กลายเป็น "ปมร้อน" ขึ้นมาทันทีอีกครั้ง! เมื่อหลายฝ่ายลุกขึ้นทวงถาม ประเด็นฉาว "อินไซเดอร์" ที่เพิ่งลือลั่นไป ทำไมเงียบหาย ?
หรือการรับผิดด้วยการจ่ายค่าปรับ เท่ากับได้รับโทษแล้วตามกฎหมาย
จะว่าไป กรณีอินไซเดอร์มีมานาน มีมาบ่อย ๆ แต่ไม่ค่อยเป็นข่าว
ทั้งเกี่ยวโยงกับบิ๊กผู้บริหาร และบริษัทในตลาดหุ้น
แต่มารอบนี้ กลับไม่จบง่าย ๆ เพราะเกิดคำถามมากมาย
ยิ่งเกิดในสมัยรัฐบาลประยุทธ์ ที่ชูจุดเด่นเรื่องความโปร่งใสและต้านคอร์รัปชั่น
ทำให้การร้องหา "ธรรมาภิบาล" ถูกจุดประกายขึ้นกับ 3 บิ๊ก บมจ.ซีพี ออลล์ (CPALL) เปรียบเสมือนสายฟ้าที่ฟาดลงมากลางเซเว่นอีเลฟเว่น
ซึ่งไม่มีใครคาดคิด
ย้อนไปสู่จุดเริ่มต้นของปมปัญหาดังกล่าว เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2558 สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ประกาศว่า คณะกรรมการมีคำสั่งเปรียบเทียบปรับ "กลุ่มบุคคล" กรณีอาศัยข้อมูลภายใน (Insider Trading) ซื้อหุ้น บมจ.สยามแม็คโคร (MAKRO) ระหว่างวันที่ 10-22 เม.ย. 2556 ในช่วงที่ CPALL เจรจาตกลงจะซื้อหุ้น MAKRO จากบริษัท เอสเอชวี เนเธอร์แลนด์ บี.วี. (SHV)
เนื่องจากกลุ่มบุคคลที่มีรายชื่อเปรียบเทียบปรับ เป็นที่รู้จักมักคุ้นในวงกว้างธุรกิจ
เริ่มจาก "ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์" ประธานกรรมการบริหาร "ปิยะวัฒน์ ฐิตะสัทธาวรกุล" รองประธานกรรมการบริหาร และ "พิทยา เจียรวิสิฐกุล" รองประธานกรรมการบริหาร CPALL และท่านอื่น ๆ รวม 5 คน รวมค่าปรับทั้งสิ้น 34,006,166.66 บาท
ทว่าการยกธงขาว โดยยอมเสียค่าปรับ กลับไม่ได้ทำให้เรื่องจบ และดูแนวโน้มอาจจะบานปลาย หลังจากคณะกรรมการตรวจสอบและกรรมการอิสระของ CPALL ออกแถลงการณ์เมื่อ 21 ธ.ค. ระบุชัดว่า "3 ผู้บริหารยังสมควรที่จะปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้"
ส่งผลให้เกิดกระแสต่อต้านขึ้นทันที
โดยเฉพาะ "วรวรรณ ธาราภูมิ" นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคม บลจ.) ส่งหนังสือถึงประธานกรรมการ CPALL เพื่อขอให้บริษัท และผู้บริหาร ร่วมหาแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมมากกว่านี้ ภายในเดือน ม.ค. 59
เพราะมติคณะกรรมการตรวจสอบที่ประกาศนั้น "ให้น้ำหนักคุณสมบัติของบุคคลมากกว่าธรรมาภิบาล"
พร้อมยืนยันว่า ไม่ได้เรียกร้องให้สมาชิกของสมาคมขายหุ้นออกจากพอร์ต แต่ให้ถือเป็นการตัดสินใจของ บลจ.แต่ละแห่งเอง
ขณะที่ บลจ.อีกหลายแห่งก็เห็นพ้องกับแนวทางของสมาคม อาทิ "วิน อุดมรัชตวนิชย์" ประธานเจ้าหน้าที่ บลจ.วรรณ และ "ประภา ปูรณโชติ" กรรมการ ผู้จัดการ บลจ.เอ็มเอฟซี ซึ่งมีหุ้น CPALL อยู่ในพอร์ตระบุว่า จะรอดูนโยบายของนายกสมาคมฯก่อน หากผลสรุปเป็นอย่างไร เราก็พร้อมเดินตาม
แม้แต่ "สมิทธ์ พนมยงค์" กรรมการผู้อำนวยการ บลจ.ไทยพาณิชย์ ก็พูดชัด "บริษัทประกันต่างๆ ที่มีพอร์ตลงทุนในหุ้นและนักลงทุนสถาบันต่างประเทศ ต่างให้ความสำคัญมากกับประเด็นธรรมาภิบาล และกำลังจับตาถึงเรื่องนี้"
ในห้วงข้ามปีนี้ ประเด็นธรรมาภิบาลที่ สมาคม บลจ.ลั่นกลองไว้ ได้สร้างแรงกระเพื่อมอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน
แรงกระเพื่อมแรก กระแทกไปที่การประเมินราคาหุ้น ซึ่งเป็นหน้าที่ของ "นักวิเคราะห์" ที่อาจต้องปรับเปลี่ยน เพราะแม้พื้นฐานของธุรกิจจะดี ไม่มีความเปลี่ยนแปลง แต่ประเด็น "ธรรมาภิบาล" ในเชิงลบ อาจทำให้คะแนน "บรรษัทภิบาล" หรือ CG มีแนวโน้มถูกปรับลดลงได้
"คณฆัส จิรเสวีนุประพันธ์" บริษัทหลักทรัพย์โนมูระ พัฒนสิน กล่าวว่า หลังจากนี้ CPALL จะมีความเสี่ยงด้านต้นทุนเงินทุนของกิจการ โดยเฉพาะการระดมทุนผ่านตราสารหนี้ (หุ้นกู้) ซึ่งต้องอาศัยเครดิตเรตติ้งเป็นตัวกำหนดราคาและต้นทุนการออกหุ้นกู้ ซึ่งดูจะไม่สดใสนัก
อีกด้านคือ ความคาดหวังนักลงทุนต่างชาติที่ถือหุ้น CPALL ถึง 32% ของทุนจดทะเบียนก็เป็นตัวชี้วัดถึงความน่าเชื่อถือ ดังนั้น บล.โนมูระ จึงปรับลดราคาเป้าหมาย ปี 2559 ของ CPALL เหลือ 47 บาท จากเดิมอยู่ที่ราคา 55 บาท
แรงกระเพื่อมระลอกสอง จะเกิดขึ้นกับหน่วยงานด้านตลาดทุน เพราะที่ผ่านมาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ในฐานะแหล่งระดมทุน และ ก.ล.ต. ในฐานะหน่วยงานกำกับตลาดทุน ได้พยายามสร้างภาพลักษณ์ผลักดันให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ (บจ.) ให้ความสำคัญกับเรื่อง CG มากเป็นอันดับหนึ่ง
ดังนั้น ทั้ง 2 หน่วยงานจะถูกกดดันมาก เพื่อให้แสดงจุดยืนและความตั้งใจในมาตรฐาน CG ของ บจ.ไทย
ส่วนสมาคมธนาคารไทย หนึ่งในแนวร่วมปฏิบัติต่อต้านการทุจริต (CAC) ก็ต้องทบทวนบทบาทเช่นเดียวกันและต้องหาวิธีการบริหารจัดการเพื่อรับมือ
หากอนาคตต้องทำหน้าที่เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ของบริษัทที่มีปัญหาในเรื่องธรรมาภิบาล
เรื่องนี้ไม่ได้เป็นแรงบีบ แรงเค้นกับใครทั้งสิ้น
แต่เป็นเรื่องของ "จังหวะ" และ "สถานการณ์" ที่โลกกำลังเพรียกหาธรรมาภิบาล โดยเฉพาะประเทศไทย
จึงกลายเป็นคำถามที่ต้นสังกัด ซีพี ออลล์ ต้องรับบทหนัก
รวมถึงทุกภาคส่วนในระบบตลาดเงินตลาดทุนต้องทบทวนระหว่างผลประโยชน์ ผลกำไร "สปิริต" และ "ความถูกต้อง"
สิ่งไหนสำคัญกว่ากัน
updated: 28 ธ.ค. 2558 เวลา 14:23:09 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
"ธรรมาภิบาล" หลอน CPALL ร้อน PART#2
กลายเป็น "ปมร้อน" ขึ้นมาทันทีอีกครั้ง! เมื่อหลายฝ่ายลุกขึ้นทวงถาม ประเด็นฉาว "อินไซเดอร์" ที่เพิ่งลือลั่นไป ทำไมเงียบหาย ?
หรือการรับผิดด้วยการจ่ายค่าปรับ เท่ากับได้รับโทษแล้วตามกฎหมาย
จะว่าไป กรณีอินไซเดอร์มีมานาน มีมาบ่อย ๆ แต่ไม่ค่อยเป็นข่าว
ทั้งเกี่ยวโยงกับบิ๊กผู้บริหาร และบริษัทในตลาดหุ้น
แต่มารอบนี้ กลับไม่จบง่าย ๆ เพราะเกิดคำถามมากมาย
ยิ่งเกิดในสมัยรัฐบาลประยุทธ์ ที่ชูจุดเด่นเรื่องความโปร่งใสและต้านคอร์รัปชั่น
ทำให้การร้องหา "ธรรมาภิบาล" ถูกจุดประกายขึ้นกับ 3 บิ๊ก บมจ.ซีพี ออลล์ (CPALL) เปรียบเสมือนสายฟ้าที่ฟาดลงมากลางเซเว่นอีเลฟเว่น
ซึ่งไม่มีใครคาดคิด
ย้อนไปสู่จุดเริ่มต้นของปมปัญหาดังกล่าว เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2558 สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ประกาศว่า คณะกรรมการมีคำสั่งเปรียบเทียบปรับ "กลุ่มบุคคล" กรณีอาศัยข้อมูลภายใน (Insider Trading) ซื้อหุ้น บมจ.สยามแม็คโคร (MAKRO) ระหว่างวันที่ 10-22 เม.ย. 2556 ในช่วงที่ CPALL เจรจาตกลงจะซื้อหุ้น MAKRO จากบริษัท เอสเอชวี เนเธอร์แลนด์ บี.วี. (SHV)
เนื่องจากกลุ่มบุคคลที่มีรายชื่อเปรียบเทียบปรับ เป็นที่รู้จักมักคุ้นในวงกว้างธุรกิจ
เริ่มจาก "ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์" ประธานกรรมการบริหาร "ปิยะวัฒน์ ฐิตะสัทธาวรกุล" รองประธานกรรมการบริหาร และ "พิทยา เจียรวิสิฐกุล" รองประธานกรรมการบริหาร CPALL และท่านอื่น ๆ รวม 5 คน รวมค่าปรับทั้งสิ้น 34,006,166.66 บาท
ทว่าการยกธงขาว โดยยอมเสียค่าปรับ กลับไม่ได้ทำให้เรื่องจบ และดูแนวโน้มอาจจะบานปลาย หลังจากคณะกรรมการตรวจสอบและกรรมการอิสระของ CPALL ออกแถลงการณ์เมื่อ 21 ธ.ค. ระบุชัดว่า "3 ผู้บริหารยังสมควรที่จะปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้"
ส่งผลให้เกิดกระแสต่อต้านขึ้นทันที
โดยเฉพาะ "วรวรรณ ธาราภูมิ" นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคม บลจ.) ส่งหนังสือถึงประธานกรรมการ CPALL เพื่อขอให้บริษัท และผู้บริหาร ร่วมหาแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมมากกว่านี้ ภายในเดือน ม.ค. 59
เพราะมติคณะกรรมการตรวจสอบที่ประกาศนั้น "ให้น้ำหนักคุณสมบัติของบุคคลมากกว่าธรรมาภิบาล"
พร้อมยืนยันว่า ไม่ได้เรียกร้องให้สมาชิกของสมาคมขายหุ้นออกจากพอร์ต แต่ให้ถือเป็นการตัดสินใจของ บลจ.แต่ละแห่งเอง
ขณะที่ บลจ.อีกหลายแห่งก็เห็นพ้องกับแนวทางของสมาคม อาทิ "วิน อุดมรัชตวนิชย์" ประธานเจ้าหน้าที่ บลจ.วรรณ และ "ประภา ปูรณโชติ" กรรมการ ผู้จัดการ บลจ.เอ็มเอฟซี ซึ่งมีหุ้น CPALL อยู่ในพอร์ตระบุว่า จะรอดูนโยบายของนายกสมาคมฯก่อน หากผลสรุปเป็นอย่างไร เราก็พร้อมเดินตาม
แม้แต่ "สมิทธ์ พนมยงค์" กรรมการผู้อำนวยการ บลจ.ไทยพาณิชย์ ก็พูดชัด "บริษัทประกันต่างๆ ที่มีพอร์ตลงทุนในหุ้นและนักลงทุนสถาบันต่างประเทศ ต่างให้ความสำคัญมากกับประเด็นธรรมาภิบาล และกำลังจับตาถึงเรื่องนี้"
ในห้วงข้ามปีนี้ ประเด็นธรรมาภิบาลที่ สมาคม บลจ.ลั่นกลองไว้ ได้สร้างแรงกระเพื่อมอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน
แรงกระเพื่อมแรก กระแทกไปที่การประเมินราคาหุ้น ซึ่งเป็นหน้าที่ของ "นักวิเคราะห์" ที่อาจต้องปรับเปลี่ยน เพราะแม้พื้นฐานของธุรกิจจะดี ไม่มีความเปลี่ยนแปลง แต่ประเด็น "ธรรมาภิบาล" ในเชิงลบ อาจทำให้คะแนน "บรรษัทภิบาล" หรือ CG มีแนวโน้มถูกปรับลดลงได้
"คณฆัส จิรเสวีนุประพันธ์" บริษัทหลักทรัพย์โนมูระ พัฒนสิน กล่าวว่า หลังจากนี้ CPALL จะมีความเสี่ยงด้านต้นทุนเงินทุนของกิจการ โดยเฉพาะการระดมทุนผ่านตราสารหนี้ (หุ้นกู้) ซึ่งต้องอาศัยเครดิตเรตติ้งเป็นตัวกำหนดราคาและต้นทุนการออกหุ้นกู้ ซึ่งดูจะไม่สดใสนัก
อีกด้านคือ ความคาดหวังนักลงทุนต่างชาติที่ถือหุ้น CPALL ถึง 32% ของทุนจดทะเบียนก็เป็นตัวชี้วัดถึงความน่าเชื่อถือ ดังนั้น บล.โนมูระ จึงปรับลดราคาเป้าหมาย ปี 2559 ของ CPALL เหลือ 47 บาท จากเดิมอยู่ที่ราคา 55 บาท
แรงกระเพื่อมระลอกสอง จะเกิดขึ้นกับหน่วยงานด้านตลาดทุน เพราะที่ผ่านมาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ในฐานะแหล่งระดมทุน และ ก.ล.ต. ในฐานะหน่วยงานกำกับตลาดทุน ได้พยายามสร้างภาพลักษณ์ผลักดันให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ (บจ.) ให้ความสำคัญกับเรื่อง CG มากเป็นอันดับหนึ่ง
ดังนั้น ทั้ง 2 หน่วยงานจะถูกกดดันมาก เพื่อให้แสดงจุดยืนและความตั้งใจในมาตรฐาน CG ของ บจ.ไทย
ส่วนสมาคมธนาคารไทย หนึ่งในแนวร่วมปฏิบัติต่อต้านการทุจริต (CAC) ก็ต้องทบทวนบทบาทเช่นเดียวกันและต้องหาวิธีการบริหารจัดการเพื่อรับมือ
หากอนาคตต้องทำหน้าที่เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ของบริษัทที่มีปัญหาในเรื่องธรรมาภิบาล
เรื่องนี้ไม่ได้เป็นแรงบีบ แรงเค้นกับใครทั้งสิ้น
แต่เป็นเรื่องของ "จังหวะ" และ "สถานการณ์" ที่โลกกำลังเพรียกหาธรรมาภิบาล โดยเฉพาะประเทศไทย
จึงกลายเป็นคำถามที่ต้นสังกัด ซีพี ออลล์ ต้องรับบทหนัก
รวมถึงทุกภาคส่วนในระบบตลาดเงินตลาดทุนต้องทบทวนระหว่างผลประโยชน์ ผลกำไร "สปิริต" และ "ความถูกต้อง"
สิ่งไหนสำคัญกว่ากัน
updated: 28 ธ.ค. 2558 เวลา 14:23:09 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์