ง่วงหลับใน มหันตภัยบนถนน | เดลินิวส์
ปีนี้เป็นปีแรกที่หัวข้อเรื่องง่วงหลับในถูกบรรจุในโครงการสัมมนาระดับชาติเรื่องความปลอดภัยทางถนน สอดคล้องกับปฏิญญาบราซิเลียเรื่องความปลอดภัยทางถนน ในการประชุมใหญ่ขององค์การสหประชาชาติ จัดขึ้นที่ประเทศบราซิลเมื่อเดือนที่แล้ว ซึ่งเป็นครั้งแรกที่บรรจุเรื่องง่วงหลับใน เป็นอีกปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนทั่วโลก ความจริงประเทศที่เจริญแล้วได้ตระหนักถึงความสำคัญของง่วงหลับในว่าเป็นสาเหตุสำคัญอันดับต้น ๆ ที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตนานกว่า 20 ปีแล้ว และได้รณรงค์เรื่องนี้อย่างจริงจัง แต่ถึงแม้จะรณรงค์เรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง
ง่วงหลับในยังเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอย่างน้อยร้อยละ 20 ในประเทศที่เจริญแล้ว นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ ประธานทุนง่วงอย่าขับ ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ มูลนิธิรามาธิบดี กล่าวว่า “สำหรับประเทศไทย สังคมไทยรับรู้อันตรายของง่วงหลับในน้อยมาก กว่าคนไทยที่ส่วนใหญ่จะรู้ถึงอันตรายของการเมาแล้วขับ ขับรถเร็ว และประมาท ถึงแม้ประเทศไทยจะใช้เงินจำนวนมหาศาลรณรงค์เรื่องเมาแล้วขับ และเคารพกฎจราจร อัตราตายจากอุบัติเหตุจราจรนอกจากจะไม่ลด กลับเพิ่มสูงขึ้น ปัจจุบันเพิ่มเป็นอันดับ 2 ของโลก เป้าหมายที่จะลดอัตราตายให้ต่ำกว่าร้อยละ 10 ต่อแสนประชากรดูจะเลือนราง ถึงเวลาแล้วที่หน่วยงานที่รับผิดชอบของภาครัฐต้องรณรงค์ให้สังคมรับรู้อันตรายของง่วงหลับใน และแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างจริงจัง”
หลับใน คือ การหลับตื้น ๆ ไม่เกิน 10 วินาที สมองไม่รับรู้ หูไม่ได้ยิน ตาไม่เห็น มือเท้าไม่ขยับ คลื่นสมองเปลี่ยนจากตื่นเป็นหลับ ถ้าหลับไปเพียง 4 วินาทีและรถวิ่ง 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รถจะวิ่งไปอีก 100 เมตร โดยที่คนขับไม่รู้ตัวและถ้าชนด้วยความเร็ว 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แรงกระแทกจะเท่ากับตกตึกสูง 10 ชั้น โอกาสตาย 100% และถ้าขับด้วยความเร็ว 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แรงปะทะเท่ากับตกตึกสูง 4 ชั้น โอกาสตายก็ยังสูงมาก ง่วง มี 4 สาเหตุ 1. นอนไม่พอซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่สุด 2. กินยาทำให้ง่วง 3. ดื่มแอลกอฮอล์ 4. มีโรคประจำตัว เช่น โรคนอนกรนหยุดหายใจขณะหลับ แอลกอฮอล์เป็นเพียงหนึ่งใน 4 สาเหตุที่ทำให้เกิดการหลับใน อุบัติเหตุจราจรที่ทำให้ถึงตายในประเทศไทย น่าจะเกิดจากง่วงหลับในประมาณร้อยละ 30 จากเมาประมาณร้อยละ 25 ที่เหลือจากสาเหตุอื่น ๆ วิธีป้องกันอุบัติเหตุจากหลับใน คนขับควรถามตัวเองเป็นระยะว่าง่วงหรือยัง ถ้าเริ่มง่วงให้ร้องเพลง คุยกับผู้ร่วมทาง ดื่มกาแฟ หาของขบเคี้ยว หลับในไม่ได้เกิดขึ้นทันที จะมีสัญญาณเตือนมาก่อน แต่คนส่วนใหญ่จะมองข้าม คิดว่าอีกไม่กี่กิโลเมตรก็จะถึงที่หมาย หรือใกล้จะได้จอดพัก สัญญาณเตือนก่อนหลับในจะเกิดขึ้นมีดังนี้ หาวนอนไม่หยุด ลืมตาไม่ขึ้น บังคับรถให้อยู่ในเลนลำบาก จิตใจล่องลอยไม่มีสมาธิ
ที่สำคัญที่สุดจำไม่ได้ว่าเพิ่งขับผ่านอะไรมา ถ้ามีสัญญาณเตือนเหล่านี้ คนขับจะต้องรีบจอดรถในที่ปลอดภัย ดื่มกาแฟก่อนแล้วงีบหลับสัก 10-15 นาที เมื่อตื่นดีแล้วค่อยขับต่อ ถ้าทุกคนมีความรู้และปฏิบัติตาม โอกาสเสียชีวิตจากง่วงหลับในก็จะลดลงทันที สังคมไทยต้องรู้วิธีป้องกันความง่วง ก่อนขับรถทางไกลต้องนอนหลับให้เพียงพอ อย่างน้อย 7 ชั่วโมง ไม่กินยาที่ทำให้ง่วง ไม่ดื่มแอลกอฮอล์คืนก่อนเดินทาง สำหรับคนที่นอนเต็มที่แล้วยังง่วงควรปรึกษาแพทย์ “กรมการขนส่งทางบก ควรออกกฎหมายบังคับพนักงานขับรถโดยสารสาธารณะและรถบรรทุก ขับรถได้วันละไม่เกิน 10 ชั่วโมง สัปดาห์หนึ่งไม่เกิน 60 ชั่วโมง และมีวันหยุด 1 วัน ต้องหยุดพักรถทุก 2 ชั่วโมง นอกจากนี้ควรบรรจุความรู้ วิธีการและป้องกันอันตรายจากง่วงหลับในในการสอบใบขับขี่ กรมทางหลวงต้องเร่งสร้างที่พักริมทางสำหรับรถบรรทุกใหญ่เพิ่มขึ้นมากกว่านี้ ในปัจจุบันทั้งประเทศมีเพียง 5 แห่ง และวางแผนที่จะเพิ่มเป็น 41 แห่ง ใช้เวลาอีก 15 ปีนั้นช้าและนานเกินไป เราต้องช่วยกันรณรงค์ให้สังคมรับรู้ถึงอันตรายของง่วงหลับในอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สังคมปลอดภัยจากอุบัติเหตุจราจรที่นับวันมีแต่จะเพิ่มมากขึ้นทุกปี” นพ.มนูญ กล่าวสรุป.“
อ่านต่อที่ :
http://www.dailynews.co.th/article/367377
เครดิตภาพ
https://goo.gl/ImwR6C
ง่วงหลับใน มหันตภัยบนถนน - สังคมไทย รับรู้อันตรายของ ง่วงหลับใน น้อยมาก
ปีนี้เป็นปีแรกที่หัวข้อเรื่องง่วงหลับในถูกบรรจุในโครงการสัมมนาระดับชาติเรื่องความปลอดภัยทางถนน สอดคล้องกับปฏิญญาบราซิเลียเรื่องความปลอดภัยทางถนน ในการประชุมใหญ่ขององค์การสหประชาชาติ จัดขึ้นที่ประเทศบราซิลเมื่อเดือนที่แล้ว ซึ่งเป็นครั้งแรกที่บรรจุเรื่องง่วงหลับใน เป็นอีกปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนทั่วโลก ความจริงประเทศที่เจริญแล้วได้ตระหนักถึงความสำคัญของง่วงหลับในว่าเป็นสาเหตุสำคัญอันดับต้น ๆ ที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตนานกว่า 20 ปีแล้ว และได้รณรงค์เรื่องนี้อย่างจริงจัง แต่ถึงแม้จะรณรงค์เรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง
ง่วงหลับในยังเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอย่างน้อยร้อยละ 20 ในประเทศที่เจริญแล้ว นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ ประธานทุนง่วงอย่าขับ ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ มูลนิธิรามาธิบดี กล่าวว่า “สำหรับประเทศไทย สังคมไทยรับรู้อันตรายของง่วงหลับในน้อยมาก กว่าคนไทยที่ส่วนใหญ่จะรู้ถึงอันตรายของการเมาแล้วขับ ขับรถเร็ว และประมาท ถึงแม้ประเทศไทยจะใช้เงินจำนวนมหาศาลรณรงค์เรื่องเมาแล้วขับ และเคารพกฎจราจร อัตราตายจากอุบัติเหตุจราจรนอกจากจะไม่ลด กลับเพิ่มสูงขึ้น ปัจจุบันเพิ่มเป็นอันดับ 2 ของโลก เป้าหมายที่จะลดอัตราตายให้ต่ำกว่าร้อยละ 10 ต่อแสนประชากรดูจะเลือนราง ถึงเวลาแล้วที่หน่วยงานที่รับผิดชอบของภาครัฐต้องรณรงค์ให้สังคมรับรู้อันตรายของง่วงหลับใน และแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างจริงจัง”
หลับใน คือ การหลับตื้น ๆ ไม่เกิน 10 วินาที สมองไม่รับรู้ หูไม่ได้ยิน ตาไม่เห็น มือเท้าไม่ขยับ คลื่นสมองเปลี่ยนจากตื่นเป็นหลับ ถ้าหลับไปเพียง 4 วินาทีและรถวิ่ง 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รถจะวิ่งไปอีก 100 เมตร โดยที่คนขับไม่รู้ตัวและถ้าชนด้วยความเร็ว 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แรงกระแทกจะเท่ากับตกตึกสูง 10 ชั้น โอกาสตาย 100% และถ้าขับด้วยความเร็ว 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แรงปะทะเท่ากับตกตึกสูง 4 ชั้น โอกาสตายก็ยังสูงมาก ง่วง มี 4 สาเหตุ 1. นอนไม่พอซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่สุด 2. กินยาทำให้ง่วง 3. ดื่มแอลกอฮอล์ 4. มีโรคประจำตัว เช่น โรคนอนกรนหยุดหายใจขณะหลับ แอลกอฮอล์เป็นเพียงหนึ่งใน 4 สาเหตุที่ทำให้เกิดการหลับใน อุบัติเหตุจราจรที่ทำให้ถึงตายในประเทศไทย น่าจะเกิดจากง่วงหลับในประมาณร้อยละ 30 จากเมาประมาณร้อยละ 25 ที่เหลือจากสาเหตุอื่น ๆ วิธีป้องกันอุบัติเหตุจากหลับใน คนขับควรถามตัวเองเป็นระยะว่าง่วงหรือยัง ถ้าเริ่มง่วงให้ร้องเพลง คุยกับผู้ร่วมทาง ดื่มกาแฟ หาของขบเคี้ยว หลับในไม่ได้เกิดขึ้นทันที จะมีสัญญาณเตือนมาก่อน แต่คนส่วนใหญ่จะมองข้าม คิดว่าอีกไม่กี่กิโลเมตรก็จะถึงที่หมาย หรือใกล้จะได้จอดพัก สัญญาณเตือนก่อนหลับในจะเกิดขึ้นมีดังนี้ หาวนอนไม่หยุด ลืมตาไม่ขึ้น บังคับรถให้อยู่ในเลนลำบาก จิตใจล่องลอยไม่มีสมาธิ
ที่สำคัญที่สุดจำไม่ได้ว่าเพิ่งขับผ่านอะไรมา ถ้ามีสัญญาณเตือนเหล่านี้ คนขับจะต้องรีบจอดรถในที่ปลอดภัย ดื่มกาแฟก่อนแล้วงีบหลับสัก 10-15 นาที เมื่อตื่นดีแล้วค่อยขับต่อ ถ้าทุกคนมีความรู้และปฏิบัติตาม โอกาสเสียชีวิตจากง่วงหลับในก็จะลดลงทันที สังคมไทยต้องรู้วิธีป้องกันความง่วง ก่อนขับรถทางไกลต้องนอนหลับให้เพียงพอ อย่างน้อย 7 ชั่วโมง ไม่กินยาที่ทำให้ง่วง ไม่ดื่มแอลกอฮอล์คืนก่อนเดินทาง สำหรับคนที่นอนเต็มที่แล้วยังง่วงควรปรึกษาแพทย์ “กรมการขนส่งทางบก ควรออกกฎหมายบังคับพนักงานขับรถโดยสารสาธารณะและรถบรรทุก ขับรถได้วันละไม่เกิน 10 ชั่วโมง สัปดาห์หนึ่งไม่เกิน 60 ชั่วโมง และมีวันหยุด 1 วัน ต้องหยุดพักรถทุก 2 ชั่วโมง นอกจากนี้ควรบรรจุความรู้ วิธีการและป้องกันอันตรายจากง่วงหลับในในการสอบใบขับขี่ กรมทางหลวงต้องเร่งสร้างที่พักริมทางสำหรับรถบรรทุกใหญ่เพิ่มขึ้นมากกว่านี้ ในปัจจุบันทั้งประเทศมีเพียง 5 แห่ง และวางแผนที่จะเพิ่มเป็น 41 แห่ง ใช้เวลาอีก 15 ปีนั้นช้าและนานเกินไป เราต้องช่วยกันรณรงค์ให้สังคมรับรู้ถึงอันตรายของง่วงหลับในอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สังคมปลอดภัยจากอุบัติเหตุจราจรที่นับวันมีแต่จะเพิ่มมากขึ้นทุกปี” นพ.มนูญ กล่าวสรุป.“
อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/article/367377
เครดิตภาพ https://goo.gl/ImwR6C