ปัญหาของงานสีที่พบเจอเสมอๆแทบทุกบ้านและอาคารในปัจจุบัน โดยเฉพาะในเขต กทม.-ปริมณฑล, เขตที่ราบลุ่มภาคกลาง และบริเวณที่ใกล้แหล่งน้ำ คือ
ปัญหาสีหลุดล่อนบริเวณผนังส่วนที่ติดดิน โดยจะไม่เกิดทันที/ทันใดเมื่อก่อสร้างเสร็จใหม่ๆ มักจะเกิดภายหลังการทาสีไปแล้วประมาณ 6-12 เดือน ซึ่งปัญหาดังกล่าวจะเพ่งเล็งไปที่ "
ยี่ห้อสี" เป็นประการแรก และมัก
ทำการซ่อมแซมทาสีใหม่ชนิดขอไปที ตามที่เจ้าของโครงการหรือผู้รับเหมารับผิดชอบการรับประกันงานก่อสร้างอยู่ โดยก็ทิ้งสาเหตุและปัญหาที่จะตามมาเช่นเดิมให้กับเจ้าของบ้านในอีก 6-12 เดือนภายภาคหน้า
ตอนนี้ชาวสมาชิก pantip หลายๆคนที่เป็นเจ้าของบ้าน/อาคาร ประเภท ทาวน์เฮ้าส์/ทาวน์โฮม ที่ก่อสร้างเป็นอาคาร Lowrise Residence จะพบกันอย่างถ้วนหน้า มาก/น้อยแล้วแต่กรณี คราวนี้ก็แนะนำให้สังเกตุบ้าน/อาคารข้างเคียง จะพบว่ามีผู้คนมากมายที่ร่วมประสบปัญหาชะตากรรมเดียวกัน และบางคนก็คิดว่าตนไม่น่าจะพบเจอสิ่งเหล่านี้เลย >> เพราะอุตส่าห์
ควบคุมการก่อสร้างเป็นอย่างดีและ
เลือกใช้สีที่คิดว่าดีที่สุดแล้ว
สาเหตุของความเสียหายของงานสีดังกล่าว เกิดจากความชื้นใต้ดิน (
ซึ่งก็คิดว่าส่วนใหญ่ก็พอทราบกันอยู่) และคงคิดว่าไม่สามารถป้องกัน/แก้ไขได้
ปัญหาดังกล่าว นอกจากเกิดจากลักษณะน้ำใต้ดินที่ในเขต กทม.-ปริมณฑล ซึ่งจะมีลักษณะของดินแข็งลึกลงไปเพียง 1-1.5 เมตรเท่านั้น
(ในบางฤดู/บางช่วงเวลาอาจจะลึกเพียง 0.5-1 เมตรเท่านั้น) โดยช่วงที่ลึกต่ำลงไปจะเป็นลักษณะดินโคลน > ลึกลงไปถึงระดับประมาณ 20-25 เมตร จึงจะถึงชั้นดินดาน(
ใกล้เคียงหิน) และลักษณะดังกล่าวเริ่มทวีขึ้น เพราะการทรุดตัวของชั้นดินในเขตที่ราบลุ่ม (
ใน กทม. ก็จะมากในพื้นที่ทิศตะวันออก > ลาดพร้าว บางกะป บางนา) โดยรุนแรงมากช่วงที่ยังไม่ได้จำกัดเขตการขุดน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ ซึ่งหลังจากเริ่มใช้มาตรการนี้การทรุดตัวก็ชลอตัวลงมาก
"ปัญหาการควบคุมและป้องกันความชื้นสำหรับอาคาร" >>
http://pioneer.chula.ac.th/~yongyudh/lecture/dampness/dampness.html
การก่อสร้างบ้าน/อาคารโดยยกโครงสร้างสูงลอยพ้นระดับดิน จะเป็นการป้องกันปัญหาได้เป็นอย่างดี แต่ก็จะทำให้ค่าก่อสร้างสูงขึ้นมาก จึงยากที่จะหลีกพ้นปัญหาดังกล่าวได้โดยง่ายในระบบการก่อสร้างทั่วๆไป >> คานคอดินคอนกรีตและโดยเฉพาะประเภทผนังที่ใช้จะเป็นวัสดุที่จะดูดซับความชื้นขึ้นมาได้มากน้อยต่างกัน กล่าวคือ
>> ผนังที่ก่อด้วยอิฐมวลเบา ซึ่งมีลักษณะเนื้อพรุนมาก ก็จะดูดซับความชื้นจากใต้ดินได้ดี
>> ผนังที่ก่อด้วยอิฐมอญ/อิฐชลบุรี ซึ่งก็มีลักษณะเนื้อพรุนพอควร ก็จะดูดซับได้พอสมควร
>> ผนังที่สร้างด้วยคอนกรีตสำเร็จรูป (
Precast Concrete) ซึ่งมีลักษณะเนื้อแน่นมาก จะมีการดูดซับน้อยกว่าวัสดุอื่นๆ
จากอุปสรรคเรื่องค่าก่อสร้างที่สูงมากสำหรับการป้องกันความเสียหายจากความชื้นใต้ดินอย่างเต็มระบบ จึงไม่ค่อยพบเห็นเท่าไหร่นัก (
ยกเว้นอาคารสำคัญๆ) โดยทั่วไปก็เพียงนึกถึงการใช้ "
น้ำยากันซึม" ผสมในคอนกรีตโครงสร้างเท่านั้น >> ซึ่งไม่สามารถป้องกันการดูดซับความชื้นที่รุนแรงได้ดีเท่าที่ควร
บางครั้ง พบว่าเจ้าของบ้าน/อาคาร ก็คิดวิธีแก้ไขปัญหา >> โดยใช้การปู/บุกระเบื้องผนังบริเวณดังกล่าวแทนการทาสี แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้เสมอไป
ปัญหาสีหลุดล่อนบริเวณดังกล่าว จะมีมาก/น้อยนั้น นอกจากจะขึ้นกับปัญหาระดับน้ำใต้ดินแล้ว ยังขึ้นอยู่กับคุณภาพสีบางส่วนด้วย ... ซึ่งก็แปลก ! ? ! >> กลับเป็นว่า
สีคุณภาพต่ำๆ/ราคาถูกๆ กับพบปัญหาน้อยกว่า/ช้ากว่า สีคุณภาพดีๆ/ราคาสูงๆ >>>> เพราะ สีคุณภาพต่ำๆจะมีฟิล์มสีที่ไม่แน่น มีรูพรุนในเนื้อฟิล์มสีมากกว่าสีคุณภาพสูงๆ จึงทำให้ทนความชื้น หรือให้ความชื้นพอคายผ่านฟิล์มสีออกมาได้บ้าง
อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิต/จำหน่ายสี ที่มีผลกระทบโดยตรงร่วมกับเจ้าของบ้านและอาคาร จึงได้พัฒนาสีคุณภาพสูงที่ทนทานกับความชื้นดังกล่าวขึ้นมา โดยจะใช้นวัตกรรมสีที่มีฟิล์ม "
หายใจได้" หรือ Breathable Film เพื่อที่ให้ความชื้นสามารถระบาย/คายออกมาได้บ้าง ปัญหาก็พอบรรเทาสำหรับบริเวณที่มีความชื้นใต้ดินไม่รุนแรงนัก แต่ก็ยังพบว่ายังมีอีกมากที่ยังใช้สู้กับปัญหาดังกล่าวไม่ได้ดีเท่าที่ควร
ปัจจุบันผู้ผลิต/จำหน่ายสี (โ
ดยเฉพาะของคนไทย/Local Brand) ได้ออกผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ ที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันความชื้นในผนังปูนออกมาวางขายคู่กับสีทาอาคารกันแล้ว อาทิ TOA, Captain, CIC และ Beger เป็นต้น คือ "
น้ำยารองพื้นปูน ป้องกันความชื้น" โดยสำหรับบ้าน/อาคารใหม่ ก็ใช้ทาชุ่มๆบนผนังปูนบริเวณติดดินขึ้นมาประมาณ 1-1.5 เมตร ทิ้งในแห้งประมาณ 1 วัน (
ไม่ควรปล่อยทิ้งโดนแดด/โดนฝนนานหลายวัน) แล้วจึงเริ่มทาสีรองพื้นและสีทับหน้าต่อไป >> จากเดิมที่ฟิล์มสีจะสามารถทนทานต่อความชื้นในผนังได้ไม่เกิน 14% ก็จะเพิ่มขึ้นเป็น 35-40%
แนะนำดูรายละเอียด
http://www.toagroup.com/th/product/66/191-ทีโอเอ-มอยส์เจอร์-การ์ด.html และ
http://captaincoating.com/th/product_detail.asp?f_index=10152
ขนาดบรรจุ 5 ลิตร ราคาขายประมาณ 800-1,000 บาท/แกลลอน >> บ้านเดี่ยวทั่วๆไปใช้เพียง 1 แกลลอน
แต่สำหรับบ้าน/อาคารเก่า จะค่อนข้างยุ่งยากกว่า เพราะจำเป็นต้องขัดล้างและขูดลอกฟิล์มสีที่เสียหาย และฟิล์มสีระดับ 1-1.5 เมตรทั้งหมดออกให้เกลี้ยง (
หรือก็อย่างน้อย 80-90%) เพื่อที่น้ำยาจะได้ซึมซับเข้าไปในเนื้อปูนได้ดี (
ไม่ได้ประโยชน์หากทาน้ำยาลงบนฟิล์มสี)
แนะนำดู
https://www.youtube.com/watch?v=p012wb6pi4Y และ
http://www.toagroup.com/th/product//191-ทีโอเอ-มอยส์เจอร์-การ์ด.html หรือ
http://captaincoating.com/th/product_detail.asp?f_index=10152
แล้วแนะนำให้ทาสีใหม่ โดย
ควรเลือกใช้คู่กับสีที่มีคุณสมบัติฟิล์มหายใจได้ (
Breathable Film) อาทิ
TOA : Extra Shield หรือ
Captain : Repaint TriShield เป็นต้น โดยใช้รองพื้นตามที่ยี่ห้อนั้นๆกำหนดมา
แนะนำดู
http://www.toagroup.com/th/product/54/493-สีน้ำอะครีลิค-ทีโอเอ-เอ็กซ์ตร้าชิลด์-ชนิดกึ่งเงา.html หรือ
http://www.toagroup.com/th/product/54/492-สีน้ำอะครีลิค-ทีโอเอ-เอ็กซ์ตร้าชิลด์-ชนิดด้าน.html และ
http://captaincoating.com/th/product_detail.asp?f_index=15
หมายเหตุ : อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหาแบบนี้จะต้านทานความชื้นในผนังได้ไม่เกิน 40% (
สีทั่วไป ไม่เกิน 14%), หากความชื้นเกิน 40% คงไม่ใช่ปัญหาความชื้นใต้ดินอย่างเดียวแล้ว น่าจะมีปัญหาความชื้นอื่นมาร่วมด้วย
สุดท้ายนี้ หวังว่าสมาชิกชาว pantip ที่กำลังจะปลูกสร้างบ้าน/อาคารใหม่กันอยู่ หรือที่กำลังประสบปัญหาดังกล่าวในบ้าน/อาคารเก่า คงพอเข้าใจสาเหตุของปัญหา และวิธีแก้ไขกันอย่างถูกวิธี (
โดยเสีย คชจ.ไม่มาก) กันแล้วนะครับ
[SR] ปัญหาสีหลุดล่อนบนกำแพง บริเวณส่วนที่ติดดิน
ตอนนี้ชาวสมาชิก pantip หลายๆคนที่เป็นเจ้าของบ้าน/อาคาร ประเภท ทาวน์เฮ้าส์/ทาวน์โฮม ที่ก่อสร้างเป็นอาคาร Lowrise Residence จะพบกันอย่างถ้วนหน้า มาก/น้อยแล้วแต่กรณี คราวนี้ก็แนะนำให้สังเกตุบ้าน/อาคารข้างเคียง จะพบว่ามีผู้คนมากมายที่ร่วมประสบปัญหาชะตากรรมเดียวกัน และบางคนก็คิดว่าตนไม่น่าจะพบเจอสิ่งเหล่านี้เลย >> เพราะอุตส่าห์ควบคุมการก่อสร้างเป็นอย่างดีและเลือกใช้สีที่คิดว่าดีที่สุดแล้ว
สาเหตุของความเสียหายของงานสีดังกล่าว เกิดจากความชื้นใต้ดิน (ซึ่งก็คิดว่าส่วนใหญ่ก็พอทราบกันอยู่) และคงคิดว่าไม่สามารถป้องกัน/แก้ไขได้
ปัญหาดังกล่าว นอกจากเกิดจากลักษณะน้ำใต้ดินที่ในเขต กทม.-ปริมณฑล ซึ่งจะมีลักษณะของดินแข็งลึกลงไปเพียง 1-1.5 เมตรเท่านั้น (ในบางฤดู/บางช่วงเวลาอาจจะลึกเพียง 0.5-1 เมตรเท่านั้น) โดยช่วงที่ลึกต่ำลงไปจะเป็นลักษณะดินโคลน > ลึกลงไปถึงระดับประมาณ 20-25 เมตร จึงจะถึงชั้นดินดาน(ใกล้เคียงหิน) และลักษณะดังกล่าวเริ่มทวีขึ้น เพราะการทรุดตัวของชั้นดินในเขตที่ราบลุ่ม (ใน กทม. ก็จะมากในพื้นที่ทิศตะวันออก > ลาดพร้าว บางกะป บางนา) โดยรุนแรงมากช่วงที่ยังไม่ได้จำกัดเขตการขุดน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ ซึ่งหลังจากเริ่มใช้มาตรการนี้การทรุดตัวก็ชลอตัวลงมาก
"ปัญหาการควบคุมและป้องกันความชื้นสำหรับอาคาร" >> http://pioneer.chula.ac.th/~yongyudh/lecture/dampness/dampness.html
การก่อสร้างบ้าน/อาคารโดยยกโครงสร้างสูงลอยพ้นระดับดิน จะเป็นการป้องกันปัญหาได้เป็นอย่างดี แต่ก็จะทำให้ค่าก่อสร้างสูงขึ้นมาก จึงยากที่จะหลีกพ้นปัญหาดังกล่าวได้โดยง่ายในระบบการก่อสร้างทั่วๆไป >> คานคอดินคอนกรีตและโดยเฉพาะประเภทผนังที่ใช้จะเป็นวัสดุที่จะดูดซับความชื้นขึ้นมาได้มากน้อยต่างกัน กล่าวคือ
>> ผนังที่ก่อด้วยอิฐมวลเบา ซึ่งมีลักษณะเนื้อพรุนมาก ก็จะดูดซับความชื้นจากใต้ดินได้ดี
>> ผนังที่ก่อด้วยอิฐมอญ/อิฐชลบุรี ซึ่งก็มีลักษณะเนื้อพรุนพอควร ก็จะดูดซับได้พอสมควร
>> ผนังที่สร้างด้วยคอนกรีตสำเร็จรูป (Precast Concrete) ซึ่งมีลักษณะเนื้อแน่นมาก จะมีการดูดซับน้อยกว่าวัสดุอื่นๆ
จากอุปสรรคเรื่องค่าก่อสร้างที่สูงมากสำหรับการป้องกันความเสียหายจากความชื้นใต้ดินอย่างเต็มระบบ จึงไม่ค่อยพบเห็นเท่าไหร่นัก (ยกเว้นอาคารสำคัญๆ) โดยทั่วไปก็เพียงนึกถึงการใช้ "น้ำยากันซึม" ผสมในคอนกรีตโครงสร้างเท่านั้น >> ซึ่งไม่สามารถป้องกันการดูดซับความชื้นที่รุนแรงได้ดีเท่าที่ควร
บางครั้ง พบว่าเจ้าของบ้าน/อาคาร ก็คิดวิธีแก้ไขปัญหา >> โดยใช้การปู/บุกระเบื้องผนังบริเวณดังกล่าวแทนการทาสี แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้เสมอไป
ปัญหาสีหลุดล่อนบริเวณดังกล่าว จะมีมาก/น้อยนั้น นอกจากจะขึ้นกับปัญหาระดับน้ำใต้ดินแล้ว ยังขึ้นอยู่กับคุณภาพสีบางส่วนด้วย ... ซึ่งก็แปลก ! ? ! >> กลับเป็นว่า สีคุณภาพต่ำๆ/ราคาถูกๆ กับพบปัญหาน้อยกว่า/ช้ากว่า สีคุณภาพดีๆ/ราคาสูงๆ >>>> เพราะ สีคุณภาพต่ำๆจะมีฟิล์มสีที่ไม่แน่น มีรูพรุนในเนื้อฟิล์มสีมากกว่าสีคุณภาพสูงๆ จึงทำให้ทนความชื้น หรือให้ความชื้นพอคายผ่านฟิล์มสีออกมาได้บ้าง
อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิต/จำหน่ายสี ที่มีผลกระทบโดยตรงร่วมกับเจ้าของบ้านและอาคาร จึงได้พัฒนาสีคุณภาพสูงที่ทนทานกับความชื้นดังกล่าวขึ้นมา โดยจะใช้นวัตกรรมสีที่มีฟิล์ม "หายใจได้" หรือ Breathable Film เพื่อที่ให้ความชื้นสามารถระบาย/คายออกมาได้บ้าง ปัญหาก็พอบรรเทาสำหรับบริเวณที่มีความชื้นใต้ดินไม่รุนแรงนัก แต่ก็ยังพบว่ายังมีอีกมากที่ยังใช้สู้กับปัญหาดังกล่าวไม่ได้ดีเท่าที่ควร
ปัจจุบันผู้ผลิต/จำหน่ายสี (โดยเฉพาะของคนไทย/Local Brand) ได้ออกผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ ที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันความชื้นในผนังปูนออกมาวางขายคู่กับสีทาอาคารกันแล้ว อาทิ TOA, Captain, CIC และ Beger เป็นต้น คือ "น้ำยารองพื้นปูน ป้องกันความชื้น" โดยสำหรับบ้าน/อาคารใหม่ ก็ใช้ทาชุ่มๆบนผนังปูนบริเวณติดดินขึ้นมาประมาณ 1-1.5 เมตร ทิ้งในแห้งประมาณ 1 วัน (ไม่ควรปล่อยทิ้งโดนแดด/โดนฝนนานหลายวัน) แล้วจึงเริ่มทาสีรองพื้นและสีทับหน้าต่อไป >> จากเดิมที่ฟิล์มสีจะสามารถทนทานต่อความชื้นในผนังได้ไม่เกิน 14% ก็จะเพิ่มขึ้นเป็น 35-40%
แนะนำดูรายละเอียด http://www.toagroup.com/th/product/66/191-ทีโอเอ-มอยส์เจอร์-การ์ด.html และ http://captaincoating.com/th/product_detail.asp?f_index=10152
ขนาดบรรจุ 5 ลิตร ราคาขายประมาณ 800-1,000 บาท/แกลลอน >> บ้านเดี่ยวทั่วๆไปใช้เพียง 1 แกลลอน
แต่สำหรับบ้าน/อาคารเก่า จะค่อนข้างยุ่งยากกว่า เพราะจำเป็นต้องขัดล้างและขูดลอกฟิล์มสีที่เสียหาย และฟิล์มสีระดับ 1-1.5 เมตรทั้งหมดออกให้เกลี้ยง (หรือก็อย่างน้อย 80-90%) เพื่อที่น้ำยาจะได้ซึมซับเข้าไปในเนื้อปูนได้ดี (ไม่ได้ประโยชน์หากทาน้ำยาลงบนฟิล์มสี)
แนะนำดู https://www.youtube.com/watch?v=p012wb6pi4Y และ
http://www.toagroup.com/th/product//191-ทีโอเอ-มอยส์เจอร์-การ์ด.html หรือ http://captaincoating.com/th/product_detail.asp?f_index=10152
แล้วแนะนำให้ทาสีใหม่ โดยควรเลือกใช้คู่กับสีที่มีคุณสมบัติฟิล์มหายใจได้ (Breathable Film) อาทิ TOA : Extra Shield หรือ Captain : Repaint TriShield เป็นต้น โดยใช้รองพื้นตามที่ยี่ห้อนั้นๆกำหนดมา
แนะนำดู http://www.toagroup.com/th/product/54/493-สีน้ำอะครีลิค-ทีโอเอ-เอ็กซ์ตร้าชิลด์-ชนิดกึ่งเงา.html หรือ http://www.toagroup.com/th/product/54/492-สีน้ำอะครีลิค-ทีโอเอ-เอ็กซ์ตร้าชิลด์-ชนิดด้าน.html และ http://captaincoating.com/th/product_detail.asp?f_index=15
หมายเหตุ : อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหาแบบนี้จะต้านทานความชื้นในผนังได้ไม่เกิน 40% (สีทั่วไป ไม่เกิน 14%), หากความชื้นเกิน 40% คงไม่ใช่ปัญหาความชื้นใต้ดินอย่างเดียวแล้ว น่าจะมีปัญหาความชื้นอื่นมาร่วมด้วย
สุดท้ายนี้ หวังว่าสมาชิกชาว pantip ที่กำลังจะปลูกสร้างบ้าน/อาคารใหม่กันอยู่ หรือที่กำลังประสบปัญหาดังกล่าวในบ้าน/อาคารเก่า คงพอเข้าใจสาเหตุของปัญหา และวิธีแก้ไขกันอย่างถูกวิธี (โดยเสีย คชจ.ไม่มาก) กันแล้วนะครับ