ขอกราบไหว้พระรัตนตรัยด้วยความเคารพอย่างสูงยิ่ง
------------------
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
ชิณณสูตร
(บางส่วน)
[๔๘๐] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
ดูกรกัสสป ก็เธอเล็งเห็นอำนาจประโยชน์อย่างไร จึงเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร
และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร
เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
เป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร
เป็นผู้มีความมักน้อย และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้มักน้อย
เป็นผู้สันโดษ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสันโดษ
เป็นผู้สงัดจากหมู่ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสงัดจากหมู่
เป็นผู้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความไม่คลุกคลี
เป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียร
สิ้นกาลนาน ฯ
[๔๘๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เล็งเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ
จึงเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตรและกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการอยู่ป่าเป็นวัตร ฯลฯ
สิ้นกาลนานคือ
(๑) พิจารณาเห็นการอยู่เป็นสุขในปัจจุบันของตน
(๒) และอนุเคราะห์หมู่ชนในภายหลังว่า
ทำอย่างไรหมู่ชนในภายหลังพึงถึงการประพฤติตามแบบอย่างว่า ได้ยินว่า
พระพุทธเจ้าและพระพุทธสาวกที่ได้มีมาแล้ว ท่านเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร
และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการอยู่ป่าเป็นวัตร ฯลฯ
สิ้นกาลนาน
ท่านเหล่านั้นจักปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น
ข้อปฏิบัติของท่านเหล่านั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์
เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน
[๔๘๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดีละ ดีละ กัสสป ได้ยินว่า เธอปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก
เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล
เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ดูกรกัสสป เพราะเหตุนั้นแล เธอจงทรงผ้าป่านบังสุกุลอันไม่น่านุ่งห่ม
จงเที่ยวบิณฑบาต และจงอยู่ในป่าเถิด ฉะนี้ ฯ
อญฺญา หิ ลาภูปนิสา อญฺญา นิพฺพานคามินี
เอวเมตํ อภิญฺญาย ภิกฺขุ พุทฺธสฺส สาวโก
สกฺการํ นาภินนฺเทยฺย วิเวกมนุพฺรูหเย.
ข้อปฏิบัติอันจะนำไปสู่ลาภเป็นอย่างหนึ่ง
ทางปฏิบัติอันจะนำไปสู่พระนิพพานเป็นอีกอย่างหนึ่ง
ภิกษุผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า
ทราบเนื้อความนั้นอย่างนี้แล้ว
ไม่พึงเพลิดเพลินลาภสักการะ
แต่พึงตามเจริญวิเวก.
เรื่องพระวนวาสีติสสเถระ
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=15&p=15
-------------------
ธุดงค์ องค์คุณเครื่องกำจัดกิเลส
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ธุดงค์_๑๓
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ธุดงค์_13
ข้อควรทราบเกี่ยวกับธุดงค์ :
(๑) ธุดงค์ไม่ใช่บทบัญญัติทางวินัย ขึ้นกับความสมัครใจ มีหลักทั่วไปในการถือว่า
ถ้าถือแล้วช่วยให้กรรมฐานเจริญ หรือช่วยให้กุศลธรรมเจริญ อกุศลธรรมเสื่อม ควรถือ
ถ้าถือแล้วทำให้กรรมฐานเสื่อม หรือทำให้กุศลธรรมเสื่อม อกุศลธรรมเจริญ ไม่ควรถือ
ส่วนผู้ที่ถือหรือไม่ถือ ก็ไม่ทำให้กรรมฐานเจริญหรือเสื่อม เช่น เป็นพระอรหันต์แล้วอย่างพระมหากัสสปะ เป็นต้น
หรือคนอื่นๆ ก็ตาม ควรถือได้ ฝ่ายแรกควรถือในเมื่อคิดจะอนุเคราะห์ชุมชนในภายหลัง ฝ่ายหลังเพื่อเป็นวาสนาต่อไป
(๒) การแบกกลดเดินไปตามถนน โดยเฉพาะถนนในเมือง ไม่ปรากฏอยู่ในธุดงค์ทั้ง 13 ข้อ
: ถ้าตั้งใจเกลากิเลสให้หมดจด
: ไม่ต้องเดินแบกกลดก็เป็นธุดงค์
https://www.facebook.com/tsangsinchai/posts/802607116499694
๛ เสียงครวญครางแห่งป่าใหญ่ ปรากฏเป็นสิ่งที่น่ายินดีแก่เรา ๛
------------------
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
ชิณณสูตร
(บางส่วน)
[๔๘๐] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
ดูกรกัสสป ก็เธอเล็งเห็นอำนาจประโยชน์อย่างไร จึงเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร
และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร
เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
เป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร
เป็นผู้มีความมักน้อย และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้มักน้อย
เป็นผู้สันโดษ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสันโดษ
เป็นผู้สงัดจากหมู่ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสงัดจากหมู่
เป็นผู้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความไม่คลุกคลี
เป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียร
สิ้นกาลนาน ฯ
[๔๘๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เล็งเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ
จึงเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตรและกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการอยู่ป่าเป็นวัตร ฯลฯ
สิ้นกาลนานคือ
(๑) พิจารณาเห็นการอยู่เป็นสุขในปัจจุบันของตน
(๒) และอนุเคราะห์หมู่ชนในภายหลังว่า
ทำอย่างไรหมู่ชนในภายหลังพึงถึงการประพฤติตามแบบอย่างว่า ได้ยินว่า
พระพุทธเจ้าและพระพุทธสาวกที่ได้มีมาแล้ว ท่านเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร
และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการอยู่ป่าเป็นวัตร ฯลฯ
สิ้นกาลนาน
ท่านเหล่านั้นจักปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น
ข้อปฏิบัติของท่านเหล่านั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์
เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน
[๔๘๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดีละ ดีละ กัสสป ได้ยินว่า เธอปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก
เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล
เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ดูกรกัสสป เพราะเหตุนั้นแล เธอจงทรงผ้าป่านบังสุกุลอันไม่น่านุ่งห่ม
จงเที่ยวบิณฑบาต และจงอยู่ในป่าเถิด ฉะนี้ ฯ
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=5319&Z=5370&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=478
ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย ได้ที่ :-
[478-482] http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali.php?B=16&A=478&Z=482
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=192&Z=199
เอวเมตํ อภิญฺญาย ภิกฺขุ พุทฺธสฺส สาวโก
สกฺการํ นาภินนฺเทยฺย วิเวกมนุพฺรูหเย.
ข้อปฏิบัติอันจะนำไปสู่ลาภเป็นอย่างหนึ่ง
ทางปฏิบัติอันจะนำไปสู่พระนิพพานเป็นอีกอย่างหนึ่ง
ภิกษุผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า
ทราบเนื้อความนั้นอย่างนี้แล้ว
ไม่พึงเพลิดเพลินลาภสักการะ
แต่พึงตามเจริญวิเวก.
เรื่องพระวนวาสีติสสเถระ
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=15&p=15
ธุดงค์ องค์คุณเครื่องกำจัดกิเลส
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้