ก่อนอื่นนี้เป็นกระทู้แรกที่ ยาวที่สุดในพันทิปของผม และข้อมูลต่างๆนี้ผมได้รวบรวมมาไม่ได้พิมมาเองทั้งหมด+รูป
หลายคนอาจจะสงสัย สะพานไม้แกดำคืออะไร
สะพานไม้แกดำ ตั้งอยู่ที่ ต.แกดำ อ. แกดำ จ. มหาสารคาม
อ.แกดำเป็นอำเภอเล็กๆ
อำเภอแกดำมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเมืองมหาสารคาม
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอศรีสมเด็จ (จังหวัดร้อยเอ็ด)
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอวาปีปทุม
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองมหาสารคาม
มาดูประวัติ สะพานไม้แกดำ (ยาวนิดนึ่ง )
ความเป็นมา
: ตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้าน ท่านเล่าว่าเดิมนั้นบริเวณหนองเป็นลำห้วย บริเวณหนองเป็นป่าชาวบ้านจึงสร้างทางเกวียนเพื่อใช้ในการสัญจรไปมา ในช่วงฤดูน้ำหลากมีน้ำขึ้นสูงไม่สามารถสัญจรไปมาได้ชาวบ้านจึงรวมตัวกันสร้างสะพานขึ้นมาเพื่อข้ามลำห้วย ซึ่งมีความยาว 20 เมตร กว้าง 4 เมตร แต่เมื่อมีการขุดคู กั้นน้ำทำเป็นอ่างเก็บน้ำทำให้มีน้ำขัง ชาวบ้านจึงมีการสร้างสะพานเล็ก ๆ ขึ้นมาเพื่อใช้สัญจรไปมา แต่ก็ยังไม่แล้วเสร็จดี ลักษณะของสะพานจะใช้ไม้เป็นลำวางไว้เท่านั้นและมีการคดเคี้ยวไปมาตามความตื้นของน้ำในหนอง
ปี พ.ศ. 2507 คันดินกั้นอ่างเก็บน้ำขาดเนื่องจากรับน้ำไม่ไหว ชลประทานต้องถมดินซ่อมแซมจนใช้ได้ มีน้ำเก็บกัก
และในปี พ.ศ. 2509 ได้มีการตั้งโรงเรียนแกดำอนุสรณ์ขึ้นมา ในปีนี้เองที่มีการได้สร้างสะพานทั้งหมด ซึ่งมีความยาว 453.5 เมตร กว้าง 1 เมตรซึ่งประโยชน์ที่เพิ่มเข้ามาคือเพื่อให้นักเรียนเดินทางไปเรียนในตอนเช้าและกลับในตอนเย็น
ประโยชน์
: ส่วนใหญ่เพื่อใช้ในการเดินทางไปเรียนของนักเรียนที่เดินทางไปเรียนที่โรงเรียนแกดำอนุสรณ์และใช้ในการสัญจรไปมาของราษฎรที่เดินทางไปมาระหว่างบ้านแกดำกับบ้านหัวขัว
* (ทองม้วน ทิพพิชัย 2550 : สัมภาษณ์)
ประวัติสะพานไม้แกดำเพิ่มเติม
ความเดิม
: ตามที่หลวงปู่จ้อยได้นำผู้คนอพยพจากเมืองสุวรรณภูมิ มณทลร้อยเอ็ดเพื่อหาถิ่นฐานใหม่ที่อุดมสมบูรณ์มาตั้งรกราก สร้างหมู่บ้านใหม่ที่บ้านแกดำ บนเนินดินข้างหนองน้ำ ฝั่งทิศตะวันตก หนองน้ำนี้มาจากน้ำซึ่งเป็นลำห้วยเรื่อยมาจากห้วยเสือโก้ก อ.วาปีปทุม ผ่านห้วยวังเลิง ก่อนลงมาเป็นหนองน้ำเล็ก ๆ พอได้ใช้ดื่มกินของชาวบ้าน แล้วลำห้วยนี้จะผ่านไปห้วยวังแสง กุดตาหลุง ไหลลงแม่น้ำชีที่อำเภอเมืองมหาสารคาม
ในหนองน้ำนี้มีกลุ่มต้นสะแก (ภาษาอีสานเรียกว่า “ต้นแก” ) ที่มีความแปลกกว่าแห่งอื่น ๆ คือมีสีดำ ทั้งต้นทั้งใบ จึงนำลักษณะเด่นนี้มาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้าน ว่า “หมู่บ้านแกดำ” รวมทั้งหนองน้ำ ว่า “หนองแกดำ” ต่อมาเมื่อชาวบ้านขยายที่ทำมาหากินไปด้านฝั่งทิศตะวันออกของหนองน้ำ รวมทั้งมีการตั้งหมู่บ้านใหม่ ของลูกหลานเครือญาติ เรียก “บ้านน้อย” ซึ่งต่อมา คือ “บ้านหัวขัว” จึงจะต้องมีการสร้างสะพานข้ามลำห้วย เรียก “ขัวใหญ่” ถือว่าเป็นสะพานชุดแรก
ความต่อเนื่อง
: ปี พ.ศ. 2496 กรมชลประทานมาสร้างฝายน้ำล้น ทำให้น้ำขังท่วมทางเดินตลอดแนว ชาวบ้านจึงขอบริจาคไม้เพื่อทำสะพาน เป็นสะพานไม้เรียงตามความยาว หัวไม้เกยกัน ยังไม่มีตะปูตอก บางช่วงมีแผ่นเดียวบ้าง บางช่วงมีสองแผ่นคู่กันบ้าง พอเดินผ่านไปทำนาและติดต่อหากัน ชาวบ้านเรียก ”ขัวต่องแต่ง“ จึงนับว่าเป็นสะพานชุดที่สอง และถือว่าเป็นสะพานที่ใช้ข้ามตลอดแนวหนองน้ำ
ต่อมาปี 2507 ฝนตกหนักน้ำท่วมหลาก คันดินรับน้ำไม่ไหว ขาดทะลัก 3 จุด บริเวณใกล้วัดโพธิ์ศรีแกดำ ตรงกลาง และท้ายคันดิน น้ำไม่เหลือแห้งขอด กรมชลประทานถมคันดินซ่อมแซมเป็นการด่วน
ปี 2509 มีโรงเรียนเอกชน (โรงเรียนราษฎร์) ตั้งขึ้นที่ฝั่งบ้านหัวขัว แล้วหนองน้ำก็มีน้ำอีกครั้ง ผู้จัดการโรงเรียนได้ขอบริจาคไม้จากชาวบ้านและผู้ปกครอง ทำเป็นสะพานแนวขวางมีเสาคู่ และไม้คอเสา ซึ่งเป็นจุดเริ่มแรกของสะพานชุดปัจจุบัน แต่ก็ยังไม่สมบูรณ์ คุณพ่อครูกรณ์ อนุอัน ผู้จัดการโรงเรียนแกดำอนุสรณ์ ก็พยายามก่อสร้างเพิ่มเติม ซ่อมแซมปรับปรุงเรื่อยมาเพื่อให้นักเรียนได้เดินข้ามไปเรียนหนังสือ ก็เลยเป็นที่เข้าใจ
ของชาวบ้านว่าสะพานไม้กับโรงเรียนพัฒนามาคู่กัน
จนปี พ.ศ.2520 มีการตั้งกิ่งอำเภอแกดำ โดยมีนายสมาน วงศ์แก้ว เป็นปลัดหัวหน้ากิ่งอำเภอคนแรก
ช่วงนี้มีการปรับปรุงสะพานให้มีมาตรฐาน แต่ยังเป็นรูปแบบเดิม
ข้อมูลล่าสุด สะพานไม้มีความยาวเกือบ 600 เมตร กว้าง 1.30 เมตร ใช้ไม้แป้นปู 2,538 แผ่น เสา 488 ต้น
ข้อมูลโรงเรียนแกดำอนุสรณ์
: โรงเรียนเอกชนเปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2 หลักสูตร ของกระทรวงศึกษาธิการ คือหลักสูตร ม.1 – ม.4 และหลักสูตร ม.ศ.1 – ม.ศ.3 ก่อตั้งปี พ.ศ. 2502 ครั้งแรกใช้อาคารเรียนในวัดดาวดึงษ์แกดำ โดยมีหลวงปู่นวน เป็นเจ้าอาวาส มีนายไล คำชนะ เป็นครูใหญ่คนแรก นายทองปักษ์ เพียงเกษ เป็นผู้จัดการโรงเรียน
* (นายทองปักษ์ เพียงเกษ เป็นคุณพ่อของ นายอดิศร เพียงเกษ ส.ส. จังหวัดขอนแก่นหลายสมัย)
ปี 2509 ย้ายโรงเรียนไปตั้งที่ฝั่งบ้านหัวขัว ใกล้ ๆ กับทางลงสะพาน อยู่ต่อมาได้มอบหมายให้คุณพ่อ
ครูกรณ์ อนุอัน เป็นผู้ดูแลเนื่องจากนายทองปักษ์ เพียงเกษ จะต้องไปเป็นผู้จัดการโรงเรียนอีกแห่งที่บ้านขามเฒ่า
อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม และเนื่องด้วยนายทองปักษ์ เป็นลูกหลานของคุณพ่อครูกรณ์ อนุอัน
คุณพ่อครูกรณ์ อนุอัน ได้ดูแลโรงเรียนมาตั้งแต่นั้น จนถึงการยุบโรงเรียน และเป็นผู้ดูแลการซ่อมแซมบำรุงสะพานเรื่อยมา ถึงแม้โรงเรียนจะยุบแล้ว ก็เป็นผู้นำชาวบ้านดูแลปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง จนท่านเสียชีวิต
ช่วงประมาณปี 2523 – 2524 มีการยุบโรงเรียนแกดำอนุสรณ์ เพื่อถ่ายโอนให้กับโรงเรียนเอกชนใกล้เคียง และโรงเรียนแกดำวิทยาคาร...
ชื่อโรงเรียนราษฎร์ของคุณพ่อครูกรณ์ อนุอัน มีหลายชื่อ ได้แก่
1. โรงเรียนแกดำอนุสรณ์
2. โรงเรียนปิตุภูมิ
3. โรงเรียนแกดำอนุสรณ์ (กลับมาใช้ชื่อเดิมอีกครั้ง)
4. โรงเรียนแกดำบูรณศึกษา
คุณครูธีระยุทธ ศรีนนท์ โรงเรียนมิตรภาพ รวบรวม / จัดพิมพ์ข้อมูลเพิ่มเติม ปี 2558
ขอกราบขอบพระคุณ ...หลวงตาอำนวย แก้วบรรจักษ์ ..อ.สุวรรณี เทพประภากรณ์..อ.มะลิวัลย์ โยธะคง...
คุณพ่อถวิล โพธิ์ละเดา... คุณลุงสุวิทย์ ทิพพิชัย ... ให้ข้อมูลเพิ่มเติม
มาดูรูปกัน ^^
สะพานไม้นี้พึ่งมีคนรู้จักพึ่ง 2-3 เดือนนี้เอง ตอนเย็นๆ จะ มีนักท่องเที่ยวหรือนักเรียน มาเเทบจะทุกวัน
ปลายฝนต้นหนาวจะอากาศเย็นสบายมาเลย ครับ มาตอนเช้าจะมีหมอก ตรงสะพาน
ก่อนหน้าที่จะมี ผักตบชวาเป็นจำนวนมากตามภาพ
แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มาดำเนินการเอาออกเป็นที่เรียบร้อยแล้ววววว
การเป็นอยู่ ที่นี้เป็นบ้านๆ อยู่
หากินตามวิถี
เครดิตตามภาพเลยนะครับ
เครดิตตามภาพเลยนะครับ
ทั้งนี้ยังมีบุญตามประเพณีอิสาน บุญเดือนหก หรือ บุญบั้งไฟ นั้นเอง
ฝ่ายจราจร
แนวสวยงามเราก็มี
ยังมีที่ท้องเที่ยว อีก อาทิ อุโบสถเรือแห่งแรกของไทย
ยังไงก็ฝากบอกบุญท่านที่สนใจด้วยเลยนะครับ
ข้อมูลเพิ่มเติม
https://www.youtube.com/watch?v=xyUFWhueA-Y&feature=youtu.be
18+ แนวบ้านๆ จริง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เคดิตตามภาพเลยนะครับ
มาดูงานลอยกระทงบ้างที่ผ่านมา บรรยากาศมันได้ ^^ ภาพจากคุณ Mongkolrit Maneelert
เจ้าตูบก็มา
เดี่ยวท่าคิดอะไรออกหรือมีภาพสวยๆ จะมาลงให้ดูใหม่ ครับ ขอบคุณที่เข้ามาดู
สงสัยหรืออยากจะดูภาพสวยๆ เพิ่มเติ่ม
https://www.facebook.com/KaeDam/
สะพานไม้แกดำ (อันซีนแดนสยาม)
หลายคนอาจจะสงสัย สะพานไม้แกดำคืออะไร
สะพานไม้แกดำ ตั้งอยู่ที่ ต.แกดำ อ. แกดำ จ. มหาสารคาม
อ.แกดำเป็นอำเภอเล็กๆ
อำเภอแกดำมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเมืองมหาสารคาม
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอศรีสมเด็จ (จังหวัดร้อยเอ็ด)
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอวาปีปทุม
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองมหาสารคาม
มาดูประวัติ สะพานไม้แกดำ (ยาวนิดนึ่ง )
ความเป็นมา
: ตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้าน ท่านเล่าว่าเดิมนั้นบริเวณหนองเป็นลำห้วย บริเวณหนองเป็นป่าชาวบ้านจึงสร้างทางเกวียนเพื่อใช้ในการสัญจรไปมา ในช่วงฤดูน้ำหลากมีน้ำขึ้นสูงไม่สามารถสัญจรไปมาได้ชาวบ้านจึงรวมตัวกันสร้างสะพานขึ้นมาเพื่อข้ามลำห้วย ซึ่งมีความยาว 20 เมตร กว้าง 4 เมตร แต่เมื่อมีการขุดคู กั้นน้ำทำเป็นอ่างเก็บน้ำทำให้มีน้ำขัง ชาวบ้านจึงมีการสร้างสะพานเล็ก ๆ ขึ้นมาเพื่อใช้สัญจรไปมา แต่ก็ยังไม่แล้วเสร็จดี ลักษณะของสะพานจะใช้ไม้เป็นลำวางไว้เท่านั้นและมีการคดเคี้ยวไปมาตามความตื้นของน้ำในหนอง
ปี พ.ศ. 2507 คันดินกั้นอ่างเก็บน้ำขาดเนื่องจากรับน้ำไม่ไหว ชลประทานต้องถมดินซ่อมแซมจนใช้ได้ มีน้ำเก็บกัก
และในปี พ.ศ. 2509 ได้มีการตั้งโรงเรียนแกดำอนุสรณ์ขึ้นมา ในปีนี้เองที่มีการได้สร้างสะพานทั้งหมด ซึ่งมีความยาว 453.5 เมตร กว้าง 1 เมตรซึ่งประโยชน์ที่เพิ่มเข้ามาคือเพื่อให้นักเรียนเดินทางไปเรียนในตอนเช้าและกลับในตอนเย็น
ประโยชน์
: ส่วนใหญ่เพื่อใช้ในการเดินทางไปเรียนของนักเรียนที่เดินทางไปเรียนที่โรงเรียนแกดำอนุสรณ์และใช้ในการสัญจรไปมาของราษฎรที่เดินทางไปมาระหว่างบ้านแกดำกับบ้านหัวขัว
* (ทองม้วน ทิพพิชัย 2550 : สัมภาษณ์)
ประวัติสะพานไม้แกดำเพิ่มเติม
ความเดิม
: ตามที่หลวงปู่จ้อยได้นำผู้คนอพยพจากเมืองสุวรรณภูมิ มณทลร้อยเอ็ดเพื่อหาถิ่นฐานใหม่ที่อุดมสมบูรณ์มาตั้งรกราก สร้างหมู่บ้านใหม่ที่บ้านแกดำ บนเนินดินข้างหนองน้ำ ฝั่งทิศตะวันตก หนองน้ำนี้มาจากน้ำซึ่งเป็นลำห้วยเรื่อยมาจากห้วยเสือโก้ก อ.วาปีปทุม ผ่านห้วยวังเลิง ก่อนลงมาเป็นหนองน้ำเล็ก ๆ พอได้ใช้ดื่มกินของชาวบ้าน แล้วลำห้วยนี้จะผ่านไปห้วยวังแสง กุดตาหลุง ไหลลงแม่น้ำชีที่อำเภอเมืองมหาสารคาม
ในหนองน้ำนี้มีกลุ่มต้นสะแก (ภาษาอีสานเรียกว่า “ต้นแก” ) ที่มีความแปลกกว่าแห่งอื่น ๆ คือมีสีดำ ทั้งต้นทั้งใบ จึงนำลักษณะเด่นนี้มาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้าน ว่า “หมู่บ้านแกดำ” รวมทั้งหนองน้ำ ว่า “หนองแกดำ” ต่อมาเมื่อชาวบ้านขยายที่ทำมาหากินไปด้านฝั่งทิศตะวันออกของหนองน้ำ รวมทั้งมีการตั้งหมู่บ้านใหม่ ของลูกหลานเครือญาติ เรียก “บ้านน้อย” ซึ่งต่อมา คือ “บ้านหัวขัว” จึงจะต้องมีการสร้างสะพานข้ามลำห้วย เรียก “ขัวใหญ่” ถือว่าเป็นสะพานชุดแรก
ความต่อเนื่อง
: ปี พ.ศ. 2496 กรมชลประทานมาสร้างฝายน้ำล้น ทำให้น้ำขังท่วมทางเดินตลอดแนว ชาวบ้านจึงขอบริจาคไม้เพื่อทำสะพาน เป็นสะพานไม้เรียงตามความยาว หัวไม้เกยกัน ยังไม่มีตะปูตอก บางช่วงมีแผ่นเดียวบ้าง บางช่วงมีสองแผ่นคู่กันบ้าง พอเดินผ่านไปทำนาและติดต่อหากัน ชาวบ้านเรียก ”ขัวต่องแต่ง“ จึงนับว่าเป็นสะพานชุดที่สอง และถือว่าเป็นสะพานที่ใช้ข้ามตลอดแนวหนองน้ำ
ต่อมาปี 2507 ฝนตกหนักน้ำท่วมหลาก คันดินรับน้ำไม่ไหว ขาดทะลัก 3 จุด บริเวณใกล้วัดโพธิ์ศรีแกดำ ตรงกลาง และท้ายคันดิน น้ำไม่เหลือแห้งขอด กรมชลประทานถมคันดินซ่อมแซมเป็นการด่วน
ปี 2509 มีโรงเรียนเอกชน (โรงเรียนราษฎร์) ตั้งขึ้นที่ฝั่งบ้านหัวขัว แล้วหนองน้ำก็มีน้ำอีกครั้ง ผู้จัดการโรงเรียนได้ขอบริจาคไม้จากชาวบ้านและผู้ปกครอง ทำเป็นสะพานแนวขวางมีเสาคู่ และไม้คอเสา ซึ่งเป็นจุดเริ่มแรกของสะพานชุดปัจจุบัน แต่ก็ยังไม่สมบูรณ์ คุณพ่อครูกรณ์ อนุอัน ผู้จัดการโรงเรียนแกดำอนุสรณ์ ก็พยายามก่อสร้างเพิ่มเติม ซ่อมแซมปรับปรุงเรื่อยมาเพื่อให้นักเรียนได้เดินข้ามไปเรียนหนังสือ ก็เลยเป็นที่เข้าใจ
ของชาวบ้านว่าสะพานไม้กับโรงเรียนพัฒนามาคู่กัน
จนปี พ.ศ.2520 มีการตั้งกิ่งอำเภอแกดำ โดยมีนายสมาน วงศ์แก้ว เป็นปลัดหัวหน้ากิ่งอำเภอคนแรก
ช่วงนี้มีการปรับปรุงสะพานให้มีมาตรฐาน แต่ยังเป็นรูปแบบเดิม
ข้อมูลล่าสุด สะพานไม้มีความยาวเกือบ 600 เมตร กว้าง 1.30 เมตร ใช้ไม้แป้นปู 2,538 แผ่น เสา 488 ต้น
ข้อมูลโรงเรียนแกดำอนุสรณ์
: โรงเรียนเอกชนเปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2 หลักสูตร ของกระทรวงศึกษาธิการ คือหลักสูตร ม.1 – ม.4 และหลักสูตร ม.ศ.1 – ม.ศ.3 ก่อตั้งปี พ.ศ. 2502 ครั้งแรกใช้อาคารเรียนในวัดดาวดึงษ์แกดำ โดยมีหลวงปู่นวน เป็นเจ้าอาวาส มีนายไล คำชนะ เป็นครูใหญ่คนแรก นายทองปักษ์ เพียงเกษ เป็นผู้จัดการโรงเรียน
* (นายทองปักษ์ เพียงเกษ เป็นคุณพ่อของ นายอดิศร เพียงเกษ ส.ส. จังหวัดขอนแก่นหลายสมัย)
ปี 2509 ย้ายโรงเรียนไปตั้งที่ฝั่งบ้านหัวขัว ใกล้ ๆ กับทางลงสะพาน อยู่ต่อมาได้มอบหมายให้คุณพ่อ
ครูกรณ์ อนุอัน เป็นผู้ดูแลเนื่องจากนายทองปักษ์ เพียงเกษ จะต้องไปเป็นผู้จัดการโรงเรียนอีกแห่งที่บ้านขามเฒ่า
อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม และเนื่องด้วยนายทองปักษ์ เป็นลูกหลานของคุณพ่อครูกรณ์ อนุอัน
คุณพ่อครูกรณ์ อนุอัน ได้ดูแลโรงเรียนมาตั้งแต่นั้น จนถึงการยุบโรงเรียน และเป็นผู้ดูแลการซ่อมแซมบำรุงสะพานเรื่อยมา ถึงแม้โรงเรียนจะยุบแล้ว ก็เป็นผู้นำชาวบ้านดูแลปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง จนท่านเสียชีวิต
ช่วงประมาณปี 2523 – 2524 มีการยุบโรงเรียนแกดำอนุสรณ์ เพื่อถ่ายโอนให้กับโรงเรียนเอกชนใกล้เคียง และโรงเรียนแกดำวิทยาคาร...
ชื่อโรงเรียนราษฎร์ของคุณพ่อครูกรณ์ อนุอัน มีหลายชื่อ ได้แก่
1. โรงเรียนแกดำอนุสรณ์
2. โรงเรียนปิตุภูมิ
3. โรงเรียนแกดำอนุสรณ์ (กลับมาใช้ชื่อเดิมอีกครั้ง)
4. โรงเรียนแกดำบูรณศึกษา
คุณครูธีระยุทธ ศรีนนท์ โรงเรียนมิตรภาพ รวบรวม / จัดพิมพ์ข้อมูลเพิ่มเติม ปี 2558
ขอกราบขอบพระคุณ ...หลวงตาอำนวย แก้วบรรจักษ์ ..อ.สุวรรณี เทพประภากรณ์..อ.มะลิวัลย์ โยธะคง...
คุณพ่อถวิล โพธิ์ละเดา... คุณลุงสุวิทย์ ทิพพิชัย ... ให้ข้อมูลเพิ่มเติม
มาดูรูปกัน ^^
สะพานไม้นี้พึ่งมีคนรู้จักพึ่ง 2-3 เดือนนี้เอง ตอนเย็นๆ จะ มีนักท่องเที่ยวหรือนักเรียน มาเเทบจะทุกวัน
ปลายฝนต้นหนาวจะอากาศเย็นสบายมาเลย ครับ มาตอนเช้าจะมีหมอก ตรงสะพาน
ก่อนหน้าที่จะมี ผักตบชวาเป็นจำนวนมากตามภาพ
แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มาดำเนินการเอาออกเป็นที่เรียบร้อยแล้ววววว
การเป็นอยู่ ที่นี้เป็นบ้านๆ อยู่
หากินตามวิถี
เครดิตตามภาพเลยนะครับ
เครดิตตามภาพเลยนะครับ
ทั้งนี้ยังมีบุญตามประเพณีอิสาน บุญเดือนหก หรือ บุญบั้งไฟ นั้นเอง
ฝ่ายจราจร
แนวสวยงามเราก็มี
ยังมีที่ท้องเที่ยว อีก อาทิ อุโบสถเรือแห่งแรกของไทย
ยังไงก็ฝากบอกบุญท่านที่สนใจด้วยเลยนะครับ
ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.youtube.com/watch?v=xyUFWhueA-Y&feature=youtu.be
18+ แนวบ้านๆ จริง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เคดิตตามภาพเลยนะครับ
มาดูงานลอยกระทงบ้างที่ผ่านมา บรรยากาศมันได้ ^^ ภาพจากคุณ Mongkolrit Maneelert
เจ้าตูบก็มา
เดี่ยวท่าคิดอะไรออกหรือมีภาพสวยๆ จะมาลงให้ดูใหม่ ครับ ขอบคุณที่เข้ามาดู
สงสัยหรืออยากจะดูภาพสวยๆ เพิ่มเติ่ม https://www.facebook.com/KaeDam/