เท่าที่ผมทราบ ระบบรถจักรดีเซลไฟฟ้าของรถไฟ มีหลักการทำงานคือ ใช้กำลังจากเครื่องยนต์ดีเซล ไปปั่นเจเนอร์เรเตอร์ เพื่อผลิตไฟฟ้าจ่ายให้มอเตอร์ขับเคลื่อนอีกทีนึง ด้วยเหตุผลคือ ถ้าต้องการแรงบิดมหาศาลในการขับเคลื่อนรถไฟ ต้องใช้กำลังเครื่องยนต์มาก เครื่องยนต์จะใหญ่ตาม ก็เลยใช้เครื่องยนต์ที่ไม่ใหญ่มากไปปั่นไฟส่งต่อให้มอเตอร์แทน
เลยสงสัยครับว่า แล้วทำไมที่ผ่านมา ก่อนจะเข้าสู่ยุครถยนต์นั่งไฟฟ้าแบบใช้ไฟจากแบตเตอร์รี่ ซึ่งกว่าจะพัฒนาให้ตัวแบตฯมีความจุสูงพอที่จะใช้ได้จริง ก็ใช้เวลานาน แถมยังต้องพัฒนาก่อสร้างสถานีเพื่อชาร์จไฟอีก และก็คงอีกนานมากกว่าจะทั่วถึง ทำไมเราจึงไม่ใช้เครื่องยนต์ที่เล็กลง ไปปั่นไฟป้อนให้มอเตอร์แบบรถไฟล่ะครับ เพราะเป็นเทคโนโลยีที่มีมานานแล้ว แถมใช้ปั๊มน้ำมันที่มีอยู่เดิมได้ด้วย เข้าใจครับว่ามันเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า แต่มันก็น่าจะเป็นทางผ่านของวิวัฒนาการได้นี่ครับ
รึว่ามันมีแต่ผมไม่ทราบ?
-------------------------------------------------
เพิ่มเติมสำหรับท่านที่สงสัยว่าถามไปทำไม
คืองี้ครับ เข้าใจว่า ณ ปัจจุบัน เทคโนโลยีเรามาไกลไปถึงรถไฟฟ้าขับเคลื่อนด้วยพลังไฟจากแบตเตอร์รี่อย่างเดียวได้แล้ว (Tesla เป็นต้น)
แต่แนวคิดเรื่องรถไฟฟ้ามีมานานมากกก ติดปัญหาคือศักยภาพแบตฯที่จะสะสมให้ใช้งานได้จริงมันไม่มี ถ้ามีก็ใหญ่มากหนักมาก
มันก็เลยมีรถไฮบริดออกมา คือใช้กำลังเครื่องยนต์เป็นหลัก ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเสริม
เลยสงสัยว่า ถ้างั้น ทำไมซัก 20-30 ปีที่แล้ว เราไม่พัฒนารถไฟฟ้า ที่ผลิตไฟฟ้าจากเครื่องยนต์ โดยเป็นเครื่องยนต์ที่เล็กลงกว่าปกติ เช่น เบนซ์ S Class ใช้เครื่องยนต์ปกติต่ำสุด คือ 3,000 cc มาเป็นใช้เครื่อง 1,500 cc ไปปั่นไฟขับมอเตอร์ไฟฟ้า
ระหว่างนั้น ก็พัฒนาแบตฯขึ้นมา ถึงจุดนึง แบตฯขนาดพอดีเริ่มสะสมไฟได้ดีขึ้น ก็จะมีการสร้างสถานีเติมไฟฟ้าขึ้นมา ใช้พลังงานเครื่องยนต์น้อยลงเรื่อยๆ จนเหลือแค่พลังเครื่องยนต์เป็น back up แบบที่หลายท่านกล่าวถึง BMW i3 หรือ Chevvy Volt แต่เป็นสเกลที่มีใช้กันทั่วไป ไม่ใช่รุ่นตลาดเฉพาะกลุ่มน่ะครับ (นึกถึงวีออส วิ่งด้วยระบบแบบนี้)
จนถึงปัจจุบัน ไม่จำเป็นต้องมีเครื่องยนต์ ใช้ไฟในแบตฯอย่างเดียว และก็จะมีสถานีบริการเติมไฟมากพอด้วย
เพราะตอนนี้ แบตฯพร้อม แต่สถานีเติมไฟไม่พร้อม ก็ยังไม่ค่อยสะดวกอยู่ดี
ทำไมเราไม่ผ่านยุคของรถยนต์นั่งไฟฟ้าแบบใช้เครื่องยนต์เพื่อปั่นไฟป้อนมอเตอร์ แบบรถจักรดีเซลไฟฟ้าของรถไฟครับ
เลยสงสัยครับว่า แล้วทำไมที่ผ่านมา ก่อนจะเข้าสู่ยุครถยนต์นั่งไฟฟ้าแบบใช้ไฟจากแบตเตอร์รี่ ซึ่งกว่าจะพัฒนาให้ตัวแบตฯมีความจุสูงพอที่จะใช้ได้จริง ก็ใช้เวลานาน แถมยังต้องพัฒนาก่อสร้างสถานีเพื่อชาร์จไฟอีก และก็คงอีกนานมากกว่าจะทั่วถึง ทำไมเราจึงไม่ใช้เครื่องยนต์ที่เล็กลง ไปปั่นไฟป้อนให้มอเตอร์แบบรถไฟล่ะครับ เพราะเป็นเทคโนโลยีที่มีมานานแล้ว แถมใช้ปั๊มน้ำมันที่มีอยู่เดิมได้ด้วย เข้าใจครับว่ามันเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า แต่มันก็น่าจะเป็นทางผ่านของวิวัฒนาการได้นี่ครับ
รึว่ามันมีแต่ผมไม่ทราบ?
-------------------------------------------------
เพิ่มเติมสำหรับท่านที่สงสัยว่าถามไปทำไม
คืองี้ครับ เข้าใจว่า ณ ปัจจุบัน เทคโนโลยีเรามาไกลไปถึงรถไฟฟ้าขับเคลื่อนด้วยพลังไฟจากแบตเตอร์รี่อย่างเดียวได้แล้ว (Tesla เป็นต้น)
แต่แนวคิดเรื่องรถไฟฟ้ามีมานานมากกก ติดปัญหาคือศักยภาพแบตฯที่จะสะสมให้ใช้งานได้จริงมันไม่มี ถ้ามีก็ใหญ่มากหนักมาก
มันก็เลยมีรถไฮบริดออกมา คือใช้กำลังเครื่องยนต์เป็นหลัก ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเสริม
เลยสงสัยว่า ถ้างั้น ทำไมซัก 20-30 ปีที่แล้ว เราไม่พัฒนารถไฟฟ้า ที่ผลิตไฟฟ้าจากเครื่องยนต์ โดยเป็นเครื่องยนต์ที่เล็กลงกว่าปกติ เช่น เบนซ์ S Class ใช้เครื่องยนต์ปกติต่ำสุด คือ 3,000 cc มาเป็นใช้เครื่อง 1,500 cc ไปปั่นไฟขับมอเตอร์ไฟฟ้า
ระหว่างนั้น ก็พัฒนาแบตฯขึ้นมา ถึงจุดนึง แบตฯขนาดพอดีเริ่มสะสมไฟได้ดีขึ้น ก็จะมีการสร้างสถานีเติมไฟฟ้าขึ้นมา ใช้พลังงานเครื่องยนต์น้อยลงเรื่อยๆ จนเหลือแค่พลังเครื่องยนต์เป็น back up แบบที่หลายท่านกล่าวถึง BMW i3 หรือ Chevvy Volt แต่เป็นสเกลที่มีใช้กันทั่วไป ไม่ใช่รุ่นตลาดเฉพาะกลุ่มน่ะครับ (นึกถึงวีออส วิ่งด้วยระบบแบบนี้)
จนถึงปัจจุบัน ไม่จำเป็นต้องมีเครื่องยนต์ ใช้ไฟในแบตฯอย่างเดียว และก็จะมีสถานีบริการเติมไฟมากพอด้วย
เพราะตอนนี้ แบตฯพร้อม แต่สถานีเติมไฟไม่พร้อม ก็ยังไม่ค่อยสะดวกอยู่ดี