ช่วงก่อนหยุดปีใหม่ เปิดกุดูรูปเก่าแล้วคิดถึงค่ะ..
เนปาล (Nepal) - พูนฮิลล์ (Poon Hill) ^^’
เราเลยขอมาละเลงลง Pantip ให้เพื่อนๆ ได้อ่านด้วยดีกว่า.. คิ
นึกย้อนไปเวลานั้น.. เราไปถึงจุดนั้นได้อย่างไร?! จุดที่ชะนี (แอบ) ฟรุ้งฟริ้งกระดิ่งแมวอย่างเรา..
ไปเทรคกิ้ง (Trekking) ที่ Nepal..!
ต้องบอกเลยว่าการเดินทางไปเนปาลในครั้งนั้น เกิดจากความอยากของเราล้วนๆ แบบที่ว่า..
ไปไหนก็ได้! ขอให้ได้ไป! และคนสวยอย่างเราไม่เคยต้องรอนานค่ เพราะอยู่ๆ เพื่อนชะนีนางก็โทรมา
“เมิง..ไปต่างประเทศกัน??”
“Oh Yes.! เข้าทางล่ะสิ!" เราตอบรับแบบไม่ลังเล และไม่คิดมาก ทั้งที่ยังไม่รู้เลยนะคะ เค้าชวนไปที่ไหน ไปทำอะไร ใครไปบ้าง?!
แต่ไม่ใช่ปัญหาค่ะ เพราะสำหรับเรา.. มิตรภาพของคนเดินทางเกิดขึ้นได้เสมอ..
กับคนที่ไม่เคยรู้จัก ไม่เคยเห็นหน้า หรือพูดคุยกันมาก่อนเลยก็ตาม..
ง้อออ.. (คำคม) บาดมือนิดๆ 5555
แล้วการเดินทางของชาวคณะ ก็บังเกิด!!
สรุปผู้ร่วมเดินทางครั้งนี้รวม 4 ชีวิต ในนั้นมีเพื่อนสนิทเราเพียงคนเดียว
ส่วนอีกสองคนเรารู้จักผ่านเพื่อนสนิทเราอีกต่อ
เราตั้งไลน์กรุ๊ปเพื่อเป็นช่องทางสื่อสาร ส่วนหน้าตาตัวเป็นๆ ค่อยว่ากัน ณ วันเดินทาง..
หลังจากตกลงกันแน่ชัด ว่าเราทั้ง 4 คนมีเป้าหมายเดียวกัน คือ
.. ต้องไปการไปเยือนถิ่นเทือกเขาหิมาลัย สัมผัสอ้อมกอดประเทศหลังคาโลก สักครั้ง!
เราต่างไม่รีรอ ช่วยกันหาข้อมูลและจัดการเดินเรื่องต่างๆ อย่างรวดเร็ว!
ทั้งการหาโปรแกรม ติดต่อบริษัททัวร์ที่เนปาล จัดหา Guide (ท้องถิ่น) จองตั๋วเครื่องบิน ดีลเรื่องขอวีซ่า และจ่ายตังค์!
สรุป..โปรแกรมที่เราเลือก.. “เทรคกิ้ง (Trekking) เส้นทางพิชิตพูนฮิลล์ (Poon Hill)”
ทริปนี้ยอมรับว่าเรามีการปรับเปลี่ยนโปรแกรมหลายครั้งมากๆ เพราะด้วยสมาชิกเราเป็นชะนีไซส์จุ๋มจิ๋วทั้งแก๊งค์
ก็เกรงว่าจะเทรคกิ้งกันไม่ไหว ตามคำสบประมาทของหลายคนๆ
แต่.. เป้าหมายมีไว้พุ่งชนค่ะ! เราขอให้สักครั้งในชีวิตได้รู้จักกับคำว่า Trekking ดูสักที.. let’s go go go go go go
ส่วนเส้นทางเทรคกิ้งที่เราเลือก คือ เดินวนขึ้น-ลงเขาคนละทาง (เดินสวนทางกับเส้นนักท่องเที่ยวทั่วไปนิยมกัน)
โดยเดินขึ้นตามเส้นปะสีแดง ไปทางหมู่บ้านอุลเลรี (Ulleri) (ดูภาพประกอบ)
ผ่านหมู่บ้านโกเรปานี (Ghorapani) และยอดเขาพูลฮิลล์ (Poon Hill)
ก่อนจะเดินลงทางหมู่บ้านทาดาปานี (Tadapani) และหมู่บ้านกันดรุก (Gunkruk) ตามเส้นปะสีเทา
(อนุญาติใช้แผนที่จากคุณ Athlons อ้างอิงนะคะ)
สรุปการเดินทาง :
@ กำหนดวันเดินทาง 18 – 26 ตุลาคม
@ สรุปยอดค่าใช้จ่ายตลอดทริป ราคา 475$ หรือประมาณ 15,000-16,000 บาท
- ที่พักและอาหาร 1 มื้อ
- ค่ารถบัสไปกลับโพคารา (Pokhara)
- ค่าลูกหาบ 2 คน
@ ค่าตั๋วเครื่องการบินไทยไปกลับประมาณ 17,000 บาท (จองล่วงหน้า)
#วันแรก (18 Oct.) สนามบินสุวรรณภูมิ >> กาฎมาณฑุ (Kathmandu) เนปาล (Nepal)
เวลา 10.20 น. ไฟล์ทบินสู่เมืองกาฎมาณฑุ (Kathmandu) ใช้เวลาประมาณ 3.30 ชม. ก็ถึงที่หมายในเวลาท้องถิ่นประมาณ 12.40 น. (เวลาที่เนปาลช้ากว่าไทย 1.15 ชม.)
ที่สนามบินตรีภูวัน ณ เมืองหลวงกาฎมาณฑุ (Kathmandu) เนปาล (Nepal) ที่นี้ใช้เวลาตรวจคนเข้าเมืองไม่นานนัก ก็ออกมาเจอกับ Guide ที่รอรับหน้าสนามบิน และเดินทางเข้าที่พักในย่านช้อปปิ้งถนนทาเมล (Themal) ซึ่งเป็นทำเลยอดฮิตของนักท่องเที่ยว
แม้ใจเราจะจดจ่อ อยู่ที่การพิชิตยอดเขาพูนฮิลล์ แต่เมื่อได้มีโอกาสมาเยือนถิ่นฐานของวิถีชาวพุทธทิเบต (Little Tibet) และมีเวลา เราไม่ลืมที่จะไปเก็บเกี่ยว.. บรรยากาศเมืองเก่าปาฎาน จตุรัสดูบาร์สแคว
มหาสถูปเจดีย์โพธินาถ
ศาสนสถานที่ถูกยกเป็นมรดกโลก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้มหาเจดีย์โพธินาถ (Boudhanath Stupa) เนปาล (Nepal)
มหาเจดีย์โพธินาถ หรือ พุทธโพธินาถ มีความหมายว่า “พระพทธเจ้าผู้เป็นที่พึ่ง” สถานที่สำคัญแห่งนี้ถูกยกให้เป็นมรดกโลก ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของกรุงกาฐมัณฑุ (Kathmandu) ห่างออกไปประมาณ 8 กิโลเมตร เป็นมหาเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดในเนปาล มีความสูง 38 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 32 เมตร ชาวทิเบตเรียกกันในชื่อ “จารุง กาโซว์ โชร์เตน (Jarung Kashor Chorten)” ศาสนสถานแห่งนี้ คือ ศูนย์กลางและศูนย์รวมจิตใจของชาวพุทธทิเบตที่อพยพเข้ามาอาศัยในเนปาล บริเวณโดยรอบสถูปเจดีย์ถูกรายล้อมไปด้วยแหล่งชุมชนชาวพุทธทิเบต มีวัดทิเบตกว่า 50 แห่ง ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อ “The Little Tibet”
ไม่น่าแปลกใจนัก.. หากองค์มหาเจดีย์โพธินาถ มีเค้าศิลปะค่อนไปในทางทิเบตเห็นได้ชัด ด้วยรูปแบบทรงกลมรูปบาตรคว่ำ มีขนาดใหญ่มาก ตั้งบนฐานเขียงยกพื้นสูงหลายชั้น ที่อิงตามหลักมัณฑละ (Mandala) ซึ่งรอบฐานขององค์เจดีย์จะมีพุทธรูปประดิษฐาน 108 องค์ มีซุ้มคูหาอันเป็นที่ตั้งของวงล้อมนตรา (Mani Wheel) 147 คูหา และมีบันไดทางขึ้นให้ปีนขึ้นไปชมวิวข้างบนตรงใกล้บัลลังก์รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสปิดทองเหลืองอร่ามขององค์มหาเจดีย์
บนองค์มหาเจดีย์มีรูปเพ้นท์ลายดวงตาเห็นธรรมที่เขียนด้วยสีแดง สีน้ำเงิน และสีเหลืองของพระพุทธเจ้า (Wisdom Eyes) ทั้งสี่ทิศ เป็นสัญลักษณ์ค่อยสอดส่องดูแลให้ผู้คนทำความดี เหนือบัลลังก์ขึ้นไปเป็นปล้องไฉนรูปฉัตรสีทองซ้อนหลายชั้น
บริเวณโดยรอบองค์มหาเจดีย์ ประดับประดาด้วย “ธงมนตรา” หรือ “ธงภาวนา” ที่ชาวทิเบตและชาวเนปาลนิยมนำมาแขวนเอาไว้อย่างงดงาม... ธงมนตรา 5 สีนี้ได้จารึกบทสวดมนตร์แล้วนำไปปลุกเสก ก่อนจะนำมาประดับที่องค์มหาเจดีย์ บางก็นำไปประดับตามหลังคาอาคารบ้านเรือน ทางเดิน ช่องเขา ฯลฯ ด้วยความเชื่อให้ลมช่วยสวดมนตร์ ภาวนา แล้วพัดพาเอามนตราไปคุ้มครองผู้ผ่านทาง...
นับเป็นอีกหนึ่งสัญญาลักษณ์ที่สร้างสีสัน... เมื่อเรามองขึ้นไปบนท้องฟ้า... มองเห็น... มหาเจดีย์โพธินาถสีเหลืองทองตัดธงมนตราหลากสีและท้องฟ้าสีคราม... สวยงามจับใจ... จนยากจะลืมจริงๆ
เรายังคงจดจำความสวยงามจับใจในครั้งนั้นได้อย่างดี.. และยังคงกล่าวขอบคุณตัวเองทุกครั้งที่คิดถึงการเดินทางที่เนปาลเสมอ..
เรากลับมาทานอาหารที่ย่านเทเมล และเดินเล่นช้อปปิ้งกันก่อนเข้านอน แต่ไม่ได้อะไรติดไม้ติดมากนัก
เพราะช่วงที่เราไปตรงกับเทศกาลติหาร์ หรือทีปวลี (Tihar or Deeoawali)
หรือที่รู้จักกันอีกชื่อว่าเทศกาลแห่งแสงสว่าง (Festival of Light)
เป็นวันหยุดยาวราวๆ 5 วัน ทำให้ร้านปิดกันค่อยๆ ข้างเยอะ..
ขอบอกเลยค่ะ มาทริปนี้เราได้ประสบการณ์ใหม่ๆ จากเนปาลค่อยข้างมากที่เดียว..
ในบางสถานที่ ถ้าเราไม่ก้าวเท้าออกเดินทาง.. เราก็จะไม่พบโลกมุมใหม่จริงๆ ค่ะ
#วันที่สอง (19 Oct.) ตื่นเช้า.. พร้อมออกเดินทาง.. Let’s Go To Pokhara..!!
วันที่สองเราตื่นเช้ากันสักหน่อย เพื่อออกเดินทางสู่ไปเมืองโพคารา (Pokhara)
เราเลือกเดินทางด้วย “รถบัส” ใช้เวลาเดินทางประมาณ 6.30 – 7 ชั่วโมง เพราะเราตั้งใจชมวิวทิวทัศน์ภูเขาและแม่น้ำ ระหว่างทางอย่างเพลินๆ และที่สำคัญราคาถูกกว่านั่งเครื่องบินระหว่างประเทศหลายร้อยรูปีเลยแหล่ะ!
ตามแผนการเดิม หลังเข้าที่พักแล้ว เราตั้งใจจะออกเดินทางต่อไปยังเมืองนายาพูล (Nayapul) เมืองหน้าด่านจุดเริ่มต้นของการเดินเท้าเทรคกิ้งทันที แต่เพราะหลงกับ Guide ทำให้เราเสียเวลาช่วงระหว่างนั่งแท็กซี่เข้าที่พักมากพอสมควร ซึ่งประเมินเวลาแล้วหากออกเดินทางต่อวันนี้จะไปค่ำก่อนถึง Nayapul จึงตัดสินใจปรับโปรแกรมนอนค้างคืนที่ Pokhara สักคืน..
ที่ Pokhara ..เราฆ่าเวลาก่อนจะค่ำด้วยการอออกไปชมน้ำตกเทวี (Devi Fall) น้ำตกรูปร่างแปลกประหลาดกลางเมืองโพคาราที่เกิดจากน้ำล้นจากทะเลสาปเพวา ถ้ำมหาเทพ Gupteshwor Mahadev Cave
และขึ้นไปดูพระอาทิตย์ตกบนจุดชมวิวซารางกอต (Sarangkot) จุดชมวิวที่สามารถมองเห็นวิวของเทือกเขาหิมาลัยในแบบ Panorama แต่น่าเสียดายวันนั้นมีหมอกลงหนาตามาก ทำให้มองไม่ค่อยเห็นวิวมากนัก
แต่นั้นก็ ทำให้เราก็ได้พบครอบครัวพี่หนุ่มคนไทย ที่แต่งงานอยู่กินกับสาวเนปาลี จนมีเจ้าตัวน้อยจ้ำม่ำ คนนี้แทน..
การเดินขึ้นไปดูวิว ถือว่าเป็นการซ้อม Trekking แต่ขอบอก.. แค่นี้ก็ทำให้เราหอบแฮ่กลิ้นห้อย! เลยที่เดียว! (แล้วพรุ่งนี้ พี่จะไหวม่ายยย.. 5555)
ตกเย็น.. เราก็กลับทานอาหารค่ำ พร้อมกับเดินสำรวจบรรยากาศรอบๆ Pokhara
บรรยากาศที่นี้ ยอมรับว่าถูกจริตชะนีอย่างเรามาก แตกต่างจาก Kathmandu ที่การจราจรจะวุ่นวาย มีฝุ่นเขรอะ
บวกกับบรรยากาศการตกแต่งไฟ แสงเทียน ของเทศกาลทีปวลี รวมทั้งเสียงเพลง การแสดง ร้องเล่น เต้นรำ ทำให้ Pokhara คืนนี้ดูคึกคักมาก..
>> ผ่านไปแล้ว 2 วัน เราขอติดวันที่เหลือไว้ก่อนนะคะ 00.30 น.ล่ะ ตาจิปิด
>> เราขอฝากเพื่อนช่วยติดตาม และคอมเม้นท์ได้นะคะ
>> Good Night
Namaste Nepal - Poon Hill ทริปสวรรค์ของคนชอบเดิน (ถึก) ทน!
เนปาล (Nepal) - พูนฮิลล์ (Poon Hill) ^^’
เราเลยขอมาละเลงลง Pantip ให้เพื่อนๆ ได้อ่านด้วยดีกว่า.. คิ
นึกย้อนไปเวลานั้น.. เราไปถึงจุดนั้นได้อย่างไร?! จุดที่ชะนี (แอบ) ฟรุ้งฟริ้งกระดิ่งแมวอย่างเรา..
ไปเทรคกิ้ง (Trekking) ที่ Nepal..!
ต้องบอกเลยว่าการเดินทางไปเนปาลในครั้งนั้น เกิดจากความอยากของเราล้วนๆ แบบที่ว่า..
ไปไหนก็ได้! ขอให้ได้ไป! และคนสวยอย่างเราไม่เคยต้องรอนานค่ เพราะอยู่ๆ เพื่อนชะนีนางก็โทรมา
“เมิง..ไปต่างประเทศกัน??”
“Oh Yes.! เข้าทางล่ะสิ!" เราตอบรับแบบไม่ลังเล และไม่คิดมาก ทั้งที่ยังไม่รู้เลยนะคะ เค้าชวนไปที่ไหน ไปทำอะไร ใครไปบ้าง?!
แต่ไม่ใช่ปัญหาค่ะ เพราะสำหรับเรา.. มิตรภาพของคนเดินทางเกิดขึ้นได้เสมอ..
กับคนที่ไม่เคยรู้จัก ไม่เคยเห็นหน้า หรือพูดคุยกันมาก่อนเลยก็ตาม..
ง้อออ.. (คำคม) บาดมือนิดๆ 5555
แล้วการเดินทางของชาวคณะ ก็บังเกิด!!
สรุปผู้ร่วมเดินทางครั้งนี้รวม 4 ชีวิต ในนั้นมีเพื่อนสนิทเราเพียงคนเดียว
ส่วนอีกสองคนเรารู้จักผ่านเพื่อนสนิทเราอีกต่อ
เราตั้งไลน์กรุ๊ปเพื่อเป็นช่องทางสื่อสาร ส่วนหน้าตาตัวเป็นๆ ค่อยว่ากัน ณ วันเดินทาง..
หลังจากตกลงกันแน่ชัด ว่าเราทั้ง 4 คนมีเป้าหมายเดียวกัน คือ
.. ต้องไปการไปเยือนถิ่นเทือกเขาหิมาลัย สัมผัสอ้อมกอดประเทศหลังคาโลก สักครั้ง!
เราต่างไม่รีรอ ช่วยกันหาข้อมูลและจัดการเดินเรื่องต่างๆ อย่างรวดเร็ว!
ทั้งการหาโปรแกรม ติดต่อบริษัททัวร์ที่เนปาล จัดหา Guide (ท้องถิ่น) จองตั๋วเครื่องบิน ดีลเรื่องขอวีซ่า และจ่ายตังค์!
สรุป..โปรแกรมที่เราเลือก.. “เทรคกิ้ง (Trekking) เส้นทางพิชิตพูนฮิลล์ (Poon Hill)”
ทริปนี้ยอมรับว่าเรามีการปรับเปลี่ยนโปรแกรมหลายครั้งมากๆ เพราะด้วยสมาชิกเราเป็นชะนีไซส์จุ๋มจิ๋วทั้งแก๊งค์
ก็เกรงว่าจะเทรคกิ้งกันไม่ไหว ตามคำสบประมาทของหลายคนๆ
แต่.. เป้าหมายมีไว้พุ่งชนค่ะ! เราขอให้สักครั้งในชีวิตได้รู้จักกับคำว่า Trekking ดูสักที.. let’s go go go go go go
ส่วนเส้นทางเทรคกิ้งที่เราเลือก คือ เดินวนขึ้น-ลงเขาคนละทาง (เดินสวนทางกับเส้นนักท่องเที่ยวทั่วไปนิยมกัน)
โดยเดินขึ้นตามเส้นปะสีแดง ไปทางหมู่บ้านอุลเลรี (Ulleri) (ดูภาพประกอบ)
ผ่านหมู่บ้านโกเรปานี (Ghorapani) และยอดเขาพูลฮิลล์ (Poon Hill)
ก่อนจะเดินลงทางหมู่บ้านทาดาปานี (Tadapani) และหมู่บ้านกันดรุก (Gunkruk) ตามเส้นปะสีเทา
(อนุญาติใช้แผนที่จากคุณ Athlons อ้างอิงนะคะ)
สรุปการเดินทาง :
@ กำหนดวันเดินทาง 18 – 26 ตุลาคม
@ สรุปยอดค่าใช้จ่ายตลอดทริป ราคา 475$ หรือประมาณ 15,000-16,000 บาท
- ที่พักและอาหาร 1 มื้อ
- ค่ารถบัสไปกลับโพคารา (Pokhara)
- ค่าลูกหาบ 2 คน
@ ค่าตั๋วเครื่องการบินไทยไปกลับประมาณ 17,000 บาท (จองล่วงหน้า)
#วันแรก (18 Oct.) สนามบินสุวรรณภูมิ >> กาฎมาณฑุ (Kathmandu) เนปาล (Nepal)
เวลา 10.20 น. ไฟล์ทบินสู่เมืองกาฎมาณฑุ (Kathmandu) ใช้เวลาประมาณ 3.30 ชม. ก็ถึงที่หมายในเวลาท้องถิ่นประมาณ 12.40 น. (เวลาที่เนปาลช้ากว่าไทย 1.15 ชม.)
ที่สนามบินตรีภูวัน ณ เมืองหลวงกาฎมาณฑุ (Kathmandu) เนปาล (Nepal) ที่นี้ใช้เวลาตรวจคนเข้าเมืองไม่นานนัก ก็ออกมาเจอกับ Guide ที่รอรับหน้าสนามบิน และเดินทางเข้าที่พักในย่านช้อปปิ้งถนนทาเมล (Themal) ซึ่งเป็นทำเลยอดฮิตของนักท่องเที่ยว
แม้ใจเราจะจดจ่อ อยู่ที่การพิชิตยอดเขาพูนฮิลล์ แต่เมื่อได้มีโอกาสมาเยือนถิ่นฐานของวิถีชาวพุทธทิเบต (Little Tibet) และมีเวลา เราไม่ลืมที่จะไปเก็บเกี่ยว.. บรรยากาศเมืองเก่าปาฎาน จตุรัสดูบาร์สแคว
มหาสถูปเจดีย์โพธินาถ
ศาสนสถานที่ถูกยกเป็นมรดกโลก [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เรายังคงจดจำความสวยงามจับใจในครั้งนั้นได้อย่างดี.. และยังคงกล่าวขอบคุณตัวเองทุกครั้งที่คิดถึงการเดินทางที่เนปาลเสมอ..
เรากลับมาทานอาหารที่ย่านเทเมล และเดินเล่นช้อปปิ้งกันก่อนเข้านอน แต่ไม่ได้อะไรติดไม้ติดมากนัก
เพราะช่วงที่เราไปตรงกับเทศกาลติหาร์ หรือทีปวลี (Tihar or Deeoawali)
หรือที่รู้จักกันอีกชื่อว่าเทศกาลแห่งแสงสว่าง (Festival of Light)
เป็นวันหยุดยาวราวๆ 5 วัน ทำให้ร้านปิดกันค่อยๆ ข้างเยอะ..
ขอบอกเลยค่ะ มาทริปนี้เราได้ประสบการณ์ใหม่ๆ จากเนปาลค่อยข้างมากที่เดียว..
ในบางสถานที่ ถ้าเราไม่ก้าวเท้าออกเดินทาง.. เราก็จะไม่พบโลกมุมใหม่จริงๆ ค่ะ
#วันที่สอง (19 Oct.) ตื่นเช้า.. พร้อมออกเดินทาง.. Let’s Go To Pokhara..!!
วันที่สองเราตื่นเช้ากันสักหน่อย เพื่อออกเดินทางสู่ไปเมืองโพคารา (Pokhara)
เราเลือกเดินทางด้วย “รถบัส” ใช้เวลาเดินทางประมาณ 6.30 – 7 ชั่วโมง เพราะเราตั้งใจชมวิวทิวทัศน์ภูเขาและแม่น้ำ ระหว่างทางอย่างเพลินๆ และที่สำคัญราคาถูกกว่านั่งเครื่องบินระหว่างประเทศหลายร้อยรูปีเลยแหล่ะ!
ตามแผนการเดิม หลังเข้าที่พักแล้ว เราตั้งใจจะออกเดินทางต่อไปยังเมืองนายาพูล (Nayapul) เมืองหน้าด่านจุดเริ่มต้นของการเดินเท้าเทรคกิ้งทันที แต่เพราะหลงกับ Guide ทำให้เราเสียเวลาช่วงระหว่างนั่งแท็กซี่เข้าที่พักมากพอสมควร ซึ่งประเมินเวลาแล้วหากออกเดินทางต่อวันนี้จะไปค่ำก่อนถึง Nayapul จึงตัดสินใจปรับโปรแกรมนอนค้างคืนที่ Pokhara สักคืน..
ที่ Pokhara ..เราฆ่าเวลาก่อนจะค่ำด้วยการอออกไปชมน้ำตกเทวี (Devi Fall) น้ำตกรูปร่างแปลกประหลาดกลางเมืองโพคาราที่เกิดจากน้ำล้นจากทะเลสาปเพวา ถ้ำมหาเทพ Gupteshwor Mahadev Cave
และขึ้นไปดูพระอาทิตย์ตกบนจุดชมวิวซารางกอต (Sarangkot) จุดชมวิวที่สามารถมองเห็นวิวของเทือกเขาหิมาลัยในแบบ Panorama แต่น่าเสียดายวันนั้นมีหมอกลงหนาตามาก ทำให้มองไม่ค่อยเห็นวิวมากนัก
แต่นั้นก็ ทำให้เราก็ได้พบครอบครัวพี่หนุ่มคนไทย ที่แต่งงานอยู่กินกับสาวเนปาลี จนมีเจ้าตัวน้อยจ้ำม่ำ คนนี้แทน..
การเดินขึ้นไปดูวิว ถือว่าเป็นการซ้อม Trekking แต่ขอบอก.. แค่นี้ก็ทำให้เราหอบแฮ่กลิ้นห้อย! เลยที่เดียว! (แล้วพรุ่งนี้ พี่จะไหวม่ายยย.. 5555)
ตกเย็น.. เราก็กลับทานอาหารค่ำ พร้อมกับเดินสำรวจบรรยากาศรอบๆ Pokhara
บรรยากาศที่นี้ ยอมรับว่าถูกจริตชะนีอย่างเรามาก แตกต่างจาก Kathmandu ที่การจราจรจะวุ่นวาย มีฝุ่นเขรอะ
บวกกับบรรยากาศการตกแต่งไฟ แสงเทียน ของเทศกาลทีปวลี รวมทั้งเสียงเพลง การแสดง ร้องเล่น เต้นรำ ทำให้ Pokhara คืนนี้ดูคึกคักมาก..
>> ผ่านไปแล้ว 2 วัน เราขอติดวันที่เหลือไว้ก่อนนะคะ 00.30 น.ล่ะ ตาจิปิด
>> เราขอฝากเพื่อนช่วยติดตาม และคอมเม้นท์ได้นะคะ
>> Good Night