สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 5
cr. ลำเพา เพ่งวรรณ
ที่มา [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
“แม้ว่าเลือดของดิฉันไม่เข้มเหมือนเลือดสีน้ำเงินของพวกสว่างวงศ์ แต่พินิตนันทน์ของดิฉันก็ไม่ต่ำกว่าใครๆ เคยทำแต่คุณงามความดี ไม่เคยมีชื่อว่าเบียดเบียนและทารุณใครๆ”
ถ้อยคำตอบโต้“พวกเลือดสีน้ำเงิน” พรั่งพรูออกมาจากปากของเด็กสาว ผู้หยิ่งทะนงในศักดิ์ศรีของตนเอง ถ้อยคำที่เผ็ดร้อนเหล่านี้เธอมักใช้ตอบโต้คนที่หมิ่นเกียรติหมิ่นศักดิ์ศรีและหยามหยันไปถึงบุพการีของเธอ ช่วยทำให้คนไทยจดจำนางเอกคนนี้ไว้ในใจตลอดกาล
พจมาน สว่างวงศ์ นางเอกจากเรื่องบ้านทรายทอง ของ ก.สุรางคนางค์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ผู้ประพันธ์บรรจงวาดให้ ‘พจมาน’ โลดแล่นอยู่ในห้วงแห่งความทรงจำของคนไทยทั้งประเทศมากว่าครึ่งศตวรรษ นับตั้งแต่พุทธศักราช 2493 จนบัดนี้นวนิยายเรื่องบ้านทรายทองได้รับการตีพิมพ์หลายครั้ง มีการนำไปดัดแปลงเป็นบทภาพยนตร์และบทละครโทรทัศน์ ตลอดจนบทละครเวทีอยู่เนืองๆ ย่อมเป็นประจักษ์พยานว่าแม้เวลาจะล่วงเลยไปนานเท่าใดก็ตาม นวนิยายเรื่องนี้และพจมานผู้เป็นนางเอกของเรื่อง ยังอยู่ในความทรงจำของคนไทยเสมอมา
ภาพของเด็กสาวถักผมเปีย เชี่อมั่นในตัวเอง กล้าต่อปากต่อคำชนิดไม่ยอมก้มหัวให้ใครง่ายๆ มิใช่เป็นเพียงนางเอกเจ้าน้ำตาผู้ศิโรราบต่อชะตากรรม เกิดมามีชีวิตเพื่อผู้อื่น หรือดำเนินชีวิตไปตามที่ผู้อื่นขีดเส้นให้เป็น ดังเช่นนางเอกในนวนิยายพาฝันหรือในภาพยนตร์ไทยหลายต่อหลายเรื่อง ภาพของพจมาน จึงเป็นภาพของนางเอกที่แปลกไปจากความรับรู้ของคนไทย แม้ความจริงในวรรณคดีบางเรื่องก็มีนางเอกเป็นคนเก่งกล้าสามารถเกินบุรุษเพศ เช่น เรื่องแก้วหน้าม้า ซี่งได้รับความนิยมมาก่อนหน้าพจมาน แต่ในความรับรู้ของคนไทยแล้ว วรรณคดีหรือนิทานเป็นเรื่อง “ประโลมโลกย์” ที่นำไปแสดงลิเกหรือละคร มิใช่เรื่องจริงที่จับต้องได้หรือเทียบเคียงกับยุคสมัยได้ ดังเรื่องราวของตัวละครที่ปรากฏในนวนิยาย พจมานจึงเป็นนางเอกที่มีบุคลิกใหม่ น่าสนใจของโลกวรรณกรรมของไทย
จะว่าไปแล้ว เนื้อเรื่องของบ้านทรายทองก็คล้ายกับนวนิยาย“น้ำเน่า”ทั่วไป มีเนื้อหาวนเวียนอยู่กับการแย่งชิงมรดก ซึ่งก็คือการแย่งชิง“บ้านทรายทอง” ถ้าเป็นเพียงเท่านี้ บ้านทรายทองก็คงมิได้เป็นอมตะผ่านกาลเวลามาได้นานถึงเพียงนี้ ที่เป็เช่นนี้เพราะว่าบ้านทรายทองได้ซ่อน“นัย”บางประการไว้ และนัยที่ซ่อนอยู่น่าจะมีความสอดคล้องกับความปรารถนาของคนไทยในบางแง่มุมก็ได้
พจมานเป็นบุตรีของพนาหรือคุณพระดุลยธรรมพินิต พนาถือว่าพจมานเป็น”ลูกคู่ทุกข์คู่ยาก” เพราะหอบหิ้วผจญภัยมาด้วยกัน นับตั้งแต่พนาตัดสินใจพาลูกเมียออกจากบ้านทรายทองมาใช้ชีวิตอย่างสงบในฐานะข้าหลวงต่างจังหวัด ทิ้งสังคมเมืองหลวงที่มีแต่ความฟุ้งเฟ้อหรูหราไว้เบื้องหลัง พนาได้บันทึกเรื่องราวต่างๆไว้ใน“สมุดปกสีน้ำเงิน” เขาปลูกฝังและถ่ายทอดทุกสิ่งทุกอย่างให้แก่ลูกสาว พจมานจึง“เป็นตัวแทนของคุณพระ” ทั้งนิสัยใจคอและท่าทาง “ราวกับถอดออกมาจากพิมพ์เดียวกัน” พจมานเป็นหญิงสาวที่มีความงามเยี่ยงหญิงสาวทั่วไป แต่เธอก็มีความแตกต่างจากหญิงสาววัยเดียวกัน ดังที่คุณหลวงเวช นายแพทย์ประจำครอบครัวของพนากล่าวไว้ว่าพจมานเป็นหญิงสาวที่งดงาม แต่เป็นความงาม “อย่างกล้าและประหลาด”
คำว่า“งามอย่างกล้าและประหลาด” จึงย่อมผิดแผกจากนางเอกทั่วไปที่อ่อนหวาน เป็นกุลสตรี น่าทะนุถนอม ทว่าพจมานเป็นนางเอกที่ไม่กลัวคน ปากกล้า เชื่อมั่นในตัวเอง มีบุคลิกแบบ “แข็งนอกอ่อนใน” กล่าวคือเมื่อยู่ต่อหน้าคนอื่น เธอจะกล้าต่อปากต่อคำ ใช้วาจาเผ็ดร้อน ไม่ยอมคน แต่ลับหลังผู้คนแล้ว พจมานก็จะทำให้ผู้อ่านสงสารเธอ ซึมซับไปกับความทุกข์ที่เธอได้รับ และพร้อมจะหลั่งน้ำตาให้ด้วยความสงสาร พ่อของเธอสอนไว้ว่า“น้ำตาเป็นเครื่องหมายของความอ่อนแอ ผู้มีเลือดอันทะนง ย่อมไม่ยอมเสียน้ำตาโดยไร้ประโยชน์” พจมานจึงไม่ร้องไห้ให้ใครเห็น และนี่เองที่เป็นที่มาของบุคลิกแบบแข็งนอกอ่อนในของพจมาน
ชีวิตของพจมาน เริ่มต้นเหมือนนางเอกผู้ทุกข์ยากทั่วไป พ่อตาย แม่ต้องกู้หนี้ยืมสินคนอื่นมาทำศพ เป็นสภาพ“อนาถา” ชวนสังเวชใจ มีเพียงคำสั่งของพ่อที่ได้ “กรุยทางชีวิตไว้โดยเรียบร้อยแล้ว” นั่นคือต้องไปอาศัยหม่อมพรรณรา ผู้เป็นญาติในบ้านทรายทอง คำสั่งของพ่อเป็นดั่งหมุดหมายชีวิตที่พจมานจะต้องทำให้สำเร็จตามที่พ่อได้สั่งเสียไว้ในสมุดปกสีน้ำเงินเล่มเก่าคร่ำคร่านั้น
โครงเรื่องของบ้านทรายทอง จึงไม่ต่างจากโครงเรื่องของนิทานจักรๆวงศ์ๆในอดีต ตัวละครเอกมีเหตุต้องพลัดพรากออกจากเมือง ผจญชะตากรรมอย่างโดดเดี่ยวในป่า ต่างจากบ้านทรายทองตรงที่พจมานต้องผจญชีวิตอยู่ในบ้านทรายทอง คฤหาสน์เก่าแก่ใหญ่โตซึ่งซ่อนความน่ากลัวไว้ทุกตารางนิ้ว อาจกล่าวได้ว่าบ้านทรายทองวางอยู่บนโครงเรื่องที่ไม่ได้ห่างไกลจากความรับรู้ของผู้อ่านไทยที่คุ้นชินกับนิทานจักรๆวงศ์ๆ อยู่แล้ว
บ้านทรายทอง มีอาณาเขตกว้างขวางถึง 27 ไร่เศษ ตัวคฤหาสน์เก่าแก่ ซ่อนตัวอยู่หลังร่มเงาไม้ใหญ่ หากมิได้สวยงามดั่งคฤหาสน์ในความรับรู้ของคนทั่วไป ผู้ประพันธ์ได้ฉายให้เห็นว่าในบ้านทรายทองสกปรก น่ารังเกียจ ชวนชิงชัง หดหู่ น่ากลัว ที่สำคัญคือในคฤหาสน์หลังนี้ได้บรรจุชีวิตของ “คนทุกข์” ไว้มากมาย เป็นคนทุกข์ที่ใส่หน้ากากให้สังคมเห็นว่ามีความสมบูรณ์พูนสุข เป็นชีวิตที่หวานอมขมกลืน ทุกชีวิตในบ้านทรายทองล้วนเป็นคนผิดปกติหรือมีความพร่องในทางใดทางหนึ่ง เช่น หญิงใหญ่ที่เป็นคนคุ้มดีคุ้มร้าย หม่อมพรรณรายกับหญิงเล็กที่ดำเนินชีวิตโดยใช้ตัวเองเป็น “ต้นทุน” ปีนป่ายไปสู่ชีวิตที่ดีกว่า ทั้งสองสะสมความริษยาชิงชังไว้จนร้อนรุ่ม ไร้ความสุขและนำไปสู่ความล้มเหลวในทุกเรื่อง ชายน้อยที่พิการน่าสงสาร พระยาราชาพิพิธ ผู้เป็นประมุขของบ้าน และถือครองกรรมสิทธิ์บ้านทรายทองก็นอนเจ็บเจียนตายชราภาพไร้สติ ซ้ำร้ายที่ตึกขวางของบ้านทรายทองก็เป็นสถานที่เก็บศพของภรรยาท่านเจ้าคุณฯ แม้เสียชีวิตไปนานแล้ว ก็ยังเก็บศพไว้เพื่อรอพระยาราชาพิพิธซึ่งเจ็บอยู่ โดยมีหญิงรับใช้เป็นใบ้ คอยเซ่นไหว้ตามเวลาที่กำหนด ผู้ประพันธ์จงใจที่จะส่ง “สาร” มายังผู้อ่านว่าผู้ที่มีฐานะและสถานภาพทางสังคมสูง มิได้หมายความว่าจะมีความสุขเสมอไป
บุคคลที่มีความพร่องในบ้านทรายทองเหล่านี้ได้นำความทุกข์ ความทรมานทั้งทางกายและใจมาสู่พจมาน ดังที่เสาวรัจ เพื่อนสนิทของพจมานเปรียบเปรยไว้ว่า พจมานมีชีวิตอยู่ท่ามกลางฝูงหมาที่ดุร้ายคอยรุมกัด รุมทึ้งพจมานตลอดเวลา แต่ไม่ว่าจะทุกข์ยากเพียงใด พจมานก็ยึดมั่นในความอดทนดังที่พ่อเคยสอนไว้ ผู้อ่านจึงเห็นภาพของพจมานที่ต้องทำงานบ้านสารพัด ที่อยู่ที่กินก็ลำบาก ต้องนอนเรือนคนใช้กับแม่นมและชายน้อย ใช้ห้องน้ำห้องเดียวกับ“นาย”บนตึกใหญ่ ก็ถูกดุว่าเสียๆหายๆ แม้ในยามเจ็บป่วย เธอก็ถูกทอดทิ้งไว้เดียวดาย ไร้คนเหลียวแล จนกระทั่งชายกลางกลับมาจากเมืองนอก เขาจึงทำหน้าที่ “ดูแล” เธอในฐานะ ”ผู้ปกครอง” ซึ่งต่อมาพจมานได้ยึดเขาเป็นหลักใจ
ทันทีที่พจมานเข้ามาอยู่ในบ้านทรายทอง หม่อมพรรณรายกับหญิงเล็กก็ตั้งตัวเป็นศัตรูและหาทางกลั่นแกล้งสารพัด ด้วยรู้ว่าพจมานคือเจ้าของบ้านทรายทองที่ถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งสองร่วมมือกันทำทุกวิถีทางเพื่อยึดบ้านทรายทองมาเป็นของตน ให้บ้านทรายทองเป็นสัญลักษณ์ของฐานะชนชั้นสูง สืบเชื้อสายมาจากราชนิกูล บ้านทรายทองช่วยยืนยันถึงความเก่าแก่ตกทอดมาแต่บรรพบุรุษ การได้ครอบครองบ้านทรายทองจึงเท่ากับการประกาศต่อสังคมว่าตนเองยังคงรักษาสถานะของความเป็น“เจ้า”ไว้ได้ หาได้ตกต่ำลงเช่นเชื้อพระวงศ์อื่นๆ ที่ตกต่ำลงภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พุทธศักราช 2475
ความซับซ้อนเบื้องหลังความรักต่างวัยของชายกลางกับพจมาน คือความขัดแย้งระหว่างตระกูล “สว่างวงศ์” กับพวกตระกูล “พินิตนันทน์” คุณปู่สุรพลถูกขับออกจากกองมรดก ทั้งๆที่ตนเองเป็นเจ้าของบ้านทรายทองที่แท้จริง ด้วยข้อหาว่าคุณปู่สุรพลเป็นคนเกกมะเหรกเกเร ไม่สามารถรักษาสมบัติของวงศ์ตระกูลไว้ได้ แต่ข้อหาที่ร้ายแรงที่สุดก็คือการที่ปู่สุรพลได้หญิงสามัญ ไร้วงศ์สกุลและฐานะเงินทอง ตลอดจนการศึกษามาเป็นภรรยา จึงกลายเป็นคนนอกคอกในสายตาพวกเจ้าด้วยกัน เป็นความน่ารังเกียจที่สุดที่“เจ้า” ได้ “ไพร่” เป็นภรรยา เพราะเลือดสีน้ำเงินเข้มข้นย่อมทะนงตนไม่ยอมให้เลือดสีอื่นมาปะปนได้ คำกล่าวหาดังกล่าวทำให้สุรพลยอมเปิดทางให้พวก_สว่างวงศ์ ซึ่งเป็นญาติลูกพี่ลูกน้องได้ครอบครองบ้านทรายทอง ความลับข้อนี้มีเพียงพระยาราชาพิพิธ ผู้ใหญ่ฝ่ายสว่างวงศ์เท่านั้นที่รู้อยู่เต็มอกว่าบ้านทรายทองเป็นกรรมสิทธิ์ของพวกพินิตนันทน์ ในเวลาต่อมาพนาลูกชายของสุรพลก็เจริญรอยตามบิดา เขาได้หญิงสามัญไร้การศึกษา ฐานะวงศ์ตระกูลต่ำต้อยมาเป็นภรรยา ซึ่งต่อมาแม้จะมีพจมานแล้ว ก็ยังถูกรังเกียจ แม้ว่าระหว่างที่แม่ของพจมานอาศัยอยู่ในบ้านทรายทองก็ช่วยทำหน้าที่สารพัด โดยเฉพาะการรักษาพยาบาล “คุณยาย” ของชายกลางจนกระทั่งวาระสุดท้าย แต่แม่ของพจมานก็ถูกกลั่นแกล้งดูแคลนสารพัด ในที่สุดพนาก็มิอาจทนดูภรรยาของตนถูกดูหมิ่นเหยียดหยามได้ เขาจึงพาภรรยาและลูกออกไปจากบ้านทรายทอง ยึดอาชีพรับราชการเป็นข้าหลวงอยู่หัวเมือง
สว่างวงศ์ครอบครองบ้านทรายทองด้วยความระแวงว่าวันหนึ่งลูกของพนาแห่งพินิตนันทน์จะมาทวงบ้านทรายทองคืน ดังนั้นเมื่อพจมานได้พำนักในบ้านทรายทองระหว่างเรียนหนังสือตามความต้องการของพ่อ สว่างวงศ์จึงมองว่าพจมานคือตัวแทนของพินิตนันทน์ที่ย้อนกลับมาทวงสมบัติคืน แม้พจมานจะประกาศกับทุกคนว่าเธอไม่ต้องการสมบัติใดๆในบ้านทรายทอง แต่มาที่นี่เพื่อให้เป็นไปตามเจตนาของพ่อก่อนตายก็ตาม
ก.สุรางคนางค์ ผู้ประพันธ์ได้ฉายภาพของ “ผู้ดี” ในสมัยนั้นว่ามีพฤติกรรมไร้สาระน่ารังเกียจ ถือตัวว่ามีเลือดสีน้ำเงินอยู่เต็มเปี่ยม จึงใช้ชีวิตโดยไม่คำนึงถึงความผิดชอบชั่วดี หน้าไหว้หลังหลอก ใส่หน้ากากเข้าหากัน ฟุ้งเฟ้อ โกหกหลอกลวงอย่างไร้ยางอาย รวมถึงพยายาม “จับผู้ชาย” เพื่อใช้เป็นบันไดไปสู่การเข้าสมาคมเป็นคนชั้นสูงในสังคม ซึ่งตรงข้ามกับพจมานในทุกด้าน พจมานเป็นคนหยิ่งทะนงในตัวเอง กล้าพูด กล้าทำ เชื่อมั่นในสิ่งถูกต้อง โอบอ้อมอารี เห็นอกเห็นใจผู้ทุกข์ยาก เธอปฏิบัติตามที่พ่อเขียนไว้ใน “สมุดปกสีน้ำเงิน” ทุกประการ คำว่า “สมุดปกสีน้ำเงิน” จึงมีนัยถึงกรอบปฏิบัติที่ผู้ดีควรเป็นและควรทำที่ถูกต้อง มิใช่ผู้ดีแต่เพียงเปลือกเช่นที่หม่อมพรรณราย หญิงเล็ก และตัวละครผู้ดีอื่นๆประพฤติปฏิบัติกัน
บางทีความทะนงในบางเรื่อง ก็สะท้อนถึงความเปราะบางในเรื่องนั้นได้เช่นกัน ดังเช่นพจมานทะนงตนในสายเลือด “เจ้าแกมไพร่” ของตน ซึ่งในทางหนึ่งก็คือไม่ต้องการให้ใครหมิ่นแคลนตนเองในเรื่องดังกล่าว ดูเหมือนหม่อมพรรณราย หญิงใหญ่และหญิงเล็ก จะรู้ถึงความเปราะบางในข้อนี้ ทั้งสามจึงมักใช้วาจากล่าวกระทบถึงกำพืดของพจมานเสมอๆ คำด่าที่หม่อมพรรณรายใช้ด่าพจมาน จึงวนเวียนอยู่แต่ถ้อยคำว่า “ไพร่ไม่ผิดแม่มันเลย” “อีเลือดไพร่” “ อีไพร่ไร้สกุล” “อีไพร่สารเลว” ฯลฯ คำด่าเจ็บแสบเหล่านี้ทำให้พจมาน “เจ็บ” และเป็นเรื่องเดียวที่เธอไม่ยอมทน เธอจึงตอบโต้ทุกครั้งที่มีโอกาส ดังที่เธอย้อนหม่อมพรรณรายต่อหน้าแขกเหรื่อเครือญาติว่า “ดิฉันไม่ชอบให้ใครมาเหยียดหยามมารดาของดิฉัน บ้านทรายทองถือดีว่าเป็นพวกผู้ดีมีสกุลทุกๆคน แต่ดิฉันไม่เข้าใจว่าเหตุใดพวกที่เรียกตัวเองว่าผู้ดี จึงดูหมิ่นคนได้ง่ายๆ คุณแม่ของดิฉันไม่เคยทำความเดือดร้อนให้ใคร” และ “คุณพ่อต้องการให้ดิฉันรู้จักชีวิตของพวกผู้ดีมีสกุลว่าเป็นอย่างไร เดี๋ยวนี้ดิฉันรู้แล้ว จิตใจของพวกที่ยกตัวว่าเป็นผู้ดีน่ะ บางคนโหดเหี้ยมทารุณเหลือขนาด เหลือที่จะทนได้ ชอบพูดมุสาปิดบังความชั่วของตัวเอง แม่ดิฉัน ใครๆว่าเป็นคนต่ำ แต่ก็ยังมีจิตใจบริสุทธิ์สะอาดกว่าพวกผู้ดียิ่งนัก ไม่เคยทำร้ายคนด้วยวาจา”
พจมานจึงเป็นตัวละครที่เป็นตัวแทนของผู้อ่านซึ่งส่วนใหญ่มิได้เป็นชนชั้นสูงเหมือนพวกหม่อมพรรณราย เพื่อประกาศให้เห็นว่าแม้จะมิได้มีเลือดสีน้ำเงินเช่นผู้ดีทั้งหลาย แต่ก็คงคุณความดีและหยิ่งทะนงในศักดิ์ศรีของมนุษย์ ดังนั้นชัยชนะของพจมานที่ได้พิสูจน์ว่าปู่สุรพลมิใช่คนเกกมะเหรกเกเรแต่เป็นคนที่เปี่ยมไปด้วยเมตตา ตลอดจนได้ได้ครอบครองบ้านท
cr. ลำเพา เพ่งวรรณ
ที่มา [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
“แม้ว่าเลือดของดิฉันไม่เข้มเหมือนเลือดสีน้ำเงินของพวกสว่างวงศ์ แต่พินิตนันทน์ของดิฉันก็ไม่ต่ำกว่าใครๆ เคยทำแต่คุณงามความดี ไม่เคยมีชื่อว่าเบียดเบียนและทารุณใครๆ”
ถ้อยคำตอบโต้“พวกเลือดสีน้ำเงิน” พรั่งพรูออกมาจากปากของเด็กสาว ผู้หยิ่งทะนงในศักดิ์ศรีของตนเอง ถ้อยคำที่เผ็ดร้อนเหล่านี้เธอมักใช้ตอบโต้คนที่หมิ่นเกียรติหมิ่นศักดิ์ศรีและหยามหยันไปถึงบุพการีของเธอ ช่วยทำให้คนไทยจดจำนางเอกคนนี้ไว้ในใจตลอดกาล
พจมาน สว่างวงศ์ นางเอกจากเรื่องบ้านทรายทอง ของ ก.สุรางคนางค์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ผู้ประพันธ์บรรจงวาดให้ ‘พจมาน’ โลดแล่นอยู่ในห้วงแห่งความทรงจำของคนไทยทั้งประเทศมากว่าครึ่งศตวรรษ นับตั้งแต่พุทธศักราช 2493 จนบัดนี้นวนิยายเรื่องบ้านทรายทองได้รับการตีพิมพ์หลายครั้ง มีการนำไปดัดแปลงเป็นบทภาพยนตร์และบทละครโทรทัศน์ ตลอดจนบทละครเวทีอยู่เนืองๆ ย่อมเป็นประจักษ์พยานว่าแม้เวลาจะล่วงเลยไปนานเท่าใดก็ตาม นวนิยายเรื่องนี้และพจมานผู้เป็นนางเอกของเรื่อง ยังอยู่ในความทรงจำของคนไทยเสมอมา
ภาพของเด็กสาวถักผมเปีย เชี่อมั่นในตัวเอง กล้าต่อปากต่อคำชนิดไม่ยอมก้มหัวให้ใครง่ายๆ มิใช่เป็นเพียงนางเอกเจ้าน้ำตาผู้ศิโรราบต่อชะตากรรม เกิดมามีชีวิตเพื่อผู้อื่น หรือดำเนินชีวิตไปตามที่ผู้อื่นขีดเส้นให้เป็น ดังเช่นนางเอกในนวนิยายพาฝันหรือในภาพยนตร์ไทยหลายต่อหลายเรื่อง ภาพของพจมาน จึงเป็นภาพของนางเอกที่แปลกไปจากความรับรู้ของคนไทย แม้ความจริงในวรรณคดีบางเรื่องก็มีนางเอกเป็นคนเก่งกล้าสามารถเกินบุรุษเพศ เช่น เรื่องแก้วหน้าม้า ซี่งได้รับความนิยมมาก่อนหน้าพจมาน แต่ในความรับรู้ของคนไทยแล้ว วรรณคดีหรือนิทานเป็นเรื่อง “ประโลมโลกย์” ที่นำไปแสดงลิเกหรือละคร มิใช่เรื่องจริงที่จับต้องได้หรือเทียบเคียงกับยุคสมัยได้ ดังเรื่องราวของตัวละครที่ปรากฏในนวนิยาย พจมานจึงเป็นนางเอกที่มีบุคลิกใหม่ น่าสนใจของโลกวรรณกรรมของไทย
จะว่าไปแล้ว เนื้อเรื่องของบ้านทรายทองก็คล้ายกับนวนิยาย“น้ำเน่า”ทั่วไป มีเนื้อหาวนเวียนอยู่กับการแย่งชิงมรดก ซึ่งก็คือการแย่งชิง“บ้านทรายทอง” ถ้าเป็นเพียงเท่านี้ บ้านทรายทองก็คงมิได้เป็นอมตะผ่านกาลเวลามาได้นานถึงเพียงนี้ ที่เป็เช่นนี้เพราะว่าบ้านทรายทองได้ซ่อน“นัย”บางประการไว้ และนัยที่ซ่อนอยู่น่าจะมีความสอดคล้องกับความปรารถนาของคนไทยในบางแง่มุมก็ได้
พจมานเป็นบุตรีของพนาหรือคุณพระดุลยธรรมพินิต พนาถือว่าพจมานเป็น”ลูกคู่ทุกข์คู่ยาก” เพราะหอบหิ้วผจญภัยมาด้วยกัน นับตั้งแต่พนาตัดสินใจพาลูกเมียออกจากบ้านทรายทองมาใช้ชีวิตอย่างสงบในฐานะข้าหลวงต่างจังหวัด ทิ้งสังคมเมืองหลวงที่มีแต่ความฟุ้งเฟ้อหรูหราไว้เบื้องหลัง พนาได้บันทึกเรื่องราวต่างๆไว้ใน“สมุดปกสีน้ำเงิน” เขาปลูกฝังและถ่ายทอดทุกสิ่งทุกอย่างให้แก่ลูกสาว พจมานจึง“เป็นตัวแทนของคุณพระ” ทั้งนิสัยใจคอและท่าทาง “ราวกับถอดออกมาจากพิมพ์เดียวกัน” พจมานเป็นหญิงสาวที่มีความงามเยี่ยงหญิงสาวทั่วไป แต่เธอก็มีความแตกต่างจากหญิงสาววัยเดียวกัน ดังที่คุณหลวงเวช นายแพทย์ประจำครอบครัวของพนากล่าวไว้ว่าพจมานเป็นหญิงสาวที่งดงาม แต่เป็นความงาม “อย่างกล้าและประหลาด”
คำว่า“งามอย่างกล้าและประหลาด” จึงย่อมผิดแผกจากนางเอกทั่วไปที่อ่อนหวาน เป็นกุลสตรี น่าทะนุถนอม ทว่าพจมานเป็นนางเอกที่ไม่กลัวคน ปากกล้า เชื่อมั่นในตัวเอง มีบุคลิกแบบ “แข็งนอกอ่อนใน” กล่าวคือเมื่อยู่ต่อหน้าคนอื่น เธอจะกล้าต่อปากต่อคำ ใช้วาจาเผ็ดร้อน ไม่ยอมคน แต่ลับหลังผู้คนแล้ว พจมานก็จะทำให้ผู้อ่านสงสารเธอ ซึมซับไปกับความทุกข์ที่เธอได้รับ และพร้อมจะหลั่งน้ำตาให้ด้วยความสงสาร พ่อของเธอสอนไว้ว่า“น้ำตาเป็นเครื่องหมายของความอ่อนแอ ผู้มีเลือดอันทะนง ย่อมไม่ยอมเสียน้ำตาโดยไร้ประโยชน์” พจมานจึงไม่ร้องไห้ให้ใครเห็น และนี่เองที่เป็นที่มาของบุคลิกแบบแข็งนอกอ่อนในของพจมาน
ชีวิตของพจมาน เริ่มต้นเหมือนนางเอกผู้ทุกข์ยากทั่วไป พ่อตาย แม่ต้องกู้หนี้ยืมสินคนอื่นมาทำศพ เป็นสภาพ“อนาถา” ชวนสังเวชใจ มีเพียงคำสั่งของพ่อที่ได้ “กรุยทางชีวิตไว้โดยเรียบร้อยแล้ว” นั่นคือต้องไปอาศัยหม่อมพรรณรา ผู้เป็นญาติในบ้านทรายทอง คำสั่งของพ่อเป็นดั่งหมุดหมายชีวิตที่พจมานจะต้องทำให้สำเร็จตามที่พ่อได้สั่งเสียไว้ในสมุดปกสีน้ำเงินเล่มเก่าคร่ำคร่านั้น
โครงเรื่องของบ้านทรายทอง จึงไม่ต่างจากโครงเรื่องของนิทานจักรๆวงศ์ๆในอดีต ตัวละครเอกมีเหตุต้องพลัดพรากออกจากเมือง ผจญชะตากรรมอย่างโดดเดี่ยวในป่า ต่างจากบ้านทรายทองตรงที่พจมานต้องผจญชีวิตอยู่ในบ้านทรายทอง คฤหาสน์เก่าแก่ใหญ่โตซึ่งซ่อนความน่ากลัวไว้ทุกตารางนิ้ว อาจกล่าวได้ว่าบ้านทรายทองวางอยู่บนโครงเรื่องที่ไม่ได้ห่างไกลจากความรับรู้ของผู้อ่านไทยที่คุ้นชินกับนิทานจักรๆวงศ์ๆ อยู่แล้ว
บ้านทรายทอง มีอาณาเขตกว้างขวางถึง 27 ไร่เศษ ตัวคฤหาสน์เก่าแก่ ซ่อนตัวอยู่หลังร่มเงาไม้ใหญ่ หากมิได้สวยงามดั่งคฤหาสน์ในความรับรู้ของคนทั่วไป ผู้ประพันธ์ได้ฉายให้เห็นว่าในบ้านทรายทองสกปรก น่ารังเกียจ ชวนชิงชัง หดหู่ น่ากลัว ที่สำคัญคือในคฤหาสน์หลังนี้ได้บรรจุชีวิตของ “คนทุกข์” ไว้มากมาย เป็นคนทุกข์ที่ใส่หน้ากากให้สังคมเห็นว่ามีความสมบูรณ์พูนสุข เป็นชีวิตที่หวานอมขมกลืน ทุกชีวิตในบ้านทรายทองล้วนเป็นคนผิดปกติหรือมีความพร่องในทางใดทางหนึ่ง เช่น หญิงใหญ่ที่เป็นคนคุ้มดีคุ้มร้าย หม่อมพรรณรายกับหญิงเล็กที่ดำเนินชีวิตโดยใช้ตัวเองเป็น “ต้นทุน” ปีนป่ายไปสู่ชีวิตที่ดีกว่า ทั้งสองสะสมความริษยาชิงชังไว้จนร้อนรุ่ม ไร้ความสุขและนำไปสู่ความล้มเหลวในทุกเรื่อง ชายน้อยที่พิการน่าสงสาร พระยาราชาพิพิธ ผู้เป็นประมุขของบ้าน และถือครองกรรมสิทธิ์บ้านทรายทองก็นอนเจ็บเจียนตายชราภาพไร้สติ ซ้ำร้ายที่ตึกขวางของบ้านทรายทองก็เป็นสถานที่เก็บศพของภรรยาท่านเจ้าคุณฯ แม้เสียชีวิตไปนานแล้ว ก็ยังเก็บศพไว้เพื่อรอพระยาราชาพิพิธซึ่งเจ็บอยู่ โดยมีหญิงรับใช้เป็นใบ้ คอยเซ่นไหว้ตามเวลาที่กำหนด ผู้ประพันธ์จงใจที่จะส่ง “สาร” มายังผู้อ่านว่าผู้ที่มีฐานะและสถานภาพทางสังคมสูง มิได้หมายความว่าจะมีความสุขเสมอไป
บุคคลที่มีความพร่องในบ้านทรายทองเหล่านี้ได้นำความทุกข์ ความทรมานทั้งทางกายและใจมาสู่พจมาน ดังที่เสาวรัจ เพื่อนสนิทของพจมานเปรียบเปรยไว้ว่า พจมานมีชีวิตอยู่ท่ามกลางฝูงหมาที่ดุร้ายคอยรุมกัด รุมทึ้งพจมานตลอดเวลา แต่ไม่ว่าจะทุกข์ยากเพียงใด พจมานก็ยึดมั่นในความอดทนดังที่พ่อเคยสอนไว้ ผู้อ่านจึงเห็นภาพของพจมานที่ต้องทำงานบ้านสารพัด ที่อยู่ที่กินก็ลำบาก ต้องนอนเรือนคนใช้กับแม่นมและชายน้อย ใช้ห้องน้ำห้องเดียวกับ“นาย”บนตึกใหญ่ ก็ถูกดุว่าเสียๆหายๆ แม้ในยามเจ็บป่วย เธอก็ถูกทอดทิ้งไว้เดียวดาย ไร้คนเหลียวแล จนกระทั่งชายกลางกลับมาจากเมืองนอก เขาจึงทำหน้าที่ “ดูแล” เธอในฐานะ ”ผู้ปกครอง” ซึ่งต่อมาพจมานได้ยึดเขาเป็นหลักใจ
ทันทีที่พจมานเข้ามาอยู่ในบ้านทรายทอง หม่อมพรรณรายกับหญิงเล็กก็ตั้งตัวเป็นศัตรูและหาทางกลั่นแกล้งสารพัด ด้วยรู้ว่าพจมานคือเจ้าของบ้านทรายทองที่ถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งสองร่วมมือกันทำทุกวิถีทางเพื่อยึดบ้านทรายทองมาเป็นของตน ให้บ้านทรายทองเป็นสัญลักษณ์ของฐานะชนชั้นสูง สืบเชื้อสายมาจากราชนิกูล บ้านทรายทองช่วยยืนยันถึงความเก่าแก่ตกทอดมาแต่บรรพบุรุษ การได้ครอบครองบ้านทรายทองจึงเท่ากับการประกาศต่อสังคมว่าตนเองยังคงรักษาสถานะของความเป็น“เจ้า”ไว้ได้ หาได้ตกต่ำลงเช่นเชื้อพระวงศ์อื่นๆ ที่ตกต่ำลงภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พุทธศักราช 2475
ความซับซ้อนเบื้องหลังความรักต่างวัยของชายกลางกับพจมาน คือความขัดแย้งระหว่างตระกูล “สว่างวงศ์” กับพวกตระกูล “พินิตนันทน์” คุณปู่สุรพลถูกขับออกจากกองมรดก ทั้งๆที่ตนเองเป็นเจ้าของบ้านทรายทองที่แท้จริง ด้วยข้อหาว่าคุณปู่สุรพลเป็นคนเกกมะเหรกเกเร ไม่สามารถรักษาสมบัติของวงศ์ตระกูลไว้ได้ แต่ข้อหาที่ร้ายแรงที่สุดก็คือการที่ปู่สุรพลได้หญิงสามัญ ไร้วงศ์สกุลและฐานะเงินทอง ตลอดจนการศึกษามาเป็นภรรยา จึงกลายเป็นคนนอกคอกในสายตาพวกเจ้าด้วยกัน เป็นความน่ารังเกียจที่สุดที่“เจ้า” ได้ “ไพร่” เป็นภรรยา เพราะเลือดสีน้ำเงินเข้มข้นย่อมทะนงตนไม่ยอมให้เลือดสีอื่นมาปะปนได้ คำกล่าวหาดังกล่าวทำให้สุรพลยอมเปิดทางให้พวก_สว่างวงศ์ ซึ่งเป็นญาติลูกพี่ลูกน้องได้ครอบครองบ้านทรายทอง ความลับข้อนี้มีเพียงพระยาราชาพิพิธ ผู้ใหญ่ฝ่ายสว่างวงศ์เท่านั้นที่รู้อยู่เต็มอกว่าบ้านทรายทองเป็นกรรมสิทธิ์ของพวกพินิตนันทน์ ในเวลาต่อมาพนาลูกชายของสุรพลก็เจริญรอยตามบิดา เขาได้หญิงสามัญไร้การศึกษา ฐานะวงศ์ตระกูลต่ำต้อยมาเป็นภรรยา ซึ่งต่อมาแม้จะมีพจมานแล้ว ก็ยังถูกรังเกียจ แม้ว่าระหว่างที่แม่ของพจมานอาศัยอยู่ในบ้านทรายทองก็ช่วยทำหน้าที่สารพัด โดยเฉพาะการรักษาพยาบาล “คุณยาย” ของชายกลางจนกระทั่งวาระสุดท้าย แต่แม่ของพจมานก็ถูกกลั่นแกล้งดูแคลนสารพัด ในที่สุดพนาก็มิอาจทนดูภรรยาของตนถูกดูหมิ่นเหยียดหยามได้ เขาจึงพาภรรยาและลูกออกไปจากบ้านทรายทอง ยึดอาชีพรับราชการเป็นข้าหลวงอยู่หัวเมือง
สว่างวงศ์ครอบครองบ้านทรายทองด้วยความระแวงว่าวันหนึ่งลูกของพนาแห่งพินิตนันทน์จะมาทวงบ้านทรายทองคืน ดังนั้นเมื่อพจมานได้พำนักในบ้านทรายทองระหว่างเรียนหนังสือตามความต้องการของพ่อ สว่างวงศ์จึงมองว่าพจมานคือตัวแทนของพินิตนันทน์ที่ย้อนกลับมาทวงสมบัติคืน แม้พจมานจะประกาศกับทุกคนว่าเธอไม่ต้องการสมบัติใดๆในบ้านทรายทอง แต่มาที่นี่เพื่อให้เป็นไปตามเจตนาของพ่อก่อนตายก็ตาม
ก.สุรางคนางค์ ผู้ประพันธ์ได้ฉายภาพของ “ผู้ดี” ในสมัยนั้นว่ามีพฤติกรรมไร้สาระน่ารังเกียจ ถือตัวว่ามีเลือดสีน้ำเงินอยู่เต็มเปี่ยม จึงใช้ชีวิตโดยไม่คำนึงถึงความผิดชอบชั่วดี หน้าไหว้หลังหลอก ใส่หน้ากากเข้าหากัน ฟุ้งเฟ้อ โกหกหลอกลวงอย่างไร้ยางอาย รวมถึงพยายาม “จับผู้ชาย” เพื่อใช้เป็นบันไดไปสู่การเข้าสมาคมเป็นคนชั้นสูงในสังคม ซึ่งตรงข้ามกับพจมานในทุกด้าน พจมานเป็นคนหยิ่งทะนงในตัวเอง กล้าพูด กล้าทำ เชื่อมั่นในสิ่งถูกต้อง โอบอ้อมอารี เห็นอกเห็นใจผู้ทุกข์ยาก เธอปฏิบัติตามที่พ่อเขียนไว้ใน “สมุดปกสีน้ำเงิน” ทุกประการ คำว่า “สมุดปกสีน้ำเงิน” จึงมีนัยถึงกรอบปฏิบัติที่ผู้ดีควรเป็นและควรทำที่ถูกต้อง มิใช่ผู้ดีแต่เพียงเปลือกเช่นที่หม่อมพรรณราย หญิงเล็ก และตัวละครผู้ดีอื่นๆประพฤติปฏิบัติกัน
บางทีความทะนงในบางเรื่อง ก็สะท้อนถึงความเปราะบางในเรื่องนั้นได้เช่นกัน ดังเช่นพจมานทะนงตนในสายเลือด “เจ้าแกมไพร่” ของตน ซึ่งในทางหนึ่งก็คือไม่ต้องการให้ใครหมิ่นแคลนตนเองในเรื่องดังกล่าว ดูเหมือนหม่อมพรรณราย หญิงใหญ่และหญิงเล็ก จะรู้ถึงความเปราะบางในข้อนี้ ทั้งสามจึงมักใช้วาจากล่าวกระทบถึงกำพืดของพจมานเสมอๆ คำด่าที่หม่อมพรรณรายใช้ด่าพจมาน จึงวนเวียนอยู่แต่ถ้อยคำว่า “ไพร่ไม่ผิดแม่มันเลย” “อีเลือดไพร่” “ อีไพร่ไร้สกุล” “อีไพร่สารเลว” ฯลฯ คำด่าเจ็บแสบเหล่านี้ทำให้พจมาน “เจ็บ” และเป็นเรื่องเดียวที่เธอไม่ยอมทน เธอจึงตอบโต้ทุกครั้งที่มีโอกาส ดังที่เธอย้อนหม่อมพรรณรายต่อหน้าแขกเหรื่อเครือญาติว่า “ดิฉันไม่ชอบให้ใครมาเหยียดหยามมารดาของดิฉัน บ้านทรายทองถือดีว่าเป็นพวกผู้ดีมีสกุลทุกๆคน แต่ดิฉันไม่เข้าใจว่าเหตุใดพวกที่เรียกตัวเองว่าผู้ดี จึงดูหมิ่นคนได้ง่ายๆ คุณแม่ของดิฉันไม่เคยทำความเดือดร้อนให้ใคร” และ “คุณพ่อต้องการให้ดิฉันรู้จักชีวิตของพวกผู้ดีมีสกุลว่าเป็นอย่างไร เดี๋ยวนี้ดิฉันรู้แล้ว จิตใจของพวกที่ยกตัวว่าเป็นผู้ดีน่ะ บางคนโหดเหี้ยมทารุณเหลือขนาด เหลือที่จะทนได้ ชอบพูดมุสาปิดบังความชั่วของตัวเอง แม่ดิฉัน ใครๆว่าเป็นคนต่ำ แต่ก็ยังมีจิตใจบริสุทธิ์สะอาดกว่าพวกผู้ดียิ่งนัก ไม่เคยทำร้ายคนด้วยวาจา”
พจมานจึงเป็นตัวละครที่เป็นตัวแทนของผู้อ่านซึ่งส่วนใหญ่มิได้เป็นชนชั้นสูงเหมือนพวกหม่อมพรรณราย เพื่อประกาศให้เห็นว่าแม้จะมิได้มีเลือดสีน้ำเงินเช่นผู้ดีทั้งหลาย แต่ก็คงคุณความดีและหยิ่งทะนงในศักดิ์ศรีของมนุษย์ ดังนั้นชัยชนะของพจมานที่ได้พิสูจน์ว่าปู่สุรพลมิใช่คนเกกมะเหรกเกเรแต่เป็นคนที่เปี่ยมไปด้วยเมตตา ตลอดจนได้ได้ครอบครองบ้านท
แสดงความคิดเห็น
ใครเคยอ่านนิยาย บ้านทรายทอง ต้นตำรับ
เงียบๆไม่กล้าเถียง
เถียงแบบนิ่มๆ
เถียงฉอดๆๆๆ
มันหลายเวอร์ชั่น อยากรู้แบบนิยาย