คนคีรีวงถูกปลูกฝังให้รักถิ่นฐานบ้านเกิดแม้ในยามที่บ้านเราลำบากแต่เราก็ต้องสู้ สู้จนวันนี้ซึ่งเราทุกคนเห็นผลสำเร็จแล้ว โดยเราได้นำแนวทางของในหลวงมาใช้ แม้ในหลวงจะไม่เคยเสด็จมาที่นี่ แต่หลักปรัชญาของพระองค์สามารถนำไปใช้ได้ในทุก ๆ พื้นที่" นี่คือสารสำคัญอันเป็นหัวใจของการฟื้นชุมชนคีรีวง หนึ่งในชุมชนตัวอย่างที่น้อมนำเอาปรัชญาแห่งองค์ราชันมาประยุกต์ใช้จนเกิดผลประจักษ์ชัด
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1452571223
ชุมชนคีรีวง พลิกเวิ้งทราย สู่หมู่บ้านโอโซน อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช
หลังจากที่ต้องเผชิญกับอุทกภัยครั้งใหญ่ในปี 2531 หมู่บ้านคีรีวง แห่งอำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช พื้นที่ชุมชนและสวนสมรมอันเป็นอาชีพหลักของชาวบ้านในยุคนั้น ได้ถูกน้ำป่าฉุดกระชากให้หายกลายเป็นเวิ้งตะกอนทราย
ชาวบ้านผู้รอดชีวิตจากภัยพิบัติดังกล่าว ต้องต่อสู้กับการดำเนินชีวิตที่เหลือบนแผ่นดินเกิดอันเป็นที่รัก แม้ในระยะแรกจะเรียกว่ายากแค้นแสนสาหัสก็ตามที
"ไม่ใช่แค่สิ่งปลูกสร้าง ผู้คนก็ล้มหายตายจากไปพร้อมกับน้ำป่า ทุกอย่างราบไปหมด เหลือแค่วัดที่คอยยึดเหนี่ยวจิตใจของเราไว้ด้วยกัน"
"พวกเรารอไม่ได้ ตอนนั้นเงินเก็บมีเท่าไหร่ก็ต้องเอาออกมาช่วยเหลือดูแลกันเอง จะให้รอราชการมาทำให้ทุกอย่าง เรารอไม่ไหว" ชาวบ้านกลุ่มผ้าบาติกสีธรรมชาติและกลุ่มสมุนไพรคีรีวง ช่วยกันเล่าถึงความยากลำบากของการดำรงชีวิตในช่วงเวลาหลังประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ
แต่คำว่าฟ้าหลังฝนมักจะสวยงามยังคงใช้ได้ดีกับหมู่บ้านคีรีวงแห่งนี้หลังจากที่หมู่บ้านเชิงเขาแห่งนี้ถูกกระหน่ำซัดด้วยภัยธรรมชาติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระเมตตา มีพระราชดำรัสให้กรมชลประทานดำเนินการขุดลอกคลอง ตกแต่งขอบตลิ่งด้วยหินเรียงเพื่อระบายน้ำให้ได้ทันในกรณีฝนตกหนัก และยังเป็นจุดกำเนิดของแลนด์มาร์กประจำหมู่บ้าน นั่นคือสะพานคลองท่าดี ชุมชนคีรีวงจึงขยับเข้าสู่ความปกติสุขตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา พร้อมกับคำยกย่องที่ว่า คีรีวงคือหมู่บ้านที่เหมาะแก่การสูดโอโซนมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ
แต่อย่างไรก็ดี ด้านเศรษฐกิจก็ต้องได้รับเยียวยาอย่างทันท่วงที เนื่องจากพื้นที่ประกอบอาชีพส่วนใหญ่ได้ถูกภัยพิบัติทำลายล้างลงไป การก่อร่างสร้างเศรษฐกิจชุมชนขึ้นมาใหม่ของหมู่บ้านคีรีวงก็ยังคงยึดปรัชญาแห่งองค์ราชัน หลักเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการขยายผลจากวัสดุในท้องถิ่น แปรรูป เปลี่ยนสภาพให้เกิดเป็นมูลค่าที่ทบทวี
อาทิ มังคุดสดผลใหญ่ ๆ ของคีรีวงที่มีราคาดีมาก มีราคาหน้าสวนถึงกิโลกรัมละ 300 บาท หากนำไปคัดจัดสรรเข้าห้างสรรพสินค้าในกรุงเทพฯ เมื่อปีที่ผ่านมาป้ายมังคุดคีรีวงติดตัวเลขอยู่ที่ 700 บาท แต่ถึงอย่างนั้นลูกใดที่ไม่ได้ขนาดมาตรฐานก็ยังมีประโยชน์ต่อการนำไปเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์จำพวกสบู่ โลชั่น แชมพู โดยไม่ใช่เพียงเป็นที่ต้องการของคนไทย แต่ลือชื่อไกลไปถึงต่างประเทศ ทั้งอิรัก จีน มาเลเซีย ญี่ปุ่น ฯลฯ
ส่วนใบของมังคุด ก็ยังสามารถนำไปต้มให้สีย้อมผ้าธรรมชาติ เช่นเดียวกันกับใบหูกวาง แก่นขนุน ขมิ้น แก่นฝาง ฯลฯ ผ้าย้อมสีธรรมชาติจากแหล่งอื่นอาจมีเฉดสีซ้ำ ๆ เดิม ๆ แต่สำหรับที่คีรีวง ชาวบ้านได้ค้นพบ "สีม่วงสดใส" อันได้จากแก่นไม้หม้อแตก ซึ่งกลุ่มลายเทียนบาติกสีธรรมชาติ ผู้พบสีดังกล่าวเผยว่า ณ ปัจจุบันสีม่วงจากไม้ธรรมชาติกำลังได้รับความนิยมมากที่สุดกว่าทุกเฉดสีที่เคยมีมา
ไม่เพียงเท่านั้นในป่าในสวนของชาวบ้านคีรีวงมักจะพบ "สวาด" ไม้เลื้อยที่มีหนามแหลมคม เมล็ดกลมเกลี้ยง เปลือกแข็งเป็นมัน ในอดีตใบสวาดมีสรรพคุณเป็นยาแก้กระษัย ขับลม ไล่พยาธิ แต่ปัจจุบันมีค่าเป็นวัชพืชรกร้าง ชาวคีรีวงกลุ่มหนึ่งจึงหยิบลูกสวาด รวมถึงวัสดุที่หาได้จากป่า อาทิ ลูกหมามุ่ย ลูกหลุมพอ ลูกยาง มารังสรรค์เป็นเครื่องประดับ จากสิ่งที่ไม่มีใครต้องการ ถูกโค่นถึงกลับสร้างกำไรได้ราคาถึงเมล็ดละ 50 บาทเลยทีเดียว
วารุณี คำศรี ตัวแทนกลุ่มลูกไม้ ผู้สร้างรายได้จากเศษพืช ได้เผยว่า ด้วยชื่อของลูกสวาดที่พ้องเสียงกับคำว่า สวาท อันหมายถึงความนิยมชมชอบ และความสวยงามแปลกตาของตัวมันเอง ทำให้ลูกสวาดได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก จากที่ต้องเข้าไปเก็บตามป่าธรรมชาติ ซึ่งเริ่มเติบโตไม่ทันกับความต้องการของตลาด ตนเองจึงเกิดไอเดียว่าอยากปลูกแบบเป็นเรื่องเป็นราวเลยทีเดียว เพราะนอกจากจะได้เป็นการสำรองเรื่องวัตถุดิบในการทำเครื่องประดับแล้ว ยังสามารถสร้างเป็นแหล่งท่องเที่ยวของชุมชนได้อีกทางหนึ่งด้วย
"คนคีรีวงถูกปลูกฝังให้รักถิ่นฐานบ้านเกิดแม้ในยามที่บ้านเราลำบากแต่เราก็ต้องสู้ สู้จนวันนี้ซึ่งเราทุกคนเห็นผลสำเร็จแล้ว โดยเราได้นำแนวทางของในหลวงมาใช้ แม้ในหลวงจะไม่เคยเสด็จมาที่นี่ แต่หลักปรัชญาของพระองค์สามารถนำไปใช้ได้ในทุก ๆ พื้นที่" นี่คือสารสำคัญอันเป็นหัวใจของการฟื้นชุมชนคีรีวง หนึ่งในชุมชนตัวอย่างที่น้อมนำเอาปรัชญาแห่งองค์ราชันมาประยุกต์ใช้จนเกิดผลประจักษ์ชัด
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1452571223