เว็บฝรั่ง ชื่นชมชุดแต่งงานจากเอเชีย!

เริ่มแรกคือแฟชั่นชุดแต่งงานแบบฝรั่งนี้ เริ่มนิยมตั้งแต่ยุคควีนวิคตอเรียสมรสกับเจ้าชายอัลเบิร์ตในปี 1840 ก่อนหน้านั้นชุดแต่งงานจะเป็นสีแบบใดก็แล้วแต่แฟชั่นตามสมัยนั้น แต่ส่วนใหญ่จะเน้นสีแเดงเป็น popular choice จากพิธีสมรสนั้นเป็นต้นมาก็เริ่มมีธรรมเนียมชุดแต่งงานสีขาว


อันที่จริงแล้วธรรมเนียมชุดแต่งงานสีขาวนั้นมาจากยุโรป และไม่ได้มีความจำเป็นในทุกประเทศทั่วโลก เป็นแค่บางประเทศที่ยึดถือศาสนาคริสต์เท่านั้น ซึ่งอันที่จริงธรรมเนียมการใส่สีขาวในเอเชียนั้น ส่วนใหญ่คือการแต่งร่วมพิธีศพ

ในบางประเทศในเอเชียเจ้าสาวก็ยังคงนิยมใส่ชุดแต่งงานแบบดั้งเดิมเพิ่มเติมจากการใส่ชุดสีขาวตามแบบฝรั่ง
ด้านล่างคือชุดแต่งงานสองแบบคือ แบบดั้งเดิมกับแบบประยุกต์อันหรูหราสวยงามที่ทำให้ เรา(ในที่นี้คือชาวต่างชาติ)ต้องคิดเสียใหม่กับการใช้ชุดพิธีสีขาว

ชุดแรก ไม่ใด้ไปไกลเลยเทอ..
ไทยแลนด์
เนื้อหาเป็นการเล่าที่มาของชุดไทยพระราชนิยมจากสมเด็จพระราชินี queen sirikit ของเรานี่เอง
ในสมัย1960-1970 ทรงเป็นต้นแบบแฟชั่นแห่งยุคและชาวไทยนบนอบให้เป็นผู้แต่งกายดีที่สุดในโลกในสายตาของชาวไทยทั้งหลาย
ทรงเป็นผู้สร้างสรรค์ชุดผ้าไหม ให้เป็นชุดประจำชาติ ชุดไทยพระราชนิยมมีแบบอันหลากหลาย และใส่ได้ในหลายวาระโอกาส


ในแบบตามสมัยนิยมเรียกว่า ชุดไทยประยุกต์ ในชุดนี้จะมีผ้าห่อตัวและไหล่ เรียกว่าสไบ ชุดจะไม่ใช้สีขาวแต่เน้นสีพาสเทลและสีครีมอันเป็นธรรมดาของชุดแต่งงานแบบไทย


อัฟกานิสถาน
ประเทศที่ร่ำรวยและมีชีวิตชีวาในประวัติศาสตร์และใช้สีสันมากมายในการตกแต่งชุดประจำชาติ ประเทศนี้ติดกับเอเชียตะวันออกและเอเชียกลางอันเป็นทางเชื่อมต่อของเส้นทางสายไหมที่มีประวัติอันยาวนานในการค้าขาย
ชุดแต่งงานของชาวkuchi (น่าจะเป็นชนพื้นเมืองในประเทศ) มีสีสันสดใสแสบตา มีลวดลายปักอย่างประณีตและรวมถึงลายเลขาคณิตที่มีความซับซ้อนจากด้ายแบบบาง (เรียกลวดลายนี้ว่าkhamak) และบางครั้งจะมีการประดับตกแต่งด้วยเหล็กและเหรียญเงินเย็บติดกับชุด

ไม่ว่าจะอยู่ฐานะใดก็ตามชาวอัฟกานิสถานจะฟุ่มเฟือยและทุ่มเทให้กับการแต่งงาน ชุดแต่งงานชาวอัฟกานิสถานจะเป็นสีเขียวเสียส่วนมาก เนื่องจากสีเขียวเชื่อมโยงกับสรวงสวรรค์ตามความเชื่อของศาสนาอิสลาม


เวียดนาม
อดีตของเวียดนามนั้นมีการผสมผสานวัฒนธรรมจีนและฝรั่งเศส ทำให้ความเด่นชัดของวัฒนธรรมผสมผสานมีอยู่มากรวมไปถึงวัฒนธรรมอันโดดเด่นของแฟชั่นในประเทศนี้อีกด้วย ชุดแต่งงานของทางเวียดนามนั้นขัดกับหลักเหตุผลใดๆ นั่นคือ ชุดเจ้าสาวที่มีกางเกงและหมวก..
อ๋าวได๋ (áo dài) คือชุดแต่งงานของเวียดนาม ชุดที่เราได้เห็นในปัจจุบันนั้นมาจากสมัย Nguyễn Dynasty (1802 - 1945) ซึ่งนิยมใช้ในชนชั้นสูง
ชุดแต่งงานแบบดั้งเดิมนั้นรวมไปถึงชุดผ้าคลุมยาวกรอมเท้า ซึ่งชุดแต่งงานนี้ทำให้เวียดนามเป็นหนึ่งในประเทศส่วนน้อยที่เจ้าสาวใส่ชุดกางเกงในงานแต่ง

สิ่งที่ต่างและโดดเด่นคือเครื่องประดับบนหัวทรงกลมคล้ายหมวก เรียกว่า ข่านด๋ง (khăn đóng) ที่ใช้ในงานแต่ง
ทั้งในจีนและเวียดนาม ตามความเชื่อทางสัญลักษณ์โดยทั่วไป ผู้หญิงเป็นตัวแทนของนกฟีนิกซ์ ขณะที่ชายคือมังกรซึ่งปรากฏในลายปักของชุด
และที่แน่นอน สีแดงคือสัญลักษณ์แห่งความโชคดีของหนุ่มสาว (ด้วยเหตุนี้จึงใช้สีแดงในชุดเจ้าสาว)


อินเดีย
ชุดแต่งงานอินเดียมีหลากหลายแบบและหลายสีสันมาก และชุดแต่งงานอาจจะย้อนประวัติไปได้ไกลถึงก่อนคริสตกาล (Indus Valley Civilization (c. 3300 BCE – 1700 BCE)) ส่วนมากชุดแต่งงานแบบอินเดียจะประกอบด้วย  चोली (choli - เสื้อเอวลอย), लहंगा (lehenga - กระโปรง), and दुपट्टा (dupatta - ผ้าพันคออเนกประสงค์)

สิ่งที่ทำให้เจ้าสาวจากอินเดียดูหรูหรานั่นคือรายละเอียดของชุด อันรวมไปถึงลายปักที่งดงามมากมายหลายหลาก ทำให้ชุดดูมีราคา เจ้าสาวอาจะประดับร่างกายด้วย bindi (แต้มกลางหน้าผาก มักจะเป็นสีแดงเข้ม) หรือ tikka (เครื่องประดับบนศีรษะและหน้าผาก)
เฮนน่า เป็นส่วนหนึ่งของความเชื่อแบบฮินดู สำหรับงานแต่งงานและเทศกาลสำคัญๆ ส่วนใหญ่จะประดับตกแต่งบนมือและเท้าของฝ่ายหญิง


[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

เกาหลี
เป็นที่รู้กันว่าเกาหลีแบ่งประเทศตามละติจูดที่38หลังจากสงครามเกาหลี แต่ทั้งสองประเทศก็มีประวัติศาสตร์ร่วมกันมาก่อน ซึ่งรวมไปถึงประวัติของชุดแต่งงานของทั้งสองประเทศ อันประกอบด้วยชุดคลุมของเจ้าสาวอันโดดเด่นซึ่งเชื่อมโยงไปได้ถึงวัฒนธรรมการแต่งกายของเกาหลี
ชุดประจำชาติของเกาหลีอันได้แก่ ชุด ฮันบก (한복) ประกอบด้วย ชุดพอดีตัว 저고리 (จอกอรี - เสื้อชั้นนอกที่มีชายผ้าผูกยาว) และ กระโปรงทรงสูง  치마 (ชิมา) ชุดฮันบกทรงระฆังนี้มีที่มาจากสมัยโจซอน (Joseon) ด้วยเอกลักษณ์ที่มีมากมายบวกด้วยกระโปรงทรงสูง ทำให้ชุดแต่งงานของเกาหลีกลายเป็นชุดราตรีของเจ้าหญิงแห่งเอเชีย

เจ้าสาวอาจจะเลือกประดับตกแต่งด้วยปิ่น 비녀 (พินเยาหรือบินเยา. binyeo) หรือมงกุฏ 족두리 (จกดูรี jokduri) ฮันบกแต่ละชุดจะมีที่มาและความหมายแตกต่างกันไปตามแต่เจ้าของ สีในชุดฮันบกก็มีความหมายแตกต่างกันไป ในอดีตสีบางสีสำหรับบางสถานะทางสังคมอาจจะไม่มีโอกาสได้สวม ณ ปัจจุบัน สีของฮันบกก็ยังจะต้องเลือกอย่างตั้งใจ เนื่องจากสีบางสีเกี่ยวเนื่องกับสถานะภาพทางอายุในแต่ละช่วงวัย และเป็นที่น่าอัศจรรย์ที่ว่า ชุดฮันบกต่างก็ยังเป็นชุดที่ตัดเย็บสำหรับเจ้าของเพียงผู้เดียว ดังนั้น ฮันบกจะไม่มีทางเหมือนกันได้ทุกกระเบียดนิ้ว


NOTE
มีสวยๆหลายชุดเลย แถมภูมิใจค่ะที่ไทยได้เป็นตัวเลือกของชุดเจ้าสาวที่สวยจากเอเชีย
เพิ่งได้ไปเจอมาเลยเอามาแบ่งปันและสรุปเนื้อหาซึ่งบางช่วงอาจจะตัดทอนบางเพราะขี้เกียจแปล แปลแบบตามใจฉันมั่กๆอย่าว่ากันเลยนะ ยิ้ม
อ้อ เราแปลสดๆ และ เราไม่มีคีบอร์ดไทย อาศัยการจำตำแหน่ง ถ้าพิมพ์ผิดบ้างแปลขัดบ้างต้องขออภัย
เครดิตและเผื่อว่าใครอยากจะเห็นรายละเอียด ที่ http://www.buzzfeed.com/eugeneyang/wedding-dresses-across-asia#.dfL7RVyo5
ป.ล.ข่าวใหม่แน่นอนเพิ่งลงวันที่3ม.ค. คิดว่าไม่ซ้ำนะคะ แต่ไม่รู้จะแท็กห้องอะไรดี 555
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่