หากพูดถึงการมาเยือน เมือง นครศรีธรรมราช แล้ว ทุกคนก็จะแวะมาสักการะพระธาตุ เที่ยมชมอารยธรรมใต้ แวะดูเครื่องเงินหัตถศิลป์ หาร้านลิมรสติ่มซำ และแกงใต้ แต่จะกี่สักกี่มะน้อยคนเชียว ที่จะมองไปถึงเมืองท่า อย่าง..ปากพนัง
ถ้าถามผมว่า ในเมืองคอนนี้ น่าไปเที่ยวไหนมากที่สุด ผมว่า แต่ละเมืองก็มีเสน่ห์แตกต่างกันไป อย่างในอำเภอเมือง ก็มีเสน่ห์ที่เป็นแหล่งรวมศรัทธาและอารยธรรม หากเป็นแถบลานสกา นันก็จะเป็นเสน่ห์ของวิธีธรรมชาติ อันแสนสดชื่น หรือถ้าเป็นขนอม ก็มีเสน่ห์ไปทางการท่องเที่ยวทางทะเลอีกแบบนึง และสำหรับปากนพังแล้ว ผมว่า เสน่ห์ของที่นี่ ถือวิธีอันแสนน่ารักในเมืองเล็กๆ
ปากพนัง เมืองเล็กๆ แห่งหนึ่งของเมืองคอน นครศรีธรรมราช ที่พื้นที่เป็นแหลมยื่นออกไปในทะเล ณ ปากพนังแห่งนี้เคยเป็นเมืองท่ามาตั้งแต่ครั้งอดีต เป็นศูนย์กลางทางการค้าและเศรษฐกิจที่สำคัญ เหมาะแก่การเดินเรือและการกระจายสินค้าต่อไปยังหัวเมืองสำคัญอื่น ๆ ทำให้สภาพเศรษฐกิจในสมัยก่อนเฟื่องฟูมาก
พอพูดถึงประวัติศาสตร์ของเมืองคอนแล้ว ก็พาลให้นึกถึง เหตุการณ์พายุใหญ่ถล่มแหลมตะลุมพุก นำพาความเสียหายอย่างหนักในอดีต จนในหลวงใช้สื่อวิทยุในสมัยนั้นประกาศ รวบรวมของบริจาค และการช่วยเหลือครั้งประวัติศาสตร์ ที่คงไม่มีใครเคยลืม แม้ผมจะเกิดไม่ทัน แต่เรื่องราวตอนนั้นก็บอกเล่าส่งต่อ แล้วก็ไม่น่าเชื่อว่า จากเพลงร้องของชาวเรือ ว่า “นครฯจะไร้ยาก บางจากจะไร้ทุกข์ ปากพนังจะสนุก แหลมตะลุมพุกจะเป็นวัง” จะกลายเป็นจริง
ผมเคยมาปากพนังเมื่อหลายปีก่อน จวบจนครั้งนี้ผมว่าปากพนังวันนี้บ้านเรือนต่างๆ เปลี่ยนไปมาก สภาพบ้านเรือนไม้แบบเดิมๆ ก็แปรเปลี่ยนกันไป เป็นคอนโดนกนางแอ่นกันไปมาก แต่ก็ยังมีส่วนที่คงสภาพแบบดั้งเดิมหลงเหลืออยู่
มาปากพนังทั้งที ก็ต้องเที่ยวชมวิถีชาวเล ที่ในทุกวันจะมีเรือลำน้อยลำเลียงสัตว์น้ำมาจากชาวประมงแล่นผ่านกลางสายน้ำ ซึ่งเป็นภาพชีวิตที่พอเพียงที่เห็นอย่างชินตา
ลัดเลาะเส้นทางไปเรื่อยๆ จนมาถึงโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มแม่น้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งที่นี่นั้นมีเรื่องราวอันสุดแสนซาบซึ้งของชาวเมืองคอน
ประตูระบายน้ำแบบคอนกรีตเสริมเหล็กตั้งตะหง่าน ที่ทำหน้าที่เก็บกักน้ำจืดสำหรับหารเกษตรแก้ไขปัญหาการรุกตัวของน้ำเค็ม ใช้เป็นแหล่งอุปโภค บริโภค และช่วยบรรเทาอุทกภัยชุบชีวิตแก่ชาวประมงและราษฎรหลังจากเผชิญปัญหาน้ำมากกว่าหลาย 10 ปี ประตูระบายน้ำแห่งนี้มีชื่อว่า อุทกวิภาชประสิทธิ
"อุทกวิภาชประสิทธิ" เป็นนามพระราชทานที่เป็นมงคลยิ่ง มีความหมายถึง ความสามารถ แบ่งแยก น้ำจืด น้ำเค็ม ได้สำเร็จ นั่นคือ มีการบริหาร จัดการ อย่างสมดุล ปิดกั้นน้ำเค็มไม่ให้รุกเข้าไปในลำน้ำ กักเก็บน้ำจืดไว้ใช้ดำรงชีพซึ่งจะเป็นบทเริ่มต้นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของ ผู้คน และเอื้ออำนวยให้การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในลุ่มน้ำปากพนัง เป็นไปอย่างยั่งยืน ซึ่งประตูระบายน้ำนี้ ถือเป็นปฐมบทของโครงการ
อย่างที่บอกว่า ปากพนังนั้นเป็นเมืองท่า เป็นเมืองอู่ข้าว อู่น้ำ ในอดีตมีการปลูกข้าวกันมาก เดี๋ยวนี้ด้วยความนิยมการทำนากุ้ง ทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนไป ที่ดินนาเดิม กลายเป็นนากุ้ง มีการบุกรุกพื้นที่ป่าชายเลนจำนวนมาก และเมื่อราคากุ้งตก นากุ้งก็ร้าง ดินเค็ม และกลับมาใช้ประโยชน์ไม่ได้กลายเป็นนาร้างมากมาย จนมีโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มแม่น้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้นมา
และก็ยังมีปัญหาเส้นทางการไหลของน้ำที่มาจากหฃายที่ มีทั้งน้ำจืด และน้ำเค็ม อีกทั้งปากน้ำที่ทางน้ำไหลลงสู่ทะเลนั้น มีน้ำในปริมาณน้อย จึงไม่มีน้ำจืดที่จะไหลต้านน้ำทะเลไว้ได้ ทำให้เกิดความเสียหายกับชาวนาของชาวอำเภอปากพนังและอำเภอใกล้เคียง
ด้วยเหตุนี้เององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นความสำคัญของแหล่งอู่ข้าว ที่สำคัญ และด้วยที่พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์เกษตร อีกทั้งทรงรักและหวงแหนกระดูกสันหลังของชาติที่ต้องโยกย้ายถิ่นฐานไปทำมาหากินที่อื่นจะมีก็แต่นากุ้งที่ทำขึ้นแล้วกลับทำลายธรรมชาติขึ้นไปอีก
พระองค์จึง ทรงมีพระราชดำริ ที่จะปรับพื้นที่ทางไหลของน้ำให้สะดวกต่อการไหลและทำประตูน้ำกั้นน้ำทะเลเข้าออก สามารถกักหรือปล่อยน้ำทะเลให้เข้ามาได้ดินที่เคยเค็มใช้ในการเกษตรไม่ได้ ก็กลับมาอุดมสมบูรณ์เช่นเคย
นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณสุดล้นพ้น ที่ช่วยบรรเทาอุทกภัยชุบชีวิตแก่ชาวประมงและราษฎรหลังจากเผชิญปัญหาน้ำมากกว่าหลาย 10 ปี
นอกจากประตูกั้นน้ำแล้ว ในโครงการพระราชดำริแห่งนี้ยังมีอีกสองสถานที่น่าชม ที่ถือเป็นความภาคภูมิใจของชาวเมืองคอนเลยก็ว่าได้ นั้นคือ พระตำหนักที่ประทับแรมอำเภอปากพนัง
สำหรับ พระตำหนักที่ประทับแรมอำเภอปากพนัง เป็นพระตำหนักที่สร้างขึ้นในโครงการ สร้างบ้านให้พ่อ ที่ชาวเมืองคอนร่วมมือ ร่วมใจกันสร้างขึ้น เพื่อเป็นพระตำหนักทรงงานถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สร้างขึ้นเพื่อหวังว่าพระองค์ท่านคงจะมีโอกาส ได้มาเห็นความสำเร็จที่เกิดขึ้น จากที่พระองค์เคยสร้างไว้ ให้กับพวกเราที่ปากพนังแห่งนี้
ตัวพระตำหนัก ก่ออิฐถือปูน ประดับตกแต่งในแบบสถาปัตยกรรมภาคใต้ เน้นใช้ศิลปวัฒนธรรมเมืองคอนโดยเฉพาะผ้าทอเมืองนครฯ ลวดลายการตบแต่งแกะสลักล้วนมีความหมายทั้งสิ้น
บางส่วนของพระตำหนักสร้างยื่นออกมาอยู่กลางน้ำ สะท้อนเงาให้สวยงามจับตา
ภายนอกตกแต่งเป็นสวน ด้วยต้นไม้ท้องถิ่นเป็นหลัก มีต้นจันกระพ้อ ไม้หอมจากภูเขา ที่คอยส่งกลิ่นหอมอ่อนโดยรอบ และก็ยังมีต้นสัง ซึ่งเป็นพืชรั้วกินได้คนใต้ชอบกินปลูกไว้รอบนอกด้วย
ภายในบริเวณของโครงการพระราชดำริ ยังมีพิพิธภัณฑ์สำหรับให้ความรู้เกี่ยวกับโครงการพระราชดำริที่ปากพนัง หลายโครงการด้านน้ำ ประวัติของโครงการ และการช่วยเหลือที่มีตั้งแต่สมัยอดีต ที่แหลมตะลุมพุกโดนถล่มด้วยพายุใหญ่ การระดมความช่วยเหลือในยุคนั้น ที่ในหลวงทรงใช้ สิ่งเหล่านี้ มีให้ลูกๆรุ่นหลัง ได้มาเรียนรู้เรื่องราวของปากพนัง เรียนรู้เรื่องราวของพ่อหลวง ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ ต่อปวงชนชาวไทย จะเหนือ ใต้ ออก ตก อีสาน พระองค์ก็ทรงงานอย่างหนัก เพื่อพสกนิกรทั่วทุกถิ่นแคว้นในแดนไทย
จบทริปปากพนัง ทริปสั้นๆ ในเมืองน่ารัก ที่มีเรื่องเล่า เรื่อวราวมากมาย อันแสนซาบซึ่งในพระมหากรุณาธิคุณของในหลวงที่มีต่อพสกนิกรชาวไทย...ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ
ขอบคุณภาพจาก การท่องเที่ยวและกีฬา, flickr.com , ch kittima และ หมูอ้วนจอมพลัง
ลิขสิทธิ์บทความของ emaginfo.com
ติดตามบทความ ท่องเที่ยว&Lifestyleหรืออ่าน แมกกาซีน
เยือน ปากพนัง ความหลังเมืองท่า และพระมหากรุณาธิคุณ
ถ้าถามผมว่า ในเมืองคอนนี้ น่าไปเที่ยวไหนมากที่สุด ผมว่า แต่ละเมืองก็มีเสน่ห์แตกต่างกันไป อย่างในอำเภอเมือง ก็มีเสน่ห์ที่เป็นแหล่งรวมศรัทธาและอารยธรรม หากเป็นแถบลานสกา นันก็จะเป็นเสน่ห์ของวิธีธรรมชาติ อันแสนสดชื่น หรือถ้าเป็นขนอม ก็มีเสน่ห์ไปทางการท่องเที่ยวทางทะเลอีกแบบนึง และสำหรับปากนพังแล้ว ผมว่า เสน่ห์ของที่นี่ ถือวิธีอันแสนน่ารักในเมืองเล็กๆ
ปากพนัง เมืองเล็กๆ แห่งหนึ่งของเมืองคอน นครศรีธรรมราช ที่พื้นที่เป็นแหลมยื่นออกไปในทะเล ณ ปากพนังแห่งนี้เคยเป็นเมืองท่ามาตั้งแต่ครั้งอดีต เป็นศูนย์กลางทางการค้าและเศรษฐกิจที่สำคัญ เหมาะแก่การเดินเรือและการกระจายสินค้าต่อไปยังหัวเมืองสำคัญอื่น ๆ ทำให้สภาพเศรษฐกิจในสมัยก่อนเฟื่องฟูมาก
พอพูดถึงประวัติศาสตร์ของเมืองคอนแล้ว ก็พาลให้นึกถึง เหตุการณ์พายุใหญ่ถล่มแหลมตะลุมพุก นำพาความเสียหายอย่างหนักในอดีต จนในหลวงใช้สื่อวิทยุในสมัยนั้นประกาศ รวบรวมของบริจาค และการช่วยเหลือครั้งประวัติศาสตร์ ที่คงไม่มีใครเคยลืม แม้ผมจะเกิดไม่ทัน แต่เรื่องราวตอนนั้นก็บอกเล่าส่งต่อ แล้วก็ไม่น่าเชื่อว่า จากเพลงร้องของชาวเรือ ว่า “นครฯจะไร้ยาก บางจากจะไร้ทุกข์ ปากพนังจะสนุก แหลมตะลุมพุกจะเป็นวัง” จะกลายเป็นจริง
ผมเคยมาปากพนังเมื่อหลายปีก่อน จวบจนครั้งนี้ผมว่าปากพนังวันนี้บ้านเรือนต่างๆ เปลี่ยนไปมาก สภาพบ้านเรือนไม้แบบเดิมๆ ก็แปรเปลี่ยนกันไป เป็นคอนโดนกนางแอ่นกันไปมาก แต่ก็ยังมีส่วนที่คงสภาพแบบดั้งเดิมหลงเหลืออยู่
มาปากพนังทั้งที ก็ต้องเที่ยวชมวิถีชาวเล ที่ในทุกวันจะมีเรือลำน้อยลำเลียงสัตว์น้ำมาจากชาวประมงแล่นผ่านกลางสายน้ำ ซึ่งเป็นภาพชีวิตที่พอเพียงที่เห็นอย่างชินตา
ลัดเลาะเส้นทางไปเรื่อยๆ จนมาถึงโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มแม่น้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งที่นี่นั้นมีเรื่องราวอันสุดแสนซาบซึ้งของชาวเมืองคอน
ประตูระบายน้ำแบบคอนกรีตเสริมเหล็กตั้งตะหง่าน ที่ทำหน้าที่เก็บกักน้ำจืดสำหรับหารเกษตรแก้ไขปัญหาการรุกตัวของน้ำเค็ม ใช้เป็นแหล่งอุปโภค บริโภค และช่วยบรรเทาอุทกภัยชุบชีวิตแก่ชาวประมงและราษฎรหลังจากเผชิญปัญหาน้ำมากกว่าหลาย 10 ปี ประตูระบายน้ำแห่งนี้มีชื่อว่า อุทกวิภาชประสิทธิ
"อุทกวิภาชประสิทธิ" เป็นนามพระราชทานที่เป็นมงคลยิ่ง มีความหมายถึง ความสามารถ แบ่งแยก น้ำจืด น้ำเค็ม ได้สำเร็จ นั่นคือ มีการบริหาร จัดการ อย่างสมดุล ปิดกั้นน้ำเค็มไม่ให้รุกเข้าไปในลำน้ำ กักเก็บน้ำจืดไว้ใช้ดำรงชีพซึ่งจะเป็นบทเริ่มต้นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของ ผู้คน และเอื้ออำนวยให้การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในลุ่มน้ำปากพนัง เป็นไปอย่างยั่งยืน ซึ่งประตูระบายน้ำนี้ ถือเป็นปฐมบทของโครงการ
อย่างที่บอกว่า ปากพนังนั้นเป็นเมืองท่า เป็นเมืองอู่ข้าว อู่น้ำ ในอดีตมีการปลูกข้าวกันมาก เดี๋ยวนี้ด้วยความนิยมการทำนากุ้ง ทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนไป ที่ดินนาเดิม กลายเป็นนากุ้ง มีการบุกรุกพื้นที่ป่าชายเลนจำนวนมาก และเมื่อราคากุ้งตก นากุ้งก็ร้าง ดินเค็ม และกลับมาใช้ประโยชน์ไม่ได้กลายเป็นนาร้างมากมาย จนมีโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มแม่น้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้นมา
และก็ยังมีปัญหาเส้นทางการไหลของน้ำที่มาจากหฃายที่ มีทั้งน้ำจืด และน้ำเค็ม อีกทั้งปากน้ำที่ทางน้ำไหลลงสู่ทะเลนั้น มีน้ำในปริมาณน้อย จึงไม่มีน้ำจืดที่จะไหลต้านน้ำทะเลไว้ได้ ทำให้เกิดความเสียหายกับชาวนาของชาวอำเภอปากพนังและอำเภอใกล้เคียง
ด้วยเหตุนี้เององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นความสำคัญของแหล่งอู่ข้าว ที่สำคัญ และด้วยที่พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์เกษตร อีกทั้งทรงรักและหวงแหนกระดูกสันหลังของชาติที่ต้องโยกย้ายถิ่นฐานไปทำมาหากินที่อื่นจะมีก็แต่นากุ้งที่ทำขึ้นแล้วกลับทำลายธรรมชาติขึ้นไปอีก
พระองค์จึง ทรงมีพระราชดำริ ที่จะปรับพื้นที่ทางไหลของน้ำให้สะดวกต่อการไหลและทำประตูน้ำกั้นน้ำทะเลเข้าออก สามารถกักหรือปล่อยน้ำทะเลให้เข้ามาได้ดินที่เคยเค็มใช้ในการเกษตรไม่ได้ ก็กลับมาอุดมสมบูรณ์เช่นเคย
นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณสุดล้นพ้น ที่ช่วยบรรเทาอุทกภัยชุบชีวิตแก่ชาวประมงและราษฎรหลังจากเผชิญปัญหาน้ำมากกว่าหลาย 10 ปี
นอกจากประตูกั้นน้ำแล้ว ในโครงการพระราชดำริแห่งนี้ยังมีอีกสองสถานที่น่าชม ที่ถือเป็นความภาคภูมิใจของชาวเมืองคอนเลยก็ว่าได้ นั้นคือ พระตำหนักที่ประทับแรมอำเภอปากพนัง
สำหรับ พระตำหนักที่ประทับแรมอำเภอปากพนัง เป็นพระตำหนักที่สร้างขึ้นในโครงการ สร้างบ้านให้พ่อ ที่ชาวเมืองคอนร่วมมือ ร่วมใจกันสร้างขึ้น เพื่อเป็นพระตำหนักทรงงานถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สร้างขึ้นเพื่อหวังว่าพระองค์ท่านคงจะมีโอกาส ได้มาเห็นความสำเร็จที่เกิดขึ้น จากที่พระองค์เคยสร้างไว้ ให้กับพวกเราที่ปากพนังแห่งนี้
ตัวพระตำหนัก ก่ออิฐถือปูน ประดับตกแต่งในแบบสถาปัตยกรรมภาคใต้ เน้นใช้ศิลปวัฒนธรรมเมืองคอนโดยเฉพาะผ้าทอเมืองนครฯ ลวดลายการตบแต่งแกะสลักล้วนมีความหมายทั้งสิ้น
บางส่วนของพระตำหนักสร้างยื่นออกมาอยู่กลางน้ำ สะท้อนเงาให้สวยงามจับตา
ภายนอกตกแต่งเป็นสวน ด้วยต้นไม้ท้องถิ่นเป็นหลัก มีต้นจันกระพ้อ ไม้หอมจากภูเขา ที่คอยส่งกลิ่นหอมอ่อนโดยรอบ และก็ยังมีต้นสัง ซึ่งเป็นพืชรั้วกินได้คนใต้ชอบกินปลูกไว้รอบนอกด้วย
ภายในบริเวณของโครงการพระราชดำริ ยังมีพิพิธภัณฑ์สำหรับให้ความรู้เกี่ยวกับโครงการพระราชดำริที่ปากพนัง หลายโครงการด้านน้ำ ประวัติของโครงการ และการช่วยเหลือที่มีตั้งแต่สมัยอดีต ที่แหลมตะลุมพุกโดนถล่มด้วยพายุใหญ่ การระดมความช่วยเหลือในยุคนั้น ที่ในหลวงทรงใช้ สิ่งเหล่านี้ มีให้ลูกๆรุ่นหลัง ได้มาเรียนรู้เรื่องราวของปากพนัง เรียนรู้เรื่องราวของพ่อหลวง ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ ต่อปวงชนชาวไทย จะเหนือ ใต้ ออก ตก อีสาน พระองค์ก็ทรงงานอย่างหนัก เพื่อพสกนิกรทั่วทุกถิ่นแคว้นในแดนไทย
จบทริปปากพนัง ทริปสั้นๆ ในเมืองน่ารัก ที่มีเรื่องเล่า เรื่อวราวมากมาย อันแสนซาบซึ่งในพระมหากรุณาธิคุณของในหลวงที่มีต่อพสกนิกรชาวไทย...ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ
ขอบคุณภาพจาก การท่องเที่ยวและกีฬา, flickr.com , ch kittima และ หมูอ้วนจอมพลัง
ลิขสิทธิ์บทความของ emaginfo.com
ติดตามบทความ ท่องเที่ยว&Lifestyleหรืออ่าน แมกกาซีน