ใจอยู่เหนือธรรม เอาเงินกองเท่ามหาสมุทรทั้ง4มาแลกก็ไม่เอา ความทุกข์แม้ผงธุลีก็ไม่มี

ใจถ้าถึงที่สุดแห่งทุกข์จริงๆ มันไม่มีความทุกข์แม้ผงธุลีก็ไม่มี มันเป็นเองด้วยนะไม่ต้องควบคุมไม่ต้องรักษา ไม่ใช่มันสงบอยู่แต่ในสมาธินะ
มันเป็นอยู่อย่างนั้นตลอดเวลานะ ทั้ง เดิน ยืน นั่ง นอน มันเป็นแบบนั้นตลอด มันเหนือความคิดทั้งหมด เหนืออารมณ์ทั้งหมด คิดอะไร อะไร
ให้ใจกระเพื่อมสักน้อยนิดไม่มี มันเหมือนว่า ความคิดทั้งปวงมันเป็นอันหนึ่งอันเดียว จะว่ากุศลก็ไม่ใช่ จะว่าอกุศลก็ไม่ใช่ จะว่าภาวนา พุท โธ ก็ไม่ใช่
จะว่าคิดก็ไม่ใช่ มันเหมือนสายน้ำอันเดียวกันไปเลยนะ ความคิดทั้งหมดมันคล้ายๆรวมลงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เมื่อถึงที่สุดแห่งทุกข์ ใจมันก็สงบเหมือนว่าความคิดมันก็ไหลไปเรื่อยๆ จะคิดหรือไม่คิด มันก็ไหลไปเรื่อยๆ ใจก็ไม่กระเพื่อม อาการที่ใจจะไปซึมซาบในความคิดไม่มี ความพอใจ ไม่พอใจ ความยึดมั่น
ไม่มี ธรรมพระพุทธเจ้า อัศจรรย์อย่างนี้ นักปฏิบัติพึ่งเห็นได้เฉพาะตนอย่างนี้ ธรรมชาติมันยุติธรรมจริงๆ ถ้าใจผู้ใดมีกิเลส เวลาคิดอะไร มันกระเพื่อมใจมันทุกข์ เพราะอะไรเพราะใจยังไม่หยุดสร้างภพสร้างชาติ เวลาความคิดผ่านมา ใจที่ยังมีกิเลสมันเข้ามาปรุงแต่งทันที ว่าเป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง เวทนาตัณหาภายในใจก็บังเกิด อยากให้เป็นอย่างนี้ไม่สมหวังเป็นทุกข์ ไม่อยากให้เป็นอย่างนี้เมื่อประสบพบเจอก็เป็นทุกข์ ยึดมั่นว่ามันเป็นของเราพอพรัดพรากสิ่งที่สงวนใว้ก็เป็นทุกข์ ใจผู้มีกิเลสมันกระเพื่อมอย่างนี้ เวลาเสวยอารมณ์ใจก็ยึดเต็มๆ สุขก็ยึด ทุกข์ก็ยึด ใจมันไม่ยอมละ ไม่ยอมวาง ไม่ยอมปล่อย ใจที่มีตัณหานะ มันฝืนธรรมชาติ พอมันฝืนธรรมชาติมันก็ทุกข์ ใจที่พ้นตัณหาคือใจที่ยอมรับความจริงของธรรมชาติ ธรรมของพระพุทธเจ้าก็หลักใจความสำคัญอย่างนี้ ใจใดมีตัณหา ก็ฝืนธรรมชาติ ใจใดหมดตัณหาก็ยอมรับความจริงของธรรมชาติ เพราะพระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสรู้นอกโลก ท่านตรัสในโลกนี้และ เห็นความจริงของธรรมชาติ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่