การที่นักแสดงอินกับบทมากๆหรือมากเกินไปนี่เป็นยังไง

เคยอ่านบทความที่บอกว่านักแสดงคนนึงที่ได้รับบท Joker คืออินกับบทมากเกินไปจนทำให้หลังจากที่เล่นบทจบต้องเข้ารับการบำบัดอาการทางจิต
แล้วเคยดูเบื้องหลังหนังเรื่องไรสักอย่าง เป็นฉากร้องไห้ พอผู้กำกับสั่งคัทแล้วนักแสดงก็ยังร้องไห้อยู่ ร้องไห้ไม่หยุดจนต้องมีคนเข้าไปปลอบ
ไม่เข้าใจอ่ะค่ะว่าทำไม ทำยังไงนักแสดงถึงอินกับบทได้ขนาดนี้
ตอนแรกเรานึกว่าพออยู่หน้ากล้องก็เล่นบทตัวเองไป พอสั่งคัทก็หัวเราะตลกกับคนในกองถ่าย
ไม่คิดว่าบางคนจะเข้าถึงบทมากหรือมากเกินไป

ใครมีเคสตัวอย่างจากเรื่องแบบนี้มาให้อ่านหรือดูย้างมั้ยคะ
แล้วทำไมเค้าถึงอินได้ขนาดนี้
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 9
ถ้านักแสดงสักแต่ว่า "แสดง" ไม่อินกับบท มันก็เป็นเหมือนละครไทยไงครับ
คือ "สักแต่ว่า"เล่นไป  แบบนั้นไม่เรียกนักแสดงนะ ไม่มืออาชีพ

แต่นักแสดงอินแล้วต้องเอาต์ให้ได้ ไม่งั้นจะแสดงเป็นอาชีพไม่ได้
เพราะบางคนงานชุก มีเล่นหลายเรื่องในเวลาเดียวกัน คิวต่อกันเลย (เช่นนักแสดงรับเชิญซีรีส์ต่างๆ)
แล้วจะอินกับเรื่องเก่าไม่ยอมเอาต์ ก็จะเล่นเรื่องใหม่บทใหม่ไม่ได้ดี เสียงานเสียการอีก
คนเรียนการแสดงมาโดยตรง ครูจะสอนเลยว่าต้องฝึกเรื่องอินแล้วต้องเอาต์ให้ได้ครับ

ส่วนฉากดราม่ามากๆ อาการคัตแล้วกลับมาเป็นตัวเองอย่างไว หัวเราะร่านี่
ถ้าต้องย้ายกล้องแล้วถ่ายซ้ำฉากเดิมใหม่(แค่เปลี่ยนมุมกล้อง) ก็ทำไม่ได้นะครับ
เพราะต้องรักษาอารมณ์ในฉากให้ได้เท่าเดิม  ไม่งั้นอารมณ์มันไม่ต่อเนื่อง กระโดด
แถมถ้ามีเพื่อนร่วมแสดงซีนเดียวกัน แล้วคุณมาหลุดหัวเราะนี่ ไม่โปรมากๆ
ไม่ respect เพื่อนร่วมซีน  เพราะทำให้เพื่อนร่วมซีนเสียสมาธิ




อาการอินแล้วไม่เอาต์ นักแสดงสาย method acting ของอาจารย์ Stanislavsky เป็นกันเยอะมาก
(อย่าง ฌอน เพนน์ หรือ มาร์ลอน แบรนโด)
เพราะสาย method จะเน้นการฝึกตัวเองแบบ inside out คือต้องขุดหาตัวเองจากข้างในที่ตรงกับตัวละคร
แล้วแสดงออกมาให้ได้  ซึ่งมันต้องใช้ความทุ่มเทและสละตัวตนอย่างมาก
บางคนอินขนาดยอมใช้ยา เพื่อเข้าถึงบทติดยา  เพราะการถ่ายแบบฟิล์ม มันจะเห็นดวงตาหมดเลย
เขาก็เลยยอมใช้ยาเพื่อจะแสดงออกมาอย่างชัดเจนบนแผ่นฟิล์ม (เช่น เมายาแล้วเส้นเลือดตาขึ้น.. อะไรทำนองนั้น)
ทำให้ปัญหาของ method acting แบบอินไซด์เอาต์คือ มันทำลายนักแสดงมากกว่าสร้างนักแสดง
คุณอาจสร้างศิลปินขึ้นมา แต่มันทำให้นักแสดงทำงานแบบ "มืออาชีพ" ไม่ได้
เพราะสั่งคัตแล้วไม่เอาต์นี่แหละ

นักแสดงที่ดีและเป็นมืออาชีพจริงๆ เขาจะเรียนรู้ เหล้า ยา หรือความรุนแรง
ที่เป็นระดับพอเหมาะที่จะใช้ในงานได้ แต่จะไม่ยอมใช้จนติด  หรือทำจนติด
เช่น ล่าสุด ผมอ่านเบื้องหลัง The Hateful 8  ลุงเคิร์ต รัสเซลล์ก็ไม่ตบเจนนิเฟอร์ เจสัน ลีห์ จริงๆนะครับ
ถ้าสาย method คงมีตบโชว์ให้เห็นกันสักช็อต 2 ช็อต  แล้วก็ถ่ายต่อไม่ได้เพราะหน้าบวมเป่งกันไป
แถมมันคือการ abuse นักแสดงอย่างหนึ่งด้วย ทำให้เกิดอันตรายต่อนักแสดงโดยไม่จำเป็น
ลุงเคิร์ตแกสัญญากับเจนนิเฟอร์ว่าแกจะไม่ทำร้ายเธอเด็ดขาด จะตบจะต่อยแบบไม่ให้โดนตัวให้เธอเจ็บเด็ดขาด


(มีต่อ)
ความคิดเห็นที่ 11
(ต่อ)

ดังนั้น การแสดงต้อง "เล่นจริง" คือจะมา "แสร้งหัวเราะ " "แสร้งเสียใจ" "แสร้งร้องไห้" ไม่ได้
แต่ต้องอาศัยการฝึก technical หรือเทคนิคในการแสดงที่ "ทำให้ดูเหมือนสมจริงที่สุด"
นี่คือสาเหตุว่าทำไมนักแสดงจึงต้องเรียนการแสดง  
เพราะการเรียนจะไม่ใช่แค่ฝึกอารมณ์ แต่ครูจะสอน เทคนิค ต่างๆในการแสดงด้วย

เทคนิคในที่นี้  ขอยกตัวอย่างจริงนะครับ ผมเคยต้องแสดงหนังหรือละคร จำไม่ได้แล้ว นานจัด
แล้วผมต้องเมา แล้วใช้กุญแจเปิดประตูบ้านไม่ออก จิ้มอยู่นั่น ไขอยู่นั่น
ในชีวิตไม่เคยกินเหล้าเลยตอนนั้น (เด็กมาก ตอนนี้เหรอ หัวราน้ำเลย 555)
ความที่ผมอินจัด แบบเรียน method มาเต็มแม็กซ์ เลยจะกินเหล้าจริง เพื่อให้ถ่ายทำแล้วอินจริง
ครูการแสดงที่เมืองไทยนับถือมาก บอกผมว่า ผมตีความผิดแล้ว
ขืนกินเหล้าจริง สั่งคัตแล้วคงล้มคว่ำพอดี หรือจำบล็อกกิ้งไม่ได้ จำบทไม่ได้ แย่เลย
ครูสอนให้ผม "เข้าใจสภาวะของคนเมา" คนเมาคือคนสูญเสีย balance ของร่างกาย จากการควบคุมตัวเองไม่ได้
เนื่องจากสมองไม่สามารถแปลภาพตรงหน้าออกมาอย่างตรงไปตรงมา เกิดจากฤทธิ์แอลกอออล
ถ้าผมเข้าใจสภาวะนี้ ผมไม่ต้องกินเหล้าเลยสักหยดก็จะแสดงเหมือนมาก
ตอนนั้นแหละครับที่ครูอธิบายผมว่า นักแสดงคือนายของตัวเอง ต้องใช้เครื่องมือทุกอย่างในร่างกายและจิตใจตัวเองในการแสดง
คือ "ใช้เขาเป็น tools-เครื่องมือ"
ไม่ใช่อินกับบทจริงๆจนถอนไม่ออก มันอันตราย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่