พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ได้ให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไปวิเคราะห์ข้อดี-ข้อเสียของการสอบตกซ้ำชั้นอีกครั้ง หลังพบว่าปัจจุบันไม่มีการซ้ำชั้น แต่ให้เด็กสอบซ่อมใหม่ในแต่ละรายวิชาที่สอบตก จนกว่าจะผ่าน แล้วพบว่ามาตรฐานของครูในการสอบซ่อมไม่เท่ากัน รวมถึงครูบางคนมีวิธีการสอบซ่อมที่ไม่มีมาตรฐาน
"ปัญหาขณะนี้คือ พบว่าคุณภาพของเด็กที่จบออกมา รวมถึงการเลื่อนชั้นในระดับที่สูงขึ้นค่อนข้างมีปัญหา เช่น นักเรียนชั้น ป.4 อ่านหนังสือไม่ออก เวลานี้คุณภาพของเด็กที่จบออกมาและเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นก็มีปัญหา และยังพบเด็กเรียน ป.4 มีปัญหาอ่านไม่ออก เขียนไม่คล่องด้วยซ้ำ ซึ่งหากปล่อยให้เลื่อนชั้นสูงขึ้นก็อาจเป็นภาระฉุดเพื่อนในห้องคนอื่น" รมว.ศธ. กล่าว.
นอกจากนี้ ศธ.ยังได้รับเสียงสะท้อนว่า เด็กจบสายสามัญเพื่อไปศึกษาต่อในสายอาชีพ ต้องมาเรียนเพื่อปรับพื้นฐานวิชาสามัญใหม่อีกครั้ง ทำให้เสียเวลาเตรียมความพร้อม ก่อนเริ่มการเรียนการสอนสายอาชีพ ทั้งนี้ ในมุมมองส่วนตัวเห็นว่านักเรียนอาจต้องเรียนรู้กับความผิดหวังบ้าง ก่อนปล่อยให้ก้าวต่อไป
พล.อ.ดาวพงษ์ กล่าวอีกว่า ได้มอบให้ นพ.กำจร ตติยกวี ปลัด ศธ. ไปวิเคราะห์สาเหตุที่เด็กนักเรียนชอบเรียนกวดวิชาหรือการเรียนเสริมพิเศษ ว่าเป็นเพราะครูสอนในห้องเรียนแล้วกั๊กวิชาหรือไม่
http://www.posttoday.com/social/edu/402945
เมื่อสามสิบปีก่อนผมเรียนชั้นประถมมีระบบสอบตกซ้ำชั้น แต่สองสามรุ่นถึงจะมีซ้ำชั้นสักคน ยุคหลังๆ เป็นแบบเรียนอะไรก็ให้ผ่านๆ กันหมด ไม่ว่าจะระดับโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยหรือจะหลักสูตรใด ให้ตกซ้ำชั้นกลัวเด็กจะเสียกำลังใจเป็นปมไปตลอด หรือบางหลักสูตรเป็นธุรกิจ จนเป็นที่มา "จ่ายครบจบแน่" ถ้ามีคนเรียนไม่จบหรือซ้ำชั้นเยอะ อาจโดนมองว่าผู้สอนหรือสถานศึกษานั้นไม่ได้เรื่อง ไม่เก่งพอที่จะสอนนร. หรือที่ทำเป็นธุรกิจจะโดนมองว่าเรียนที่นี่จบยากคนไม่ผ่านเยอะ ทำให้ไม่มีคนอยากมาเรียน ธุรกิจการศึกษานั้นก็เจ้ง
ครูประถม รร. แถวบ้านมาบ่นให้ฟัง นร. ป. ๖ สอบปลายภาคไม่ผ่านราว ๑๐ คน ครูเรียกให้มาสอบซ่อมให้ทำรายงานทำอะไรก็ไม่ยอมทำ ครูต้องจำใจจะให้ตกไม่จบ ป.๖ แต่พ่อแม่มาร้องไห้อ้อนวอนต่อครู สุดท้ายครูก็ให้จบๆ ไป
ส่วนเรื่องเรียนกวดวิชา ตอนผมอยู่ ม. ๓ จะไปเรียนกวดวิชาที่กรุงเทพฯ กันเพราะอยู่จังหวัดใกล้ๆ ที่ต่างจังหวัดไม่มีการสอนพิเศษกวดวิชา ส่วนตอน ม.๑และ ๒ ไม่มีใครไปเรียนกวดวิชากัน สาเหตุที่ไปเรียนเพราะอยากเข้า รร.ดังให้ได้ เอาความรู้ทีรร. อย่างเดียวจะสู้เด็กกรุงเทพ รร. ดังไม่ได้ นอกจากนี้ก็ซื้อหนังสือคู่มือสอบต่างๆ แต่มีไม่กี่สำนักพิมพ์
พอขึ้น ม.ปลาย เริ่มมีกระแสกวดวิชากันตั้งแต่ ม.๔ โดยปิดเทอมจะมาเรียนที่กรุงเทพกัน ที่ต่างจังหวัดก็ยังไม่มี สาเหตุก็เช่นเดียวกับตอน ม.ต้น
ยุคหลัง การกวดวิชาเรียนพิเศษแพร่ระบาดไปทุกชั้นเรียนจนถึงระดับประถม จนมีคำแซวว่าต้องกวดวิชาลูกเพื่อเข้า รร. อนุบาลกันเลย ตามต่างจังหวัดครูใน รร. เปิดสอนพิเศษช่วงเย็นหรือเสาร์อาทิตย์กันมากมาย สอนกันเอง จนถึงเปิดเป็นสำนักติว และมีสำนักติวจากกรุงเทพมาเปิดสาขาก็มี บางสำนักติวสร้างตึกเรียนใหญ่โตสี่ห้าชั้นสวยงามทันสมัยกว่า รร. อีก กลายเป็นธุรกิจเต็มตัวในยุคก่อนเศรษฐกิจฟองสบูแตก
คนไปเรียนพิเศษส่วนหนึ่งก็ตั้งใจเรียนจริง ส่วนหนึ่งก็ไปตามกระแสไปเรียนก็ไปนั่งหลับนั่งจีบกัน พ่อแม่ควรตรวจสอบว่าลูกไปเรียนจริงไหม เรียนแล้วผลการเรียนดีขึ้นไหม ได้ผลคุ้มค่าหรือไม่ ไม่ใช่ส่งไปเรียนเพราะกลัวจะน้อยหน้าลูกคนอื่น
สาเหตุของการกวดวิชาก็เพราะการแข่งขันสอบเรียนต่อ ได้เรียน รร.ดี มหาวิทยาลัยดี ก็มีหน้ามีตา โอกาสได้งานดีกว่า เพราะมาตราฐาน รร.และมหาวิทยาลัยต่างกันมาก และข้อสอบที่ใช้สอบ บางทีออกเกินเนื้อหาที่เรียน ข้อสอบบางทีก็ไม่ได้วัดว่า นร.มีความถนัดทางสาขาที่เรียนจริงๆ วัดได้แต่อ่านมามากขยันมากติวมามากเท่านั้นเอง
รมว.ศธ ให้พิจารณาเรื่องการสอบตกซ้ำชั้นใหม่และวิเคราะห์สาเหตุเด็กชอบเรียนกวดวิชา
"ปัญหาขณะนี้คือ พบว่าคุณภาพของเด็กที่จบออกมา รวมถึงการเลื่อนชั้นในระดับที่สูงขึ้นค่อนข้างมีปัญหา เช่น นักเรียนชั้น ป.4 อ่านหนังสือไม่ออก เวลานี้คุณภาพของเด็กที่จบออกมาและเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นก็มีปัญหา และยังพบเด็กเรียน ป.4 มีปัญหาอ่านไม่ออก เขียนไม่คล่องด้วยซ้ำ ซึ่งหากปล่อยให้เลื่อนชั้นสูงขึ้นก็อาจเป็นภาระฉุดเพื่อนในห้องคนอื่น" รมว.ศธ. กล่าว.
นอกจากนี้ ศธ.ยังได้รับเสียงสะท้อนว่า เด็กจบสายสามัญเพื่อไปศึกษาต่อในสายอาชีพ ต้องมาเรียนเพื่อปรับพื้นฐานวิชาสามัญใหม่อีกครั้ง ทำให้เสียเวลาเตรียมความพร้อม ก่อนเริ่มการเรียนการสอนสายอาชีพ ทั้งนี้ ในมุมมองส่วนตัวเห็นว่านักเรียนอาจต้องเรียนรู้กับความผิดหวังบ้าง ก่อนปล่อยให้ก้าวต่อไป
พล.อ.ดาวพงษ์ กล่าวอีกว่า ได้มอบให้ นพ.กำจร ตติยกวี ปลัด ศธ. ไปวิเคราะห์สาเหตุที่เด็กนักเรียนชอบเรียนกวดวิชาหรือการเรียนเสริมพิเศษ ว่าเป็นเพราะครูสอนในห้องเรียนแล้วกั๊กวิชาหรือไม่
http://www.posttoday.com/social/edu/402945
เมื่อสามสิบปีก่อนผมเรียนชั้นประถมมีระบบสอบตกซ้ำชั้น แต่สองสามรุ่นถึงจะมีซ้ำชั้นสักคน ยุคหลังๆ เป็นแบบเรียนอะไรก็ให้ผ่านๆ กันหมด ไม่ว่าจะระดับโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยหรือจะหลักสูตรใด ให้ตกซ้ำชั้นกลัวเด็กจะเสียกำลังใจเป็นปมไปตลอด หรือบางหลักสูตรเป็นธุรกิจ จนเป็นที่มา "จ่ายครบจบแน่" ถ้ามีคนเรียนไม่จบหรือซ้ำชั้นเยอะ อาจโดนมองว่าผู้สอนหรือสถานศึกษานั้นไม่ได้เรื่อง ไม่เก่งพอที่จะสอนนร. หรือที่ทำเป็นธุรกิจจะโดนมองว่าเรียนที่นี่จบยากคนไม่ผ่านเยอะ ทำให้ไม่มีคนอยากมาเรียน ธุรกิจการศึกษานั้นก็เจ้ง
ครูประถม รร. แถวบ้านมาบ่นให้ฟัง นร. ป. ๖ สอบปลายภาคไม่ผ่านราว ๑๐ คน ครูเรียกให้มาสอบซ่อมให้ทำรายงานทำอะไรก็ไม่ยอมทำ ครูต้องจำใจจะให้ตกไม่จบ ป.๖ แต่พ่อแม่มาร้องไห้อ้อนวอนต่อครู สุดท้ายครูก็ให้จบๆ ไป
ส่วนเรื่องเรียนกวดวิชา ตอนผมอยู่ ม. ๓ จะไปเรียนกวดวิชาที่กรุงเทพฯ กันเพราะอยู่จังหวัดใกล้ๆ ที่ต่างจังหวัดไม่มีการสอนพิเศษกวดวิชา ส่วนตอน ม.๑และ ๒ ไม่มีใครไปเรียนกวดวิชากัน สาเหตุที่ไปเรียนเพราะอยากเข้า รร.ดังให้ได้ เอาความรู้ทีรร. อย่างเดียวจะสู้เด็กกรุงเทพ รร. ดังไม่ได้ นอกจากนี้ก็ซื้อหนังสือคู่มือสอบต่างๆ แต่มีไม่กี่สำนักพิมพ์
พอขึ้น ม.ปลาย เริ่มมีกระแสกวดวิชากันตั้งแต่ ม.๔ โดยปิดเทอมจะมาเรียนที่กรุงเทพกัน ที่ต่างจังหวัดก็ยังไม่มี สาเหตุก็เช่นเดียวกับตอน ม.ต้น
ยุคหลัง การกวดวิชาเรียนพิเศษแพร่ระบาดไปทุกชั้นเรียนจนถึงระดับประถม จนมีคำแซวว่าต้องกวดวิชาลูกเพื่อเข้า รร. อนุบาลกันเลย ตามต่างจังหวัดครูใน รร. เปิดสอนพิเศษช่วงเย็นหรือเสาร์อาทิตย์กันมากมาย สอนกันเอง จนถึงเปิดเป็นสำนักติว และมีสำนักติวจากกรุงเทพมาเปิดสาขาก็มี บางสำนักติวสร้างตึกเรียนใหญ่โตสี่ห้าชั้นสวยงามทันสมัยกว่า รร. อีก กลายเป็นธุรกิจเต็มตัวในยุคก่อนเศรษฐกิจฟองสบูแตก
คนไปเรียนพิเศษส่วนหนึ่งก็ตั้งใจเรียนจริง ส่วนหนึ่งก็ไปตามกระแสไปเรียนก็ไปนั่งหลับนั่งจีบกัน พ่อแม่ควรตรวจสอบว่าลูกไปเรียนจริงไหม เรียนแล้วผลการเรียนดีขึ้นไหม ได้ผลคุ้มค่าหรือไม่ ไม่ใช่ส่งไปเรียนเพราะกลัวจะน้อยหน้าลูกคนอื่น
สาเหตุของการกวดวิชาก็เพราะการแข่งขันสอบเรียนต่อ ได้เรียน รร.ดี มหาวิทยาลัยดี ก็มีหน้ามีตา โอกาสได้งานดีกว่า เพราะมาตราฐาน รร.และมหาวิทยาลัยต่างกันมาก และข้อสอบที่ใช้สอบ บางทีออกเกินเนื้อหาที่เรียน ข้อสอบบางทีก็ไม่ได้วัดว่า นร.มีความถนัดทางสาขาที่เรียนจริงๆ วัดได้แต่อ่านมามากขยันมากติวมามากเท่านั้นเอง