ถ้าออยฆ่าตัวตาย โดยการกินยาพารานะ

มาดูข้อมูลของยาพาราก่อน
        พาราเซตามอล  หรือ Acetaminophen เป็นยาแก้ปวดที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย และใช้มากเป็นอันดับหนึ่ง หาซื้อได้ง่ายและไม่มีฤทธิ์ข้างเคียงต่อทางเดินอาหาร

กลไกการเกิดพิษ
        ในขนาดรักษา พาราเซตามอลกว่า 95% จะถูกเมตาโบไลซ์ที่ตับด้วยกระบวนการ conjugation กลายเป็นสารที่ไม่เป็นพิษ แล้วถูกขับออกจากร่างกาย อีก 5% ถูกเมตาโบไลซ์ โดยเอนไซม์ cytochrome P-450 ได้เป็นเมตาโบไลต์ที่มีพิษ แต่จะถูกกำจัดโดยกลูตาไธโอน (glutathione) ซึ่งทำหน้าที่เป็น reducing agent จะจับกับสารพิษนี้และขับออกทางปัสสาวะ
        แต่ในภาวะที่ได้รับพาราเซตามอลเกินขนาดเมตาโบไลต์ที่มีพิษนี้ จะมีปริมาณมากเกินความสามารถของกลูตาไธโอน ที่จะกำจัดได้ จึงเกิดความเป็นพิษต่ออวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เช่น ตับและไต
        มีการศึกษาพบว่า ร่างกายคนเรามี glutathione ที่จะทำลายพาราเซตามอล  ที่รับประทานเข้าไปไม่เกิน 7.5 กรัม หรือ 150 มก./กก.  ในคนปกติ ค่าครึ่งชีวิตของพาราเซตามอลประมาณ 4 ชั่วโมง แต่ในภาวะที่ได้รับยาเกินขนาด ค่าครึ่งชีวิตอาจยาวเป็น 12 ชั่วโมงได้
        ปกติพาราเซตามอลจะถูกดูดซึมอย่างรวดเร็ว แต่ในภาวะเป็นพิษ การดูดซึมจะลดลง อาจนานกว่า 4 ชั่วโมง โดยเฉพาะถ้ารับประทานยาอื่นร่วมด้วย

การรักษา
        ความสำคัญของการรักษาภาวะเป็นพิษจากยาแก้ปวดพาราเซตามอลคือการให้ยาต้านพิษทันเวลา บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยภาวะเป็นพิษจากยานี้มาที่แผนกฉุกเฉิน แล้วแพทย์ให้ยาตามอาการและปล่อยให้กลับบ้าน เนื่องจากผู้ป่วยไม่ค่อยมีอาการอะไร ทั้งๆที่ความจริงพิษของยาออกฤทธิ์ช้า กว่าจะพบอาการตับอักเสบก็ใช้เวลาหลายวัน และอาจเสียชีวิตได้ การให้ยาต้านพิษภายใน 24 ชั่วโมงจะช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิตได้
       1. ถ้าผู้ป่วยมาถึงภายใน 2 ชั่วโมงหลังกินยาให้ล้างท้อง แล้วให้ activated charcoal ขนาด 10 เท่าของยาที่กิน และหลังจากนั้นประมาณ 2-4 ชั่วโมงจึงเริ่มให้ N-acetylcysteine
       2. ถ้าผู้ป่วยมาถึงภายหลัง 2 ชั่วโมงหลังกินยา ไม่ต้องล้างกระเพาะอาหาร และถ้าไม่เกิน 4 ชั่วโมงหลังกินยา ให้ activated charcoal หนึ่งครั้ง ขนาด 10 เท่าของยาที่กิน และหลังจากนั้นประมาณ 2 ชั่วโมงจึงเริ่มให้ N-acetylcysteine
       3. ถ้าผู้ป่วยมาถึงภายหลัง 4 ชั่วโมงหลังกินยาไม่ต้องล้างกระเพาะอาหาร และไม่ต้องให้ activated charcoal แต่เริ่มให้  N-acetylcysteine ได้เลย
       4. ถ้าผู้ป่วยมาถึงภายหลัง 24 ชั่วโมงหลังกินยา และพบความผิดปกติ คือ มีเอนไซม์ตับขึ้นเร็ว (มากกว่า 2 เท่า) ใน 24 ชั่วโมง หรือ PT มากกว่า 2 เท่า หรือในระยะที่ 3 มี bilirubin สูงกว่า 4 มก./ดล. ให้เริ่มการรักษาด้วย N-acetylcysteine
         N-acetylcysteine เป็นสารตั้งต้นในการสร้าง glutathione ที่ช่วยจับกับเมตาโบไลต์ที่เป็นพิษของพาราเซตามอล

หมายเหตุ

Charcoal ที่ว่านี่คือ ผงถ่านดำที่มีความสามารถในการดูดซึมสารแปลกปลอมภายในกระเพาะอาหาร จนถึงลำไส้เท่านั้น

ส่วน N-Acetylcysteine (NAC) คือ ยาละลายเสมหะ ซึ่งมีทั้งชนิดกินและฉีด เพื่อชะลอกระบวนสลายระดับยาพาราฯ โดยตับ ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยป้องกันการเกิดภาวะตับวาย
credit  http://board.postjung.com/569692.html



แล้วออยจะมีโอกาศตายไหม
ในความคิดผม ก็มีสิทธิ์นะ แล้วคงจะไม่ตายทันทีหรอก

เมื่อออยกินยาพาราไป ร่างกายของออยก็จะอ๊วก อ๊วกจนไม่มีแรงจะอ๊วก แล้วถ้าไปส่งรพ. ไวก็จะได้ล้างท้อง
แต่จากสภาพแล้วกว่าพ่อแม่มาเจอก็คงเช้า คิดว่าอย่างน้อยก็คง 6 ชั่วโมงละ ซึ่งไปถึงก็คงต้องไปให้ยาแก้พิษเลย
ถึงหมอจะช่วยชีวิตไว้ได้ แต่เมื่อยาถูกดูดซึมไปแล้ว ตับของออยก็จะไม่สามารถทำงานได้ 100%
แต่ละวันก็จะต้องทุรณทุราย ทรมาณ จนกว่าจะเกิดตับวายไม่สามารถทำงานได้
แล้วตอนนั้น ถึงออยจะไม่อยากตายแล้ว หรือทุกอย่างดีขึ้น ออยก็จะตายอยู่ดี

ปล. ส่วนตัวแล้วผมชอบน้องฟรังมากนะ แต่ขอเกลียดออยนะ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่