[SR] ตามรอยพระยุคลบาท สือสานแนวพระราชดำริ "ปากพนัง"

▼△ สวัสดีครับ

กระทู้นี้น่าจะเป็นแนวทางในการเดินทางให้กับทุกคนไม่มากก็น้อย
เนื่องจากในช่วงวันที่ ๒๘ ถึง ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘
ผมได้มีโอกาส เดินทางไปเยื่ยมชม "โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช
กับที่ทำงาน 555+ เที่ยวฟรี กินฟรี ตลอดทาง ดีจัง.!

▼△ ปล. ถ้าผิดพลาดหรือขาดตกบกพร่องขออภัยด้วยนะครับ



▼△ โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ

"การพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังเป็นไปตามลำดับขั้นตอน เมื่อสามารถจัดการกับปัญหาอย่างเป็นระบบได้แล้ว
เป้าหมายหลักคือปรับปรุงฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเพื่อให้ประชาชน "พออยู่ พอกิน พึ่งตนเองได้"
ซึ่งในการดำเนินงานพัฒนาได้น้อมนำเอาแนวพระราชดำริด้านต่างๆ มาใช้เป็นกรอบแนวคิด เป็นตัวแบบ
ตลอดจนนำองค์ความรู้ที่สำเร็จแล้วตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่างๆ มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม
สอดคล้องกับภูมิสังคมของพื้นที่และดำเนินงานบูรณาการเชื่อมโยงภารกิจของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
เพื่อการส่งเสริมพัฒนาแบบผสมผสานที่ครอบคลุมกิจกรรมของชุมชน"

วันนนี้ พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังกำลังพลิกฟื้น และได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นในทุกๆ ด้าน เพื่อกลับสู่การเป็นเมืองอู่ข้าว อู่น้ำ อีกครั้ง
แต่กว่าจะเดินทางมาถึงวันนี้ ชาวปากพนังต้องเผชิญกับปัญหาต้องต่อสู้ฟันฝ่าอุปสรรคมากมาย ด้วยความอดทน มุ่งมั่น พยายาม
แต่ทุกคนมี "ใจ" ที่เปี่ยมด้วย "ความหวัง" และ "ศรัทธา" ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่เป็นดังเข็มทิศนำทางสู่ความสำเร็จ


▼△ วิถีชีวิตริมน้ำของชาวปากพนัง

ยอ ยกยอ


เรือประมง ที่น้อยกำลังลดน้อยลงจากปากน้ำที่ตื้นขึ้น



ที่เห็นนั้นคือ "สะดือทะเล" ครับ


▼△ อำเภอปากพนังในอดีตเคยเป็นอู่ข้าวอู่น้ำสำคัญของภาคใต้ เพราะอุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์น้ำ และไร่ นา
ต่อมาเกิดปัญหาดินเปรี้ยว ดินเค็มขึ้นในพื้นที่ สาเหตุจากน้ำทะเลหนุน และการทำนากุ้ง เกินขอบเขต
ทำให้ชาวบ้านไม่สามารถใช้ผืนดินทำการเกษตรได้ เศรษฐกิจของปากพนังก็ซบเซาลง ต่อมาเมื่อเกิด
โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้น ความเจริญรุ่งเรืองก็เริ่มกลับมา
ชาวบ้านที่ทิ้งถิ่นฐานไปก็ทยอยกลับมาพลิกฟื้นไร่นา ให้กลับมาเป็นอู่ข้าวอู่น้ำเหมือนในอดีตอีกครั้ง


▼△ เรียนรู้วัฒนธรรมการแสดงพื้นเมือง ณ พิพิธภัณฑ์หนังตะลุง

การแสดงหนังตะลุง


ตัวหนังตะลุงโบราณ

บ้านหนังตะลุ โดย ลุงสุชาติ ทรัพย์สิน เป็นศิลปินหนังตะลุง และช่างทำรูปหนังตะลุฝีมือดีเยี่ยม
ที่สืบทอด และส่งต่อ การทำตัวหนังตะลุง เพื่อทดแทนคุณแผ่นดิน โดยยึดแนวพระราชดำรัสของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ว่า "การรักษาวัฒนธรรม คือ การรักษาชาติ" โดยในปัจจุบัน
ผู้ที่สืบทอดวัฒนธรรมอันดีนี้ก็คือลูกชายของคุณลุงนั้นเอง


▼△ หมู่บ้านต้นแบบแห่งวิถีความพอเพียง "คีรีวง"

กลุ่มผ้าบาติก


กลุ่มสมุนไพร (ทำสบู่มังคุด)


กลุ่มมัดย้อมสีธรรมชาติ

▼△ หมู่บ้านคีรีวง อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นชุมชนเก่าแก่ตั้งอยู่ที่เชิงเขาหลวงด้านทิศตะวันออก
คนในชุมชนมีอาชีพทำสวนผลไม้ มีชีวิตสันติสุขในสังคมแบบเครือญาติ ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่สวยงามและอุดมสมบูรณ์
แต่หลังจากประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทำให้เกิดปัญหาตามมาหลายด้าน ทางชุมชนจึงได้มีการพัฒนาเป็นการ
รวมกลุ่มเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน เช่น กลุ่มมัดย้อมสีธรรมชาติ กลุ่มผ้าบาติก และกลุ่มลูกไม้ เป็นต้น


▼△ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร



ประเพณีผ้าขึ้นธาตุ การนำผ้าผืนยาวขึ้นไปห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์

▼△ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้และประเทศไทย
เปรียบเสมือนศูนย์รวมใจของพุทธศาสนิกชนชาวใต้ มีพระบรมธาตุเจดีย์อันยิ่งใหญ่ที่มีส่วนยอดเจดีย์เป็นทองคำ
เป็นภาพสะท้อนแห่งความศรัทธาของชาวพุทธที่มีต่อการสร้างพระบรมธาตุเพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ


▼△ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

เป็นวันที่แดดดีมากจริงๆ


▼△ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ เริ่มต้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้สถาบันต่างๆ
ที่มีหน้าที่ในการศึกษาพืชพันธุ์ต่างๆ และบุคคลที่สนใจ ได้มีโอกาสศึกษาพืชพันธุ์ต่างๆ ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในประเทศไทย
อีกทั้ง เป็นการรวมรวมเป็นหลักฐานไว้ และสามารถดำเนินการได้ก้าวหน้าเป็นประโยชน์ในทางวิชาการได้


▼△ เขื่อนรัชชประภา "แสงสว่างแห่งราชอาณาจักร"



ภายในศูนย์ควบคุมการผลิตไฟฟ้า

▼△ เขื่อนรัชชประภา เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ ที่สำคัญแห่งหนึ่งในภาคใต้ สร้างขึ้นเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำ และพลังงานไฟฟ้า
ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับบที่ ๔ "เขื่อนรัชชประภา" ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นเขื่อนสารพัดประโยชน์
ของคนในพื้นที่ภาคใต้ ไม่ว่าจะเป็น แหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้า แหล่งกักเก็บน้ำการชลประทานเพื่อการเพาะปลูก
ช่วยลดความรุนแรงของสภาวะน้ำท่วมในพื้นที่ตอนล่าง และช่วยแก้ไขน้ำเสียและผลักดันน้ำเค็ม อีกทั้งอ่างเก็บน้ำของเขื่อน
ยังเป็นแหล่งประมงน้ำจืดที่สำคัญ สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านอีกด้วย



▼△ กลับกรุงเทพฯ ไปทำงานต่อได้พักผ่อน และรับความรู้เต็มที่แล้ว 55+
ขอบคุณสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และฝ่ายสื่อสารองค์กร
ที่ได้จัดโครงการดีๆ เช่นนี้ขึ้นมาครับ

จนกว่าจะพบกันใหม่  
.
.
.
"สวัสดีครับ"
ชื่อสินค้า:   นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี
คะแนน:     
**SR - Sponsored Review : ผู้เขียนรีวิวนี้ไม่ได้ซื้อสินค้าหรือเสียค่าบริการเอง แต่มีผู้สนับสนุนสินค้าหรือบริการนี้ให้แก่ผู้เขียนรีวิว โดยที่ผู้เขียนรีวิวไม่ได้รับสิ่งตอบแทนอื่นใดในการเขียนรีวิว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่