เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา สำนักข่าว Xinhua (ซินหัว) ของจีนได้ออกมาเผย สภานิติบัญญัติได้ผ่านกฏหมายฉบับใหม่ที่ระบุให้บริษัท IT ต่างๆ เช่น ISP และ
บริษัทโทรคมนาคมต้องให้ความสนับสนุนรัฐบาลในการถอดรหัสข้อมูลการติดต่อสื่อสาร เพื่อตรวจสอบและป้องกันภัยก่อการร้ายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
Li Shouwei กรรมมาธิการร่างกฏหมายฝ่ายกฏหมายอาญาของจีน ระบุว่า กฏหมายฉบับนี้ไม่ได้ต้องการให้บริษัท IT ต้องติดตั้ง Backdoor หรือโค้ดที่ช่วยให้หน่วยงานความมั่นคงจีนสามารถเข้าถึงข้อมูลอย่างลับๆบนซอฟต์แวร์ต่างๆได้ เพียง
แค่ขอความร่วมมือในการส่งมอบข้อมูลต่างๆที่ถูกเข้ารหัสให้แก่รัฐบาลจีนในกรณีที่ต้องการสืบสวนสอบสวนการก่อการร้ายที่เกิดขึ้น รวมไปถึงบล็อคการติดต่อสื่อสารที่อาจเป็นภัยต่อความมั่นคง
กฏหมายฉบับนี้จะเริ่มบังคับใช้ในเดือนมกราคม 2016 ที่จะถึงนี้ ถ้าบริษัทใดไม่ปฏิบัติตามอาจถูกลงโทษโดยการเสียค่าปรับหรือจำคุกได้ อย่างไรก็ตาม มีหลายฝ่ายออกมาวิพากย์วิจารณ์ว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิ์ส่วนบุคคล และอาจส่งผลกระทบต่อบริษัทเทคโนโลยีของชาวตะวันตกได้
ที่มา:
http://www.networkworld.com/article/3018422/new-chinese-law-takes-aim-at-encryption.html
ที่มา2: ที่มา:
http://www.networkworld.com/article/3018422/new-chinese-law-takes-aim-at-encryption.html
ปล. ผู้ที่คาดว่าได้รับผลกระทบ มีดังนี้
1. บริษัทที่มีสาขาอยู่ในประเทศจีน ที่การใช้งานอินเตอร์เน็ต จะผ่านภาครัฐของประเทศจีนสอดส่อง
2. คนที่ใช้โปรแกรมของประเทศจีนทั้งหลายแหล่ ที่มีระบุข้อตกลงอยูแล้วว่า "มีการแอบส่งข้อมูลไม่ระบุตัวตน ไปยังบริษัทแม่ซึ่งอยู่ในประเทศจีน"
โปรแกรมที่เข้าข่ายคือ B@idu และอาจจะเข้าข่ายคือ Tencent , Qihoo , Rising
ข้อตกลงของไบดูที่เอามาส่วนหนึ่ง ถ้าต้องการอ่านกดสปอยล์ได้เลย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้3.5 ผู้ใช้ยินยอมให้"ข้อมูลส่วนบุคคล"หมายถึงข้อมูลสำหรับระบุข้อมูลส่วนบุคคลหรือการสื่อสารส่วนบุคคล รวมถึง ชื่อ เลขบัตรประจำตัวประชาชน หมายเลขโทรศัพท์ เลขที่อยู่ไอพี และอีเมล์ของผู้ใช้"ข้อมูลซึ่งไม่ใช่ข้อมูลส่วนบุคคล" ให้หมายถึงบันทึกพื้นฐานของสถานภาพการดำเนินการของผู้ใช้บนซอฟต์แวร์นี้ความพึงใจระหว่างการดำเนินการของซอฟต์แวร์ซึ่งสามารถสะท้อนให้เห็นในเครือข่ายของไป่ตู้ และข้อมูลทั่วไปอื่นๆนอกเหนือจาก ข้อมูลส่วนบุคคล)ไป่ตู้ยึดหลักการเคารพความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ ไป่ตู้จะใช้มาตรการที่สมเหตุสมผลในการปกป้องข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ โดยไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวต่อบุคคลภายนอกนอกจากพันธมิตรของไป่ตู้(โดยไม่ต้องมีการยินยอมจากผู้ใช้) เว้นแต่การเปิดเผยนั้น (i) ต้องตามกฎหมายหรือหน่วยงานราชการ หรือ (ii) ผู้ใช้ตกลงข้อยกเว้นจะนำมาใช้เมื่อผู้ใช้เลือกที่จะยอมรับการเปิดเผยในระหว่างกระบวนการการลงทะเบียน หรือได้มีการกำหนดเรื่องการเปิดเผยหรือใช้ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ระหว่างผู้ใช้ไป่ตู้และพันธมิตรของไป่ตู้ ผู้ใช้ต้องยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้จากการอนุญาตให้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ เพื่อการดำเนินการและการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและการให้บริการของไป่ตู้ ไป่ตู้อาจรวบรวมและใช้ข้อมูลซึ่งไม่ใช่ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ หรือจัดเตรียมข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลภายนอก เพื่อที่จะได้พัตนาความพึงพอใจในการใช้งานและปรับปรุงคุณภาพของการบริการของไป่ตู้
3.6 ผู้ใช้ยินยอมว่าไป่ตู้ต้องการข้อมูลผู้ใช้ (รวมถึงแต่ไม่จำกัดอยู่เพียง ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ และ ข้อมูลซึ่งไม่ใช่ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้)เพื่อเหตุผลดังต่อไปนี้: (1) การตรวจสอบความถูกต้องของซอฟต์แวร์; (2) การอัพเกรดซอฟต์แวร์การเชื่อมโยงข้อมูลในเครือข่ายในขณะเดียวกัน; (4) การปรับปรุงความปลอดภัยของซอฟต์แวร์และให้บริการสนับสนุนลูกค้า; (5) เมื่อผู้ใช้ต้องการจะใช้ฟังก์ชันพิเศษของซอฟต์แวร์ หรือร้องขอให้ไป่ตู้หรือหุ้นส่วนจัดเตรียมการบริการพิเศษ ไป่ตู้หรือหุ้นส่วนจำเป็นต้องให้ข้อมูลของผู้ใช้กับบุคคลภายนอก; และ (6) เงื่อนไขอื่นๆซึ่งสนับสนุนผลประโยชน์ทั้งของผู้ใช้และของไป่ตู้
ที่มาลิงค์ : http://antivirus.baidu.com/th/eula.html
จีนผ่านร่างกฏหมายต่อต้านการก่อการร้ายฉบับใหม่ ถอดรหัสข้อมูลได้ทันที (มีผลต่อคนใช้โปรแกรมของจีนเช่นไบดูด้วย)
Li Shouwei กรรมมาธิการร่างกฏหมายฝ่ายกฏหมายอาญาของจีน ระบุว่า กฏหมายฉบับนี้ไม่ได้ต้องการให้บริษัท IT ต้องติดตั้ง Backdoor หรือโค้ดที่ช่วยให้หน่วยงานความมั่นคงจีนสามารถเข้าถึงข้อมูลอย่างลับๆบนซอฟต์แวร์ต่างๆได้ เพียงแค่ขอความร่วมมือในการส่งมอบข้อมูลต่างๆที่ถูกเข้ารหัสให้แก่รัฐบาลจีนในกรณีที่ต้องการสืบสวนสอบสวนการก่อการร้ายที่เกิดขึ้น รวมไปถึงบล็อคการติดต่อสื่อสารที่อาจเป็นภัยต่อความมั่นคง
กฏหมายฉบับนี้จะเริ่มบังคับใช้ในเดือนมกราคม 2016 ที่จะถึงนี้ ถ้าบริษัทใดไม่ปฏิบัติตามอาจถูกลงโทษโดยการเสียค่าปรับหรือจำคุกได้ อย่างไรก็ตาม มีหลายฝ่ายออกมาวิพากย์วิจารณ์ว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิ์ส่วนบุคคล และอาจส่งผลกระทบต่อบริษัทเทคโนโลยีของชาวตะวันตกได้
ที่มา: http://www.networkworld.com/article/3018422/new-chinese-law-takes-aim-at-encryption.html
ที่มา2: ที่มา: http://www.networkworld.com/article/3018422/new-chinese-law-takes-aim-at-encryption.html
ปล. ผู้ที่คาดว่าได้รับผลกระทบ มีดังนี้
1. บริษัทที่มีสาขาอยู่ในประเทศจีน ที่การใช้งานอินเตอร์เน็ต จะผ่านภาครัฐของประเทศจีนสอดส่อง
2. คนที่ใช้โปรแกรมของประเทศจีนทั้งหลายแหล่ ที่มีระบุข้อตกลงอยูแล้วว่า "มีการแอบส่งข้อมูลไม่ระบุตัวตน ไปยังบริษัทแม่ซึ่งอยู่ในประเทศจีน"
โปรแกรมที่เข้าข่ายคือ B@idu และอาจจะเข้าข่ายคือ Tencent , Qihoo , Rising
ข้อตกลงของไบดูที่เอามาส่วนหนึ่ง ถ้าต้องการอ่านกดสปอยล์ได้เลย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้