ศาสนาพุทธไม่ใช่เรื่องยากที่จะปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย แต่ผมมีความรู้สึกว่าเรากลับพยายามทำให้มันเป็นเรื่องยาก
ผมขอยกตัวอย่าง โดยเปรียบความทุกข์ คือ การหิวข้าว
1. เราหิวข้าว คือ ทุกข์
2. ร่างกายต้องการอาหาร คือ สมุทัย
3. ความอิ่ม คือ นิโรธ
4. กินอาหาร คือ มรรค
เมื่อเราหิวข้าว วิธีง่ายๆ ก็คือ กินอาหารเข้าไปเท่านั้น ความอิ่มก็จะเกิดขึ้น (หรือก็คือความหิวจะหายไป)
เราอาจจะรู้พอคร่าวๆ ว่า ที่เราหิวก็เพราะร่างกายต้องการอาหาร และเราจะหายหิวถ้าเรากินอาหารเข้าไป รู้เท่านั้นพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องรู้ลึกซึ้ง จากนั้นก็ลงมือกิน
และเมื่อเรากินอาหาร มันก็จะอิ่มเอง เราจะรู้ด้วยตัวของเราเอง (ว่าความอิ่มคืออะไร)
ถึงตอนนี้ เรื่องใดที่เราอยากรู้ก็ค่อยไปศึกษาตอนนั้นก็ไม่สาย
ในขณะที่บางคน ทั้งๆ ที่เกิดความหิว แต่แทนที่จะลงมือกินอาหาร กลับมัวแต่สนใจว่า ความหิวเกิดขึ้นได้อย่างไร ทำไมเราถึงหิว ทำไมร่างกายต้องการอาหาร เกิดจากฮอร์โมนตัวไหน พลังงานถูกใช้ไปอย่างไร ความอิ่มคืออะไร อิ่มแล้วจะรู้สึกอย่างไร อาหารที่กินมีสารอาหารอะไรบ้าง มีพลังงานเท่าไหร่ มีวิตามินอะไร ฯลฯ
รู้ละเอียดลึกซึ้งทุกอย่างทุกขั้นตอน แต่ไม่ลงมือกินอาหาร มันก็ไม่มีทางหายหิว
ชาวพุทธจำนวนมาก ดูเหมือนจะเป็นอย่างหลังครับ คือมัวแต่สนใจตำรา สนใจศึกษาพระไตรปิฏก นิพพานคืออะไร ปฏิจจสมุปบาทคืออะไร ขันธ์แต่ละขันธ์ทำงานอย่างไร อัตตาคืออะไร อนัตตาคืออะไร กิเลสมีกี่ชนิด ตัญหามีกี่แบบ ทุกข์คืออะไร สมุทัยคืออะไร นิโรธคืออะไร มรรคแต่ละข้อให้ผลอย่างไร ศีลมีอานิสงส์อย่างไร ฯลฯ
ใครถามอะไรตอบได้หมด รู้ทุกเรื่อง แต่ไม่ลงมือปฏิบัติ (บางทีแม้แต่ศีลก็ไม่รักษา)
เราเห็นแล้วว่าความทุกข์เกิดขึ้น หากเรามีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธเจ้าหรือพระพุทธศาสนา เราก็ปฏิบัติตามมรรคมีองค์แปด (ศีล สมาธิ ปัญญา) ความทุกข์ก็จะหมดไป เท่านั้นเองครับ
สมุทัย หรือ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เปรียบเหมือนอดีต
นิโรธ หรือ ความดับทุกข์ เปรียบเหมือนอนาคต
มรรค หรือ หนทางไปสู่นิโรธ คือปัจจุบัน
เราควรสนใจที่ปัจุบันครับ ทำปัจจุบันให้ดีที่สุด
(ผมไม่พูดถึงศีล ซึ่งอาจจะเปรียบได้กับการหาอาหารและการปรุงอาหาร คนที่ไม่รักษาศีลแล้วลงมือปฏิบัติ ไม่ต่างอะไรกับคนที่ไม่ได้ซื้ออาหารไม่ได้ปรุงอาหาร แต่จะกินอาหาร ไม่มีทางหายหิวครับ)
ศาสนาพุทธไม่ใช่เรื่องยาก แต่เราทำให้มันเป็นเรื่องยากเอง
ผมขอยกตัวอย่าง โดยเปรียบความทุกข์ คือ การหิวข้าว
1. เราหิวข้าว คือ ทุกข์
2. ร่างกายต้องการอาหาร คือ สมุทัย
3. ความอิ่ม คือ นิโรธ
4. กินอาหาร คือ มรรค
เมื่อเราหิวข้าว วิธีง่ายๆ ก็คือ กินอาหารเข้าไปเท่านั้น ความอิ่มก็จะเกิดขึ้น (หรือก็คือความหิวจะหายไป)
เราอาจจะรู้พอคร่าวๆ ว่า ที่เราหิวก็เพราะร่างกายต้องการอาหาร และเราจะหายหิวถ้าเรากินอาหารเข้าไป รู้เท่านั้นพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องรู้ลึกซึ้ง จากนั้นก็ลงมือกิน
และเมื่อเรากินอาหาร มันก็จะอิ่มเอง เราจะรู้ด้วยตัวของเราเอง (ว่าความอิ่มคืออะไร)
ถึงตอนนี้ เรื่องใดที่เราอยากรู้ก็ค่อยไปศึกษาตอนนั้นก็ไม่สาย
ในขณะที่บางคน ทั้งๆ ที่เกิดความหิว แต่แทนที่จะลงมือกินอาหาร กลับมัวแต่สนใจว่า ความหิวเกิดขึ้นได้อย่างไร ทำไมเราถึงหิว ทำไมร่างกายต้องการอาหาร เกิดจากฮอร์โมนตัวไหน พลังงานถูกใช้ไปอย่างไร ความอิ่มคืออะไร อิ่มแล้วจะรู้สึกอย่างไร อาหารที่กินมีสารอาหารอะไรบ้าง มีพลังงานเท่าไหร่ มีวิตามินอะไร ฯลฯ
รู้ละเอียดลึกซึ้งทุกอย่างทุกขั้นตอน แต่ไม่ลงมือกินอาหาร มันก็ไม่มีทางหายหิว
ชาวพุทธจำนวนมาก ดูเหมือนจะเป็นอย่างหลังครับ คือมัวแต่สนใจตำรา สนใจศึกษาพระไตรปิฏก นิพพานคืออะไร ปฏิจจสมุปบาทคืออะไร ขันธ์แต่ละขันธ์ทำงานอย่างไร อัตตาคืออะไร อนัตตาคืออะไร กิเลสมีกี่ชนิด ตัญหามีกี่แบบ ทุกข์คืออะไร สมุทัยคืออะไร นิโรธคืออะไร มรรคแต่ละข้อให้ผลอย่างไร ศีลมีอานิสงส์อย่างไร ฯลฯ
ใครถามอะไรตอบได้หมด รู้ทุกเรื่อง แต่ไม่ลงมือปฏิบัติ (บางทีแม้แต่ศีลก็ไม่รักษา)
เราเห็นแล้วว่าความทุกข์เกิดขึ้น หากเรามีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธเจ้าหรือพระพุทธศาสนา เราก็ปฏิบัติตามมรรคมีองค์แปด (ศีล สมาธิ ปัญญา) ความทุกข์ก็จะหมดไป เท่านั้นเองครับ
สมุทัย หรือ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เปรียบเหมือนอดีต
นิโรธ หรือ ความดับทุกข์ เปรียบเหมือนอนาคต
มรรค หรือ หนทางไปสู่นิโรธ คือปัจจุบัน
เราควรสนใจที่ปัจุบันครับ ทำปัจจุบันให้ดีที่สุด
(ผมไม่พูดถึงศีล ซึ่งอาจจะเปรียบได้กับการหาอาหารและการปรุงอาหาร คนที่ไม่รักษาศีลแล้วลงมือปฏิบัติ ไม่ต่างอะไรกับคนที่ไม่ได้ซื้ออาหารไม่ได้ปรุงอาหาร แต่จะกินอาหาร ไม่มีทางหายหิวครับ)