คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
โฆษณา ส่วนมากเซ็นเป็นสัญญารายปี
เงื่อนไขตามทั่วๆไปก็มักจะ มีโฆษณา TVC 1 ตัว และภาพนิ่งกี่ชิ้นก็ว่าไป
และอาจจะเพิ่มต้องออกอีเว้นภายใต้แคมเปญนั้นๆ แต่ทุกครั้งที่ออกก็ได้ตังต่างหากด้วย
โดยมักมีเงื่อนไขสำคัญคือ ห้ามไปเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้แบรนด์อื่นๆ ในหมวดสินค้าเดียวกันอีกในระยะเวลาสัญญา
หรือบางที่ก็ระบุถึงขั้น ต้องใช้สินค้าตัวนั้นๆ รวมถึงห้ามแตะต้องสินค้าในแบรนด์ตรงข้าม หรือใกล้เคียงออกสื่อตลอดสัญญา
ถ้าถามว่าไม่มีสังกัดได้ไหม ตัวอย่างอาทิ คุณแอนดี้ ครับ ที่เป็นอดีตนักร้อง อิสระตั้งบริษัทรับงานเอง
ไม่ต้องแบ่งใคร ไม่มีกฎเกณฑ์ แต่ต้องมีวินัยในตัวเอง ความสามารถในตัวเอง และเส้นสายพอตัว
ต้องหูตาไว แทรกตัวไปแคสติ้งงานที่เหมาะกับตัวเองให้ได้ (ตามสังกัดมักยกงานให้เด็กตัวเองก่อน แบบตามช่องก็ใช้แต่พระเอกตัวเอง)
แล้วก็จะเจอปัญหาเรื่องลูกค้ารู้ว่าดาราไร้สังกัด ก็จะกดค่าตัว เพราะรู้ว่าดาราอยากได้งาน หางานยาก ฯลฯ
อยู่ที่ความชอบส่วนตัวครับ ดารารุ่นเก๋าหลายท่านก็เป็นนายตัวเองมากขึ้นๆ เพราะติดตลาดแล้วก็เยอะไป
ส่วนเรื่องงานอื่นๆ ก็ตามที่ คห แรกได้ตอบไว้นะครับ มันเกื้อหนุนกัน
ถ้าไม่เล่นละคร หรือหนังใหญ่ ภาพลักษณ์ ออร่า การเป็นที่รู้จักก็ไม่เกิด ลูกค้าก็ไม่รู้ว่าจะจ้างทำไม
แต่ถ้ามีหนทางส่วนตัวก็ได้เหมือนกันแบบเปิ้ลนาครทำรายการทีวีเล่นกีฬา เจเจตรินก็เน้นตลาดโซเชียลวัยรุ่นๆ คอนเสิร์ตมีตลอด
ส่วนนึงที่จ้างดาราแพงๆ เพราะพวกเข้ามีแฟนคลับ เป็นที่รู้จัก หน้าตาคุ้นเคย พอถือสินค้า ลูกค้าก็จะจดจำรับสินค้าได้ง่ายขึ้น
นำไปสู่ยอดขายที่มากขึ้น รวมถึงคนเข้ามาร่วมกิจกรรมของสินค้ามากขึ้น เพราะตัวดาราดึงดูดคนเข้ามาอีกทาง
เมื่อคนชินและติดสินค้าแล้ว จิตวิทยามันทำหน้าที่ในการกำหนดให้คนเลือกซื้อสินค้าที่คุ้นเคยสม่ำเสมอ นำไปสู่ยอดขายครับ
เงื่อนไขตามทั่วๆไปก็มักจะ มีโฆษณา TVC 1 ตัว และภาพนิ่งกี่ชิ้นก็ว่าไป
และอาจจะเพิ่มต้องออกอีเว้นภายใต้แคมเปญนั้นๆ แต่ทุกครั้งที่ออกก็ได้ตังต่างหากด้วย
โดยมักมีเงื่อนไขสำคัญคือ ห้ามไปเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้แบรนด์อื่นๆ ในหมวดสินค้าเดียวกันอีกในระยะเวลาสัญญา
หรือบางที่ก็ระบุถึงขั้น ต้องใช้สินค้าตัวนั้นๆ รวมถึงห้ามแตะต้องสินค้าในแบรนด์ตรงข้าม หรือใกล้เคียงออกสื่อตลอดสัญญา
ถ้าถามว่าไม่มีสังกัดได้ไหม ตัวอย่างอาทิ คุณแอนดี้ ครับ ที่เป็นอดีตนักร้อง อิสระตั้งบริษัทรับงานเอง
ไม่ต้องแบ่งใคร ไม่มีกฎเกณฑ์ แต่ต้องมีวินัยในตัวเอง ความสามารถในตัวเอง และเส้นสายพอตัว
ต้องหูตาไว แทรกตัวไปแคสติ้งงานที่เหมาะกับตัวเองให้ได้ (ตามสังกัดมักยกงานให้เด็กตัวเองก่อน แบบตามช่องก็ใช้แต่พระเอกตัวเอง)
แล้วก็จะเจอปัญหาเรื่องลูกค้ารู้ว่าดาราไร้สังกัด ก็จะกดค่าตัว เพราะรู้ว่าดาราอยากได้งาน หางานยาก ฯลฯ
อยู่ที่ความชอบส่วนตัวครับ ดารารุ่นเก๋าหลายท่านก็เป็นนายตัวเองมากขึ้นๆ เพราะติดตลาดแล้วก็เยอะไป
ส่วนเรื่องงานอื่นๆ ก็ตามที่ คห แรกได้ตอบไว้นะครับ มันเกื้อหนุนกัน
ถ้าไม่เล่นละคร หรือหนังใหญ่ ภาพลักษณ์ ออร่า การเป็นที่รู้จักก็ไม่เกิด ลูกค้าก็ไม่รู้ว่าจะจ้างทำไม
แต่ถ้ามีหนทางส่วนตัวก็ได้เหมือนกันแบบเปิ้ลนาครทำรายการทีวีเล่นกีฬา เจเจตรินก็เน้นตลาดโซเชียลวัยรุ่นๆ คอนเสิร์ตมีตลอด
ส่วนนึงที่จ้างดาราแพงๆ เพราะพวกเข้ามีแฟนคลับ เป็นที่รู้จัก หน้าตาคุ้นเคย พอถือสินค้า ลูกค้าก็จะจดจำรับสินค้าได้ง่ายขึ้น
นำไปสู่ยอดขายที่มากขึ้น รวมถึงคนเข้ามาร่วมกิจกรรมของสินค้ามากขึ้น เพราะตัวดาราดึงดูดคนเข้ามาอีกทาง
เมื่อคนชินและติดสินค้าแล้ว จิตวิทยามันทำหน้าที่ในการกำหนดให้คนเลือกซื้อสินค้าที่คุ้นเคยสม่ำเสมอ นำไปสู่ยอดขายครับ
แสดงความคิดเห็น
สอบถามเรื่องค่าตัวดาราแต่ละงานค่ะ นักแสดง /โฆษณา/งานอีเว้นท์ แตกต่างกันยังไงคะ
เจอข้อความเรื่องค่าตัวนักแสดงเข้าไปเลยเกิดความสงสัยคะ
สรุปว่าเล่นละครค่าตัวน้อยที่สุด ในขณะที่ทำงานมากที่สุดหรือเปล่าคะ
แต่งานอีเว้นจะดูว่ารายได้ดีกว่า จ่ายต่อครั้ง เสร็จงานในวันเดียว ซึ่งค่าตัวรวมแล้วจะดูเยอะกว่าเล่นละครหรือเปล่า
เพราะไม่เสียเวลามาก
ส่วนงานโฆษณษ ทำไมถึงค่าตัวเยอะจัง หรือเขามีสัญญาว่า ต้องถ่ายโฆษณาต่อเนื่องกี่ครั้ง
แล้วต้องไปโชว์ตัว พรีเซ้นต์สินค้านั้นๆ ด้วยหรือเปล่า ทำไมค่าตัวถึงได้แพงมาก ๆ
สอบถามเพิ่มเติม
กรณีนักแสดงมีสังกัด แล้วรับงานอีเว้นท์เองได้หรือไม่ ค่าตัวต้องแบ่งค่ายหรือเปล่า
รวมถึงถ้าถ่ายโฆษณาต้องแบ่งต้นสังกัดอีกหรือไม่
แล้วถ้ามีสังกัดแล้วต้องแบ่งตังค์กับค่าย แบบนี้เป็นนักแสดงอิสระจะดีกว่าหรือเปล่าคะ ไม่ต้องแบ่งตังค์
(แต่อาจจะไม่ค่อยมีงาน หรือเปล่า)
สงสัยมานานคะ พอดีเป็นคนนอกวงการมากๆๆๆๆ แต่อยากรู้คะ รบกวนท่านที่ทราบหน่อยค่ะ