http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9590000000618
โดย MGR Online
3 มกราคม 2559 22:47 น. (แก้ไขล่าสุด 4 มกราคม 2559 16:27 น.)
คอลัมน์ คุยกับผู้จัดการกองทุน
โดย บลจ.ทิสโก้
ต้องยอมรับว่าตลอดทั้งปี 2015 ตลาดการเงินทั่วโลกมีความผันผวนค่อนข้างมาก โดยเฉพาะตลาดตราสารทุน ซึ่งเป็นเหตุมาจากความไม่แน่นอนของสภาวะเศรษฐกิจโลก, ความไม่ชัดเจนของการเปลี่ยนผ่านนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว และราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้นลงจากอุปทานที่ไม่มีความแน่นอน การลงทุนในสภาวะดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือหรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ช่วยผู้ลงทุนในเรื่องของการทำ Tactical Asset Allocation อย่างมีวินัย กล่าวคือ กำหนดระดับผลตอบแทนที่คาดหวังสำหรับระยะเวลาการลงทุนหนึ่ง และเลือกที่จะขายทำกำไรเมื่อถึงเป้าหมายที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เรียกว่า "Trigger Fund"
ช่วงเวลาของการออกกอง Trigger Fund ใน Asset Class ประเภทต่างๆ บลจ.ผู้ออก มักจะคัดเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมไว้ส่วนหนึ่งแล้ว เช่น ตลาดมีการปรับฐานลงมาค่อนข้างมาก เป็นโอกาสในการเข้าลงทุน ซึ่งเหมาะกับนักลงทุนที่มีเป้าหมายผลตอบแทนที่ชัดเจน แต่ไม่มีเวลาติดตามภาวะตลาด หรือไม่รู้จังหวะในการเข้าซื้อหรือขายหน่วยลงทุน จึงต้องให้ผู้จัดการกองทุนมืออาชีพเป็นผู้ดูแลเงินทุนให้ โดย Trigger Fundส่วนใหญ่มักจะลงทุนในหุ้น ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงที่สูงระดับหนึ่ง แต่ก็จะไม่เกินกรอบที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวนผู้ถือหน่วยลงทุน
บลจ.ผู้ออกเองมักจะแนะนำลูกค้าเสมอว่า Trigger Fund เป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยผู้ลงทุนในเรื่องของการทำ Tactical Asset Allocation เสมอ กล่าวคือ ผู้ลงทุนเองโดยปกติมีกลยุทธ์การจัดสรรเงินลงทุนตั้งต้น (Strategic Asset Allocation) แบ่งตาม Asset Class ต่างๆ อยู่แล้ว ระหว่างทางหาก Asset Class ใดมีการปรับฐานอย่างมีนัย แต่ปัจจัยพื้นฐานยังดีอยู่ นักลงทุนอาจมองความผันผวนนี้เป็นโอกาสในการลงทุน และแบ่งเงินส่วนหนึ่ง (เช่น 10-20% ของพอร์ต) มาลงทุนใน Trigger Fund เพื่อที่ว่าหากได้ผลตอบแทนสัก x% จะทำการปรับสัดส่วนสู่ระดับปกติ ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวจะต้องไม่มากเกินกว่าจะบรรลุได้และไม่น้อยจนไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายในการทำกลยุทธ์ แม้ว่าในบางครั้งราคาของ Asset Class ดังกล่าวอาจปรับตัวขึ้นต่อ (Limited Gain) แต่หากเรามีการจัดสรรเงินลงทุนได้เหมาะสมแล้ว ก็ถือว่าเป็นการสร้าง "วินัยในการลงทุน" ที่ดี
ในบางครั้งผลตอบแทนการลงทุนที่แท้จริงอาจจะไม่สอดคล้องกับสิ่งที่คาดหวัง กล่าวคือ ราคา Asset Class ที่ลงทุนอาจปรับตัวลงไปมากกว่าระดับที่เข้าลงทุน และไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด (Unlimited Loss) ในกรณีนี้ บลจ.เองจะเปลี่ยนกองทุนดังกล่าวเป็นกองทุนเปิดเพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถซื้อขายกองทุนได้เหมือนกองทุนทั่วไป เป็นการยืดอายุกองทุน เพื่อให้นักลงทุนไม่ต้องถูกบังคับให้ขาย ณ สถานะที่ยังขาดทุนอยู่ แต่เหนือสิ่งอื่นใดคงเป็นเรื่องของ "การกระจายความเสี่ยง" เพราะการดำเนินกลยุทธ์ดังกล่าวมักจะมีโอกาสได้รับผลตอบแทนคาดหวังหลังปรับด้วยความเสี่ยงแล้ว (Total Risk-Adjusted Return) ดีขึ้น
ในส่วนของค่าธรรมเนียม Trigger Fund สามารถแบ่งเป็น ค่าธรรมเนียมบริหารกองทุน (Management Fee) ซึ่งคิดตามระยะเวลาจริง, ค่าธรรมเนียมแรกเข้า (Front-end Fee) และค่าธรรมเนียมปิดกองทุน (Back-end Fee) ซึ่งในส่วนหลังนี้จะเรียกเก็บเฉพาะกรณีที่กองทุนทำผลตอบแทนได้ตามเป้าหมายภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยค่าใช้จ่ายทั้งหมดก็มีการระบุไว้ชัดเจนในหนังสือชี้ชวน ซึ่งอยู่ในกรอบไม่เกินที่ ก.ล.ต.กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
เป็นเรื่องน่าเสียใจสำหรับบางหน่วยงานที่มักจะเน้นถึงความผิดพลาดของกอง Trigger Fund ที่ไม่สามารถปิดกองทุนภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ และเลือกที่จะมองข้ามหรือชื่นชม Trigger Fund ที่สามารถทำกำไรได้ตามเป้าหมาย แล้วเหมารวมทั้งอุตสาหกรรมว่าผลิตภัณฑ์นี้ไม่ดี เพราะจากมุมมองของผู้จัดการกองทุนเองมีความเข้าใจในประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ Trigger Fund และขณะเดียวกันก็รับทราบถึงข้อคิดเห็นและคำแนะนำจากหน่วยงานหรือผู้ลงทุนเสมอมา
แต่เหนือสิ่งอื่นใด คือ การให้ความรู้ความเข้าใจต่อผู้ลงทุน ซึ่งเป็นสิ่งที่ บลจ.ยึดมั่นเสมอในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ให้แก่ลูกค้า เพราะ Trigger Fund เองเป็นเพียงแค่หนึ่งในผลิตภัณฑ์ทั้งหมดในอุตสาหกรรมกองทุนที่เสนอให้แก่ลูกค้า บางทีอัตราการขยายตัวของขนาดสินทรัพย์ Trigger Fund ในปี 2015 อาจเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงกระแสตอบรับที่ดีจากผู้ลงทุนภายใต้สภาวะตลาดที่มีความผันผวนก็เป็นได้
จากใจผู้ออก Trigger Fund
โดย MGR Online
3 มกราคม 2559 22:47 น. (แก้ไขล่าสุด 4 มกราคม 2559 16:27 น.)
คอลัมน์ คุยกับผู้จัดการกองทุน
โดย บลจ.ทิสโก้
ต้องยอมรับว่าตลอดทั้งปี 2015 ตลาดการเงินทั่วโลกมีความผันผวนค่อนข้างมาก โดยเฉพาะตลาดตราสารทุน ซึ่งเป็นเหตุมาจากความไม่แน่นอนของสภาวะเศรษฐกิจโลก, ความไม่ชัดเจนของการเปลี่ยนผ่านนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว และราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้นลงจากอุปทานที่ไม่มีความแน่นอน การลงทุนในสภาวะดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือหรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ช่วยผู้ลงทุนในเรื่องของการทำ Tactical Asset Allocation อย่างมีวินัย กล่าวคือ กำหนดระดับผลตอบแทนที่คาดหวังสำหรับระยะเวลาการลงทุนหนึ่ง และเลือกที่จะขายทำกำไรเมื่อถึงเป้าหมายที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เรียกว่า "Trigger Fund"
ช่วงเวลาของการออกกอง Trigger Fund ใน Asset Class ประเภทต่างๆ บลจ.ผู้ออก มักจะคัดเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมไว้ส่วนหนึ่งแล้ว เช่น ตลาดมีการปรับฐานลงมาค่อนข้างมาก เป็นโอกาสในการเข้าลงทุน ซึ่งเหมาะกับนักลงทุนที่มีเป้าหมายผลตอบแทนที่ชัดเจน แต่ไม่มีเวลาติดตามภาวะตลาด หรือไม่รู้จังหวะในการเข้าซื้อหรือขายหน่วยลงทุน จึงต้องให้ผู้จัดการกองทุนมืออาชีพเป็นผู้ดูแลเงินทุนให้ โดย Trigger Fundส่วนใหญ่มักจะลงทุนในหุ้น ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงที่สูงระดับหนึ่ง แต่ก็จะไม่เกินกรอบที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวนผู้ถือหน่วยลงทุน
บลจ.ผู้ออกเองมักจะแนะนำลูกค้าเสมอว่า Trigger Fund เป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยผู้ลงทุนในเรื่องของการทำ Tactical Asset Allocation เสมอ กล่าวคือ ผู้ลงทุนเองโดยปกติมีกลยุทธ์การจัดสรรเงินลงทุนตั้งต้น (Strategic Asset Allocation) แบ่งตาม Asset Class ต่างๆ อยู่แล้ว ระหว่างทางหาก Asset Class ใดมีการปรับฐานอย่างมีนัย แต่ปัจจัยพื้นฐานยังดีอยู่ นักลงทุนอาจมองความผันผวนนี้เป็นโอกาสในการลงทุน และแบ่งเงินส่วนหนึ่ง (เช่น 10-20% ของพอร์ต) มาลงทุนใน Trigger Fund เพื่อที่ว่าหากได้ผลตอบแทนสัก x% จะทำการปรับสัดส่วนสู่ระดับปกติ ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวจะต้องไม่มากเกินกว่าจะบรรลุได้และไม่น้อยจนไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายในการทำกลยุทธ์ แม้ว่าในบางครั้งราคาของ Asset Class ดังกล่าวอาจปรับตัวขึ้นต่อ (Limited Gain) แต่หากเรามีการจัดสรรเงินลงทุนได้เหมาะสมแล้ว ก็ถือว่าเป็นการสร้าง "วินัยในการลงทุน" ที่ดี
ในบางครั้งผลตอบแทนการลงทุนที่แท้จริงอาจจะไม่สอดคล้องกับสิ่งที่คาดหวัง กล่าวคือ ราคา Asset Class ที่ลงทุนอาจปรับตัวลงไปมากกว่าระดับที่เข้าลงทุน และไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด (Unlimited Loss) ในกรณีนี้ บลจ.เองจะเปลี่ยนกองทุนดังกล่าวเป็นกองทุนเปิดเพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถซื้อขายกองทุนได้เหมือนกองทุนทั่วไป เป็นการยืดอายุกองทุน เพื่อให้นักลงทุนไม่ต้องถูกบังคับให้ขาย ณ สถานะที่ยังขาดทุนอยู่ แต่เหนือสิ่งอื่นใดคงเป็นเรื่องของ "การกระจายความเสี่ยง" เพราะการดำเนินกลยุทธ์ดังกล่าวมักจะมีโอกาสได้รับผลตอบแทนคาดหวังหลังปรับด้วยความเสี่ยงแล้ว (Total Risk-Adjusted Return) ดีขึ้น
ในส่วนของค่าธรรมเนียม Trigger Fund สามารถแบ่งเป็น ค่าธรรมเนียมบริหารกองทุน (Management Fee) ซึ่งคิดตามระยะเวลาจริง, ค่าธรรมเนียมแรกเข้า (Front-end Fee) และค่าธรรมเนียมปิดกองทุน (Back-end Fee) ซึ่งในส่วนหลังนี้จะเรียกเก็บเฉพาะกรณีที่กองทุนทำผลตอบแทนได้ตามเป้าหมายภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยค่าใช้จ่ายทั้งหมดก็มีการระบุไว้ชัดเจนในหนังสือชี้ชวน ซึ่งอยู่ในกรอบไม่เกินที่ ก.ล.ต.กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
เป็นเรื่องน่าเสียใจสำหรับบางหน่วยงานที่มักจะเน้นถึงความผิดพลาดของกอง Trigger Fund ที่ไม่สามารถปิดกองทุนภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ และเลือกที่จะมองข้ามหรือชื่นชม Trigger Fund ที่สามารถทำกำไรได้ตามเป้าหมาย แล้วเหมารวมทั้งอุตสาหกรรมว่าผลิตภัณฑ์นี้ไม่ดี เพราะจากมุมมองของผู้จัดการกองทุนเองมีความเข้าใจในประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ Trigger Fund และขณะเดียวกันก็รับทราบถึงข้อคิดเห็นและคำแนะนำจากหน่วยงานหรือผู้ลงทุนเสมอมา
แต่เหนือสิ่งอื่นใด คือ การให้ความรู้ความเข้าใจต่อผู้ลงทุน ซึ่งเป็นสิ่งที่ บลจ.ยึดมั่นเสมอในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ให้แก่ลูกค้า เพราะ Trigger Fund เองเป็นเพียงแค่หนึ่งในผลิตภัณฑ์ทั้งหมดในอุตสาหกรรมกองทุนที่เสนอให้แก่ลูกค้า บางทีอัตราการขยายตัวของขนาดสินทรัพย์ Trigger Fund ในปี 2015 อาจเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงกระแสตอบรับที่ดีจากผู้ลงทุนภายใต้สภาวะตลาดที่มีความผันผวนก็เป็นได้