ไวรัสตับอักเสบซี ค้นพบมาประมาณ 12 ปี พบว่า เป็นไวรัสที่ทำให้เกิดตับอักเสบได้อีกชนิดหนึ่งสามารถทำให้เกิดตับอักเสบทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรังตลอดจนตับแข็งและมะเร็งตับ ความรุนแรงของไวรัสชนิดนี้คือ เป็นตับอักเสบเรื้อรังมากกว่าชนิดอื่น และยังไม่มีวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ ทำได้ก็เพียงการให้ยาลดไวรัสและป้องกันการเกิดมะเร็งตับเท่านั้น
การติดต่อของ ไวรัสตับอักเสบซี
1. เลือดและผลิตภัณฑ์เลือดทุกชนิด โดยเฉพาะได้รับก่อนปี 2535
2. ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การฉีดยากับหมอเถื่อน
3. การสัก การเจาะหู โดยใช้อุปกรณ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน
4. การฟอกไตในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง
ประเด็นที่ควรระมัดระวังเกี่ยวกับสาเหตุของการติดเชื้อ ไวรัสตับอักเสบซี
เนื่องจาก ไวรัสตับอักเสบซี บางชนิดไม่แสดงอาการให้ทั้งผู้ป่วยและคนอื่นรู้ จึงทำให้ความเสี่ยงที่จะทำให้ผู้อื่นติดเชื้อ หรือเราไปติดเชื้อยิ่งมีมากขึ้น เราจึงต้องมีความระมัดระวังในประเด็นเหล่านี้ให้มาก
1. การสัก ซึ่งอาจเกิดจากการปนเปื้อนในน้ำหมึก หัวเข็ม ที่ล้างหมึก
2. การสักคิ้ว สักขอบตา
3. การฉีดยาเสพติดเข้าเส้น
4. อุปกรณ์ของใช้ในร้านเสริมสวย ไม่ว่าจะเป็นการทำผม การทำเล็บ การใช้ใบมีดโกน กรรไกร ซึ่งในร้านเสริมสวยค้นพบว่ามีเชื้อราอยู่ถึง 20% ทีเดียว
อาการของตับอักเสบเฉียบพลันจาก ไวรัสตับอักเสบซี
1. ไม่มีอาการ
2. อาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ มีไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน น้ำหนักลดและลงท้ายด้วยตัวเหลืองตาเหลือง ซึ่งอาการตัวเหลืองตาเหลืองพบได้เพียง 10-15% เท่านั้น ที่เหลือไม่พบ จึงทำให้ยากต่อการวินิจฉัย
อาการตับอักเสบเรื้อรังจาก ไวรัสตับอักเสบซี
ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีอาการ บางรายอาจมีอาการเหนื่อยเพลีย ไม่มีแรง มึนงง สมองไม่สั่งงานและเมื่อตับอักเสบไปเรื่อยๆ จึงพบอาการตับแข็ง นอกจากนั้นอาจพบอาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิต้านทานผิดปกติ เช่น โรคไต โรคผิวหนังผื่นตามผิวหนัง เป็นต้น
อาการตับแข็งจาก ไวรัสตับอักเสบซี
ผู้ป่วยตับแข็งในระยะแรกยังไม่มีอาการหรือความผิวปกติให้เห็น ผู้ป่วยยังสามารถมีชีวิตทำงานได้ตามปกติเหมือนเดิม จนกระทั่งสูญเสียการทำงานของตับมากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะเริ่มมีอาการต่างๆ ปรากฏให้เห็น ซึ่งแสดงออก 2 ชนิด คือ
1. อาการที่เกิดจากการสูญเสียการทำงานของเซลล์ตับ ทำให้การสร้างสารอาหาร พลังงานและการทำลายพิษต่างๆ ผิดปกติ อาการที่ปรากฏคือ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ผอมลง ตัวเหลือง ตาเหลือง ท้องม้าน ขาบวม ผิวคำคล้ำแห้ง คันโดยไม่มีแผล เลือดกำเดาออก เลือดออกตามไรฟัน กลางคืนนอนมีเลือดหยดลงหมอนผิวหนังช้ำ เขียวง่าย ไวต่อยาหรือสารพิษต่างๆ มากกว่าปกติ ป่วยบ่อยๆ ติดเชื้อในกระแสเลือดติดเชื้อในช่องท้อง สมองมึนงง ซึม สับสน หรือโคม่า
2. อาการที่เกิดจากพังผืดยึดรัดเนื้อตับ ก็คือ อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายดำ ถ่ายเป็นเลือด เนื่องจากมีการแตกของหลอดเลือดโป่งพองในหลอดอาหาร ม้ามโต ซีด เกล็ดเลือดต่ำ เม็ดเลือด ขาวต่ำ มะเร็งตับ
การรักษาโรค ไวรัสตับอักเสบซี
ตับอักเสบเฉียบพลัน เนื่องจากผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบเฉียบพลันมักไม่ค่อยมีอาการ จึงไม่มีการรักษาใดๆ เป็นเพียงการดูแลรักษาตามอาการเท่านั้น เช่น ถ้าอ่อนเพลียก็ให้พักผ่อนเยอะๆ ไม่นอนดึก หลีกเลี่ยงอาหารมัก เป็นต้น
ตับอักเสบเรื้อรัง ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ส่วนใหญ่จะกลายเป็นโรคเรื้อรังและมีการดำเนินของโรคไปเรื่อยๆ จนถึงสภาพตับเสื่อมและตับวายในที่สุด ปัจจุบันยาที่ใช้เป็นมาตรฐาน ในการรักษาคือ การให้ยา 2 ตัวร่วมกัน คือ ยาฉีดในกลุ่มอินเตอร์เฟอรอนร่วมกับยาไรบาไวริน ซึ่งเป็นยารับประทาน ยาทั้งสองจะให้ผลดีคือกำจัดไวรัสให้หมดไปและไปเป็นซ้ำอีกหลังหยุดยาซึ่งให้ผลเฉลี่ยมากกว่า 50%
ข้อแนะนำคนที่มี ไวรัสตับอักเสบซี
หยุดบริจาคเลือด
แยกอุปกรณ์ที่เป็นของมีคม เช่น มีดโกน กรรไกรตับเล็บ แปรงสีฟัน โดยไม่ปนเปื้อนกับผู้อื่น
งดการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
การสัก เจาะ ควรใช้อุปกรณ์ที่มีมาตรฐาน และห้ามนำไปใช้กับผู้อื่น
งดการดื่มแอลกอฮอล์ เพราะการดื่มแอลกอฮอล์เพียง 20-30 กรัมต่อวัน (เบียร์ 1 กระป๋อง ไวน์ 1 แก้ว) จะทำให้โรคตับรุนแรงมากขึ้น
หลีกเลี่ยงสารพิษอื่นๆ เช่น อาหารเสริม สมุนไพรที่ไม่ทราบส่วนประกอบหรือผลข้างเคียง
หลีกเลี่ยงพฤติกรรม
ทางเพศหรือพฤติกรรมทางเพศที่รุนแรง เพราะอาจจะทำให้การเกิดการติดเชื้อต่อคู่นอนง่ายขึ้น
ควรมาพบแพทย์ทุก 3-6 เดือน แม้จะไม่มีอาการอะไร เพื่อตรวจว่ามีตับอักเสบหรือไม่หรือเริ่มเป็นตับแข็งหรือยังหรือเพื่อตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มแรก
การป้องกัน ไวรัสตับอักเสบซี
ไวรัสตับอักเสบซี เป็นไวรัสที่ทำให้เกิดความรุนแรงต่อตับ ตั้งแต่การติดเชื้อเรื้อรัง ตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็งและมะเร็งตับ แม้ว่าการคัดกรองเลือดในปัจจุบันจะมีความแม่นยำมากขึ้น ร่วมกับการรณรงค์เรื่องการใช้เข็มฉีดยายาเสพติด ทำให้การติดเชื้อจากแหล่งเหล่านี้ลดลง แต่มีแนวโน้มจะติดเชื้อเพิ่มขึ้นจากการกระทำบางอย่าง เช่น การสัก การเจาะ และเนื่องจากวัคซีนสำหรับการป้องกันยังค้นไม่พบ ดังนั้น การป้องกันการติดเชื้อจึงถือว่าดีที่สุด
ขอขอบคุณข้อมูลจาก ห่วงใยดอทคอม
Report : LIV Capsule
ไวรัสตับอักเสบซี
การติดต่อของ ไวรัสตับอักเสบซี
1. เลือดและผลิตภัณฑ์เลือดทุกชนิด โดยเฉพาะได้รับก่อนปี 2535
2. ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การฉีดยากับหมอเถื่อน
3. การสัก การเจาะหู โดยใช้อุปกรณ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน
4. การฟอกไตในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง
ประเด็นที่ควรระมัดระวังเกี่ยวกับสาเหตุของการติดเชื้อ ไวรัสตับอักเสบซี
เนื่องจาก ไวรัสตับอักเสบซี บางชนิดไม่แสดงอาการให้ทั้งผู้ป่วยและคนอื่นรู้ จึงทำให้ความเสี่ยงที่จะทำให้ผู้อื่นติดเชื้อ หรือเราไปติดเชื้อยิ่งมีมากขึ้น เราจึงต้องมีความระมัดระวังในประเด็นเหล่านี้ให้มาก
1. การสัก ซึ่งอาจเกิดจากการปนเปื้อนในน้ำหมึก หัวเข็ม ที่ล้างหมึก
2. การสักคิ้ว สักขอบตา
3. การฉีดยาเสพติดเข้าเส้น
4. อุปกรณ์ของใช้ในร้านเสริมสวย ไม่ว่าจะเป็นการทำผม การทำเล็บ การใช้ใบมีดโกน กรรไกร ซึ่งในร้านเสริมสวยค้นพบว่ามีเชื้อราอยู่ถึง 20% ทีเดียว
อาการของตับอักเสบเฉียบพลันจาก ไวรัสตับอักเสบซี
1. ไม่มีอาการ
2. อาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ มีไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน น้ำหนักลดและลงท้ายด้วยตัวเหลืองตาเหลือง ซึ่งอาการตัวเหลืองตาเหลืองพบได้เพียง 10-15% เท่านั้น ที่เหลือไม่พบ จึงทำให้ยากต่อการวินิจฉัย
อาการตับอักเสบเรื้อรังจาก ไวรัสตับอักเสบซี
ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีอาการ บางรายอาจมีอาการเหนื่อยเพลีย ไม่มีแรง มึนงง สมองไม่สั่งงานและเมื่อตับอักเสบไปเรื่อยๆ จึงพบอาการตับแข็ง นอกจากนั้นอาจพบอาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิต้านทานผิดปกติ เช่น โรคไต โรคผิวหนังผื่นตามผิวหนัง เป็นต้น
อาการตับแข็งจาก ไวรัสตับอักเสบซี
ผู้ป่วยตับแข็งในระยะแรกยังไม่มีอาการหรือความผิวปกติให้เห็น ผู้ป่วยยังสามารถมีชีวิตทำงานได้ตามปกติเหมือนเดิม จนกระทั่งสูญเสียการทำงานของตับมากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะเริ่มมีอาการต่างๆ ปรากฏให้เห็น ซึ่งแสดงออก 2 ชนิด คือ
1. อาการที่เกิดจากการสูญเสียการทำงานของเซลล์ตับ ทำให้การสร้างสารอาหาร พลังงานและการทำลายพิษต่างๆ ผิดปกติ อาการที่ปรากฏคือ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ผอมลง ตัวเหลือง ตาเหลือง ท้องม้าน ขาบวม ผิวคำคล้ำแห้ง คันโดยไม่มีแผล เลือดกำเดาออก เลือดออกตามไรฟัน กลางคืนนอนมีเลือดหยดลงหมอนผิวหนังช้ำ เขียวง่าย ไวต่อยาหรือสารพิษต่างๆ มากกว่าปกติ ป่วยบ่อยๆ ติดเชื้อในกระแสเลือดติดเชื้อในช่องท้อง สมองมึนงง ซึม สับสน หรือโคม่า
2. อาการที่เกิดจากพังผืดยึดรัดเนื้อตับ ก็คือ อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายดำ ถ่ายเป็นเลือด เนื่องจากมีการแตกของหลอดเลือดโป่งพองในหลอดอาหาร ม้ามโต ซีด เกล็ดเลือดต่ำ เม็ดเลือด ขาวต่ำ มะเร็งตับ
การรักษาโรค ไวรัสตับอักเสบซี
ตับอักเสบเฉียบพลัน เนื่องจากผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบเฉียบพลันมักไม่ค่อยมีอาการ จึงไม่มีการรักษาใดๆ เป็นเพียงการดูแลรักษาตามอาการเท่านั้น เช่น ถ้าอ่อนเพลียก็ให้พักผ่อนเยอะๆ ไม่นอนดึก หลีกเลี่ยงอาหารมัก เป็นต้น
ตับอักเสบเรื้อรัง ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ส่วนใหญ่จะกลายเป็นโรคเรื้อรังและมีการดำเนินของโรคไปเรื่อยๆ จนถึงสภาพตับเสื่อมและตับวายในที่สุด ปัจจุบันยาที่ใช้เป็นมาตรฐาน ในการรักษาคือ การให้ยา 2 ตัวร่วมกัน คือ ยาฉีดในกลุ่มอินเตอร์เฟอรอนร่วมกับยาไรบาไวริน ซึ่งเป็นยารับประทาน ยาทั้งสองจะให้ผลดีคือกำจัดไวรัสให้หมดไปและไปเป็นซ้ำอีกหลังหยุดยาซึ่งให้ผลเฉลี่ยมากกว่า 50%
ข้อแนะนำคนที่มี ไวรัสตับอักเสบซี
หยุดบริจาคเลือด
แยกอุปกรณ์ที่เป็นของมีคม เช่น มีดโกน กรรไกรตับเล็บ แปรงสีฟัน โดยไม่ปนเปื้อนกับผู้อื่น
งดการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
การสัก เจาะ ควรใช้อุปกรณ์ที่มีมาตรฐาน และห้ามนำไปใช้กับผู้อื่น
งดการดื่มแอลกอฮอล์ เพราะการดื่มแอลกอฮอล์เพียง 20-30 กรัมต่อวัน (เบียร์ 1 กระป๋อง ไวน์ 1 แก้ว) จะทำให้โรคตับรุนแรงมากขึ้น
หลีกเลี่ยงสารพิษอื่นๆ เช่น อาหารเสริม สมุนไพรที่ไม่ทราบส่วนประกอบหรือผลข้างเคียง
หลีกเลี่ยงพฤติกรรมทางเพศหรือพฤติกรรมทางเพศที่รุนแรง เพราะอาจจะทำให้การเกิดการติดเชื้อต่อคู่นอนง่ายขึ้น
ควรมาพบแพทย์ทุก 3-6 เดือน แม้จะไม่มีอาการอะไร เพื่อตรวจว่ามีตับอักเสบหรือไม่หรือเริ่มเป็นตับแข็งหรือยังหรือเพื่อตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มแรก
การป้องกัน ไวรัสตับอักเสบซี
ไวรัสตับอักเสบซี เป็นไวรัสที่ทำให้เกิดความรุนแรงต่อตับ ตั้งแต่การติดเชื้อเรื้อรัง ตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็งและมะเร็งตับ แม้ว่าการคัดกรองเลือดในปัจจุบันจะมีความแม่นยำมากขึ้น ร่วมกับการรณรงค์เรื่องการใช้เข็มฉีดยายาเสพติด ทำให้การติดเชื้อจากแหล่งเหล่านี้ลดลง แต่มีแนวโน้มจะติดเชื้อเพิ่มขึ้นจากการกระทำบางอย่าง เช่น การสัก การเจาะ และเนื่องจากวัคซีนสำหรับการป้องกันยังค้นไม่พบ ดังนั้น การป้องกันการติดเชื้อจึงถือว่าดีที่สุด
ขอขอบคุณข้อมูลจาก ห่วงใยดอทคอม
Report : LIV Capsule