วันนี้ตื่นเช้ากว่าทุกวัน เลยมีโอกาสออกไปใส่บาตรพระ นอกจากนั้นยังทำให้มีเวลาได้คิดถึงความทรงจำเก่าๆ อีกด้วย ตอนพ่อยังมีชีวิตอยู่ พ่อเป็นคนทำงานเก่ง อีกทั้งเป็นคนใจดี และมีอารมณ์ขัน ครั้งนึงมี สส. ชาวไต้หวัน ชื่อ เฉินเชาไหล เดินทางมาที่ไทย เพื่อหนีปัญหาทางการเมือง โดยมาพำนักอยู่กับเพื่อนของพ่อ แต่ด้วยความที่คุนเฉิน มาแบบไม่ได้เตรียมอะไรมาเลย เรียกง่ายๆ ว่ามาแต่ตัว ทำให้เพื่อนหลายคนบ่ายเบี่ยง เพราะคิดว่าคุนเฉินเป็นภาระ ด้วยความที่พ่อรู้สึกเห็นใจ รวมถึงพ่อเป็นคนชอบเรียนรู้อะไรใหม่ๆ เลยอาสาเป็นคนเทคแคร์คุนเฉินเอง ทั้งๆ ที่ไม่ได้สนิทอะไรกัน
ระหว่างที่คุนเฉินอยู่เมืองไทย พ่อดูแลคุนเฉินเป็นอย่างดี โดยไม่ได้อะไรตอบแทน และไม่ได้หวังอะไรตอบแทนเช่นกัน พ่อพูดภาษาจีนกลางไม่ได้ แต่ก็พยายามฝึกด้วยตัวเอง จนสามารถสื่อสารกับคุนเฉินได้คล่อง ทำให้คุนเฉินรู้สึกประทับใจในความจิงใจ และตั้งใจของพ่อ เขาไม่คิดว่าจะเจอมิตรภาพที่แท้จิง ในยามที่ตัวเองตกยากในต่างแดนเช่นนี้
หลังจากเหตุการณ์ทางการเมืองในไต้หวันสงบ คุนเฉินก็ได้กลับประเทศไป จากนั้นหน้าที่การงานของเขา ก็เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว แต่เขาก็ไม่เคยลืมมิตรภาพดีๆ เมื่อครั้งยังอยู่เมืองไทย ทำให้เค้าได้สั่งทำป้ายที่ระลึกถึงคุณความดีที่พ่อมีต่อเขาขึ้นมาด้วยความปิติสุข โดยที่เขาหารู้ไม่เลยว่า ตอนนั้น..พ่อกำลังป่วยหนัก..
หลังจากที่ป้ายทำเสร็จ คุนเฉินก็ได้ทำการส่งป้ายจากไต้หวันมาให้พ่อ ซึ่งตอนนั้นพ่อเสียแล้ว..
พอป้ายมาถึงเมืองไทย ทุกคนในครอบครัวต่างรู้สึกขอบคุน สะเทือนใจ และเห็นใจคุนเฉินไปพร้อมกัน
เมื่อคุนเฉินทราบเรื่อง ก็รีบเคลียงานทุกอย่าง แล้วบินมางานศพพ่อทันที งานวันนั้นเศร้ากว่าทุกวัน เพราะคุนเฉินนั่งอยู่หน้าโลงศพพ่อ แล้วร้องห่ม ร้องไห้ พร้อมรำพึงรำพัน ตัดพ้อชีวิต อยู่เป็นเวลานาน จับใจความได้ว่า "ทำไมด่วนจากไป ทำไมไม่รอให้ได้ตอบแทนก่อน"
หลังจากเสร็จพิธีเรียบร้อย ทางบ้านจึงตัดสินใจ นำป้ายที่คุนเฉินมอบให้ ติดตรงข้ามกับรูปของพ่อ เพื่อหวังว่าพ่อจะได้เห็นมัน
10 ปี ผ่านไป คุนเฉินจึงได้กลับมาเยี่ยมครอบครัวพ่อีกครั้ง โดยคราวนี้เขามาพร้อมรอยยิ้ม และของฝาก ถามถึงสารทุกข์สุขดิบ จากนั้นก็เล่าให้ฟังว่าพ่อเราดีกับเขายังไงบ้าง
และเรื่องราวทั้งหมดก็ผ่านมากว่า 20 ปีแล้ว และแผ่นป้ายที่คุนเฉินส่งมาให้พ่อนั้น อ่านออกเสียงได้ว่า "หัว-เฉียว-จือ-กวง" ที่แปลว่า "แสงสว่างของชาวจีนโพ้นทะเล" นั่นเอง
มิตรภาพจากคนไกล
ระหว่างที่คุนเฉินอยู่เมืองไทย พ่อดูแลคุนเฉินเป็นอย่างดี โดยไม่ได้อะไรตอบแทน และไม่ได้หวังอะไรตอบแทนเช่นกัน พ่อพูดภาษาจีนกลางไม่ได้ แต่ก็พยายามฝึกด้วยตัวเอง จนสามารถสื่อสารกับคุนเฉินได้คล่อง ทำให้คุนเฉินรู้สึกประทับใจในความจิงใจ และตั้งใจของพ่อ เขาไม่คิดว่าจะเจอมิตรภาพที่แท้จิง ในยามที่ตัวเองตกยากในต่างแดนเช่นนี้
หลังจากเหตุการณ์ทางการเมืองในไต้หวันสงบ คุนเฉินก็ได้กลับประเทศไป จากนั้นหน้าที่การงานของเขา ก็เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว แต่เขาก็ไม่เคยลืมมิตรภาพดีๆ เมื่อครั้งยังอยู่เมืองไทย ทำให้เค้าได้สั่งทำป้ายที่ระลึกถึงคุณความดีที่พ่อมีต่อเขาขึ้นมาด้วยความปิติสุข โดยที่เขาหารู้ไม่เลยว่า ตอนนั้น..พ่อกำลังป่วยหนัก..
หลังจากที่ป้ายทำเสร็จ คุนเฉินก็ได้ทำการส่งป้ายจากไต้หวันมาให้พ่อ ซึ่งตอนนั้นพ่อเสียแล้ว..
พอป้ายมาถึงเมืองไทย ทุกคนในครอบครัวต่างรู้สึกขอบคุน สะเทือนใจ และเห็นใจคุนเฉินไปพร้อมกัน
เมื่อคุนเฉินทราบเรื่อง ก็รีบเคลียงานทุกอย่าง แล้วบินมางานศพพ่อทันที งานวันนั้นเศร้ากว่าทุกวัน เพราะคุนเฉินนั่งอยู่หน้าโลงศพพ่อ แล้วร้องห่ม ร้องไห้ พร้อมรำพึงรำพัน ตัดพ้อชีวิต อยู่เป็นเวลานาน จับใจความได้ว่า "ทำไมด่วนจากไป ทำไมไม่รอให้ได้ตอบแทนก่อน"
หลังจากเสร็จพิธีเรียบร้อย ทางบ้านจึงตัดสินใจ นำป้ายที่คุนเฉินมอบให้ ติดตรงข้ามกับรูปของพ่อ เพื่อหวังว่าพ่อจะได้เห็นมัน
10 ปี ผ่านไป คุนเฉินจึงได้กลับมาเยี่ยมครอบครัวพ่อีกครั้ง โดยคราวนี้เขามาพร้อมรอยยิ้ม และของฝาก ถามถึงสารทุกข์สุขดิบ จากนั้นก็เล่าให้ฟังว่าพ่อเราดีกับเขายังไงบ้าง
และเรื่องราวทั้งหมดก็ผ่านมากว่า 20 ปีแล้ว และแผ่นป้ายที่คุนเฉินส่งมาให้พ่อนั้น อ่านออกเสียงได้ว่า "หัว-เฉียว-จือ-กวง" ที่แปลว่า "แสงสว่างของชาวจีนโพ้นทะเล" นั่นเอง