เป็นการสัมภาษณ์ที่ดีมาก อยากให้ทุกคนลองฟังกันดูครับ
ตอนที่ 1
อาจารย์บี๋ - ศ.ภญ. ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ อาจารย์จากภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า ปีที่แล้วตนเองได้เข้าร่วมเวทีการประกวดสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ และได้รับรางวัลชั้นอัศวิน ส่วนปีนี้ได้รับรางวัลขั้นสูงสุด ซึ่งถือเป็นคนแรกในเอเชีย ซึ่งคิดค้นพัฒนาไซโตไคน์เพื่อสร้างคอลลาเจนและป้องกันการเกิดรอยแผลเป็น โดยสกัดมาจากเลือดสัตว์แทนการใช้เลือดมนุษย์ และอีกงานหนึ่งคือการคิดค้นอาหารสัตว์จากถังเช่า(หนอนไหม) เพื่อลดต้นทุนในการเพิ่มความคุ้มกันของสัตว์น้ำ ทั้งยังนำน่ำมะพร้าวแก่ที่เหลือทิ้งและสร้างปัญหาให้กับชาวบ้าน มาทำเป็นวุ้นมะพร้าวโดยใช้เทคนิคพิเศษให้ยืดหยุ่นและบาง เพื่อสามารถใช้เป็นแผ่นมาร์คหน้า-คอ และแผ่นปิดแผลได้
อาจารย์บี๋ ระบุต่อว่า เนื่องจากทุนที่ใช้ในการวิจัยนำมาจากภาษีประชาชน ตนเองจึงคิดว่าถ้าหากมีช่องทางที่จะสามารถนำเทคโนโลยีไปให้เอกชนทำงานต่อยอดเชิงพาณิชแบบไม่คิดเงิน เพื่อให้เด็ก ๆ หรือประชาชนได้ประโยชน์จากสิ่งนั้น แต่หากไม่สามารถทำกิจการให้สำเร็จได้จะปรับเงินเป็น 2 เท่า
ตอนที่ 2
อาจารย์บี๋ - ศ.ภญ. ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ อาจารย์จากภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า นักวิจัยควรเรียนรู้เรื่องการต่อยอดด้านการค้า เพราะการเสียเงินสำหรับงานวิจัยเพื่อนำไปต่อยอดธุรกิจถือเป็นอุปสรรคขององค์กรเอกชน เนื่องจากต้องเสียเงินลงทุนสูง ดังนั้นตนเองจึงให้นำงานวิจัยไปใช้แบบไม่คิดเงิน เพื่อให้ธุรกิจที่ออกมาเป็นประโยชน์ต่อเด็กและประชาชน แต่มีข้อแม้ว่าหากธุรกิจไม่ประสบความสำเร็จจะต้องเสียเงินค่าปรับเป็น 2 เท่า เพื่อเป็นการป้องกันนายทุนเอกชนที่ไม่จริงจังกับการผลิตสินค้า เมื่อได้รับงานวิจัยไปใช้แบบไม่เสียเงิน ทั้งยังแนะนำให้นายทุนเหล่านั้นซื้อวัสดุต่าง ๆ จากประชาชน เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับชาวบ้านอีกแนวทางหนึ่งด้วย
อาจารย์บี๋ ยอมรับว่าการที่ครอบครัวตนเองมีเชื้อสายจีนเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ เนื่องจากพื้นฐานของคนจีนจะมีความคิดด้านการค้าขายและขยันทำงานหนักอยู่เสมอ เพราะตนเองเชื่อว่าไม่มีใครเกิดมาเก่งกว่าใคร ดังนั้นต้องศึกษาและทดลองอยู่เสมอเมื่อพบแนวคิดที่ดี เพื่อเป็นประสบการณ์ให้กับตนเอง ซึ่งแนวคิดงานวิจัยที่ดีที่สุดคือมาจากตนเอง อย่าลอกเลียนแบบคนอื่นที่เขาทำอยู่แล้ว ต้องหาจุดเด่นที่มาจากตนเองให้เกิดความแปลกใหม่ แล้วจึงประยุกต์ต่อยอดต่อไปเพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาอีก
ทั้งนี้เมื่อได้เห็นถุงเท้าจากเกาหลีและญี่ปุ่นซึ่งสามารถขัดเซลผิวที่ตายแล้วออกได้ จึงนำมาพัฒนาต่อยอดเพื่อใช้ป้องกันและรักษาแผลที่เท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยเปลี่ยนจากใช้กรดเป็นสารตัวอื่นเพื่อลดอาการแสบ ซึ่งเป็นอาการที่ผู้ป่วยเบาหวานไม่สามารถทนได้ พร้อมทั้งใส่สารฆ่าเชื้อลงไปด้วย
-----------------------------
ข่าวรายละเอียด
คณาจารย์นักวิจัยจุฬาฯ สร้างชื่ออีกครั้งในเวทีระดับนานาชาติ คว้า 20 รางวัลจากการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมในงาน “The 64th Brussels Eureka: The World Exhibition on Inventions, Research and New Technologies” (Brussels Innova 2015) เมื่อเร็วๆนี้ ณ กรุงบรัสเซลส์ ราชอาณาจักรเบลเยียม ซึ่งมีนักวิจัย 4,200 คน จาก 20 ประเทศ ส่งผลงานสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมต่างๆ เข้าประกวดกว่า 300 ผล
งาน โดยคณาจารย์ จุฬาฯที่ได้รับรางวัลต่างๆ มีดังนี้
- ศ.ภญ.ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับรางวัลนวัตกรรมของสหภาพยุโรป ประเภทเหรียญอิสริยาภรณ์ ชั้นสูงสุด รางวัลนวัตกรรมของประเทศเบลเยี่ยม ประเภทเหรียญ อิสริยาภรณ์ ชั้นสูงสุด รางวัล International Innovation Award of the Polish Academy of Sciences รางวัลเหรียญทอง จากผลงานวิจัยเรื่อง “ไซโตไคน์จากเกล็ดเลือดที่กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและป้องกัน การเกิดแผลเป็น” และรางวัลเหรียญทอง จากผลงานวิจัยเรื่อง “อาหารสัตว์ที่ประกอบด้วยถั่งเช่า เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันของสัตว์น้ำ”
- รศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับรางวัลเหรียญทองเกียรติยศ รางวัลชนะเลิศ Brussels Invention 2015 รางวัล Special Prize จาก Union of Croatian Inventors (Prize of the Croatian Inventors รางวัล Special Awards “This is a Good Idea in 2015” จาก Taiwan Prominent Inventor Association จากผลงานวิจัยเรื่อง “Clip-on-Scope: กล้องจุลทรรศน์ดิจิตัลแบบพกพาที่เล็กและ
เบาที่สุดในโลก” รางวัลเหรียญทองเกียรติยศ รางวัล Brussels Invention 2015 จากผลงานเรื่อง “Gem-o-Scope: กล้องจุลทรรศน์ดิจิตัลสำหรับการตรวจสอบ อัญมณีและเครื่องประดับ” และรางวัลเหรียญ ทอง จากผลงานวิจัยเรื่อง “มณฑารพ: ข้าวตอกหอม”
- รศ.ดร.ศุภศร วนิชเวชารุ่งเรือง คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับรางวัลเหรียญทอง จากผลงานวิจัยเรื่อง “นาโนเรตินอยด์” “นาโนแมงโกสติน” และ “เมมเบรนพาส” และรางวัล Invention of Distinction2015 จากผลงานวิจัยเรื่อง “นาโนเรตินอยด์”
- ผศ.ดร.ปิยะศักดิ์ ชอุ่มพฤกษ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และ อ.น.สพ.ดร.อรรณพ สุริยสมบูรณ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับรางวัลเหรียญทอง และรางวัลพิเศษจากประเทศโรมาเนีย จาก ผลงานวิจัยเรื่อง “ห้องปฏิบัติการจำลองบนกระดาษรูปดับเบิ้ลยู สำหรับการตรวจทางพันธุกรรมของไวรัส PRRSV สายพันธุ์ก่อโรครุนแรง” รางวัลเหรียญเงิน จากผลงานวิจัยเรื่อง “ยีนเซ็นเซอร์เพื่อการตรวจเชื้อ พยาธิเม็ดเลือดสุนัข”
- ผศ.ดร.พัฒทรา ธีรพิบูลย์เดช คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับรางวัลเหรียญเงิน จากผลงานวิจัยเรื่อง “แผ่นหอมและสมุนไพรสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม”
- See more at:
http://eureka.bangkokbiznews.com/detail/633866#sthash.G6pVppDL.dpuf
-----------------------------------
ขอแสดงความยินดีด้วยครับ ขอให้สื่อนำเสนอข่าวดีๆเกี่ยวกับงานวิจัย วิทยาศาสตร์กับการพัฒนาประเทศแบบนี้อีกบ่อยๆ
เพื่อให้สังคมรู้บ้างว่าบ้านเราก็มีนักวิจัยเก่งๆจำนวนมาก ที่เป็นผู้ปิดทองหลังพระทำงานหนักอยู่เบื้องหลัง
และขอให้นักวิจัยไทยสู้ต่อไป ทำผลงานที่เป็นประโยชน์กับประเทศเพื่อให้คนทั่วไปเห็นและตระหนักถึงความสำคัญของ
การวิจัยและพัฒนา R&D ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม
สุดท้ายขอเน้นย้ำถึงส่วนที่ศ.ภญ. ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ กล่าวไว้คือการทำงานอย่างหนัก ขยัน ดูอาจารย์เป็นแบบอย่างโดยบอกว่า
เป็นลูกคนไทยเชื้อสายจีน พ่อแม่สอนเรื่องเน้นย้ำถึงความขยัน ใครตื่นเช้าเทวดาจะให้พร ถ้าตื่นสายพรนั้นก็จะถูกคนอื่นแย่งไป
จึงตื่นตั้งแต่ ตีสามตีสี่เป็นปกติ และก็ทำงานตลอดทั้งวัน ขยันมาก อาจารย์ยังบอกว่าความสำเร็จที่เห็นอยู่ตรงนี้คิดเป็นเพียงประมาณ
30 เปอเซนต์ อีก 70 เปอเซนต์เป็นงานวิจัยที่ล้มเหลว ซึ่งท่านก็ไม่ได้เครียดอะไรโดยบอกว่าเป็นเรื่องปกติ เป็นไปไม่ได้หรอกที่งานวิจัยจะสำเร็จทุกชิ้นไป อันไหนล้มเหลวก็ยกเลิก พยายามทราบแต่เนิ่นจะได้ไม่เสียเวลามากแล้วหันมาทำงานวิจัยอื่นต่อ งานวิจัยแต่ละชิ้นก็ใช้เวลายาวนานหลายปี ปกติก็เฉลี่ยชิ้นละประมาณ 2 ปี บางชิ้นก็นานมากกว่า 5 ปีขึ้นไป จะเห็นว่าความสำเร็จที่ได้มานี้ต้องขยันและยังต้องมั่นคง อดทน แน่วแน่อย่างต่อเนื่องเพราะใช้เวลาค่อนข้างนาน
แนวคิดของอาจารย์คือขยันทำงานอย่างไม่ย่อท้อแม้จะล้มเหลวกี่ครั้งก็ยังสู้ต่อ อาจารย์ยังเชื่อว่าแม้เงิน อุปกรณ์ ความฉลาดบางครั้งเราอาจจะสู้คนอื่นหรือฝรั่งไม่ได้แต่อาศัยความขยันอย่างหนักก็จะส่งผลให้ประสพความสำเร็จได้ บางทีอาจจะสามารถเอาชนะคนที่เก่งกว่าได้ด้วยซ้ำ
นี่แหละแนวคิดของผู้ที่ประสพความสำเร็จ ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์อีกครั้งครับ
ขอแสดงความยินดี ศ.ภญ. ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คว้ารางวัลวิจัยระดับโลก
ตอนที่ 1
อาจารย์บี๋ - ศ.ภญ. ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ อาจารย์จากภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า ปีที่แล้วตนเองได้เข้าร่วมเวทีการประกวดสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ และได้รับรางวัลชั้นอัศวิน ส่วนปีนี้ได้รับรางวัลขั้นสูงสุด ซึ่งถือเป็นคนแรกในเอเชีย ซึ่งคิดค้นพัฒนาไซโตไคน์เพื่อสร้างคอลลาเจนและป้องกันการเกิดรอยแผลเป็น โดยสกัดมาจากเลือดสัตว์แทนการใช้เลือดมนุษย์ และอีกงานหนึ่งคือการคิดค้นอาหารสัตว์จากถังเช่า(หนอนไหม) เพื่อลดต้นทุนในการเพิ่มความคุ้มกันของสัตว์น้ำ ทั้งยังนำน่ำมะพร้าวแก่ที่เหลือทิ้งและสร้างปัญหาให้กับชาวบ้าน มาทำเป็นวุ้นมะพร้าวโดยใช้เทคนิคพิเศษให้ยืดหยุ่นและบาง เพื่อสามารถใช้เป็นแผ่นมาร์คหน้า-คอ และแผ่นปิดแผลได้
อาจารย์บี๋ ระบุต่อว่า เนื่องจากทุนที่ใช้ในการวิจัยนำมาจากภาษีประชาชน ตนเองจึงคิดว่าถ้าหากมีช่องทางที่จะสามารถนำเทคโนโลยีไปให้เอกชนทำงานต่อยอดเชิงพาณิชแบบไม่คิดเงิน เพื่อให้เด็ก ๆ หรือประชาชนได้ประโยชน์จากสิ่งนั้น แต่หากไม่สามารถทำกิจการให้สำเร็จได้จะปรับเงินเป็น 2 เท่า
ตอนที่ 2
อาจารย์บี๋ - ศ.ภญ. ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ อาจารย์จากภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า นักวิจัยควรเรียนรู้เรื่องการต่อยอดด้านการค้า เพราะการเสียเงินสำหรับงานวิจัยเพื่อนำไปต่อยอดธุรกิจถือเป็นอุปสรรคขององค์กรเอกชน เนื่องจากต้องเสียเงินลงทุนสูง ดังนั้นตนเองจึงให้นำงานวิจัยไปใช้แบบไม่คิดเงิน เพื่อให้ธุรกิจที่ออกมาเป็นประโยชน์ต่อเด็กและประชาชน แต่มีข้อแม้ว่าหากธุรกิจไม่ประสบความสำเร็จจะต้องเสียเงินค่าปรับเป็น 2 เท่า เพื่อเป็นการป้องกันนายทุนเอกชนที่ไม่จริงจังกับการผลิตสินค้า เมื่อได้รับงานวิจัยไปใช้แบบไม่เสียเงิน ทั้งยังแนะนำให้นายทุนเหล่านั้นซื้อวัสดุต่าง ๆ จากประชาชน เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับชาวบ้านอีกแนวทางหนึ่งด้วย
อาจารย์บี๋ ยอมรับว่าการที่ครอบครัวตนเองมีเชื้อสายจีนเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ เนื่องจากพื้นฐานของคนจีนจะมีความคิดด้านการค้าขายและขยันทำงานหนักอยู่เสมอ เพราะตนเองเชื่อว่าไม่มีใครเกิดมาเก่งกว่าใคร ดังนั้นต้องศึกษาและทดลองอยู่เสมอเมื่อพบแนวคิดที่ดี เพื่อเป็นประสบการณ์ให้กับตนเอง ซึ่งแนวคิดงานวิจัยที่ดีที่สุดคือมาจากตนเอง อย่าลอกเลียนแบบคนอื่นที่เขาทำอยู่แล้ว ต้องหาจุดเด่นที่มาจากตนเองให้เกิดความแปลกใหม่ แล้วจึงประยุกต์ต่อยอดต่อไปเพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาอีก
ทั้งนี้เมื่อได้เห็นถุงเท้าจากเกาหลีและญี่ปุ่นซึ่งสามารถขัดเซลผิวที่ตายแล้วออกได้ จึงนำมาพัฒนาต่อยอดเพื่อใช้ป้องกันและรักษาแผลที่เท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยเปลี่ยนจากใช้กรดเป็นสารตัวอื่นเพื่อลดอาการแสบ ซึ่งเป็นอาการที่ผู้ป่วยเบาหวานไม่สามารถทนได้ พร้อมทั้งใส่สารฆ่าเชื้อลงไปด้วย
-----------------------------
ข่าวรายละเอียด
คณาจารย์นักวิจัยจุฬาฯ สร้างชื่ออีกครั้งในเวทีระดับนานาชาติ คว้า 20 รางวัลจากการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมในงาน “The 64th Brussels Eureka: The World Exhibition on Inventions, Research and New Technologies” (Brussels Innova 2015) เมื่อเร็วๆนี้ ณ กรุงบรัสเซลส์ ราชอาณาจักรเบลเยียม ซึ่งมีนักวิจัย 4,200 คน จาก 20 ประเทศ ส่งผลงานสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมต่างๆ เข้าประกวดกว่า 300 ผล
งาน โดยคณาจารย์ จุฬาฯที่ได้รับรางวัลต่างๆ มีดังนี้
- ศ.ภญ.ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับรางวัลนวัตกรรมของสหภาพยุโรป ประเภทเหรียญอิสริยาภรณ์ ชั้นสูงสุด รางวัลนวัตกรรมของประเทศเบลเยี่ยม ประเภทเหรียญ อิสริยาภรณ์ ชั้นสูงสุด รางวัล International Innovation Award of the Polish Academy of Sciences รางวัลเหรียญทอง จากผลงานวิจัยเรื่อง “ไซโตไคน์จากเกล็ดเลือดที่กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและป้องกัน การเกิดแผลเป็น” และรางวัลเหรียญทอง จากผลงานวิจัยเรื่อง “อาหารสัตว์ที่ประกอบด้วยถั่งเช่า เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันของสัตว์น้ำ”
- รศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับรางวัลเหรียญทองเกียรติยศ รางวัลชนะเลิศ Brussels Invention 2015 รางวัล Special Prize จาก Union of Croatian Inventors (Prize of the Croatian Inventors รางวัล Special Awards “This is a Good Idea in 2015” จาก Taiwan Prominent Inventor Association จากผลงานวิจัยเรื่อง “Clip-on-Scope: กล้องจุลทรรศน์ดิจิตัลแบบพกพาที่เล็กและ
เบาที่สุดในโลก” รางวัลเหรียญทองเกียรติยศ รางวัล Brussels Invention 2015 จากผลงานเรื่อง “Gem-o-Scope: กล้องจุลทรรศน์ดิจิตัลสำหรับการตรวจสอบ อัญมณีและเครื่องประดับ” และรางวัลเหรียญ ทอง จากผลงานวิจัยเรื่อง “มณฑารพ: ข้าวตอกหอม”
- รศ.ดร.ศุภศร วนิชเวชารุ่งเรือง คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับรางวัลเหรียญทอง จากผลงานวิจัยเรื่อง “นาโนเรตินอยด์” “นาโนแมงโกสติน” และ “เมมเบรนพาส” และรางวัล Invention of Distinction2015 จากผลงานวิจัยเรื่อง “นาโนเรตินอยด์”
- ผศ.ดร.ปิยะศักดิ์ ชอุ่มพฤกษ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และ อ.น.สพ.ดร.อรรณพ สุริยสมบูรณ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับรางวัลเหรียญทอง และรางวัลพิเศษจากประเทศโรมาเนีย จาก ผลงานวิจัยเรื่อง “ห้องปฏิบัติการจำลองบนกระดาษรูปดับเบิ้ลยู สำหรับการตรวจทางพันธุกรรมของไวรัส PRRSV สายพันธุ์ก่อโรครุนแรง” รางวัลเหรียญเงิน จากผลงานวิจัยเรื่อง “ยีนเซ็นเซอร์เพื่อการตรวจเชื้อ พยาธิเม็ดเลือดสุนัข”
- ผศ.ดร.พัฒทรา ธีรพิบูลย์เดช คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับรางวัลเหรียญเงิน จากผลงานวิจัยเรื่อง “แผ่นหอมและสมุนไพรสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม”
- See more at: http://eureka.bangkokbiznews.com/detail/633866#sthash.G6pVppDL.dpuf
-----------------------------------
ขอแสดงความยินดีด้วยครับ ขอให้สื่อนำเสนอข่าวดีๆเกี่ยวกับงานวิจัย วิทยาศาสตร์กับการพัฒนาประเทศแบบนี้อีกบ่อยๆ
เพื่อให้สังคมรู้บ้างว่าบ้านเราก็มีนักวิจัยเก่งๆจำนวนมาก ที่เป็นผู้ปิดทองหลังพระทำงานหนักอยู่เบื้องหลัง
และขอให้นักวิจัยไทยสู้ต่อไป ทำผลงานที่เป็นประโยชน์กับประเทศเพื่อให้คนทั่วไปเห็นและตระหนักถึงความสำคัญของ
การวิจัยและพัฒนา R&D ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม
สุดท้ายขอเน้นย้ำถึงส่วนที่ศ.ภญ. ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ กล่าวไว้คือการทำงานอย่างหนัก ขยัน ดูอาจารย์เป็นแบบอย่างโดยบอกว่า
เป็นลูกคนไทยเชื้อสายจีน พ่อแม่สอนเรื่องเน้นย้ำถึงความขยัน ใครตื่นเช้าเทวดาจะให้พร ถ้าตื่นสายพรนั้นก็จะถูกคนอื่นแย่งไป
จึงตื่นตั้งแต่ ตีสามตีสี่เป็นปกติ และก็ทำงานตลอดทั้งวัน ขยันมาก อาจารย์ยังบอกว่าความสำเร็จที่เห็นอยู่ตรงนี้คิดเป็นเพียงประมาณ
30 เปอเซนต์ อีก 70 เปอเซนต์เป็นงานวิจัยที่ล้มเหลว ซึ่งท่านก็ไม่ได้เครียดอะไรโดยบอกว่าเป็นเรื่องปกติ เป็นไปไม่ได้หรอกที่งานวิจัยจะสำเร็จทุกชิ้นไป อันไหนล้มเหลวก็ยกเลิก พยายามทราบแต่เนิ่นจะได้ไม่เสียเวลามากแล้วหันมาทำงานวิจัยอื่นต่อ งานวิจัยแต่ละชิ้นก็ใช้เวลายาวนานหลายปี ปกติก็เฉลี่ยชิ้นละประมาณ 2 ปี บางชิ้นก็นานมากกว่า 5 ปีขึ้นไป จะเห็นว่าความสำเร็จที่ได้มานี้ต้องขยันและยังต้องมั่นคง อดทน แน่วแน่อย่างต่อเนื่องเพราะใช้เวลาค่อนข้างนาน
แนวคิดของอาจารย์คือขยันทำงานอย่างไม่ย่อท้อแม้จะล้มเหลวกี่ครั้งก็ยังสู้ต่อ อาจารย์ยังเชื่อว่าแม้เงิน อุปกรณ์ ความฉลาดบางครั้งเราอาจจะสู้คนอื่นหรือฝรั่งไม่ได้แต่อาศัยความขยันอย่างหนักก็จะส่งผลให้ประสพความสำเร็จได้ บางทีอาจจะสามารถเอาชนะคนที่เก่งกว่าได้ด้วยซ้ำ
นี่แหละแนวคิดของผู้ที่ประสพความสำเร็จ ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์อีกครั้งครับ