โรงเรียนวัดงิ้วเฒ่า เชียงใหม่ ปรับปรุงจริงจนผ่านการประเมิน

โรงเรียนวัดงิ้วเฒ่า เชียงใหม่ ปรับปรุงจนผ่าการประเมิน


โรงเรียนวัดงิ้วเฒ่า อำเภอสะเมิง จ.เชียงใหม่ เป็น รร.ขนาดเล็กในพื้นที่ห่างไกล ไม่ได้รับการรับรองมาตรฐาน
จาก สมศ. ในการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสอง ทางผู้บริหารและครูจึงช่วยกันหาวิธีแก้ไข จนล่าสุดการ
การประเมินรอบสามผ่านการรับรองระดับดี อีกทั้งผลการทดสอบโอเน็ตของนักเรียนสูงขึ้นทุกรายวิชา

รร.วัดงิ้วเฒ่า เป็นรร.ขยายโอกาส เปิดสอนระดับชั้นอนุบาล ๑ ถึง มัธยมปีที่ ๓ มี นักเรียน ๑๐๕ คน และมีครู
๑๒ คน เป็นรร.ขนาดเล็กต้นแบบ เพราะสามารถนำผลการประเมินไปพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นายเด็ดดวง ชมศิริ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดงิ้วเฒ่า เล่าว่า เราเริ่มพัฒนาคุณภาพผู้เรียนจากการนำผลการ
ประเมินมาพิจารณา ซึ่งรร.มีจุดด้อย ๓ มาตรฐาน คือ มาตราฐานที่ ๖ ผู้เรียนมีทักษะการแสวงหาความรู้
และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มาตราฐานที่ ๔ ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์สร้างสรรค์และ
การมีวิสัยทัศน์ และมาตราฐานที่ ๙ ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ
และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยจุดด้อยเหล่านี้ได้ถูกนำมาปรับให้เป็นยุทธศาสตร์ของโรงเรียน เช่น ปัญหา
ขาดแคลนครู ก็ได้นำการเรียนการสอนในรูปแบบการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เข้ามาใช้เป็นต้น

สำหรับปัญหาที่ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียนตกต่ำนัน น.ส. ธนิกานต์ ทาอ้าย ครูประจำชั้น ป.๒
และหัวหน้าฝ่ายวิชาการ มาเป็นครูประจำที่นี่เมื่อ 5 ปีก่อน เผยว่า มาจากการที่เป็นเด็ก อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ซึ่งเรื่องนี้สำคัญมาก
เนื่องจากเด็กระดับชั้นประถมศึกษาเผชิญปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ส่วนระดับมัธยมศึกษาพื้นฐานของเด็กก็ไม่ค่อยเก่ง เพราะรับเด็กด้อยโอกาสมาจากโรงเรียนมัธยมในอำเภอที่ถูกคัดออก
เพราะการอ่านออกเขียนไม่ได้จะช่วยให้การเรียนวิชาอื่นๆ มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ดังนั้นจึงได้ประชุมครู
ร่วมกัน และเริ่มแก้ปัญหานี้ให้ได้ก่อน โดยให้ความสำคัญกับนักเรียนชั้น ป.๑-๓ เป็นพิเศษ เพราะหาก
สร้างฐานให้แข็งแกร่งได้แล้ว เมื่อเรียนในชั้นที่สูงขึ้นจะไม่เกิดปัญหา ทั้งนี้เด็กทุกคนถูกฝึกให้ท่อง
พยัญชนะ และสระจนขึ้นใจ จากนั้นสอนให้รู้จักผสมคำ ทำแบบฝึกหัดให้เด็กอ่านและเขียน
ซึ่งจะสอนทุกวันใช้เวลาประมาณ ๓ เดือน เด็กก็สามารถอ่านออกเขียนได้แล้ว

“ สิ่งที่พยายามดำเนินการคือสร้างจิตวิญญาณของความเป็นครูให้เกิดขึ้น การที่เด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ เรียนไม่เก่งนั้น ถามว่าเป็นความผิดของเด็กหรือไม่ จริง ๆ แล้วไม่ใช่ ทุกอย่างขึ้นอยู่กับครูที่จะทำอย่างไรให้เด็กเข้าใจ และต้องรู้จักขวนขวายหาความรู้ เทคนิควิธีในการสอนต่าง ๆ เพื่อให้เด็กเข้าใจ เช่น วิชาภาษาไทย เด็กไม่เข้าใจเรื่องการเปลี่ยนรูปแปลงร่างของสระ ก็มีการเอาการ์ตูนอุลตราแมนมาเปิดให้เด็กดู ให้เด็กเข้าใจว่าอุลตราแมนยังแปลงร่างได้ สระก็เช่นกันสามารถเปลี่ยนรูปจากตัวนี้ไปเป็นตัวนี้ได้เหมือนกัน เป็นต้น ”

"การแก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ไม่ใช่เรื่องยาก หากครูทุกคนใส่ใจจริงๆ เสียสละเพื่อเด็กช่วยกันทำสื่อที่น่าสนใจ
ทุกรูปแบบให้เด็กได้ฝึกอ่านเขียน ผลสำเร็จก็จะตามมา โดยที่ผ่านมาดิฉันจะช่วยกระตุ้นจิตสำนึกครูรุ่นใหม่ๆ
อยู่เสมอว่า การที่เราได้เจอโจทย์ยากและแก้ปัญหาได้ มันน่าภูมิใจมากกว่าสอนเด็กในเมืองที่มีพื้นฐานที่ดีกว่า
ซึงการกระตุ้นลักษณะนี้ทำให้ช่วยลดปัญหาครูขอย้ายโรงเรียนได้ค่อนข้างมาก ปัจจุบันเรามีครูครบทุกชั้น
แต่ยังไม่ครบทุกวิชา

การจะแก้ปัญหาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก ยังมีวิธีการอีกมากมาย ซึ่ง น.ส. ธนิกานต์ ชี้ให้เห็นว่า
การออกเยี่ยมบ้านนักเรียน ก็เป็นส่วนสำคัญ เพราะทำให้ทราบปัญหา และความต้องการของผู้ปกครอง ที่พบคืออยากให้ลูกอ่านออกเขียนได้ แนวทางแก้ปัญหา คือ มีการจัดทำสื่อนวัตกรรมการเรียนการสอน จัดครูสอนพิเศษเพิ่มเติมทั้งช่วงเย็นของวันธรรมดาและวันเสาร์ อาทิตย์ โดยระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้นจะเน้นเรื่องการอ่านออกเขียนได้ให้มาก ส่วนระดับมัธยมนั้นก็ให้เขาเรียนให้ได้ตามศักยภาพของเขา แต่หากมีทักษะอะไรก็พร้อมส่งเสริม
จากนั้นเราได้นำปัญหามาเป็นตัวตั้งเพื่อแก้ไขให้ถูกจุด นอกจากนี้ยังได้นำผลการประเมินต่างๆ มาวิเคราะห์

ตามตัวชี้วัดว่าเรายังด้อยในส่วนใด มีการวิจัยในชั้นเรียน แม้ที่นี่จะนำการเรียนการสอนผ่านดาวเทียมมา
ช่วยสอน แต่ครูทุกคนต้องนั่งเรียนกับเด็กด้วย และทำบันทึกหลังการสอนว่าเด็กไม่เข้าใจในจุดใด
เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข หากเด็กเรียนไม่ทัน หรือไม่เข้าใจก็ต้องเสริมให้ทันที

"ผลการประเมินมีประโยชน์เยอะมาก เพราะทำให้ทราบจุดอ่อนและนำมาแก้ไขได้ถูกต้อง แต่อยากให้ปรับเกณฑ์
การประเมินใหม่ โดยเฉพาะตัวชี้วัดเกี่ยวกับครูผู้สอนสอนไม่ตรงสาขาวิชาเอกที่จบมา เพราะดิฉันมีความเชื่อ
อยู่อย่างหนึ่งว่า ครูทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ ซึ่งดิฉันจบวิชาเอกศิลปะ ไม่ได้จบวิชาเอกภาษาไทย
แต่สอนภาษาไทยเด็กมากว่า ๒๐ ปี ก็สามารถทำให้เด็กอ่านออกเขียนได้ทุกคน ครูโรงเรียนเล็กต้องสอนได้
ทุกวิชา เมื่อเราไม่รู้ก็ต้องยิ่งค้นคว้า จึงไม่อยากให้ดูเพียงแค่ครูผู้สอนสอนตรงกับสาขาวิชาเอกที่จบมา
หรือไม่ อยากให้ดูที่ผลงานเชิงประจักษ์มากกว่า"

น.ส.ธนิกานต์ กล่าวว่า ในการประเมินภายนอกรอบสาม โรงเรียนก็ให้ สมศ. ดูในสิ่งที่โรงเรียนและครูได้ดำเนินการ ก็เอาของจริง สิ่งที่ทำจริง ๆ มาให้ดูว่าเรามีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร ซึ่งสุดท้ายการประเมินภายนอกรอบสามก็ได้อยู่ในระดับดี

มณีรัตน์ ศิริปัญจนะ
http://www.dailynews.co.th/education/365579
สิรวุฒิ รวีไชยวัฒน์
http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9580000133377



น.ส.ธนิกานต์ ทาอ้าย ครู ร.ร.วัดงิ้วเฒ่า

http://bit.ly/เพจข่าวดี
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่