ท่านที่เป็นนักกฎหมายทุกท่านคงจะรู้จักสามมาตรานี้ดี
ลักษณะ ๘ ความผิดเกี่ยวกับการค้า
ป.อ. มาตรา ๒๗๑ ผู้ใดขายของโดยหลอกลวงด้วยประการใด ๆ ให้ผู้ซื้อหลงเชื่อในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพหรือปริมาณแห่งของนั้นอันเป็นเท็จ ถ้าการกระทำนั้นไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ลักษณะ ๑๒ ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ หมวด ๓ ความผิดฐานฉ้อโกง
ป.อ. มาตรา ๓๔๑ ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๓๔๘ ความผิดในหมวดนี้ นอกจากความผิดตามมาตรา ๓๔๓ เป็นความผิดอันยอมความได้
ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า หากผู้ขายหลอกลวงผู้ซื้อในลักษณะที่เป็นการกระทำความผิดฐานฉ้อโกง คดีนั้นจะยอมความได้ แต่ถ้าไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง จะผิดมาตรา 271 แทนซึ่งยอมความไม่ได้???
ยกตัวอย่าง
ผู้ขายได้โฆษณาขายรังนก ผู้ซื้อได้สั่งซื้อรังนกนั้นไปพร้อมโอนเงินให้ผู้ขาย ผู้ขายจึงได้รับทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงคือได้รับเงินค่ารังนกไปจากผู้ซื้อ จากนั้นผู้ขายส่งรังนกปลอมไปให้ผู้ซื้อ ผู้ขายจึงกระทำความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดที่ยอมความได้
แต่หากผู้ซื้อยังไม่ได้ชำระเงินแล้วผู้ขายได้ส่งรังนกปลอมไปให้ผู้ซื้อ ผู้ขายก็ไม่ได้กระทำความผิดฐานฉ้อโกงเพราะยังไม่ได้รับทรัพย์สินไปจากผู้ถูกหลอกลวงหรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงทำ ถอนหรือทำลายเอกสารสิทธิใดๆ แต่ผู้ซื้อก็สามารถฟ้องผู้ขายได้แล้วว่าได้กระทำความผิดตามมาตรา 271 ซึ่งเป็นความผิดที่ยอมความไม่ได้???
ความจริงผมว่ากรณีหลังมันร้ายแรงน้อยกว่ากรณีแรก จึงควรจะยอมความได้เช่นกันนะครับ ทุกท่านคิดว่าไงครับ
ความผิดฐานฉ้อโกง (ป.อ. ม.341) ยอมความได้ แต่ทำไมความผิดเกี่ยวกับการค้า (ป.อ. ม.271) ถึงได้ยอมความไม่ได้?
ลักษณะ ๘ ความผิดเกี่ยวกับการค้า
ป.อ. มาตรา ๒๗๑ ผู้ใดขายของโดยหลอกลวงด้วยประการใด ๆ ให้ผู้ซื้อหลงเชื่อในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพหรือปริมาณแห่งของนั้นอันเป็นเท็จ ถ้าการกระทำนั้นไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ลักษณะ ๑๒ ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ หมวด ๓ ความผิดฐานฉ้อโกง
ป.อ. มาตรา ๓๔๑ ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๓๔๘ ความผิดในหมวดนี้ นอกจากความผิดตามมาตรา ๓๔๓ เป็นความผิดอันยอมความได้
ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า หากผู้ขายหลอกลวงผู้ซื้อในลักษณะที่เป็นการกระทำความผิดฐานฉ้อโกง คดีนั้นจะยอมความได้ แต่ถ้าไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง จะผิดมาตรา 271 แทนซึ่งยอมความไม่ได้???
ยกตัวอย่าง
ผู้ขายได้โฆษณาขายรังนก ผู้ซื้อได้สั่งซื้อรังนกนั้นไปพร้อมโอนเงินให้ผู้ขาย ผู้ขายจึงได้รับทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงคือได้รับเงินค่ารังนกไปจากผู้ซื้อ จากนั้นผู้ขายส่งรังนกปลอมไปให้ผู้ซื้อ ผู้ขายจึงกระทำความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดที่ยอมความได้
แต่หากผู้ซื้อยังไม่ได้ชำระเงินแล้วผู้ขายได้ส่งรังนกปลอมไปให้ผู้ซื้อ ผู้ขายก็ไม่ได้กระทำความผิดฐานฉ้อโกงเพราะยังไม่ได้รับทรัพย์สินไปจากผู้ถูกหลอกลวงหรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงทำ ถอนหรือทำลายเอกสารสิทธิใดๆ แต่ผู้ซื้อก็สามารถฟ้องผู้ขายได้แล้วว่าได้กระทำความผิดตามมาตรา 271 ซึ่งเป็นความผิดที่ยอมความไม่ได้???
ความจริงผมว่ากรณีหลังมันร้ายแรงน้อยกว่ากรณีแรก จึงควรจะยอมความได้เช่นกันนะครับ ทุกท่านคิดว่าไงครับ