สายน้ำโขงของหมู่เฮา...บ่ใช่ของใคร
ท่องเที่ยวทางเลือก ที่“โฮงเฮียนแม่น้ำของ”
เรื่อง/ภาพ โดย จำนง ศรีนคร บรรณาธิการ www.addtrang.com
สายน้ำโขงของหมู่เฮา...บ่ใช่ของใคร เป็นท่อนหนึ่งในเพลงพิเศษ "เชียงของของเรา" ที่ลุงๆวง “นั่งเล่น” แต่งขึ้นให้แม่น้ำโขง ในโอกาสเดินทางมาแสดงสดในงานเปิดตัว “โฮงเฮียนแม่น้ำโขง” ริมแม่น้ำโขง ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เป็นท่อนสั้นๆ แต่มีความหมาย...
ฟังเพลง "เชียงของของเรา" คลิกลิงค์
https://www.youtube.com/watch?v=kkiHHEwnUNM
กระทู้นี้ผู้เขียนขอออกตัวไว้ว่า ตั้งใจจะให้เป็นรีวิวท่องเที่ยว แต่อยากสอดแทรกมุมทางเลือกด้านการอนุรักษ์ การเคารพเห็นคุณค่าของธรรมชาติเอาไว้ด้วย
เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาอากาศเริ่มหนาว หลายคนเริ่มพัก และออกเดินทางท่องเที่ยวเติมพลังให้ชีวิต สำหรับผมก็เช่นกัน ถือเป็นของขวัญปลายปีที่ได้มีโอกาสได้เดินทางค่อนข้างไกล จากภาคใต้ไปถึงขอบแดนประเทศด้านบน ฝั่งอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ซึ่งติดกับสปป.ลาว มีแม่น้ำโขงเป็นพรมแดนธรรมชาติ อุณหภูมิเฉลี่ยกำลังสบายๆที่สิบองศานิดๆ สายน้ำ ต้นไม้ ภูเขา ผู้คน “เชียงของ” เป็นอำเภอเล็กๆแต่มีมนต์สเน่ห์ของความอุดมสมบูรณ์ วิถีชีวิตที่เรียบง่าย
เดินทางไปแบบง่ายๆ ลงเครื่องที่สนามบินแม่ฟ้าหลวง เชียงราย นั่งรถตู้ต่อราวชั่วโมงนิดๆไปลงเรือที่อำเภอเชียงแสน เพื่อล่องชมทัศนียภาพแม่น้ำโขงแล้วไปขึ้นท่าที่อำเภอเชียงของ
บรรยากาศล่องเรือจากเชียงแสนไปเชียงของ นั่งกินลม
ชมสองฝั่งโขง กั้นลาว-ไทย ซ้ายลาว ขวาไทย
ความประทับใจสำคัญของผมคือได้เข้าไปร่วมงานเปิดโฮงเฮียนแม่น้ำของ ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง หมู่ที่ 1 ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ ระหว่างวันที่ 18-19 ธันวาคมที่ผ่านมา
โฮงเฮียนแม่น้ำของ
กิจกรรมอ่านสร้างโลก นำหนังสือดีๆจำหน่ายแก่เยาวชนในราคาเพียงเล่มละ 1 บาท
เยาวชนในพื้นที่สนใจรร่วมงานจำนวนมาก
ฐานการเรียนรู้ด้านศิลปะกับการอนุรักษ์
ฐานการเรียนรู้การคำนวนมูลค่าทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ครูตี๋-นิวัฒน์ ร้อยแก้ว ครูใหญ่โฮงเฮียนแม่น้ำของ และประธานกลุ่มรักษ์เชียงของ กำลังให้ความรู้แก่ผู้ร่วมงาน
เกริ่นสักเล็กน้อยว่า “โฮงเฮียนแม่น้ำของ”(Chiang Kong Mekong School on Local Knowledge) เป็นผลิตผลจากการทำงานด้านการอนุรักษ์นิเวศ-วัฒน์ธนธรรมลุ่มแม่น้ำโขงยาวนานกว่า 15 ปี ของชาวบ้านที่นี่ จัดตั้งขึ้นภายใต้ปรัชญา “เคารพในธรรมชาติ ศรัทธาในความเท่าเทียมกันของมนุษย์(Respect for nature. Faith in humanity justice)”
จากความร่วมมือของชาวบ้านและภาคส่วนต่างๆแถบลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อเปิดสนามการเรียนรู้นอกระบบด้านนิเวศน์วัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำโขง บรรยากาศคึกคักด้วยภาพความสนุกสนานของเด็กๆจากสถาบันการศึกษา 9 แห่งในอำเภอเชียงของและเวียงแก่น ที่นอกจากมาร่วมกิจกรรมแล้ว ทางโรงเรียนยังได้ร่วมลงนาม บันทึกข้อตกลงร่วมกันเพื่อจัดเวลาให้นักเรียนในสังกัดเข้ามาศึกษาความรู้ในโฮงเฮียนน้ำของ อย่างน้อย 3 ปี
ครูตี๋-นิวัฒน์ ร้อยแก้ว ครูใหญ่โฮงเฮียนแม่น้ำของ และประธานกลุ่มรักษ์เชียงของ ตัวตั้งตัวตีคนสำคัญที่ชักชวนทุกคนมาร่วมสร้างสรรค์สิ่งดีๆนี้
ภายใต้ภาพที่สวยงามของแม่น้ำโขงที่เราเห็น แต่คุยกับปลายๆคนที่นี่ ต่างก็ห่วงใยต่อสถานการณ์แม่น้ำโขงปัจจุบันที่ถูกกระทำอย่างรุนแรงจากโครงการพัฒนาที่ยึดแต่เศรษฐกิจเป็นตัวตั้ง ทั้งโครงการก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ ซึ่งทำให้น้ำขึ้นลงอย่างวิปริตจนชาวบ้านไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ การใช้สารเคมีที่ไหลลงสู่แม่น้ำส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตรเสียหาย หรือแม้แต่โครงการระเบิดเกาะแก่งเพื่อเปิดทางเดินเรือพาณิชย์ ที่ทำให้ระบบนิเวศเสียหาย ปลาไม่มีแหล่งอาหาร และบางส่วนสูญพันธุ์ไปในที่สุด
มีชาวบ้านไม่ต่ำกว่า 70 ล้านคนจาก 6 ประเทศที่แม่น้ำโขงไหลผ่าน มีความสัมพันธ์และพึ่งพิงกับแม่น้ำเพื่อการดำรงชีวิต และกำลังได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากกระแสน้ำขึ้นลงอย่างรวดเร็วไม่เป็นฤดูกาล และความมั่นคงทางอาหารที่ถูกทำลาย โดยปัจจุบันแม่น้ำโขงกำลังถูกยึดครองโดยกลุ่มผลประโยชน์เพียงไม่กี่กลุ่ม ทั้งๆ ที่แม่น้ำความยาว 4,909 กิโลเมตร ควรเป็นของมนุษย์ทุกคนในโลกนี้
ทั้งหมดสะท้อนผ่านปลาในแม่น้ำโขงได้ดีที่สุด เพราะปัจจุบันลดน้อยลงอย่างน่าใจหาย ปลาที่วางขายอยู่ตามตลาดสดนั้นส่วนใหญ่เป็นปลาจากต่างถิ่น หรือปลาที่เลี้ยงในฟาร์มและในกระชัง เช่น ปลานิล ปลาทับทิม โดยพันธุ์ปลาส่วนใหญ่ก็มาจากบริษัทยักษ์ใหญ่เจ้าตลาดผลิตภัณฑ์เกษตร แม้แต่ปลาบึกและปลาคังซึ่งเป็นปลาชื่อดังของลำน้ำโขงและอำเภอเชียงของ ทุกวันนี้ก็มาจากการเพาะเลี้ยงและการนำเข้ามาทดแทน เพราะของธรรมชาติได้ลดน้อยถอยลงไป
สำนวนที่ว่า เด็ดดอกไม้สะเทอนถึงดวงดาว คงหมายถึง ระดับน้ำเปลี่ยนแปลงไปอันเป็นผลพวงจากการสร้างเขื่อนที่ 2-3 ในประเทศจีน จนน้ำเริ่มขึ้นลงไม่เป็นฤดูกาลชัดเจนขึ้น
เด็กๆกินข้าวเที่ยงที่ห่อด้วยใบตองบนกองฟาง ปลูกจิตสำนึกไม่เบียดเบียนธรรมชาติ
ถึงช่วงนี้ขอออกนอกเรื่องวิชาการ เพราะได้ไปเดินป่าที่ป่าบุญเรือง บ้านบุญเรือง เป็นป่าชุ่มน้ำลุ่มแม่น้ำอิงที่สมบูรณ์มากๆ มีต้นไม้ใหญ่ซึ่งชาวบ้านทำพิธีบวชป่าเพื่อปกป้องต้นไม้ ป่าบุญเรืองเป็นป่าชุ่มน้ำ มั่นหมายถึงเมื่อถึงหน้าน้ำน้ำจะหลากเข้าท่วมสูงถึง 2-3 เมตร กลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาธรรมชาติ ไม่รวมพืชพรรณอีกมากมายที่ชาวบ้านในหมู่บ้านใช้เลี้ยงีชีวิตแบบพอเพียง เป็นเหตุผลว่า ชาวบ้านที่นี่รักป่าผืนนี้มากและช่วยดูแลรักษากันมาหลายชั่วอายุคน
ไฮไลท์หนึ่งของป่าบุญเรืองคือ กอไผ่ป่ายักษ์ขนาดหลายสิบคนโอบ ใหญ่อลังการณ์มากๆ
ฮิปส์เตอร์แห่งป่าบุญเรือง
ถึงตอนนี้ขอพากลับไปเที่ยวในเมืองเชียงของสักเล็กน้อย เชียงของ อำเภอเล็กๆในจังหวัดเชียงรายที่ตั้งเป็นอำเภอมากกว่า 100 ปี แต่มีประวัติศาสตร์การก่อเกิดชุมชนเมืองกว่า 1,000 ปีมาแล้ว เมืองเล็กๆแห่งนี้ทอดตัวตามแนวยาวคู่ขนานกับแม่น้ำโขง มีถนนเส้นเล็กๆเส้นเดียวผ่ากลาง เป็นเมืองเล็กๆแต่เชื่อมโยงสองฟากฝั่งไทย-ลาวมาช้านาน ผู้คนมีวิถีชีวิตยึดโยงกับสายน้ำหลายชั่วคน ช่วงนี้อากาศหนาว วันนี้ 13 องศา บรรยากาศดี สงบ เรียบง่าย
ช่วงน้ำหลากได้พัดพาตะกอนมาสะสม พอน้ำลดชาวบ้านจึงปลูกผักเล็กๆริมแม่น้ำได้ ปรับตัวอยู่กับธรรมชาติ เกื้อหนุน จุนเจือ
สำหรับเมนูขึ้นชื่อเชียงของ ต้องข้าวซอยสิบสองปันนา หรือเรียกข้าวซอยฮ่อ,ข้าวซอยน้ำหน้า เป็นสูตรสิบสองปันนาแท้ๆ ตรงข้ามวัดพระแก้ว อ.เชียงของ จ.เชียงราย
ตลาดเย็นกับสินค้าพื้นเมืองริมทาง เดินชิลๆ อากาศเย็นสบาย
อันนี้อีกไฮไลท์ กับ ผ้าทอไตลื้อ บ้านศรีดอนชัย ตำบลศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ลวดลายไม่ซับซ้อน มักเป็นรูปทรงเรขาคณิต ทอจากฝ้าย แต่มีกระบวนการย้อมด้ายเป็นสีด้วยครามจากธรรมชาติ อีกทั้งกระบวนการทอ ต้องปราณีตใช้ระยะเวลา ต่อผืนทอราว 1 เดือน ในฤดูว่างเว้นจากงานเกษตร เป็นภูมิปัญญาถ่ายทอดจากดินแดนสิบสองปันนาทางตอนใต้ของจีนที่มาพร้อมกับผู้คนอพยพเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน นับว่าอารยธรรมของ "ไตลื้อ" หรือ "ไทลื้อ" มีมาก่อนกรุงรัตนโกสินทร์
"ผ้าทอไตลื้อ" จึงเป็นภูมิปัญญาอันทรงค่า ... แต่ปัจจุบันกำลังขาดแคลนผู้สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น นางแบบทอผ้า โดย คุณแม่ ดอกแก้ว ธีระโคตร
อนึ่ง ชาวไทลื้ออาศัยอยู่สองฝั่งแม่น้ำโขง คือ ด้านตะวันออกและตะวันตกของแม่น้ำ มีเมืองต่างๆตามภาษาไทลื้อ ที่ได้กล่าวไว้ว่า ห้าเมิงตะวันตก หกเมิงตะวันออก รวมเจียงฮุ่ง (เชียงรุ่ง) เป็น 12 ปันนา
ย้อนกลับมาทิ้งท้ายถึงโครงสร้างองค์ความรู้ของโฮงเฮียนแม่น้ำของ ชื่แปลก ไม่ใช่คำว่า “โรงเรียน” เพราะต้องการออกจากกรอบเดิมๆ โดยจะเน้นการศึกษาเรียนรู้นอกระบบห้องเรียนแก่เยาวชนตลอดจนประชาชนทั่วไป
โฮงเฮียนแม่น้ำของแห่งนี้ มีสายน้ำเป็นกระดานดำ มีปลาเป็นครูประจำชั้น และหลังคาที่มุงด้วยท้องฟ้า...
สำหรับผู้สนใจสามารถติดต่อเข้าศึกษาเรียนรู้กับโฮงเฮียนแม่น้ำของ ได้ที่ เครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง-ล้านนา เลขที่ 260 หมู่ที่ 1 ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย 57140 Email : mekonglover@hotmail.com โทร 089-955-7860
ปิดรีวิวด้วยบรรยากาศการแสดงดนตรีเพื่อแม่น้ำโขง ของ Boyimagine , วงนั่งเล่น , คาราวาน และอีกมากมาย
แล้วเจอกันใหม่ในการเดินทางครั้งต่อไป...
เรื่อง/ภาพ โดย จำนง ศรีนคร บรรณาธิการ www.addtrang.com
ลาด้วยภาพวินาทีเครื่องเรือเสีย ลอยคว้างกลางสายน้ำเชี่ยว ลุ้นกระแทกแก่งหินแม่น้ำโขงช่วงแคบที่สุด คนเรือโดดลงน้ำจูงปลายเชือขึ้นฝั่งลาวไว้ทัน เห็นนั่งนิ่งนั่นเกร็งเป็นหิน
สุดท้ายธรรมชาติสวยงามไม่ทำร้ายเรา
ปริตตา หวังเกียรติ ถ่ายภาพ
[CR] สายน้ำโขงใช่ของเรา...บ่ใช่ของใคร ท่องเที่ยวทางเลือก ที่“โฮงเฮียนแม่น้ำของ”
ท่องเที่ยวทางเลือก ที่“โฮงเฮียนแม่น้ำของ”
เรื่อง/ภาพ โดย จำนง ศรีนคร บรรณาธิการ www.addtrang.com
สายน้ำโขงของหมู่เฮา...บ่ใช่ของใคร เป็นท่อนหนึ่งในเพลงพิเศษ "เชียงของของเรา" ที่ลุงๆวง “นั่งเล่น” แต่งขึ้นให้แม่น้ำโขง ในโอกาสเดินทางมาแสดงสดในงานเปิดตัว “โฮงเฮียนแม่น้ำโขง” ริมแม่น้ำโขง ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เป็นท่อนสั้นๆ แต่มีความหมาย...
ฟังเพลง "เชียงของของเรา" คลิกลิงค์
https://www.youtube.com/watch?v=kkiHHEwnUNM
กระทู้นี้ผู้เขียนขอออกตัวไว้ว่า ตั้งใจจะให้เป็นรีวิวท่องเที่ยว แต่อยากสอดแทรกมุมทางเลือกด้านการอนุรักษ์ การเคารพเห็นคุณค่าของธรรมชาติเอาไว้ด้วย
เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาอากาศเริ่มหนาว หลายคนเริ่มพัก และออกเดินทางท่องเที่ยวเติมพลังให้ชีวิต สำหรับผมก็เช่นกัน ถือเป็นของขวัญปลายปีที่ได้มีโอกาสได้เดินทางค่อนข้างไกล จากภาคใต้ไปถึงขอบแดนประเทศด้านบน ฝั่งอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ซึ่งติดกับสปป.ลาว มีแม่น้ำโขงเป็นพรมแดนธรรมชาติ อุณหภูมิเฉลี่ยกำลังสบายๆที่สิบองศานิดๆ สายน้ำ ต้นไม้ ภูเขา ผู้คน “เชียงของ” เป็นอำเภอเล็กๆแต่มีมนต์สเน่ห์ของความอุดมสมบูรณ์ วิถีชีวิตที่เรียบง่าย
เดินทางไปแบบง่ายๆ ลงเครื่องที่สนามบินแม่ฟ้าหลวง เชียงราย นั่งรถตู้ต่อราวชั่วโมงนิดๆไปลงเรือที่อำเภอเชียงแสน เพื่อล่องชมทัศนียภาพแม่น้ำโขงแล้วไปขึ้นท่าที่อำเภอเชียงของ
บรรยากาศล่องเรือจากเชียงแสนไปเชียงของ นั่งกินลม
ชมสองฝั่งโขง กั้นลาว-ไทย ซ้ายลาว ขวาไทย
ความประทับใจสำคัญของผมคือได้เข้าไปร่วมงานเปิดโฮงเฮียนแม่น้ำของ ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง หมู่ที่ 1 ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ ระหว่างวันที่ 18-19 ธันวาคมที่ผ่านมา
โฮงเฮียนแม่น้ำของ
กิจกรรมอ่านสร้างโลก นำหนังสือดีๆจำหน่ายแก่เยาวชนในราคาเพียงเล่มละ 1 บาท
เยาวชนในพื้นที่สนใจรร่วมงานจำนวนมาก
ฐานการเรียนรู้ด้านศิลปะกับการอนุรักษ์
ฐานการเรียนรู้การคำนวนมูลค่าทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ครูตี๋-นิวัฒน์ ร้อยแก้ว ครูใหญ่โฮงเฮียนแม่น้ำของ และประธานกลุ่มรักษ์เชียงของ กำลังให้ความรู้แก่ผู้ร่วมงาน
เกริ่นสักเล็กน้อยว่า “โฮงเฮียนแม่น้ำของ”(Chiang Kong Mekong School on Local Knowledge) เป็นผลิตผลจากการทำงานด้านการอนุรักษ์นิเวศ-วัฒน์ธนธรรมลุ่มแม่น้ำโขงยาวนานกว่า 15 ปี ของชาวบ้านที่นี่ จัดตั้งขึ้นภายใต้ปรัชญา “เคารพในธรรมชาติ ศรัทธาในความเท่าเทียมกันของมนุษย์(Respect for nature. Faith in humanity justice)”
จากความร่วมมือของชาวบ้านและภาคส่วนต่างๆแถบลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อเปิดสนามการเรียนรู้นอกระบบด้านนิเวศน์วัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำโขง บรรยากาศคึกคักด้วยภาพความสนุกสนานของเด็กๆจากสถาบันการศึกษา 9 แห่งในอำเภอเชียงของและเวียงแก่น ที่นอกจากมาร่วมกิจกรรมแล้ว ทางโรงเรียนยังได้ร่วมลงนาม บันทึกข้อตกลงร่วมกันเพื่อจัดเวลาให้นักเรียนในสังกัดเข้ามาศึกษาความรู้ในโฮงเฮียนน้ำของ อย่างน้อย 3 ปี
ครูตี๋-นิวัฒน์ ร้อยแก้ว ครูใหญ่โฮงเฮียนแม่น้ำของ และประธานกลุ่มรักษ์เชียงของ ตัวตั้งตัวตีคนสำคัญที่ชักชวนทุกคนมาร่วมสร้างสรรค์สิ่งดีๆนี้
ภายใต้ภาพที่สวยงามของแม่น้ำโขงที่เราเห็น แต่คุยกับปลายๆคนที่นี่ ต่างก็ห่วงใยต่อสถานการณ์แม่น้ำโขงปัจจุบันที่ถูกกระทำอย่างรุนแรงจากโครงการพัฒนาที่ยึดแต่เศรษฐกิจเป็นตัวตั้ง ทั้งโครงการก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ ซึ่งทำให้น้ำขึ้นลงอย่างวิปริตจนชาวบ้านไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ การใช้สารเคมีที่ไหลลงสู่แม่น้ำส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตรเสียหาย หรือแม้แต่โครงการระเบิดเกาะแก่งเพื่อเปิดทางเดินเรือพาณิชย์ ที่ทำให้ระบบนิเวศเสียหาย ปลาไม่มีแหล่งอาหาร และบางส่วนสูญพันธุ์ไปในที่สุด
มีชาวบ้านไม่ต่ำกว่า 70 ล้านคนจาก 6 ประเทศที่แม่น้ำโขงไหลผ่าน มีความสัมพันธ์และพึ่งพิงกับแม่น้ำเพื่อการดำรงชีวิต และกำลังได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากกระแสน้ำขึ้นลงอย่างรวดเร็วไม่เป็นฤดูกาล และความมั่นคงทางอาหารที่ถูกทำลาย โดยปัจจุบันแม่น้ำโขงกำลังถูกยึดครองโดยกลุ่มผลประโยชน์เพียงไม่กี่กลุ่ม ทั้งๆ ที่แม่น้ำความยาว 4,909 กิโลเมตร ควรเป็นของมนุษย์ทุกคนในโลกนี้
ทั้งหมดสะท้อนผ่านปลาในแม่น้ำโขงได้ดีที่สุด เพราะปัจจุบันลดน้อยลงอย่างน่าใจหาย ปลาที่วางขายอยู่ตามตลาดสดนั้นส่วนใหญ่เป็นปลาจากต่างถิ่น หรือปลาที่เลี้ยงในฟาร์มและในกระชัง เช่น ปลานิล ปลาทับทิม โดยพันธุ์ปลาส่วนใหญ่ก็มาจากบริษัทยักษ์ใหญ่เจ้าตลาดผลิตภัณฑ์เกษตร แม้แต่ปลาบึกและปลาคังซึ่งเป็นปลาชื่อดังของลำน้ำโขงและอำเภอเชียงของ ทุกวันนี้ก็มาจากการเพาะเลี้ยงและการนำเข้ามาทดแทน เพราะของธรรมชาติได้ลดน้อยถอยลงไป
สำนวนที่ว่า เด็ดดอกไม้สะเทอนถึงดวงดาว คงหมายถึง ระดับน้ำเปลี่ยนแปลงไปอันเป็นผลพวงจากการสร้างเขื่อนที่ 2-3 ในประเทศจีน จนน้ำเริ่มขึ้นลงไม่เป็นฤดูกาลชัดเจนขึ้น
เด็กๆกินข้าวเที่ยงที่ห่อด้วยใบตองบนกองฟาง ปลูกจิตสำนึกไม่เบียดเบียนธรรมชาติ
ถึงช่วงนี้ขอออกนอกเรื่องวิชาการ เพราะได้ไปเดินป่าที่ป่าบุญเรือง บ้านบุญเรือง เป็นป่าชุ่มน้ำลุ่มแม่น้ำอิงที่สมบูรณ์มากๆ มีต้นไม้ใหญ่ซึ่งชาวบ้านทำพิธีบวชป่าเพื่อปกป้องต้นไม้ ป่าบุญเรืองเป็นป่าชุ่มน้ำ มั่นหมายถึงเมื่อถึงหน้าน้ำน้ำจะหลากเข้าท่วมสูงถึง 2-3 เมตร กลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาธรรมชาติ ไม่รวมพืชพรรณอีกมากมายที่ชาวบ้านในหมู่บ้านใช้เลี้ยงีชีวิตแบบพอเพียง เป็นเหตุผลว่า ชาวบ้านที่นี่รักป่าผืนนี้มากและช่วยดูแลรักษากันมาหลายชั่วอายุคน
ไฮไลท์หนึ่งของป่าบุญเรืองคือ กอไผ่ป่ายักษ์ขนาดหลายสิบคนโอบ ใหญ่อลังการณ์มากๆ
ฮิปส์เตอร์แห่งป่าบุญเรือง
ถึงตอนนี้ขอพากลับไปเที่ยวในเมืองเชียงของสักเล็กน้อย เชียงของ อำเภอเล็กๆในจังหวัดเชียงรายที่ตั้งเป็นอำเภอมากกว่า 100 ปี แต่มีประวัติศาสตร์การก่อเกิดชุมชนเมืองกว่า 1,000 ปีมาแล้ว เมืองเล็กๆแห่งนี้ทอดตัวตามแนวยาวคู่ขนานกับแม่น้ำโขง มีถนนเส้นเล็กๆเส้นเดียวผ่ากลาง เป็นเมืองเล็กๆแต่เชื่อมโยงสองฟากฝั่งไทย-ลาวมาช้านาน ผู้คนมีวิถีชีวิตยึดโยงกับสายน้ำหลายชั่วคน ช่วงนี้อากาศหนาว วันนี้ 13 องศา บรรยากาศดี สงบ เรียบง่าย
ช่วงน้ำหลากได้พัดพาตะกอนมาสะสม พอน้ำลดชาวบ้านจึงปลูกผักเล็กๆริมแม่น้ำได้ ปรับตัวอยู่กับธรรมชาติ เกื้อหนุน จุนเจือ
สำหรับเมนูขึ้นชื่อเชียงของ ต้องข้าวซอยสิบสองปันนา หรือเรียกข้าวซอยฮ่อ,ข้าวซอยน้ำหน้า เป็นสูตรสิบสองปันนาแท้ๆ ตรงข้ามวัดพระแก้ว อ.เชียงของ จ.เชียงราย
ตลาดเย็นกับสินค้าพื้นเมืองริมทาง เดินชิลๆ อากาศเย็นสบาย
อันนี้อีกไฮไลท์ กับ ผ้าทอไตลื้อ บ้านศรีดอนชัย ตำบลศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ลวดลายไม่ซับซ้อน มักเป็นรูปทรงเรขาคณิต ทอจากฝ้าย แต่มีกระบวนการย้อมด้ายเป็นสีด้วยครามจากธรรมชาติ อีกทั้งกระบวนการทอ ต้องปราณีตใช้ระยะเวลา ต่อผืนทอราว 1 เดือน ในฤดูว่างเว้นจากงานเกษตร เป็นภูมิปัญญาถ่ายทอดจากดินแดนสิบสองปันนาทางตอนใต้ของจีนที่มาพร้อมกับผู้คนอพยพเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน นับว่าอารยธรรมของ "ไตลื้อ" หรือ "ไทลื้อ" มีมาก่อนกรุงรัตนโกสินทร์
"ผ้าทอไตลื้อ" จึงเป็นภูมิปัญญาอันทรงค่า ... แต่ปัจจุบันกำลังขาดแคลนผู้สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น นางแบบทอผ้า โดย คุณแม่ ดอกแก้ว ธีระโคตร
อนึ่ง ชาวไทลื้ออาศัยอยู่สองฝั่งแม่น้ำโขง คือ ด้านตะวันออกและตะวันตกของแม่น้ำ มีเมืองต่างๆตามภาษาไทลื้อ ที่ได้กล่าวไว้ว่า ห้าเมิงตะวันตก หกเมิงตะวันออก รวมเจียงฮุ่ง (เชียงรุ่ง) เป็น 12 ปันนา
ย้อนกลับมาทิ้งท้ายถึงโครงสร้างองค์ความรู้ของโฮงเฮียนแม่น้ำของ ชื่แปลก ไม่ใช่คำว่า “โรงเรียน” เพราะต้องการออกจากกรอบเดิมๆ โดยจะเน้นการศึกษาเรียนรู้นอกระบบห้องเรียนแก่เยาวชนตลอดจนประชาชนทั่วไป
โฮงเฮียนแม่น้ำของแห่งนี้ มีสายน้ำเป็นกระดานดำ มีปลาเป็นครูประจำชั้น และหลังคาที่มุงด้วยท้องฟ้า...
สำหรับผู้สนใจสามารถติดต่อเข้าศึกษาเรียนรู้กับโฮงเฮียนแม่น้ำของ ได้ที่ เครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง-ล้านนา เลขที่ 260 หมู่ที่ 1 ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย 57140 Email : mekonglover@hotmail.com โทร 089-955-7860
ปิดรีวิวด้วยบรรยากาศการแสดงดนตรีเพื่อแม่น้ำโขง ของ Boyimagine , วงนั่งเล่น , คาราวาน และอีกมากมาย
แล้วเจอกันใหม่ในการเดินทางครั้งต่อไป...
เรื่อง/ภาพ โดย จำนง ศรีนคร บรรณาธิการ www.addtrang.com
ลาด้วยภาพวินาทีเครื่องเรือเสีย ลอยคว้างกลางสายน้ำเชี่ยว ลุ้นกระแทกแก่งหินแม่น้ำโขงช่วงแคบที่สุด คนเรือโดดลงน้ำจูงปลายเชือขึ้นฝั่งลาวไว้ทัน เห็นนั่งนิ่งนั่นเกร็งเป็นหิน
สุดท้ายธรรมชาติสวยงามไม่ทำร้ายเรา
ปริตตา หวังเกียรติ ถ่ายภาพ