ยามลมหนาวมา พาให้นึกถึงบทเพลงพระราชนิพนธ์เพลงลมหนาว ท่วงทำนองเย็นๆ พาเอาใจเบิกบาน
...ยามลมหนาวพัดโบกโบยโชยชื่น เหล่าสกุณร้องรื่นรมย์
หมู่ดอกไม้ชวนภมรร่อนชม ช่างสุขสมเพลินตาน่าดูชูใจ…
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระราชปรีชาญาณในเรื่องของดนตรี พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์บทเพลง ทั้งคำร้อง ท่วงทำนองเพลงบ้าง ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ หากใครที่สนใจและศึกษาจะรู้ว่า จวบจนบัดนี้ กว่า 88 พรรษาแล้ว พระองค์ทรงประพันธ์บทเพลงทั้งสิ้นกว่า 48 เพลง มีทั้งเพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์ทำนอง และคำร้องภาษาอังกฤษด้วยพระองค์เอง รวมถึงเพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองขึ้นภายหลังใส่ในคำร้องที่มีผู้ประพันธ์ไว้แล้ว
ลักษณะพิเศษต่าง ๆ ของเพลงพระราชนิพนธ์ แต่ละเพลงต่างสะท้อนถึงสะท้อนถึงพระราชประวัติตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ตลอดจนพระราชกรณียกิจนานัปการที่ได้ทรงปฏิบัติตั้งแต่เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ เป็นพยานแห่งความสัมพันธ์อันแนบแน่นระหว่างพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและประชาชนชาวไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นเครื่องยืนยันว่าความสุขของปวงประชาคือ ความสุขของพระมหากษัตริย์พระองค์นี้
"ในหลวง"ทรงโปรดดนตรี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สนพระราชหฤทัยดนตรีมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงศึกษาการดนตรีอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยเมื่อพระองค์ทรงฝึกหัดดนตรีขั้นพื้นฐานได้นานพอสมควรแล้ว จึงเริ่มสนพระราชหฤทัยทรงดนตรีไปในแนวแจ๊ส (Jazz) และทรงเริ่มศึกษาการบรรเลงเพลงแจ๊สจากการบรรเลงสอดแทรกพร้อมกับแผ่นเสียงของนักดนตรี ที่มีชื่อเสียงตามสไตล์ที่โปรด
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระปรีชาสามารถในการทรงดนตรีเป็นพิเศษ เครื่องดนตรีที่โปรดคือ เครื่องเป่าแทบทุกชนิด เช่น แซกโซโฟน คลาริเน็ต และทรัมเป็ต ทั้งยังทรงกีตาร์และเปียโนได้อีกด้วย นอกจากนี้ทรงเล่นดนตรีร่วมกับวงดนตรีได้ทุกวงทั้งไทยและต่างประเทศ ทรงเข้าบรรเลงร่วมกับวงดนตรีนั้น ๆ ได้ ไม่ว่าวงดนตรีนั้นจะมีแนวการเล่นแบบใด สำหรับวงดนตรีแจ๊สนั้น ยังทรงดนตรีได้ทั้งชนิดมีโน๊ตและไม่ต้องมีโน้ต
เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินเยือนนครนิวยอร์คประเทศ สหรัฐอเมริกา เมื่อปีพุทธศักราช 2503 นักดนตรีที่มีชื่อเสียงของโลกเหล่านั้นล้วนถวายการยกย่องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะที่ทรงเป็นนักดนตรีแจ๊สที่มีอัจฉริภาพสูงส่ง
ผู้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทและผู้ที่เคยได้ร่วมเล่นดนตรีกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเล่าถึงพระราชอัจฉยริภาพในการพระราชนิพนธ์เพลงว่า ทรงแต่งเพลงได้ทุกแห่ง บางครั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องดนตรีช่วย ครั้งหนึ่งทรงเกิดแรงบันดาลพระทัยหยิบฉวยซองจดหมายได้ก็ทรงตีเส้น 5 เส้น แล้วทรงเขียนโน้ตทำนองเพลงขึ้นโดยฉับพลัน เช่น "เราสู้" เป็นต้น
แสงเทียน ปฐมบทแห่งเพลงพระราชนิพนธ์
จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า เพลงแรกที่พระองค์ทรงประพันธ์นั้นคือเพลงอะไร คำตอบคือ เพลง แสงเทียน
เพลงพระราชนิพนธ์แสงเทียน: Candlelight Blues เป็นเพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรก ทรงพระราชนิพนธ์ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2489 ครั้งดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ (ขณะดำรงพระยศเป็นหม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธ์) นิพนธ์คำร้องภาษาไทย แต่เนื่องจากมีพระราชประสงค์ ที่จะทรงแก้ไขทำนอง และคอร์ดบางตอน จึงยังไม่โปรดเกล้าฯ พระราชทานให้นำออกมา บรรเลงในเวลานั้น ต่อมา ได้พระราชทานให้นำออกบรรเลงครั้งแรก พ.ศ. 2490 และใน พ.ศ.2496 นางสาวสดใส วานิชวัฒนา (รองศาสตราจารย์ สดใส พันธุมโกมล) ประพันธ์คำร้องภาษาอังกฤษถวาย
ชะตาชีวิต หวนนึกถึง H.M. Blues
พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์เพลงพระราชทานไว้มากมาย และคนไทยก็คุ้นเคยทุกเพลง แถมยังชอบกันทุกเพลง อย่างผมเองก็มีเพลงที่ฟังมาตั้งแต่เด็ก อย่างใกล้รุ่ง และมีเพลงที่ชอบร้องตามมากๆ นั่นคือ..เพลงชะตาชีวิต
พูดถึงเพลง ชะตาชีวิต ก็นึกถึงเพลง H.M. Blues ที่มีเรื่องหนึ่งที่เล่าขานกันมาว่า พ.ศ. 2490 ในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครบ 20 พรรษา ข้าราชการ นักเรียนและคนไทยในสวิตเซอร์แลนด์ ร่วมกันจัดงานเฉลิมฉลองติดต่อกันหลายวัน ในวันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2490 มาตั้งวงเล่นดนตรีที่พระตำหนักวิลลาวัฒนา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดนตรีด้วย
ในงานมีการทายชื่อเพลงพระราชนิพนธ์ใหม่ H.M.Blues ว่า H.M. แปลว่าอะไร ผู้ที่จะทายต้องซื้อกระดาษสำหรับเขียนคำทายใบละครึ่งฟรังซ์ จุดประสงค์เพื่อระดมทุนสำหรับช่วยเหลือคนจน
ในงานไม่มีผู้ใดทายชื่อถูกเลยสักคนเดียว เพราะทุกคนต่างคิดว่า H.M. Blues ย่อมาจาก His Majesty 's Blues ซึ่งแปลว่าเพลงแนวบลูส์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่แท้ที่จริงแล้ว H.M.Blues ย่อมาจาก Hungry Men's Blues แปลว่าเพลงแนวบลูส์ของผู้ที่หิวโหยต่างหาก
ซึ่งผู้หิวโหยที่พระองค์หมายถึง นั่นก็คือ นักดนตรีที่บรรเลงในระหว่างงานเลี้ยง ที่ไม่ได้หยุดพักทานอะไรเลย
เพลงพระราชนิพนธ์ เพลงสุดท้าย
ในระยะหลังพระองค์มีพระราชกรณียกิจมากมาย ทำให้พระองค์ทรงไม่มีเวลาที่จะทรงพระราชนิพนธ์เพลงใหม่ๆ ออกมา เพลงสุดท้ายที่พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์ออกมาคือเพลง "เมนูไข่" เป็นเพลงแนวสนุกสนาน เนื้อร้องโดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานเป็นของขวัญวันพระราชสมภพครบ 72 พรรษาแด่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส ราชนครินทร์ เมื่อ พ.ศ. 2538 ถ้าใครได้รู้เนื้อร้อง เป็นต้องร้องอ๋อ
“...ไข่เค็มไข่ลวกทั้ง ไข่หวาน
กับไข่ต้มสุกนาน เยี่ยวม้า
เมนูไข่เมนูไข่ อร่อยแท้อยากกิน
ไข่ตุ๋นรสเยี่ยมปาน รสทิพย์
ไข่ไก่โอ้เอี่ยมอ้า อร่อยแท้อยากกิน
เมนูไข่เมนูไข่ อร่อยแท้อยากกิน…”
เรื่องเล่าเพลงพระราชนิพนธ์จากพระโอษฐ์ในหลวง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเพลง "Echo" ในปีพุทธศักราช 2509 นับเป็นบทแรกที่ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเพลงพร้อมคำร้องภาษาอังกฤษ ขณะนั้นมีพระชนมพรรษา 40 พรรษา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระมหากรุณารับสั่งเล่าเบื้องหลังการพระราชนิพนธ์เพลงเป็นครั้งแรกแก่สมาคมดนตรีเนื่องในโอกาสที่พระราชทานเพลงพระราชนิพนธ์ " Echo" บรรเลงเป็นปฐมฤกษ์ว่า
"
เพลงแรกคือแสงเทียน)... จากนั้น ฉันก็แต่งขึ้นอีกเรื่อย ๆ จนบัดนี้รวมทั้งหมด 40 เพลง ในระยะเวลา 20 ปี คิดเฉลี่ยปีละ 2 เพลง ที่ทำได้ก็เพราะได้รับความสนับสนุนจากนักดนตรี นักเพลงและนักร้อง รวมทั้งประชาชนผู้ฟัง ต่างได้แสดงความพอใจ และความนิยมพอสมควร จึงเป็นกำลังใจแก่ฉันเรื่อยมาขอถือโอกาสขอบใจมาในที่นี้ด้วย "
พระราชอัจฉริยภาพด้านดนตรีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ปรากฏก้องในนานาประเทศ ถึงขนาดที่ว่าสถาบันการดนตรีและศิลปะแห่งกรุงเวียนนา (Die Akademie fur Musik und Darstellende Kunst in Wien) ได้ทูลเกล้า ถวายตำแหน่งอันทรงเกียรติสูงส่งยิ่ง นั่นคือ สมาชิกกิตติมศักดิ์ของสถาบันอันเก่าแก่แห่งนี้
ลิขสิทธิ์บทความของ emaginfo.com
ติดตามบทความ พิเศษหรืออ่าน แมกกาซีน
(ติดต่อขอใช้บทความที่ฝ่ายการตลาด โทร 02-721-6411,086-367-0920)
เรื่องเล่า เพลงพระราชนิพนธ์จ ากพระโอษฐ์ในหลวง
...ยามลมหนาวพัดโบกโบยโชยชื่น เหล่าสกุณร้องรื่นรมย์
หมู่ดอกไม้ชวนภมรร่อนชม ช่างสุขสมเพลินตาน่าดูชูใจ…
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระราชปรีชาญาณในเรื่องของดนตรี พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์บทเพลง ทั้งคำร้อง ท่วงทำนองเพลงบ้าง ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ หากใครที่สนใจและศึกษาจะรู้ว่า จวบจนบัดนี้ กว่า 88 พรรษาแล้ว พระองค์ทรงประพันธ์บทเพลงทั้งสิ้นกว่า 48 เพลง มีทั้งเพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์ทำนอง และคำร้องภาษาอังกฤษด้วยพระองค์เอง รวมถึงเพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองขึ้นภายหลังใส่ในคำร้องที่มีผู้ประพันธ์ไว้แล้ว
ลักษณะพิเศษต่าง ๆ ของเพลงพระราชนิพนธ์ แต่ละเพลงต่างสะท้อนถึงสะท้อนถึงพระราชประวัติตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ตลอดจนพระราชกรณียกิจนานัปการที่ได้ทรงปฏิบัติตั้งแต่เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ เป็นพยานแห่งความสัมพันธ์อันแนบแน่นระหว่างพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและประชาชนชาวไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นเครื่องยืนยันว่าความสุขของปวงประชาคือ ความสุขของพระมหากษัตริย์พระองค์นี้
"ในหลวง"ทรงโปรดดนตรี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สนพระราชหฤทัยดนตรีมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงศึกษาการดนตรีอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยเมื่อพระองค์ทรงฝึกหัดดนตรีขั้นพื้นฐานได้นานพอสมควรแล้ว จึงเริ่มสนพระราชหฤทัยทรงดนตรีไปในแนวแจ๊ส (Jazz) และทรงเริ่มศึกษาการบรรเลงเพลงแจ๊สจากการบรรเลงสอดแทรกพร้อมกับแผ่นเสียงของนักดนตรี ที่มีชื่อเสียงตามสไตล์ที่โปรด
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระปรีชาสามารถในการทรงดนตรีเป็นพิเศษ เครื่องดนตรีที่โปรดคือ เครื่องเป่าแทบทุกชนิด เช่น แซกโซโฟน คลาริเน็ต และทรัมเป็ต ทั้งยังทรงกีตาร์และเปียโนได้อีกด้วย นอกจากนี้ทรงเล่นดนตรีร่วมกับวงดนตรีได้ทุกวงทั้งไทยและต่างประเทศ ทรงเข้าบรรเลงร่วมกับวงดนตรีนั้น ๆ ได้ ไม่ว่าวงดนตรีนั้นจะมีแนวการเล่นแบบใด สำหรับวงดนตรีแจ๊สนั้น ยังทรงดนตรีได้ทั้งชนิดมีโน๊ตและไม่ต้องมีโน้ต
เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินเยือนนครนิวยอร์คประเทศ สหรัฐอเมริกา เมื่อปีพุทธศักราช 2503 นักดนตรีที่มีชื่อเสียงของโลกเหล่านั้นล้วนถวายการยกย่องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะที่ทรงเป็นนักดนตรีแจ๊สที่มีอัจฉริภาพสูงส่ง
ผู้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทและผู้ที่เคยได้ร่วมเล่นดนตรีกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเล่าถึงพระราชอัจฉยริภาพในการพระราชนิพนธ์เพลงว่า ทรงแต่งเพลงได้ทุกแห่ง บางครั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องดนตรีช่วย ครั้งหนึ่งทรงเกิดแรงบันดาลพระทัยหยิบฉวยซองจดหมายได้ก็ทรงตีเส้น 5 เส้น แล้วทรงเขียนโน้ตทำนองเพลงขึ้นโดยฉับพลัน เช่น "เราสู้" เป็นต้น
แสงเทียน ปฐมบทแห่งเพลงพระราชนิพนธ์
จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า เพลงแรกที่พระองค์ทรงประพันธ์นั้นคือเพลงอะไร คำตอบคือ เพลง แสงเทียน
เพลงพระราชนิพนธ์แสงเทียน: Candlelight Blues เป็นเพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรก ทรงพระราชนิพนธ์ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2489 ครั้งดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ (ขณะดำรงพระยศเป็นหม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธ์) นิพนธ์คำร้องภาษาไทย แต่เนื่องจากมีพระราชประสงค์ ที่จะทรงแก้ไขทำนอง และคอร์ดบางตอน จึงยังไม่โปรดเกล้าฯ พระราชทานให้นำออกมา บรรเลงในเวลานั้น ต่อมา ได้พระราชทานให้นำออกบรรเลงครั้งแรก พ.ศ. 2490 และใน พ.ศ.2496 นางสาวสดใส วานิชวัฒนา (รองศาสตราจารย์ สดใส พันธุมโกมล) ประพันธ์คำร้องภาษาอังกฤษถวาย
ชะตาชีวิต หวนนึกถึง H.M. Blues
พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์เพลงพระราชทานไว้มากมาย และคนไทยก็คุ้นเคยทุกเพลง แถมยังชอบกันทุกเพลง อย่างผมเองก็มีเพลงที่ฟังมาตั้งแต่เด็ก อย่างใกล้รุ่ง และมีเพลงที่ชอบร้องตามมากๆ นั่นคือ..เพลงชะตาชีวิต
พูดถึงเพลง ชะตาชีวิต ก็นึกถึงเพลง H.M. Blues ที่มีเรื่องหนึ่งที่เล่าขานกันมาว่า พ.ศ. 2490 ในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครบ 20 พรรษา ข้าราชการ นักเรียนและคนไทยในสวิตเซอร์แลนด์ ร่วมกันจัดงานเฉลิมฉลองติดต่อกันหลายวัน ในวันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2490 มาตั้งวงเล่นดนตรีที่พระตำหนักวิลลาวัฒนา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดนตรีด้วย
ในงานมีการทายชื่อเพลงพระราชนิพนธ์ใหม่ H.M.Blues ว่า H.M. แปลว่าอะไร ผู้ที่จะทายต้องซื้อกระดาษสำหรับเขียนคำทายใบละครึ่งฟรังซ์ จุดประสงค์เพื่อระดมทุนสำหรับช่วยเหลือคนจน
ในงานไม่มีผู้ใดทายชื่อถูกเลยสักคนเดียว เพราะทุกคนต่างคิดว่า H.M. Blues ย่อมาจาก His Majesty 's Blues ซึ่งแปลว่าเพลงแนวบลูส์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่แท้ที่จริงแล้ว H.M.Blues ย่อมาจาก Hungry Men's Blues แปลว่าเพลงแนวบลูส์ของผู้ที่หิวโหยต่างหาก
ซึ่งผู้หิวโหยที่พระองค์หมายถึง นั่นก็คือ นักดนตรีที่บรรเลงในระหว่างงานเลี้ยง ที่ไม่ได้หยุดพักทานอะไรเลย
เพลงพระราชนิพนธ์ เพลงสุดท้าย
ในระยะหลังพระองค์มีพระราชกรณียกิจมากมาย ทำให้พระองค์ทรงไม่มีเวลาที่จะทรงพระราชนิพนธ์เพลงใหม่ๆ ออกมา เพลงสุดท้ายที่พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์ออกมาคือเพลง "เมนูไข่" เป็นเพลงแนวสนุกสนาน เนื้อร้องโดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานเป็นของขวัญวันพระราชสมภพครบ 72 พรรษาแด่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส ราชนครินทร์ เมื่อ พ.ศ. 2538 ถ้าใครได้รู้เนื้อร้อง เป็นต้องร้องอ๋อ
“...ไข่เค็มไข่ลวกทั้ง ไข่หวาน
กับไข่ต้มสุกนาน เยี่ยวม้า
เมนูไข่เมนูไข่ อร่อยแท้อยากกิน
ไข่ตุ๋นรสเยี่ยมปาน รสทิพย์
ไข่ไก่โอ้เอี่ยมอ้า อร่อยแท้อยากกิน
เมนูไข่เมนูไข่ อร่อยแท้อยากกิน…”
เรื่องเล่าเพลงพระราชนิพนธ์จากพระโอษฐ์ในหลวง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเพลง "Echo" ในปีพุทธศักราช 2509 นับเป็นบทแรกที่ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเพลงพร้อมคำร้องภาษาอังกฤษ ขณะนั้นมีพระชนมพรรษา 40 พรรษา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระมหากรุณารับสั่งเล่าเบื้องหลังการพระราชนิพนธ์เพลงเป็นครั้งแรกแก่สมาคมดนตรีเนื่องในโอกาสที่พระราชทานเพลงพระราชนิพนธ์ " Echo" บรรเลงเป็นปฐมฤกษ์ว่า
" เพลงแรกคือแสงเทียน)... จากนั้น ฉันก็แต่งขึ้นอีกเรื่อย ๆ จนบัดนี้รวมทั้งหมด 40 เพลง ในระยะเวลา 20 ปี คิดเฉลี่ยปีละ 2 เพลง ที่ทำได้ก็เพราะได้รับความสนับสนุนจากนักดนตรี นักเพลงและนักร้อง รวมทั้งประชาชนผู้ฟัง ต่างได้แสดงความพอใจ และความนิยมพอสมควร จึงเป็นกำลังใจแก่ฉันเรื่อยมาขอถือโอกาสขอบใจมาในที่นี้ด้วย "
พระราชอัจฉริยภาพด้านดนตรีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ปรากฏก้องในนานาประเทศ ถึงขนาดที่ว่าสถาบันการดนตรีและศิลปะแห่งกรุงเวียนนา (Die Akademie fur Musik und Darstellende Kunst in Wien) ได้ทูลเกล้า ถวายตำแหน่งอันทรงเกียรติสูงส่งยิ่ง นั่นคือ สมาชิกกิตติมศักดิ์ของสถาบันอันเก่าแก่แห่งนี้
ลิขสิทธิ์บทความของ emaginfo.com
ติดตามบทความ พิเศษหรืออ่าน แมกกาซีน
(ติดต่อขอใช้บทความที่ฝ่ายการตลาด โทร 02-721-6411,086-367-0920)