ขอกราบไหว้พระรัตนตรัยด้วยความเคารพอย่างสูงยิ่ง
------------------
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า
ยเมตํ ดังนี้.
ได้ยินว่า ภิกษุรูปนั้น เมื่อออกจากพระวิหารเชตวันไปอาศัยอยู่ป่าแห่งใดแห่งหนึ่ง ในโกศลรัฐ
วันหนึ่ง ลงไปสู่สระบัวเห็นดอกบัวบานงาม จึงไปยืนดมดอกไม้อยู่ใต้ลม.
ลำดับนั้น เทวดาผู้สิงอยู่ที่ไพรสณฑ์นั้น จึงให้ท่านสลดใจว่า
ข้าแต่ท่านผู้เช่นกับด้วยเรา ท่านชื่อว่าเป็นผู้ขโมยกลิ่น ความคิดว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งประเสริฐ เป็นองค์ ๑ ของการขโมย.
เธอเป็นผู้ที่เทวดานั้นให้สลดใจแล้ว จึงมาที่พระเชตวันอีก ถวายบังคมพระศาสดา แล้วนั่งอยู่ ถูกพระศาสดาตรัสถามว่า
ดูก่อนภิกษุเธออยู่ที่ไหน? ทูลว่า อยู่ที่ไพรสณฑ์ชื่อโน้น เทวดาที่ไพรสณฑ์นั้นนั่นเองให้ข้าพระองค์สลดใจอย่างนี้.
i
i
i
อรรถกถาปทุมปุปผสูตร
(บางส่วน)
บทว่า
อชฺฌภาสิ ความว่า เทวดานั้นเห็นภิกษุนั้นจับก้านดอกบัวน้อมมา (ดม) จึงคิดว่า
ภิกษุนี้เรียนกัมมัฏฐานในสำนักของพระศาสดาแล้วเข้าป่า เพื่อบำเพ็ญสมณธรรม จะพิจารณาเอากลิ่นเป็นอารมณ์
ภิกษุนี้นั้น วันนี้ดมกลิ่นแล้ว แม้ในวันพรุ่งนี้ แม้ในวันมะรืนนี้ก็จักดมกลิ่น ตัณหาในกลิ่นนั้นของภิกษุนั้น เพิ่มพูนขึ้นแล้ว
จักยังประโยชน์ในชาตินี้และในชาติหน้าให้พินาศ เมื่อเราเห็นอยู่ ภิกษุนี้อย่าพินาศเลย เราจักเตือนท่าน ดังนี้แล้ว จึงเข้าไปพูด.
บทว่า
เอกงฺคเมตํ เถยฺยานํ ความว่า นี้เป็นองค์หนึ่ง คือ
เป็นส่วนหนึ่งแห่ง ๕ ส่วนมีรูปารมณ์เป็นต้นที่พึงลักเอา.
บทว่า
ยฺวายํ ตัดบทว่า โย อยํ (แปลว่า นี้ ใด). ได้ยินว่า เมื่อภิกษุนั้นกำลังพูดกับเทวดา ดาบสคนหนึ่งก็ลงไปขุดเหง้าบัวเป็นต้น.
i
i
i
ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสกะภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ไม่ใช่แต่เธอเท่านั้นที่ดมดอกไม้อยู่ ถูกเทวดาให้สลดใจ
แม้บัณฑิตในกาลก่อนทั้งหลาย เทวดาก็เคยให้สลดใจมาแล้วเหมือนกัน เป็นผู้ที่ภิกษุนั้นทูลอ้อนวอนแล้ว
จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธกดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี
พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลพราหมณ์ที่หมู่บ้านในแคว้นกาสี ตำบลหนึ่ง เติบโตแล้วได้เรียนศิลปะในเมืองตักกสิลา
ต่อมาได้บวชเป็นฤๅษี เข้าไปอาศัยสระบัวแห่งหนึ่งอยู่ วันหนึ่งลงไปสระนั้น ได้ยืนดมดอกบัวที่บานงดงาม.
ครั้งนั้น เทพธิดาตนหนึ่งสถิตอยู่ที่ลำต้นต้นไม้ .....
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙
ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๗. อุปสิงฆปุปผกชาดก
ว่าด้วยคนดีไม่ควรทำชั่วแม้นิดหน่อย
[๙๔๔] การที่ท่านเข้าไปสูดดมกลิ่นดอกบัวที่เขายังมิได้ให้ นี้เป็นส่วนแห่งการ
ขโมยอย่างหนึ่ง
ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ ท่านชื่อว่า เป็นผู้ขโมยกลิ่น.
[๙๔๕] เราไม่ได้นำเอาไป ไม่ได้บริโภค เรายืนดมดอกบัวอยู่ในที่ไกล เมื่อเป็น
เช่นนั้น
เหตุไฉน ท่านจึงกล่าวว่า เราเป็นผู้ขโมยกลิ่นดอกบัวเล่า?
[๙๔๖] บุรุษใด มาขุดเหง้าบัวทั้งหลาย เด็ดเอาดอกบัวไป เพราะเหตุไร ท่านจึง
ไม่ว่ากล่าวบุรุษนั้น ผู้ทำกรรมหยาบช้าอย่างนี้เล่า?
[๙๔๗] บุรุษผู้หยาบช้า โหดร้าย แปดเปื้อนไปด้วยบาป เหมือนผ้านุ่งของ
แม่นม ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ว่ากล่าวบุรุษนั้น แต่ข้าพเจ้า
ปรารถนาจะว่ากล่าวท่าน ผู้ทำกรรมไม่สมควร.
[๙๔๘]
บาปเพียงเท่าปลายขนทราย ย่อมปรากฏแก่บุรุษผู้ไม่มีโทษเหมือนท่าน
แสวงหาความสะอาดอยู่เป็นนิตย์ เหมือนเท่ามหาเมฆ ฉะนั้น.
[๙๔๙] ดูกรเทวดา ท่านรู้จักเรา และอนุเคราะห์เราโดยแท้ ท่านเห็นโทษเช่นนี้
ของเรา เมื่อใด ขอท่านจงตักเตือนเราแม้อีก เมื่อนั้น.
[๙๕๐] ข้าพเจ้าไม่ได้อาศัยท่านเลี้ยงชีพ และไม่เป็นลูกจ้างของท่าน ดูกรภิกษุ
ท่านนั้นแล พึงรู้การกระทำอันเป็นเหตุให้ไปสู่สุคติ
จบ อุปสิงฆปุปผกชาดกที่ ๗.
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ครั้งนั้น เทพธิดาตนหนึ่งสถิตอยู่ที่ลำต้นต้นไม้
เมื่อจะให้ท่านสลดใจ จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
ดูก่อนท่านผู้เช่นกับด้วยเรา ท่านดมดอกไม้ที่เกิดในน้ำ
ดอกบัวที่เขาไม่ได้ให้นี้ใด การดมนี้นั้นเป็นองค์ๆ หนึ่งของการขโมย ท่านเป็นผู้ขโมยกลิ่น.
ลำดับนั้นพระโพธิสัตว์ จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
เราไม่ลัก เราไม่เด็ดดอกบัว แต่เรายืนดมอยู่ไกลๆ เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุไรหนอ? จึงกล่าวหาว่าเราเป็นผู้ขโมยกลิ่น.
ขณะนั้น ชายคนหนึ่งขุดเหง้าบัวและเด็ดดอกบุณฑริกในสระนั้น พระโพธิสัตว์เห็นเขาแล้ว เมื่อจะเจรจากับเทพธิดานั้นว่า
ท่านกล่าวหาเราผู้ยืนดมอยู่แต่ไกลว่าเป็นโจร แต่เหตุไร จึงไม่ว่าชายคนนั้น?
จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-
ชายคนนี้ใด ขุดเหง้าบัว เด็ดดอกบุณฑริก ชายคนนี้นั้น ผู้มีการงานเลอะเทอะอย่างนี้ แต่เหตุไรจึงไม่มีใครว่า?
ลำดับนั้น เทวดา เมื่อจะบอกเหตุแห่งการพูดแก่พระโพธิสัตว์นั้น
จึงกล่าวคาถาที่ ๔ ที่ ๕ ว่า
ชายผู้มีกรรมหยาบดาดดื่นแล้ว เปรอะเปื้อนบาป เหมือนผ้าอ้อม ข้าพเจ้าจึงไม่มีคำพูดอะไรในเรื่องนั้น
แล้วข้าพเจ้าควรเพื่อจะว่ากล่าวเขาได้
สำหรับคนผู้ไม่มีกิเลสดุจเนิน มีปกติแสวงหาความสะอาดเป็นนิจ บาปประมาณเท่าปลายขนทราย
จะปรากฏแก่เขาประมาณเท่ากลีบเมฆทีเดียว
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธาติโจลํว ความว่า คนนี้จะเป็นผู้เปื้อนไปด้วยบาปทีเดียว เหมือนกับผ้านุ่งของพี่เลี้ยงที่เปื้อนน้ำลาย
น้ำมูก มูตรและคูถ เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่มีการว่าอะไรในเรื่องนั้น.
บทว่า ตญฺจารหามิ ความว่า แต่สมณะทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รักเป็นผู้ใคร่ต่อโอวาท ข้าแต่สมณะ
เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าจึงควรเพื่อจะว่ากล่าวเขาผู้ทำสิ่งที่ไม่สมควรแม้มีประมาณน้อย.
บทว่า อนงฺคณสฺส ได้แก่ ผู้เช่นกับท่านผู้หาโทษมิได้.
บทว่า อพฺภามตฺตํว ขายติ ความว่า บาปจะปรากฏเป็นสิ่งมีประมาณเท่าเมฆก้อนใหญ่
บัดนี้ เหตุไฉนท่านจึงจะทำโทษแบบนี้ให้เป็นอัพโภหาริก เป็นเหมือนไม่มีโทษไป
ส่วนพระโพธิสัตว์ผู้ถูกเทวดาให้สลดใจ ได้ถึงความสังเวชแล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๖ ว่า
ข้าแต่ท่านผู้ควรบูชายักษ์ ท่านรู้จักข้าพเจ้าแน่นอน และท่านอนุเคราะห์ข้าพเจ้า
ข้าแต่ท่านผู้ควรบูชายักษ์ ท่านจงตำหนิอีก เมื่อท่านเห็นโทษชนิดนี้ของเรา
ลำดับนั้น เทพธิดาจึงกล่าวคาถาที่ ๗ แก่พระโพธิสัตว์ว่า
ข้าพเจ้าไม่ได้อาศัยสิ่งนั้นเลี้ยงชีพเลย ทั้งเราไม่ได้เป็นลูกจ้างท่าน ข้าแต่ภิกษุ ตัวท่านเองควรรู้กรรมที่เป็นเหตุให้ไปสุคติ
เทวดา ครั้นให้โอวาทแก่พระโพธิสัตว์อย่างนี้แล้ว ก็กลับเข้าสู่วิมานของตน
ฝ่ายพระโพธิสัตว์ยังฌานให้เกิด แล้วได้เป็นผู้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจธรรมทั้งหลาย แล้วทรงประชุมชาดกไว้
ในที่สุดแห่งสัจธรรม ภิกษุนั้นดำรงอยู่แล้วในโสดาปัตติผล
เทพธิดาในครั้งนั้น ได้แก่ พระอุบลวรรณาเถรี ในบัดนี้
ส่วนดาบสได้แก่ เราตถาคต ฉะนี้แล
มาวมญฺเญถ ปาปสฺส น มตฺตํ อาคมิสฺสติ
อุทพินฺทุนิปาเตน อุทกุมฺโภปิ ปูรติ
อาปูรติ พาโล ปาปสฺส โถกํ โถกํปิ อาจินํ.
บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบาปว่า ‘บาปมีประมาณน้อยจักไม่มาถึง’
แม้หม้อน้ำยังเต็มด้วยหยาดน้ำที่ตกลง (ทีละหยาดๆ) ได้ฉันใด
ชนพาลเมื่อสั่งสมบาปแม้ทีละน้อยๆ ย่อมเต็มด้วยบาปได้ฉันนั้น.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=19&p=5
.
... "ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านชื่อว่า เป็นผู้ขโมยกลิ่น" ...
------------------
คนดีไม่ควรทำชั่วแม้นิดหน่อย
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=944&p=1
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ยเมตํ ดังนี้.
ได้ยินว่า ภิกษุรูปนั้น เมื่อออกจากพระวิหารเชตวันไปอาศัยอยู่ป่าแห่งใดแห่งหนึ่ง ในโกศลรัฐ
วันหนึ่ง ลงไปสู่สระบัวเห็นดอกบัวบานงาม จึงไปยืนดมดอกไม้อยู่ใต้ลม.
ลำดับนั้น เทวดาผู้สิงอยู่ที่ไพรสณฑ์นั้น จึงให้ท่านสลดใจว่า
ข้าแต่ท่านผู้เช่นกับด้วยเรา ท่านชื่อว่าเป็นผู้ขโมยกลิ่น ความคิดว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งประเสริฐ เป็นองค์ ๑ ของการขโมย.
เธอเป็นผู้ที่เทวดานั้นให้สลดใจแล้ว จึงมาที่พระเชตวันอีก ถวายบังคมพระศาสดา แล้วนั่งอยู่ ถูกพระศาสดาตรัสถามว่า
ดูก่อนภิกษุเธออยู่ที่ไหน? ทูลว่า อยู่ที่ไพรสณฑ์ชื่อโน้น เทวดาที่ไพรสณฑ์นั้นนั่นเองให้ข้าพระองค์สลดใจอย่างนี้.
i
i
สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
ปทุมปุบผสูตร
[๗๙๕] สมัยหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่ง พำนักอยู่ในแนวป่าแห่งหนึ่งในแคว้นโกศล
สมัยนั้นแล ภิกษุนั้นกลับจากบิณฑบาตภายหลังเวลาฉัน ลงสู่สระโบกขรณี แล้วสูดดมดอกปทุม ฯ
[๗๙๖] ครั้งนั้นแล เทวดาผู้สิงอยู่ในแนวป่านั้น มีความเอ็นดู ใคร่ประโยชน์แก่ภิกษุนั้น
หวังจะให้เธอสลด จึงเข้าไปหาถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกะเธอด้วยคาถาว่า
ท่านสูดดมดอกไม้ที่เกิดในน้ำซึ่งใครๆ ไม่ได้ให้แล้ว
นี้เป็นองค์อันหนึ่งแห่งความเป็นขโมย
ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านเป็นผู้ขโมยกลิ่น ฯ
[๗๙๗] ภิ. เราไม่ได้นำไป เราไม่ได้หัก เราดมดอกไม้ที่เกิดในน้ำห่างๆ
เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านจะเรียกว่าเป็นผู้ขโมยกลิ่นด้วยเหตุดังรือ
ส่วนบุคคลที่ขุดเหง้าบัว หักดอกบัวบุณฑริก เป็นผู้มีการงานอันเกลื่อนกล่นอย่างนี้
ไฉนท่านจึงไม่เรียกเขาว่าเป็นขโมย ฯ
[๗๙๘] เท. บุรุษผู้มีบาปหนา แปดเปื้อนด้วยราคาทิกิเลสเกินเหตุ เราไม่พูดถึงคนนั้น
แต่เราควรจะกล่าวกะท่าน
บาปประมาณเท่าปลายขนทราย ย่อมปรากฏประดุจเท่าก้อนเมฆในนภากาศ
แก่บุรุษผู้ไม่มีกิเลสดังว่าเนิน ผู้มักแสวงหาไตรสิกขาอันสะอาดเป็นนิจ ฯ
[๗๙๙] ภิ. ดูก่อนเทวดา ท่านรู้จักเราแน่ละ และท่านเอ็นดูเรา
ดูก่อนเทวดา ท่านเห็นกรรมเช่นนี้ในกาลใด ท่านพึงกล่าวอีก [ในกาลนั้น] เถิด ฯ
[๘๐๐] เราไม่ได้อาศัยท่านเป็นอยู่เลย และเราไม่ได้มีความเจริญเพราะท่าน
ดูก่อนภิกษุ ท่านพึงไปสุคติได้ด้วยกรรมที่ท่านพึงรู้ ฯ
ลำดับนั้นแล ภิกษุนั้นเป็นผู้อันเทวดานั้นให้สลด ถึงซึ่งความสังเวชแล้วแล ฯ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๖๕๙๑ - ๖๖๒๖. หน้าที่ ๒๘๓ - ๒๘๕.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=6591&Z=6626&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=795
ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย ได้ที่ :-
[795-800] http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali.php?B=15&A=795&Z=800
(บางส่วน)
บทว่า อชฺฌภาสิ ความว่า เทวดานั้นเห็นภิกษุนั้นจับก้านดอกบัวน้อมมา (ดม) จึงคิดว่า
ภิกษุนี้เรียนกัมมัฏฐานในสำนักของพระศาสดาแล้วเข้าป่า เพื่อบำเพ็ญสมณธรรม จะพิจารณาเอากลิ่นเป็นอารมณ์
ภิกษุนี้นั้น วันนี้ดมกลิ่นแล้ว แม้ในวันพรุ่งนี้ แม้ในวันมะรืนนี้ก็จักดมกลิ่น ตัณหาในกลิ่นนั้นของภิกษุนั้น เพิ่มพูนขึ้นแล้ว
จักยังประโยชน์ในชาตินี้และในชาติหน้าให้พินาศ เมื่อเราเห็นอยู่ ภิกษุนี้อย่าพินาศเลย เราจักเตือนท่าน ดังนี้แล้ว จึงเข้าไปพูด.
บทว่า เอกงฺคเมตํ เถยฺยานํ ความว่า นี้เป็นองค์หนึ่ง คือเป็นส่วนหนึ่งแห่ง ๕ ส่วนมีรูปารมณ์เป็นต้นที่พึงลักเอา.
บทว่า ยฺวายํ ตัดบทว่า โย อยํ (แปลว่า นี้ ใด). ได้ยินว่า เมื่อภิกษุนั้นกำลังพูดกับเทวดา ดาบสคนหนึ่งก็ลงไปขุดเหง้าบัวเป็นต้น.
i
i
ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสกะภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ไม่ใช่แต่เธอเท่านั้นที่ดมดอกไม้อยู่ ถูกเทวดาให้สลดใจ
แม้บัณฑิตในกาลก่อนทั้งหลาย เทวดาก็เคยให้สลดใจมาแล้วเหมือนกัน เป็นผู้ที่ภิกษุนั้นทูลอ้อนวอนแล้ว
จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธกดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี
พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลพราหมณ์ที่หมู่บ้านในแคว้นกาสี ตำบลหนึ่ง เติบโตแล้วได้เรียนศิลปะในเมืองตักกสิลา
ต่อมาได้บวชเป็นฤๅษี เข้าไปอาศัยสระบัวแห่งหนึ่งอยู่ วันหนึ่งลงไปสระนั้น ได้ยืนดมดอกบัวที่บานงดงาม.
ครั้งนั้น เทพธิดาตนหนึ่งสถิตอยู่ที่ลำต้นต้นไม้ .....
ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๗. อุปสิงฆปุปผกชาดก
ว่าด้วยคนดีไม่ควรทำชั่วแม้นิดหน่อย
[๙๔๔] การที่ท่านเข้าไปสูดดมกลิ่นดอกบัวที่เขายังมิได้ให้ นี้เป็นส่วนแห่งการ
ขโมยอย่างหนึ่ง ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ ท่านชื่อว่า เป็นผู้ขโมยกลิ่น.
[๙๔๕] เราไม่ได้นำเอาไป ไม่ได้บริโภค เรายืนดมดอกบัวอยู่ในที่ไกล เมื่อเป็น
เช่นนั้น เหตุไฉน ท่านจึงกล่าวว่า เราเป็นผู้ขโมยกลิ่นดอกบัวเล่า?
[๙๔๖] บุรุษใด มาขุดเหง้าบัวทั้งหลาย เด็ดเอาดอกบัวไป เพราะเหตุไร ท่านจึง
ไม่ว่ากล่าวบุรุษนั้น ผู้ทำกรรมหยาบช้าอย่างนี้เล่า?
[๙๔๗] บุรุษผู้หยาบช้า โหดร้าย แปดเปื้อนไปด้วยบาป เหมือนผ้านุ่งของ
แม่นม ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ว่ากล่าวบุรุษนั้น แต่ข้าพเจ้า
ปรารถนาจะว่ากล่าวท่าน ผู้ทำกรรมไม่สมควร.
[๙๔๘] บาปเพียงเท่าปลายขนทราย ย่อมปรากฏแก่บุรุษผู้ไม่มีโทษเหมือนท่าน
แสวงหาความสะอาดอยู่เป็นนิตย์ เหมือนเท่ามหาเมฆ ฉะนั้น.
[๙๔๙] ดูกรเทวดา ท่านรู้จักเรา และอนุเคราะห์เราโดยแท้ ท่านเห็นโทษเช่นนี้
ของเรา เมื่อใด ขอท่านจงตักเตือนเราแม้อีก เมื่อนั้น.
[๙๕๐] ข้าพเจ้าไม่ได้อาศัยท่านเลี้ยงชีพ และไม่เป็นลูกจ้างของท่าน ดูกรภิกษุ
ท่านนั้นแล พึงรู้การกระทำอันเป็นเหตุให้ไปสู่สุคติ
จบ อุปสิงฆปุปผกชาดกที่ ๗.
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ บรรทัดที่ ๔๑๙๔ - ๔๒๑๑. หน้าที่ ๑๙๘.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=27&A=4194&Z=4211&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถาชาดกนี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=944
ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย ได้ที่ :-
[944-950] http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali.php?B=27&A=944&Z=950
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=4019&Z=4049&pagebreak=0
อุทพินฺทุนิปาเตน อุทกุมฺโภปิ ปูรติ
อาปูรติ พาโล ปาปสฺส โถกํ โถกํปิ อาจินํ.
บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบาปว่า ‘บาปมีประมาณน้อยจักไม่มาถึง’
แม้หม้อน้ำยังเต็มด้วยหยาดน้ำที่ตกลง (ทีละหยาดๆ) ได้ฉันใด
ชนพาลเมื่อสั่งสมบาปแม้ทีละน้อยๆ ย่อมเต็มด้วยบาปได้ฉันนั้น.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=19&p=5
.