“Spotlight” ภาพยนตร์ตีแผ่ความศรัทธาและความถูกต้องในวงการศาสนา ผลงานการกำกับของ Tom McCarthy ที่ได้รับคะแนนวิจารณ์และคำชมอย่างล้นหลาม จนกลายเป็นเต็งหนึ่งของภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประจำปีนี้
“Spotlight” เป็นเรื่องราวของทีมนักข่าวหนังสือพิมพ์ Boston Globe ที่ทำการตีแผ่เรื่องราวเกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศ และการข่มขู่เด็กชายในศาสนจักรคาธอลิค ที่เป็นกระแสโด่งดังในอเมริกาในช่วงปี 2001-2002
.
บทภาพยนตร์ของ “Spotlight” ถือเป็นจุดเด่นและจุดแข็งของเรื่องนี้ โดยได้นักเขียนมือดีผู้กำกับของเรื่องนั่นเอง Tom McCarthy ผู้ที่เคยสร้างสรรค์ผลงานบทอันสุดยอดในอนิเมชั่นพิกซาร์เรื่อง UP มาแล้ว มาครั้งนี้เค้าก็ยังคงคุณภาพไว้เช่นเคย ด้วยการเขียนบทเล่าเรื่องราวในการสืบเสาะหาข้อมูลต่างๆของเหล่าทีมนักข่าว ‘Spotlight’ โดยบทของหนังจะมีความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ มีการบรรยายฉากการล่วงละเมิดทางเพศ ซึ่งถึงแม้จะเป็นแค่การบรรยายเท่านั้น แต่คนดูสามารถที่จะมองภาพออกได้ และการดำเนินของบท จะเป็นการหาข้อมูล จากจุดนี้ไปจุดโน้น แล้วความจริงก็จะปรากฏไปเรื่อยๆ ซึ่งทำให้ไม่น่าเบื่อ และคนดูก็ต้องนั่งลุ้นกับเรื่องราวความจริงที่เหล่าทีมนักข่าวเหล่านี้กำลังเฟ้นหาข้อมูลอยู่
.
เรื่องราวการล่วละเมิดทางเพศในคริสตจักรมีมาเนิ่นนาน แต่ทำไมถึงไม่มีการเปิดโปง? นั่นเป็นคำถามที่เหล่าทีมนักข่าว ‘Spotlight’ ต้องทำการหาคำตอบ เรื่องนี้ไม่ใช่การเปิดโปงเรื่องความเลวร้ายในคริสตจักรเพียงอย่างเดียว แต่ยังแฝงไปด้วยเรื่องราวในด้านการเมืองในคริสตจักร ด้วยประโยคที่กินใจว่า “They control everything” ถึงแม้หนังอาจจะไม่ได้เจาะลึกถึงประเด็นว่า ใครอยู่เบื้องหลังที่แท้หลัง แต่หนังก็พยายามที่จะเปิดโปงเรื่องราวให้กับคนภายนอกได้รับรู้ ผ่านทีมนักข่าว ‘Spotlight’ ที่นับถือคาธอลิคเช่นกัน... (ตรงนี้พีคมาก)
.
อีกหนึ่งประเด็นที่หนังต้องการนำเสนอ ซึ่งถือว่าเป็นจุดเด่นของเรื่องคือ จรรยาบรรณของสื่อ ในหนังจะเล่าเรื่องราวการหาข้อมูลของทีมนักข่าว เพื่อนำมาเปิดโปงเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศดังที่กล่าวมาเบื้องต้น แต่สุดท้ายกลับพีคหักมุม... เพราะบางครั้งเรื่องดังกล่าว สื่ออาจจะเป็นฝ่ายที่รับรู้และมีข้อมูลมากที่สุด แต่สื่อกลับไม่มีใครลุกขึ้นมาเปิดโปง หรือหาวิธีแก้ไขปัญหา กลับปล่อยให้ปัญหานี้เกิดขึ้นต่อเนื่องหลายสิบปี จุดนี้แระคือจุดดีงามของบทเรื่องนี้
.
แค่นี้ยังไม่พอ หนังให้น้ำหนักไปยังประเด็นที่ละเอียดอ่อนที่สุดไม่ว่าจะศาสนาไหนๆ คือเรื่อง ความถูกต้อง และความศรัทธา คนเราเมื่อมีความศรัทธา มักจะมองข้ามความถูกต้อง ไม่ยอมรับความจริง ซึ่งนี่อาจจะเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้การกระทำความผิดดังกล่าวยังดำเนินมาเรื่อยๆ โดยที่ผู้เสียหายเห็นการกระทำดังกล่าวว่าเป็นการศรัทธา เห็นผู้ที่กระทำผิดว่าเป็นพระเจ้าเพียงเพราะเป็นหลวงพ่อในคริสตจักร ซึ่งไม่ว่าในศาสนาไหนๆ การตีแผ่เรื่องราวในด้านลบของศาสนา ผู้ที่ตีแผ่ย่อมถูกมองในแง่ลบอย่างแน่นอน ซึ่งไทยเราก็เคยประสบมาแล้วในหลายๆเหตุการณ์
.
ในส่วนของการแสดง หนังได้นักแสดงแถวหน้าของวงการอย่าง Mark Ruffalo, Michael Keaton, Rachel McAdams และอื่นๆ มาร่วมตีแผ่เรื่องราวดังกล่าว โดยทีมนักแสดงทุกคนในเรื่อง แสดงออกมาได้น่าประทับใจมากๆ (ขนาดผู้เสียหายที่ทีมนักข่าวไปสัมภาษณ์ยังแสดงดีเลย) สมแล้วที่หนังจะคว้ารางวัล ทีมนักแสดงยอดเยี่ยมมาครองได้เกือบทุกสถาบัน ส่วนอีกคนที่ชื่นชมเป็นพิเศษคือ Mark Ruffalo หนุ่มฮัลค์ตัวเขียวของเรา ที่ในเรื่องนี้หนุ่มมาร์คโชว์สปิริตการแสดงได้เจิดจรัสที่สุด มีฉากที่จะต้องตะคอกฟีลลิ่งออกมาเต็มที่ ซึ่งหนุ่มมาร์คก็มาเต็มจริงๆ น่าชื่มชมมากๆ เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะเข้าชิงรางวัลสมทบชายบนเวทีออสการ์
.
องค์ประกอบอื่นๆของหนัง ที่ทำออกมาได้โอเคเลย ก็มีดนตรีประกอบภาพยนตร์ (Score) ที่เป็นดนตรีบรรเลง ที่ไพเราะเพราะพลิ้ว (บางฉากฟีลลิ่งให้ฟีล Social Network) แต่ถึงกระนั้น ส่วนตัวมองว่ายังไม่เด่นเท่าที่ควร
.
สรุป ด้วยเรื่องราวและองค์ประกอบทั้งหมด จึงทำให้ “Spotlight” ถือเป็นหนังที่ทรงคุณค่าที่สุดในปีนี้ ประดับคะแนนไปเลย 9.5/10 ถึงแม้ว่าด้านเทคนิคอาจจะยังไม่ที่สุดของปี แต่ด้วยบทภาพยนตร์ที่ตราตรึงใจและนำลิ่วอย่างนี้ จึงทำให้หนังเป็นเต็งหนึ่งภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ด้วยการเข้าชิงรางวัลจากทุกสมาคม รวมถึงลูกโลกทองคำ, Critics Choice และรวมไปถึงการติด Top10 ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมของ AFI อีกด้วย
ปล. สาขาใหญ่น่าจะต้องฟาดฟันกับ Mad Max (ลักษณะอาจจะคล้ายๆปีที่ 12 Years A Slave กับ Gravity ที่ 12 Years A Slave คว้ารางวัลใหญ่ และ Gravity กวาดรางวัลด้านเทคนิค)
ปล. หัก 0.5 เพราะหวังว่าจะเห็นการต่อต้านที่โหดร้ายกว่านี้
[review] Spotlight (9.5/10) บทอันทรงคุณค่า และการแสดงอันทรงพลัง สมราคา "ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี"
“Spotlight” เป็นเรื่องราวของทีมนักข่าวหนังสือพิมพ์ Boston Globe ที่ทำการตีแผ่เรื่องราวเกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศ และการข่มขู่เด็กชายในศาสนจักรคาธอลิค ที่เป็นกระแสโด่งดังในอเมริกาในช่วงปี 2001-2002
.
บทภาพยนตร์ของ “Spotlight” ถือเป็นจุดเด่นและจุดแข็งของเรื่องนี้ โดยได้นักเขียนมือดีผู้กำกับของเรื่องนั่นเอง Tom McCarthy ผู้ที่เคยสร้างสรรค์ผลงานบทอันสุดยอดในอนิเมชั่นพิกซาร์เรื่อง UP มาแล้ว มาครั้งนี้เค้าก็ยังคงคุณภาพไว้เช่นเคย ด้วยการเขียนบทเล่าเรื่องราวในการสืบเสาะหาข้อมูลต่างๆของเหล่าทีมนักข่าว ‘Spotlight’ โดยบทของหนังจะมีความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ มีการบรรยายฉากการล่วงละเมิดทางเพศ ซึ่งถึงแม้จะเป็นแค่การบรรยายเท่านั้น แต่คนดูสามารถที่จะมองภาพออกได้ และการดำเนินของบท จะเป็นการหาข้อมูล จากจุดนี้ไปจุดโน้น แล้วความจริงก็จะปรากฏไปเรื่อยๆ ซึ่งทำให้ไม่น่าเบื่อ และคนดูก็ต้องนั่งลุ้นกับเรื่องราวความจริงที่เหล่าทีมนักข่าวเหล่านี้กำลังเฟ้นหาข้อมูลอยู่
.
เรื่องราวการล่วละเมิดทางเพศในคริสตจักรมีมาเนิ่นนาน แต่ทำไมถึงไม่มีการเปิดโปง? นั่นเป็นคำถามที่เหล่าทีมนักข่าว ‘Spotlight’ ต้องทำการหาคำตอบ เรื่องนี้ไม่ใช่การเปิดโปงเรื่องความเลวร้ายในคริสตจักรเพียงอย่างเดียว แต่ยังแฝงไปด้วยเรื่องราวในด้านการเมืองในคริสตจักร ด้วยประโยคที่กินใจว่า “They control everything” ถึงแม้หนังอาจจะไม่ได้เจาะลึกถึงประเด็นว่า ใครอยู่เบื้องหลังที่แท้หลัง แต่หนังก็พยายามที่จะเปิดโปงเรื่องราวให้กับคนภายนอกได้รับรู้ ผ่านทีมนักข่าว ‘Spotlight’ ที่นับถือคาธอลิคเช่นกัน... (ตรงนี้พีคมาก)
.
อีกหนึ่งประเด็นที่หนังต้องการนำเสนอ ซึ่งถือว่าเป็นจุดเด่นของเรื่องคือ จรรยาบรรณของสื่อ ในหนังจะเล่าเรื่องราวการหาข้อมูลของทีมนักข่าว เพื่อนำมาเปิดโปงเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศดังที่กล่าวมาเบื้องต้น แต่สุดท้ายกลับพีคหักมุม... เพราะบางครั้งเรื่องดังกล่าว สื่ออาจจะเป็นฝ่ายที่รับรู้และมีข้อมูลมากที่สุด แต่สื่อกลับไม่มีใครลุกขึ้นมาเปิดโปง หรือหาวิธีแก้ไขปัญหา กลับปล่อยให้ปัญหานี้เกิดขึ้นต่อเนื่องหลายสิบปี จุดนี้แระคือจุดดีงามของบทเรื่องนี้
.
แค่นี้ยังไม่พอ หนังให้น้ำหนักไปยังประเด็นที่ละเอียดอ่อนที่สุดไม่ว่าจะศาสนาไหนๆ คือเรื่อง ความถูกต้อง และความศรัทธา คนเราเมื่อมีความศรัทธา มักจะมองข้ามความถูกต้อง ไม่ยอมรับความจริง ซึ่งนี่อาจจะเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้การกระทำความผิดดังกล่าวยังดำเนินมาเรื่อยๆ โดยที่ผู้เสียหายเห็นการกระทำดังกล่าวว่าเป็นการศรัทธา เห็นผู้ที่กระทำผิดว่าเป็นพระเจ้าเพียงเพราะเป็นหลวงพ่อในคริสตจักร ซึ่งไม่ว่าในศาสนาไหนๆ การตีแผ่เรื่องราวในด้านลบของศาสนา ผู้ที่ตีแผ่ย่อมถูกมองในแง่ลบอย่างแน่นอน ซึ่งไทยเราก็เคยประสบมาแล้วในหลายๆเหตุการณ์
.
ในส่วนของการแสดง หนังได้นักแสดงแถวหน้าของวงการอย่าง Mark Ruffalo, Michael Keaton, Rachel McAdams และอื่นๆ มาร่วมตีแผ่เรื่องราวดังกล่าว โดยทีมนักแสดงทุกคนในเรื่อง แสดงออกมาได้น่าประทับใจมากๆ (ขนาดผู้เสียหายที่ทีมนักข่าวไปสัมภาษณ์ยังแสดงดีเลย) สมแล้วที่หนังจะคว้ารางวัล ทีมนักแสดงยอดเยี่ยมมาครองได้เกือบทุกสถาบัน ส่วนอีกคนที่ชื่นชมเป็นพิเศษคือ Mark Ruffalo หนุ่มฮัลค์ตัวเขียวของเรา ที่ในเรื่องนี้หนุ่มมาร์คโชว์สปิริตการแสดงได้เจิดจรัสที่สุด มีฉากที่จะต้องตะคอกฟีลลิ่งออกมาเต็มที่ ซึ่งหนุ่มมาร์คก็มาเต็มจริงๆ น่าชื่มชมมากๆ เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะเข้าชิงรางวัลสมทบชายบนเวทีออสการ์
.
องค์ประกอบอื่นๆของหนัง ที่ทำออกมาได้โอเคเลย ก็มีดนตรีประกอบภาพยนตร์ (Score) ที่เป็นดนตรีบรรเลง ที่ไพเราะเพราะพลิ้ว (บางฉากฟีลลิ่งให้ฟีล Social Network) แต่ถึงกระนั้น ส่วนตัวมองว่ายังไม่เด่นเท่าที่ควร
.
สรุป ด้วยเรื่องราวและองค์ประกอบทั้งหมด จึงทำให้ “Spotlight” ถือเป็นหนังที่ทรงคุณค่าที่สุดในปีนี้ ประดับคะแนนไปเลย 9.5/10 ถึงแม้ว่าด้านเทคนิคอาจจะยังไม่ที่สุดของปี แต่ด้วยบทภาพยนตร์ที่ตราตรึงใจและนำลิ่วอย่างนี้ จึงทำให้หนังเป็นเต็งหนึ่งภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ด้วยการเข้าชิงรางวัลจากทุกสมาคม รวมถึงลูกโลกทองคำ, Critics Choice และรวมไปถึงการติด Top10 ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมของ AFI อีกด้วย
ปล. สาขาใหญ่น่าจะต้องฟาดฟันกับ Mad Max (ลักษณะอาจจะคล้ายๆปีที่ 12 Years A Slave กับ Gravity ที่ 12 Years A Slave คว้ารางวัลใหญ่ และ Gravity กวาดรางวัลด้านเทคนิค)
ปล. หัก 0.5 เพราะหวังว่าจะเห็นการต่อต้านที่โหดร้ายกว่านี้