จากเหตุการณ์นศ.ถูกทหารควบคุมตัวไม่ให้เดินทางต่อไปยังอุทยานราชภักดิ์นั้น จะไม่ขอออกความเห็นเรื่องนี้ครับ...
แต่จะขอเล่าเรื่องราวของ"สถานีรถไฟบ้านโป่ง" ในบางแง่มุมที่หลายคนยังไม่ทราบครับ
1.สถานีรถไฟบ้านโป่งเป็นสถานีระดับ1เทียบเท่ากับสถานีชุมทางบางซื่อ, เชียงใหม่, หาดใหญ่, ขอนแก่น, อุบลฯ ฯลฯ อยู่ที่หลักกิโลเมตรที่68.22 (จากสถานีธนบุรี) มีรางย่านสถานี4รางทีใช้รองรับการโดยสารและขนส่งสินค้า
2.มีปริมาณการขนส่งผู้โดยสารมากแห่งหนึ่งในเส้นทางสายใต้(เพราะสามารถเดินทางต่อไปจ.กาญจนบุรี, สุพรรณบุรีได้ มีรถโดยสารหยุดรับ-ส่งผดส.เกือบทุกขบวน ยกเว้นขบวนรถด่วนพิเศษ35/36กท.-บัตเตอร์เวิร์ธ-กท. และขบวนรถด่วน85/86 กท.-นครศรีธรรมราช-กท.
3.ส่วนปริมาณการขนส่งสินค้ามีหลากหลายอย่าง ทั้งชิ้นส่วนประดับยนต์-ชิ้นส่วนรถบัส(เพราะเป็นแหล่งต่ออู่รถบัสอันดับหนึ่งของประเทศ) ทั้งยังเป็นแหล่งส่งออกปลาสวยงามอันดับต้นๆ รวมทั้งสินค้าประเภทอื่นๆอีกหลายอย่าง เช่นผลิตภัณฑ์กระดาษ, อาหารแปรรูป ฯลฯที่ส่งออกจากที่นี่
4.ทางโค้งซ้าย(ถ้ามาจากกรุงเทพฯ)บริเวณก่อนเข้าสถานีบ้านโป่ง ถือเป็นโค้งหลักที่เปลี่นทิศทางของขบวนรถ(จากทิศตะวันตกไปเป็นทิศใต้)เพื่อมุ่งหน้าไปสู่ภาคใต้ของประเทศ และในอนาคตถือเป็นจุดที่มีผลต่อการออกแบบรถไฟความเร็วสูงทั้งในแง่เทคนิคและการลงทุนที่ต้องใช้งบฯสูง
5.สถานีบ้านโป่งอยู่ในแผนเร่งด่วนโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ นครปฐม-หัวหินที่จะเปิดประมูลต้นปี2559 ลงมือก่อสร้างไม่เกินมิ.ย.59 แล้วเสร็จไม่เกิน กลางปี62
6.หลังสถานีรถไฟบ้านโป่ง (ตรงวงเวียนน้ำพุ) แต่เดิมกรมทางหลวงนับเป็นกิโลเมตรที่0.00 ของทางหลวงหมายเลข323 (ถนนแสงชูโต) ที่มุ่งหน้าไปสู่กาญจนบุรี, ทองผาภูมิ, สังขะบุรีและด้านเจดีย์สามองค์ สู่ประเทศพม่า
7.สถานีรถไฟก่อนหน้า (ถ้าเดินทางมาจากสถานีกรุงเทพ) คือสถานีรถไฟชุมทางหนองปลาดุก เป็นสถานีรถไฟที่มีความสำคัญทั้งทางด้านประวัติศาสตร์คือเป็นจุดเริ่มต้นของทางรถไฟสายมรณะที่มุ่งหน้าไปสะพานข้ามแม่น้ำแคว ไปพม่าในอดีต และในด้านคมนาคมเป็นสถานีที่มีทางแยกไปได้4ทิศทางคือ ไปหาดใหญ่, ไปน้ำตก(ในอนาคตจะเชื่อมต่อไปจนถึงทวาย), ไปสุพรรณบุรี, และไปสถานีกรุงเทพฯ
ซึ่งเป็น1ใน3 ของประเทศรวมกับอีก2ชุมทางคือ หาดใหญ่(ไปสงขลา , สุไหงโกลก, ปาดังเบซาร์, กรุงเทพ)และแก่งคอย(ไปชุมทางบัวใหญ่, นคราชสีมา, ชุมทางคลองสิบเก้า , กรุงเทพ) ที่มีทางรถไฟไปได้4ทิศทางเช่นเกียวกันครับ!!
นี้คือบางส่วนครับ ยังมีอีกหลายเรื่องราวของสถานีบ้านโป่ง ที่จะนำมาเล่าให้ฟัง แต่ขอไปเสริมในภายหลังล่ะกันครับ!!
เกร็ดความรู้7ข้อเกี่ยวกับสถานีรถไฟบ้านโป่ง (ที่หลายๆคนยังไม่รู้)
แต่จะขอเล่าเรื่องราวของ"สถานีรถไฟบ้านโป่ง" ในบางแง่มุมที่หลายคนยังไม่ทราบครับ
1.สถานีรถไฟบ้านโป่งเป็นสถานีระดับ1เทียบเท่ากับสถานีชุมทางบางซื่อ, เชียงใหม่, หาดใหญ่, ขอนแก่น, อุบลฯ ฯลฯ อยู่ที่หลักกิโลเมตรที่68.22 (จากสถานีธนบุรี) มีรางย่านสถานี4รางทีใช้รองรับการโดยสารและขนส่งสินค้า
2.มีปริมาณการขนส่งผู้โดยสารมากแห่งหนึ่งในเส้นทางสายใต้(เพราะสามารถเดินทางต่อไปจ.กาญจนบุรี, สุพรรณบุรีได้ มีรถโดยสารหยุดรับ-ส่งผดส.เกือบทุกขบวน ยกเว้นขบวนรถด่วนพิเศษ35/36กท.-บัตเตอร์เวิร์ธ-กท. และขบวนรถด่วน85/86 กท.-นครศรีธรรมราช-กท.
3.ส่วนปริมาณการขนส่งสินค้ามีหลากหลายอย่าง ทั้งชิ้นส่วนประดับยนต์-ชิ้นส่วนรถบัส(เพราะเป็นแหล่งต่ออู่รถบัสอันดับหนึ่งของประเทศ) ทั้งยังเป็นแหล่งส่งออกปลาสวยงามอันดับต้นๆ รวมทั้งสินค้าประเภทอื่นๆอีกหลายอย่าง เช่นผลิตภัณฑ์กระดาษ, อาหารแปรรูป ฯลฯที่ส่งออกจากที่นี่
4.ทางโค้งซ้าย(ถ้ามาจากกรุงเทพฯ)บริเวณก่อนเข้าสถานีบ้านโป่ง ถือเป็นโค้งหลักที่เปลี่นทิศทางของขบวนรถ(จากทิศตะวันตกไปเป็นทิศใต้)เพื่อมุ่งหน้าไปสู่ภาคใต้ของประเทศ และในอนาคตถือเป็นจุดที่มีผลต่อการออกแบบรถไฟความเร็วสูงทั้งในแง่เทคนิคและการลงทุนที่ต้องใช้งบฯสูง
5.สถานีบ้านโป่งอยู่ในแผนเร่งด่วนโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ นครปฐม-หัวหินที่จะเปิดประมูลต้นปี2559 ลงมือก่อสร้างไม่เกินมิ.ย.59 แล้วเสร็จไม่เกิน กลางปี62
6.หลังสถานีรถไฟบ้านโป่ง (ตรงวงเวียนน้ำพุ) แต่เดิมกรมทางหลวงนับเป็นกิโลเมตรที่0.00 ของทางหลวงหมายเลข323 (ถนนแสงชูโต) ที่มุ่งหน้าไปสู่กาญจนบุรี, ทองผาภูมิ, สังขะบุรีและด้านเจดีย์สามองค์ สู่ประเทศพม่า
7.สถานีรถไฟก่อนหน้า (ถ้าเดินทางมาจากสถานีกรุงเทพ) คือสถานีรถไฟชุมทางหนองปลาดุก เป็นสถานีรถไฟที่มีความสำคัญทั้งทางด้านประวัติศาสตร์คือเป็นจุดเริ่มต้นของทางรถไฟสายมรณะที่มุ่งหน้าไปสะพานข้ามแม่น้ำแคว ไปพม่าในอดีต และในด้านคมนาคมเป็นสถานีที่มีทางแยกไปได้4ทิศทางคือ ไปหาดใหญ่, ไปน้ำตก(ในอนาคตจะเชื่อมต่อไปจนถึงทวาย), ไปสุพรรณบุรี, และไปสถานีกรุงเทพฯ
ซึ่งเป็น1ใน3 ของประเทศรวมกับอีก2ชุมทางคือ หาดใหญ่(ไปสงขลา , สุไหงโกลก, ปาดังเบซาร์, กรุงเทพ)และแก่งคอย(ไปชุมทางบัวใหญ่, นคราชสีมา, ชุมทางคลองสิบเก้า , กรุงเทพ) ที่มีทางรถไฟไปได้4ทิศทางเช่นเกียวกันครับ!!
นี้คือบางส่วนครับ ยังมีอีกหลายเรื่องราวของสถานีบ้านโป่ง ที่จะนำมาเล่าให้ฟัง แต่ขอไปเสริมในภายหลังล่ะกันครับ!!