จับสัญญาณซื้อขายด้วย RSI ตอนที่ 1 : โดย คุณชายมะนาว..กับหุ้นสายสีลม

บทความโดย : คุณชายมะนาว..กับหุ้นสายสีลม


Relative Strength Index (RSI) เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่ใช้วัดสัญญาณการแกว่งตัวของราคาหุ้นว่าอยู่ในสภาวะใด จัดเป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยมในการใช้งานเป็นอย่างมาก เนื่องจากใช้งานง่ายและ สามารถบ่งบอกถึงการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นได้เป็นอย่างดีว่าอยู่ในสภาวะใด ซื้อมากเกินไป (Overbought) หรือขายมากจนเกินไป (Oversold)

สำหรับในตอนที่ 1 นี้ผมจะขออธิบายวิธีการเข้าถึงเครื่องมือ Relative Strength Index (RSI) ว่าจะมีวิธีการเข้าถึงเพื่อใช้งานเครื่องมือนี้ได้อย่างไร มันอาจจะเป็นเรื่องพื้นฐานมากๆสำหรับท่านที่ใช้เครื่องมือนี้เป็นอยู่แล้ว แต่เพราะผู้ที่ติดตามอ่านบทความของผมมีทุกระดับจึงจำเป็นต้องอธิบายเรื่องพื้นฐานเหล่านี้ เพื่อให้ท่านที่ยังไม่ทราบได้รับทราบและเข้าใจถึงวิธีการเข้าถึงเพื่อใช้งานเครื่องมือนี้

ลองนึกย้อนถึงวันที่ท่านเพิ่งเริ่มเข้าสู่ตลาดหุ้นใหม่ๆวันที่ท่านยังไม่มีความรู้อะไรเลย ความรู้พื้นฐานเหล่านี้คือสิ่งที่ท่านพยายามค้นหาเป็นสิ่งต้องการใช่หรือไม่ครับ?

ให้ท่านเปิดโปรแกรม “efin Stock Pick Up” หรือ อีกชื่อหนึ่งที่เรามักจะเรียกกันจนติดปากว่า โปรแกรม “EfinanceThai”
ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากบทความชุด "การใช้งานโปรแกรม EfinanceThai เบื้องต้น" ที่ผมได้เคยเขียนไว้ใน facebook หรือ blog ของผมครับ

หลังจากที่ท่านเปิดโปรแกรม “efin Stock Pick Up” ขึ้นมาแล้วให้ท่านไปที่เมนูที่อยู่ทางด้านขวามือ จากนั้นเลือกเมนู “Add Indicator”


จะปรากฏเมนูย่อยขึ้นมาให้ท่านเลือก “Add Indicator to new Panel”  เพื่อให้โปรแกรมทำการแสดงผล Indicator นี้บน Panel ใหม่ จากนั้นเลือกประเภทเครื่องมือ “Index Indicators” แล้วเลือกเครื่องมือ “Relative Strength Index [.RSI]”


จะปรากฎเครื่องมือ RSI ขึ้นมา อยู่ทางด้านล่างของกราฟ


เอาเมาท์คลิ๊กไปที่เส้นแบ่งระหว่างกราฟกับRSI โดยคลิ๊กเมาท์ค้างไว้แล้วลากมันขึ้นมาจะได้เห็นเส้นสัญญาณชัดๆ


หากต้องการปรับแต่งคุณสมบัติของ RSI เช่นการปรับแต่งสีของเส้นสัญญาณต่างๆ ก็ให้ไปที่เมนู  “Indicator Properties” ซึ่งเป็นเมนูที่อยู่ทางด้านขวามือ หรือ คลิ๊กเมาท์ขวาบริเวณพื้นที่แสดงกราฟก็ได้



โปรแกรมก็จะแสดงหน้าจอขึ้นมาเพื่อให้เราปรับแต่งคุณสมบัติได้ตามความต้องการของเรา


เป็นอันว่าเราสามารถเปิดเครื่องมือ Relative Strength Index (RSI) ขึ้นมาใช้งานได้แล้ว ในครั้งหน้าจะมาว่ากันต่อว่าเราสามารถจะวิเคราะห์จังหวะการซื้อขายด้วยสัญญาณการเคลื่อนตัวของ RSI ได้อย่างไร

ขอบพระคุณทุกท่านที่กรุณาติดตาม หากไม่รังเกียจกรุณาช่วยกด Like facebook หรือช่วยแชร์ ส่งต่อสิ่งดีๆเหล่านี้ให้กับสังคมด้วยนะครับ และขอเชิญมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของแฟนเพจ..สังคมเล็กๆที่อบอุ่น เพื่อเป็นกำลังใจในการสร้างสรรค์สิ่งดีๆคืนให้กับสังคมต่อไป.

บทความโดย : คุณชายมะนาว..กับหุ้นสายสีลม

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่