เมื่อเร็วๆ นี้ Isuzu ได้เปิดตัวรถรุ่นใหม่ สิ่งที่แตกต่างจากรุ่นเก่า จะเน้นที่เครื่องยนต์รุ่นใหม่เป็นหลัก ซึ่งมีความจุกระบอกสูบ 1.9 ลิตร หรือ 1,900 ซีซี. จำนวน 4 สูบ รหัสเครื่องยนต์ RZ4E-TC
เมื่อเทียบกับรุ่นเดิมที่ใช้เครื่องยนต์ 2.5 ลิตร หรือ 2,500 ซีซี. รหัสเครื่องยนต์ 4JK1-TCX โดยเน้นเรื่องความประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง 19% แรงม้าเพิ่มขึ้น 10% แรงบิดเพิ่มขึ้น 9% และน้ำหนักเบากว่าเดิม 20% หรือประมาณ 60 กิโลกรัม
ดูจากข้อมูลดังกล่าวแล้วเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากสำหรับนวัตกรรมเครื่องยนต์รุ่นใหม่จาก Isuzu ว่าจะทำได้จริงอย่างที่บอกไว้หรือเปล่า
บทความนี้เราจะนำรถ Isuzu รุ่นใหม่ 1.9 มาลองวิ่งทดสอบในแบบเซอร์กิตที่สนามพีระเซอร์กิต, พัทยา จังหวัดชลบุรี และยังทดสอบในแบบแดร็กอีกด้วย (วิ่งทางตรงระยะสั้น 400 เมตร)
ในการวิ่งทดสอบนั้นเราได้นำรถ Isuzu รุ่นเดิม 2.5 มาวิ่งทดสอบเพื่อนำเวลาที่ได้มาเปรียบเทียบสมรรถนะด้วยกัน โดยที่รถทั้งสองคันจะเป็นรถเดิมๆ มาจากโรงงานไม่มีการปรับแต่งใดๆ ขับเคลื่อน 2 ล้อหลัง รุ่นปกติไม่ยกสูง ล้อและลมยางเท่ากัน 30 Psi ผู้ขับคนเดียวกัน
ผู้ทดสอบคนที่ 1 นักแข่งรถชื่อ วริศ อ่อนระยับ (เก่ง RacingWeb) เป็นแชมป์ในรายการ Nitto 3K Kumho Racing Car Thailand รุ่น Isuzu Full Race ปี 2013 และ 2014, รองแชมป์ในรายการ Thailand Super Series รุ่น Super Pickup ปี 2014
ผู้ทดสอบคนที่ 2 นักแข่งรถชื่อ อลงกรณ์ แซ่ตั้ง (หนุ่ม เม้งการยาง) เป็นแชมป์ในรายการ Nitto 3K Kumho Racing Car Thailand รุ่น Isuzu One Make Race ปี 2013
และอุปกรณ์ที่วัดผลการทดสอบเป็นตัวจับเวลาต่อรอบในรถแข่ง AiM Solo DL สามารถจับเวลาต่อรอบในแบบเซอร์กิตและจับเวลาโดยวัดระยะทางในแบบแดร็กด้วยระบบ GPS
การทดสอบในแบบเซอร์กิต (Circuit Racing) วิ่งรอบสนาม
เริ่มต้นคันแรกผมได้ทดลองขับรุ่น 2.5 ซึ่งเป็นรถที่คุ้นเคยมากที่สุดเนื่องจากเป็นรถแบบเดียวกับที่ใช้แข่ง
สำหรับรถคันนี้ผมวิ่งไปทั้งหมดจำนวน 8 รอบ ในรอบที่ 6 ทำเวลาต่อรอบได้ดีที่สุด 1.31.88 นาที
สำหรับเครื่องยนต์ 2.5 ทำเวลาดีที่สุด 1.31.88 นาที ในรอบที่ 6 สำหรับการทดสอบแบบเซอร์กิต
คันที่สองรถรุ่น 1.9 ความรู้สึกครั้งแรกที่สัมผัส ได้ลองเหยียบคันเร่งตอนที่อยู่ในตำแหน่งเกียร์ 3 รู้สึกได้ถึงอัตราเร่งที่มาจากแรงบิดในรอบต้นได้อย่างชัดเจน เมื่อมีแรงบิดในรอบต้นที่ดี นั้นก็หมายถึงรถสามารถออกโค้งเพื่อเข้าสู่ทางตรงได้รวดเร็ว
สำหรับรถคันนี้ผมวิ่งไปทั้งหมดจำนวน 8 รอบ ในรอบที่ 6 ทำเวลาต่อรอบได้ดีที่สุด 1.27.46 นาที
สำหรับเครื่องยนต์ 1.9 ทำเวลาดีที่สุด 1.27.46 นาที ในรอบที่ 6 สำหรับการทดสอบแบบเซอร์กิต
Isuzu Dmax 1.9 Blue Power ทำเวลาได้ดีกว่ารุ่นเดิม 2.5 กว่า 4 วินาที!
ทำไมรุ่น 1.9 ทำเวลาได้เร็วกว่า 2.5 ถึง 4 วินาที ถ้าในรถแข่งประเภทเซอร์กิตที่แข่งในเรซเดียวกัน เวลาที่แตกต่าง 4 วินาที ถือว่าเยอะมาก เรามาวิเคราะห์กัน
1. อย่างแรกที่สัมผัสถึงกำลังเครื่องยนต์ที่แรงขึ้นได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะแรงบิดในช่วงรอบต้นของ 1.9 มีอัตราเร่งที่ดีกว่า 2.5 จึงมีผลทำให้ออกโค้งได้เร็วมาก
เมื่อออกโค้งได้เร็ว ก็สามารถทำความเร็วสูงสุดได้เร็วยิ่งขึ้น เทียบความเร็วสูงสุดในช่วงทางตรงของสนามพีระจากตัวเลขที่ต่อท้ายของเวลาที่ดีที่สุด
ในรุ่น 2.5 ความเร็วสูงสุดที่ทำได้ 127 กม./ชม. ในรุ่น 1.9 ความเร็วสูงสุดที่ทำได้ 138 กม./ชม. ห่างกัน 11 กม./ชม.
(ตัวเลขก่อนหน้าความเร็วสูงสุด คือ ความเร็วต่ำสุด รถทั้งสองรุ่นทำได้ 50-51 กม./ชม. ซึ่งอยู่ช่วงโค้งแคบสุดก่อนเข้าทางตรง)
2. น้ำหนักของเครื่องยนต์ที่เบาขึ้นประมาณ 60 กิโลกรัม มีผลทำให้น้ำหนักที่เคยหนักอยู่หน้ารถ ถอยมาอยู่กลางของตัวรถอีกนิดหน่อย นั้นหมายความว่า น้ำหนักหน้ารถเบาขึ้น มีผลทำให้เข้าโค้งได้ง่าย อาการหน้าไถลน้อยลง (Understeering) เมื่อเข้าโค้งแรงๆ
รวมทั้งอาการท้ายปัด (Oversteering) เมื่อกดคันเร่งในโค้งที่เป็นอาการประจำตัวของรถปิคอัพที่ท้ายเบาๆ ก็ลดลงด้วย
โดยรวมทั้งสองอาการที่ลดลง จึงมีผลทำให้ควบคุมรถในโค้งได้แม่นยำมากขึ้น รวมทั้งการทรงตัวของรถมีเสถียรภาพดียิ่งขึ้น ทำเวลาในโค้งได้เร็วมากกว่าเดิม
3. เป็นอาการที่ต่อเนื่องของเครื่องยนต์ที่เบาขึ้นคือการเบรก เมื่อหน้ารถเบาขึ้น การเบรคแรงๆ ในทางตรงและในโค้ง มีเสถียรภาพมากขึ้น หน้ารถไม่หัวทิ่มมากเกินไป ทำให้ควบคุมอาการของรถง่ายขึ้น ไม่ต้องเผื่อระยะเวลาหรือแก้อาการของรถ จึงทำให้เหยียบคันเร่งออกโค้งได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
4. ระบบส่งกำลังหรือเกียร์แบบ 6 สปีด ทำให้ส่งกำลังได้ต่อเนื่องในทุกรอบเครื่องและทุกช่วงความเร็ว (วิ่งในสนามพีระใช้ได้แค่ เกียร์ 5 เนื่องจากมีทางตรงที่สั้น)
นอกจากความแตกต่างที่ทำให้รุ่น 1.9 วิ่งได้เร็วกว่ารุ่น 2.5 ยังมีเรื่องของเสียงเครื่องยนต์ที่ลดลงตั้งแต่รอบเดินเบาไปจนถึงรอบเครื่องยนต์สูงสุด เพราะในระหว่างวิ่งทดสอบจะต้องใช้รอบเครื่องยนต์สูงเกือบตลอดเวลา แต่เสียงที่ผ่านเข้ามาในห้องโดยสารรุ่น 1.9 เงียบกว่า 2.5 ค่อนข้างมาก
อีกเรื่องที่สำคัญคือการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ถึงแม้ว่าทีมงานไม่ได้เตรียมอุปกรณ์เพื่อวัดระดับอัตราการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง แต่เราใช้วิธีประมาณคร่าวๆ จากเกจวัดระดับน้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อเทียบกับจำนวนรอบที่วิ่งไปในรุ่น 2.5 เกจวัดน้ำมันอยู่ในระดับ 1/4 วิ่งไปทั้งหมด 8 รอบ เกจวัดตกลงไป 2 ระดับ หรือประมาณ 1/8
ในขณะที่รุ่น 1.9 มีน้ำมัน 1/4 เท่ากัน วิ่งไปทั้งหมด 8 รอบ แต่เกจวัดระดับน้ำมันลดลงไปแค่ 1 ระดับเท่านั้น
การทดสอบในแบบแดร็ก (Drag Racing) หรือทางตรงในระยะทาง 400 เมตร
เพื่อความสนุกในการทดสอบจึงได้เชิญนักแข่งอีกคนมารวมทดสอบ เพื่อจะได้ปล่อยตัวเพื่อวิ่งคู่ด้วยกัน โดยจะขับกันคัน 2 รอบ และสลับกับขับเพื่อหาความแตกต่างระหว่างรถ 2 รุ่น
ในช่วงการออกตัวที่เกียร์ 1 รถทั้งสองรุ่นออกตัวได้เร็วเท่าๆ กัน แต่เมื่อเริ่มเข้าเกียร์ 3 รถรุ่น 1.9 เริ่มทิ้งระยะห่างออกไป และห่างออกไปเรื่อยๆ เมื่อใส่เกียร์ 4 กับ 5
โดยมีผลการทดสอบดังนี้
รอบที่ 1
รุ่น 1.9 ทำเวลาได้ 18.73 วินาที
รุ่น 2.5 ทำเวลาได้ 20.11 วินาที
รอบที่ 2
รุ่น 1.9 ทำเวลาได้ 18.53 วินาที
รุ่น 2.5 ทำเวลาได้ 19.95 วินาที
ทั้งสองรุ่น ทำเวลาห่างกันประมาณ 1.5 วินาที ในการทดสอบแบบแดร็กหรือทางตรงระยะสั้นจะเน้นที่กำลังของเครื่องยนต์เป็นหลัก เวลาที่ทำได้แสดงให้เห็นถึงกำลังของเครื่องยนต์รุ่นใหม่ 1.9 มีมากกว่ารุ่นเดิม 2.5 อย่างชัดเจน
*เนื่องจากช่วงทางตรงของสนามพีระเซอร์กิตเป็นทางขึ้นเขานิดๆ ฉะนั้นเวลาที่ทำได้จะมากกว่าประมาณ 1-2 วินาที ถ้าเทียบกับสนามแข่งแดร็กปกติ
สรุปการทดสอบ
ผลการทดสอบเห็นได้ชัดเจนว่า Isuzu Dmax 1.9 Ddi Blue Power ทำเวลาต่อรอบในแบบเซอร์กิตและทำเวลาในช่วงทางตรงระยะสั้นได้เร็วมากกว่ารุ่นเดิม 2.5 อยู่หลายวินาที ซึ่งแสดงให้เห็นถึงสมรรถนะที่ดีโดยรวมทั้งหมด
ในขณะที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงได้น้อยลง รวมทั้งเสียงเครื่องยนต์เงียบลง ถือว่าเป็นนวัตกรรมในการออกแบบเครื่องยนต์ใหม่ที่ทำได้จริง ไม่ใช่แค่ตัวเลขเอาไว้โฆษณา
คลิปวิดีโอการทดสอบ (ตั้งแต่นาทีที่ 14:00 เป็นต้นไป)
ขอขอบคุณ: อีซูซุมหานคร ที่นำรถมาให้ทดสอบ และรูปภาพขณะทดสอบรถ
บทความต้นฉบับ:
http://racingweb.net/content/593 (โพสต์สอบถามเพิ่มเติมได้ในนี้)
[SR] ทดสอบ Isuzu รุ่นใหม่ 1.9 Ddi Blue Power กับรุ่นเดิม 2.5 ใครจะแรงกว่ากัน
เมื่อเร็วๆ นี้ Isuzu ได้เปิดตัวรถรุ่นใหม่ สิ่งที่แตกต่างจากรุ่นเก่า จะเน้นที่เครื่องยนต์รุ่นใหม่เป็นหลัก ซึ่งมีความจุกระบอกสูบ 1.9 ลิตร หรือ 1,900 ซีซี. จำนวน 4 สูบ รหัสเครื่องยนต์ RZ4E-TC
เมื่อเทียบกับรุ่นเดิมที่ใช้เครื่องยนต์ 2.5 ลิตร หรือ 2,500 ซีซี. รหัสเครื่องยนต์ 4JK1-TCX โดยเน้นเรื่องความประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง 19% แรงม้าเพิ่มขึ้น 10% แรงบิดเพิ่มขึ้น 9% และน้ำหนักเบากว่าเดิม 20% หรือประมาณ 60 กิโลกรัม
ดูจากข้อมูลดังกล่าวแล้วเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากสำหรับนวัตกรรมเครื่องยนต์รุ่นใหม่จาก Isuzu ว่าจะทำได้จริงอย่างที่บอกไว้หรือเปล่า
บทความนี้เราจะนำรถ Isuzu รุ่นใหม่ 1.9 มาลองวิ่งทดสอบในแบบเซอร์กิตที่สนามพีระเซอร์กิต, พัทยา จังหวัดชลบุรี และยังทดสอบในแบบแดร็กอีกด้วย (วิ่งทางตรงระยะสั้น 400 เมตร)
ในการวิ่งทดสอบนั้นเราได้นำรถ Isuzu รุ่นเดิม 2.5 มาวิ่งทดสอบเพื่อนำเวลาที่ได้มาเปรียบเทียบสมรรถนะด้วยกัน โดยที่รถทั้งสองคันจะเป็นรถเดิมๆ มาจากโรงงานไม่มีการปรับแต่งใดๆ ขับเคลื่อน 2 ล้อหลัง รุ่นปกติไม่ยกสูง ล้อและลมยางเท่ากัน 30 Psi ผู้ขับคนเดียวกัน
ผู้ทดสอบคนที่ 1 นักแข่งรถชื่อ วริศ อ่อนระยับ (เก่ง RacingWeb) เป็นแชมป์ในรายการ Nitto 3K Kumho Racing Car Thailand รุ่น Isuzu Full Race ปี 2013 และ 2014, รองแชมป์ในรายการ Thailand Super Series รุ่น Super Pickup ปี 2014
ผู้ทดสอบคนที่ 2 นักแข่งรถชื่อ อลงกรณ์ แซ่ตั้ง (หนุ่ม เม้งการยาง) เป็นแชมป์ในรายการ Nitto 3K Kumho Racing Car Thailand รุ่น Isuzu One Make Race ปี 2013
และอุปกรณ์ที่วัดผลการทดสอบเป็นตัวจับเวลาต่อรอบในรถแข่ง AiM Solo DL สามารถจับเวลาต่อรอบในแบบเซอร์กิตและจับเวลาโดยวัดระยะทางในแบบแดร็กด้วยระบบ GPS
การทดสอบในแบบเซอร์กิต (Circuit Racing) วิ่งรอบสนาม
เริ่มต้นคันแรกผมได้ทดลองขับรุ่น 2.5 ซึ่งเป็นรถที่คุ้นเคยมากที่สุดเนื่องจากเป็นรถแบบเดียวกับที่ใช้แข่ง
สำหรับรถคันนี้ผมวิ่งไปทั้งหมดจำนวน 8 รอบ ในรอบที่ 6 ทำเวลาต่อรอบได้ดีที่สุด 1.31.88 นาที
สำหรับเครื่องยนต์ 2.5 ทำเวลาดีที่สุด 1.31.88 นาที ในรอบที่ 6 สำหรับการทดสอบแบบเซอร์กิต
คันที่สองรถรุ่น 1.9 ความรู้สึกครั้งแรกที่สัมผัส ได้ลองเหยียบคันเร่งตอนที่อยู่ในตำแหน่งเกียร์ 3 รู้สึกได้ถึงอัตราเร่งที่มาจากแรงบิดในรอบต้นได้อย่างชัดเจน เมื่อมีแรงบิดในรอบต้นที่ดี นั้นก็หมายถึงรถสามารถออกโค้งเพื่อเข้าสู่ทางตรงได้รวดเร็ว
สำหรับรถคันนี้ผมวิ่งไปทั้งหมดจำนวน 8 รอบ ในรอบที่ 6 ทำเวลาต่อรอบได้ดีที่สุด 1.27.46 นาที
สำหรับเครื่องยนต์ 1.9 ทำเวลาดีที่สุด 1.27.46 นาที ในรอบที่ 6 สำหรับการทดสอบแบบเซอร์กิต
Isuzu Dmax 1.9 Blue Power ทำเวลาได้ดีกว่ารุ่นเดิม 2.5 กว่า 4 วินาที!
ทำไมรุ่น 1.9 ทำเวลาได้เร็วกว่า 2.5 ถึง 4 วินาที ถ้าในรถแข่งประเภทเซอร์กิตที่แข่งในเรซเดียวกัน เวลาที่แตกต่าง 4 วินาที ถือว่าเยอะมาก เรามาวิเคราะห์กัน
1. อย่างแรกที่สัมผัสถึงกำลังเครื่องยนต์ที่แรงขึ้นได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะแรงบิดในช่วงรอบต้นของ 1.9 มีอัตราเร่งที่ดีกว่า 2.5 จึงมีผลทำให้ออกโค้งได้เร็วมาก
เมื่อออกโค้งได้เร็ว ก็สามารถทำความเร็วสูงสุดได้เร็วยิ่งขึ้น เทียบความเร็วสูงสุดในช่วงทางตรงของสนามพีระจากตัวเลขที่ต่อท้ายของเวลาที่ดีที่สุด
ในรุ่น 2.5 ความเร็วสูงสุดที่ทำได้ 127 กม./ชม. ในรุ่น 1.9 ความเร็วสูงสุดที่ทำได้ 138 กม./ชม. ห่างกัน 11 กม./ชม.
(ตัวเลขก่อนหน้าความเร็วสูงสุด คือ ความเร็วต่ำสุด รถทั้งสองรุ่นทำได้ 50-51 กม./ชม. ซึ่งอยู่ช่วงโค้งแคบสุดก่อนเข้าทางตรง)
2. น้ำหนักของเครื่องยนต์ที่เบาขึ้นประมาณ 60 กิโลกรัม มีผลทำให้น้ำหนักที่เคยหนักอยู่หน้ารถ ถอยมาอยู่กลางของตัวรถอีกนิดหน่อย นั้นหมายความว่า น้ำหนักหน้ารถเบาขึ้น มีผลทำให้เข้าโค้งได้ง่าย อาการหน้าไถลน้อยลง (Understeering) เมื่อเข้าโค้งแรงๆ
รวมทั้งอาการท้ายปัด (Oversteering) เมื่อกดคันเร่งในโค้งที่เป็นอาการประจำตัวของรถปิคอัพที่ท้ายเบาๆ ก็ลดลงด้วย
โดยรวมทั้งสองอาการที่ลดลง จึงมีผลทำให้ควบคุมรถในโค้งได้แม่นยำมากขึ้น รวมทั้งการทรงตัวของรถมีเสถียรภาพดียิ่งขึ้น ทำเวลาในโค้งได้เร็วมากกว่าเดิม
3. เป็นอาการที่ต่อเนื่องของเครื่องยนต์ที่เบาขึ้นคือการเบรก เมื่อหน้ารถเบาขึ้น การเบรคแรงๆ ในทางตรงและในโค้ง มีเสถียรภาพมากขึ้น หน้ารถไม่หัวทิ่มมากเกินไป ทำให้ควบคุมอาการของรถง่ายขึ้น ไม่ต้องเผื่อระยะเวลาหรือแก้อาการของรถ จึงทำให้เหยียบคันเร่งออกโค้งได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
4. ระบบส่งกำลังหรือเกียร์แบบ 6 สปีด ทำให้ส่งกำลังได้ต่อเนื่องในทุกรอบเครื่องและทุกช่วงความเร็ว (วิ่งในสนามพีระใช้ได้แค่ เกียร์ 5 เนื่องจากมีทางตรงที่สั้น)
นอกจากความแตกต่างที่ทำให้รุ่น 1.9 วิ่งได้เร็วกว่ารุ่น 2.5 ยังมีเรื่องของเสียงเครื่องยนต์ที่ลดลงตั้งแต่รอบเดินเบาไปจนถึงรอบเครื่องยนต์สูงสุด เพราะในระหว่างวิ่งทดสอบจะต้องใช้รอบเครื่องยนต์สูงเกือบตลอดเวลา แต่เสียงที่ผ่านเข้ามาในห้องโดยสารรุ่น 1.9 เงียบกว่า 2.5 ค่อนข้างมาก
อีกเรื่องที่สำคัญคือการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ถึงแม้ว่าทีมงานไม่ได้เตรียมอุปกรณ์เพื่อวัดระดับอัตราการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง แต่เราใช้วิธีประมาณคร่าวๆ จากเกจวัดระดับน้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อเทียบกับจำนวนรอบที่วิ่งไปในรุ่น 2.5 เกจวัดน้ำมันอยู่ในระดับ 1/4 วิ่งไปทั้งหมด 8 รอบ เกจวัดตกลงไป 2 ระดับ หรือประมาณ 1/8
ในขณะที่รุ่น 1.9 มีน้ำมัน 1/4 เท่ากัน วิ่งไปทั้งหมด 8 รอบ แต่เกจวัดระดับน้ำมันลดลงไปแค่ 1 ระดับเท่านั้น
การทดสอบในแบบแดร็ก (Drag Racing) หรือทางตรงในระยะทาง 400 เมตร
เพื่อความสนุกในการทดสอบจึงได้เชิญนักแข่งอีกคนมารวมทดสอบ เพื่อจะได้ปล่อยตัวเพื่อวิ่งคู่ด้วยกัน โดยจะขับกันคัน 2 รอบ และสลับกับขับเพื่อหาความแตกต่างระหว่างรถ 2 รุ่น
ในช่วงการออกตัวที่เกียร์ 1 รถทั้งสองรุ่นออกตัวได้เร็วเท่าๆ กัน แต่เมื่อเริ่มเข้าเกียร์ 3 รถรุ่น 1.9 เริ่มทิ้งระยะห่างออกไป และห่างออกไปเรื่อยๆ เมื่อใส่เกียร์ 4 กับ 5
โดยมีผลการทดสอบดังนี้
รอบที่ 1
รุ่น 1.9 ทำเวลาได้ 18.73 วินาที
รุ่น 2.5 ทำเวลาได้ 20.11 วินาที
รอบที่ 2
รุ่น 1.9 ทำเวลาได้ 18.53 วินาที
รุ่น 2.5 ทำเวลาได้ 19.95 วินาที
ทั้งสองรุ่น ทำเวลาห่างกันประมาณ 1.5 วินาที ในการทดสอบแบบแดร็กหรือทางตรงระยะสั้นจะเน้นที่กำลังของเครื่องยนต์เป็นหลัก เวลาที่ทำได้แสดงให้เห็นถึงกำลังของเครื่องยนต์รุ่นใหม่ 1.9 มีมากกว่ารุ่นเดิม 2.5 อย่างชัดเจน
*เนื่องจากช่วงทางตรงของสนามพีระเซอร์กิตเป็นทางขึ้นเขานิดๆ ฉะนั้นเวลาที่ทำได้จะมากกว่าประมาณ 1-2 วินาที ถ้าเทียบกับสนามแข่งแดร็กปกติ
สรุปการทดสอบ
ผลการทดสอบเห็นได้ชัดเจนว่า Isuzu Dmax 1.9 Ddi Blue Power ทำเวลาต่อรอบในแบบเซอร์กิตและทำเวลาในช่วงทางตรงระยะสั้นได้เร็วมากกว่ารุ่นเดิม 2.5 อยู่หลายวินาที ซึ่งแสดงให้เห็นถึงสมรรถนะที่ดีโดยรวมทั้งหมด
ในขณะที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงได้น้อยลง รวมทั้งเสียงเครื่องยนต์เงียบลง ถือว่าเป็นนวัตกรรมในการออกแบบเครื่องยนต์ใหม่ที่ทำได้จริง ไม่ใช่แค่ตัวเลขเอาไว้โฆษณา
คลิปวิดีโอการทดสอบ (ตั้งแต่นาทีที่ 14:00 เป็นต้นไป)
ขอขอบคุณ: อีซูซุมหานคร ที่นำรถมาให้ทดสอบ และรูปภาพขณะทดสอบรถ
บทความต้นฉบับ: http://racingweb.net/content/593 (โพสต์สอบถามเพิ่มเติมได้ในนี้)