เอเจนซีส์ / MGR online - ทางการปากีสถานมีแผนเดินหน้าแปรรูปสายการบินแห่งชาติของตนในปี 2016 หลังจากสายการบินซึ่งมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจแห่งนี้ประสบภาวะขาดทุนเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และยังตกเป็นข่าวเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่ไร้ประสิทธิภาพตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาจนส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของสายการบินแห่งนี้ทั้งในและต่างประเทศ
รายงานข่าวล่าสุดซึ่งอ้างโมฮัมหมัด ซูบาอีร์ รัฐมนตรีกระทรวงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของปากีสถาน ระบุว่า รัฐบาลอิสลามาบัดมีแผนแปรรูปสายการบินแห่งชาติอย่าง ปากีสถาน อินเตอร์เนชันแนล แอร์ไลน์ส (พีไอเอ) ให้เสร็จสิ้นภายในเดือนกรกฎาคมปีหน้า
ในส่วนของขั้นตอนทางกฎหมายนั้น หลังจากที่รัฐบาลปากีสถานให้ความเห็นชอบต่อแผนการขายกิจการของสายการบินแห่งนี้แล้ว ทางคณะกรรมาธิการกำกับดูแลการแปรรูปรัฐวิสาหกิจจะเริ่มเดินหน้าขั้นตอนการขายสายการบินแห่งนี้ในตลาดต่างประเทศเป็นเป้าหมายแรก
“เราจะเดินสายจัดโร้ดโชว์ทั้งในภูมิภาคตะวันออกกลางและในจีน รวมถึงในยุโรป เพื่อหาผู้สนใจเข้ามาซื้อสายการบินแห่งนี้” โมฮัมหมัด ซูบาอีร์ รัฐมนตรีกระทรวงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของปากีสถานกล่าว
อย่างไรก็ดี แผนการแปรรูปสายการบินแห่งชาติดังกล่าวของรัฐบาลปากีสถานได้รับการต่อต้านอย่างหนักจากเสียงส่วนใหญ่ของบรรดาพนักงานสายการบินแห่งนี้ที่มีจำนวนกว่า 15,000 ราย ที่ประกาศพร้อมผละงานประท้วง รวมถึงดำเนินมาตรการคัดค้านทุกอย่างที่จำเป็น เพื่อขัดขวางแผนการขายกิจการสายการบินของทางการ
ข้อมูลของรัฐบาลปากีสถานระบุว่า สายการบินพีไอเอมีผลประกอบการขาดทุนสะสมมากกว่า 227,000 ล้านรูปี (ราว 78,710 ล้านบาท) นับจนถึงเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว และตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา รัฐบาลปากีสถานต้องอัดฉีดเม็ดเงินเพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่สายการบินแห่งนี้ระหว่าง 12,000-15,000 ล้านรูปีต่อปี เพื่อจ่ายเป็นเงินเดือนให้กับพนักงาน และประคับประคองกิจการของสายการบินให้ดำเนินต่อไปได้
ทั้งนี้ สายการบินปากีสถาน อินเตอร์เนชันแนล แอร์ไลน์ส (พีไอเอ) เคยได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในสายการบินชั้นนำของโลกในช่วงทศวรรษที่ 1970 แต่ในปัจจุบันสายการบินแห่งนี้กลับเผชิญข่าวในด้านลบต่อเนื่องทั้งการยกเลิก-เลื่อนเที่ยวบินเป็นประจำ รวมถึงการที่หนึ่งในนักบินของพีไอเอถูกลงโทษจำคุกในสหราชอาณาจักรเมื่อปี 2013 ฐานดื่มเครื่องดื่มมึนเมาระหว่างปฏิบัติหน้าที่
ขณะที่ทางสายการบินก็มีสถิติด้านความปลอดภัยที่ย่ำแย่จนประสบปัญหาในการขออนุญาตบินเข้าสู่น่านฟ้าของประเทศในสหภาพยุโรป (อียู) นอกจากนั้น ทางสายการบินยังต้องมอบ “ตั๋วฟรี” ปีละหลายหมื่นใบให้กับบรรดานักการเมือง ข้าราชการ และบุคลากรในกองทัพปากีสถาน ซึ่งเป็นหนึ่งในต้นตอสำคัญของปัญหาการขาดทุนเรื้อรังของสายการบินแห่งนี้
http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000135587
รัฐบาลปากีสถานมีแผนแปรรูปสายการบินแห่งชาติปีหน้า หลังขาดทุนต่อเนื่อง-บริหารไร้ประสิทธิภาพ
รายงานข่าวล่าสุดซึ่งอ้างโมฮัมหมัด ซูบาอีร์ รัฐมนตรีกระทรวงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของปากีสถาน ระบุว่า รัฐบาลอิสลามาบัดมีแผนแปรรูปสายการบินแห่งชาติอย่าง ปากีสถาน อินเตอร์เนชันแนล แอร์ไลน์ส (พีไอเอ) ให้เสร็จสิ้นภายในเดือนกรกฎาคมปีหน้า
ในส่วนของขั้นตอนทางกฎหมายนั้น หลังจากที่รัฐบาลปากีสถานให้ความเห็นชอบต่อแผนการขายกิจการของสายการบินแห่งนี้แล้ว ทางคณะกรรมาธิการกำกับดูแลการแปรรูปรัฐวิสาหกิจจะเริ่มเดินหน้าขั้นตอนการขายสายการบินแห่งนี้ในตลาดต่างประเทศเป็นเป้าหมายแรก
“เราจะเดินสายจัดโร้ดโชว์ทั้งในภูมิภาคตะวันออกกลางและในจีน รวมถึงในยุโรป เพื่อหาผู้สนใจเข้ามาซื้อสายการบินแห่งนี้” โมฮัมหมัด ซูบาอีร์ รัฐมนตรีกระทรวงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของปากีสถานกล่าว
อย่างไรก็ดี แผนการแปรรูปสายการบินแห่งชาติดังกล่าวของรัฐบาลปากีสถานได้รับการต่อต้านอย่างหนักจากเสียงส่วนใหญ่ของบรรดาพนักงานสายการบินแห่งนี้ที่มีจำนวนกว่า 15,000 ราย ที่ประกาศพร้อมผละงานประท้วง รวมถึงดำเนินมาตรการคัดค้านทุกอย่างที่จำเป็น เพื่อขัดขวางแผนการขายกิจการสายการบินของทางการ
ข้อมูลของรัฐบาลปากีสถานระบุว่า สายการบินพีไอเอมีผลประกอบการขาดทุนสะสมมากกว่า 227,000 ล้านรูปี (ราว 78,710 ล้านบาท) นับจนถึงเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว และตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา รัฐบาลปากีสถานต้องอัดฉีดเม็ดเงินเพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่สายการบินแห่งนี้ระหว่าง 12,000-15,000 ล้านรูปีต่อปี เพื่อจ่ายเป็นเงินเดือนให้กับพนักงาน และประคับประคองกิจการของสายการบินให้ดำเนินต่อไปได้
ทั้งนี้ สายการบินปากีสถาน อินเตอร์เนชันแนล แอร์ไลน์ส (พีไอเอ) เคยได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในสายการบินชั้นนำของโลกในช่วงทศวรรษที่ 1970 แต่ในปัจจุบันสายการบินแห่งนี้กลับเผชิญข่าวในด้านลบต่อเนื่องทั้งการยกเลิก-เลื่อนเที่ยวบินเป็นประจำ รวมถึงการที่หนึ่งในนักบินของพีไอเอถูกลงโทษจำคุกในสหราชอาณาจักรเมื่อปี 2013 ฐานดื่มเครื่องดื่มมึนเมาระหว่างปฏิบัติหน้าที่
ขณะที่ทางสายการบินก็มีสถิติด้านความปลอดภัยที่ย่ำแย่จนประสบปัญหาในการขออนุญาตบินเข้าสู่น่านฟ้าของประเทศในสหภาพยุโรป (อียู) นอกจากนั้น ทางสายการบินยังต้องมอบ “ตั๋วฟรี” ปีละหลายหมื่นใบให้กับบรรดานักการเมือง ข้าราชการ และบุคลากรในกองทัพปากีสถาน ซึ่งเป็นหนึ่งในต้นตอสำคัญของปัญหาการขาดทุนเรื้อรังของสายการบินแห่งนี้
http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000135587