สวัสดีค่ะ เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาเราได้พาพ่อกับแม่ไปเที่ยวประเทศเมียนมาร์หรือที่คนไทยคุ้นเคยเรียกว่าประเทศพม่ามา ก็เลยอยากจะมาแชร์ประสบการณ์การไปเที่ยวกับบริษัททัวร์ เผื่อมีเพื่อนๆ อยากพาพ่อแม่ไปไหว้พระที่ประเทศเพื่อนบ้าน แต่จะพาไปเองก็กลัวพ่อแม่จะลำบาก
จริงๆ แล้วครั้งนี้เป็นการไปพม่าครั้งที่ 2 ของเรา ครั้งแรกเราไปกับเพื่อนๆ ไปเช่ารถพร้อมคนขับที่นู่น แล้วก็มีบางวันที่โบกแท็กซี่กันเองในย่างกุ้ง แต่พอเอาแผนนี้ไปเสนอกับที่บ้าน แม่บอกว่าไม่โอเค ขอไปกับทัวร์สบายใจกว่า
ด้วยความที่เราเคยวางแผนเที่ยวเองซะส่วนใหญ่ การไปเที่ยวกับบริษัททัวร์ก็เลยเป็นอะไรที่เราต้องหาความรู้เพิ่มเติม อย่างแรกก็คือ ไม่รู้ว่าบริษัททัวร์จะเชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน อย่างที่สองคือเรื่องการบริการ เราไม่ได้ต้องการทัวร์ที่หรูมาก แต่เรื่องอาหารการกินต้องโอเค อุตส่าห์พาพ่อแม่ไปทั้งทีก็อยากให้ประทับใจ
หลังจากที่หาข้อมูลอยู่ซักพัก เราก็เจอเอเจนซี่เจ้าหนึ่งที่มีเพื่อนๆ ในพันทิปเคยใช้บริการอยู่พอสมควร ซึ่งพอเปรียบเทียบราคาและโปรแกรมทัวร์แล้วค่อนข้างพอใจ เราก็เลยตัดสินใจจอง จริงๆ แล้วเราจะบอกว่าโปรแกรมทัวร์ส่วนใหญ่ก็คล้ายๆ กัน เพราะสุดท้ายเอเจนซี่จะส่งต่อให้บริษัททัวร์เดียวกัน ถ้าสังเกตดีๆ ในโปรแกรมทัวร์ส่วนใหญ่จะระบุชื่อทัวร์ไว้ด้วย โปรแกรมทัวร์แบบเดียวกัน ถ้าคนละเอเจนซี่ก็อาจจะราคาไม่เท่ากันได้
ตอนที่เรายืนยันการจองทางเอเจนซี่จะส่ง Invoice มาให้เราโอนค่ามัดจำและก่อนวันเดินทาง 14 วัน เราจะต้องโอนค่าทัวร์ส่วนที่เหลือไปให้ครบ (เงื่อนไขของแต่ละเอเจนซี่อาจจะแตกต่างกัน) สำหรับใบเสร็จรอบแรกอาจจะต้องตามเล็กน้อย อาทิตย์กว่าถึงจะได้ แต่รอบที่สองส่งมาให้เร็วมาก เจ้าหน้าที่ที่ประสานงานถือว่าใช้ได้ ตามเอกสารหรือสงสัยอะไร จะตอบกลับมาค่อนข้างเร็ว
ถ้าใครยังไม่มั่นใจว่าบริษัททัวร์ที่ใช้บริการนั้นเชื่อถือได้หรือไม่ สามารถใช้เลขใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวไปตรวจสอบที่ฐานข้อมูลผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ หรือเว็บไซต์ของกรมการท่องเที่ยวได้
ก่อนวันเดินทาง 1-2 วัน ทางบริษัททัวร์จะส่งรายละเอียดการเดินทางมาให้ อาจจะกระชั้นไปหน่อย แต่ก็อุ่นใจว่าพอไปถึงสนามบินแล้วจะมีรายชื่อของเราอย่างแน่นอน สำหรับเรื่องแลกเงิน ถ้าใครไม่อยากเสียเวลาหาที่แลกเงินและต้องวุ่นวายกับการขอแบงค์ดอลลาร์ใหม่ๆ ก็ให้พกเงินไทยไปแลกเงินพม่าที่ไกด์ได้ รวมถึงแบงค์ใหม่ๆ สำหรับทำบุญด้วย
วันเดินทางเราจะต้องไปถึงสนามบินก่อนเวลาเครื่องออกอย่างน้อย 2.50 ชั่วโมง หลังจากติดแท็กที่กระเป๋าแล้วเราจะต้องเช็คอินด้วยตัวเอง จะเจอกับไกด์อีกทีก็ที่หน้าเกทตอนรอขึ้นเครื่องเลย
สำหรับใครที่พ่อแม่อาจจะไม่ค่อยได้เดินทางบ่อยนัก เวลาผ่านตม.เราแนะนำว่าให้พ่อแม่อยู่ข้างหน้า เพราะถ้ามีปัญหาอะไรเราจะได้ช่วยได้ แต่เราเดินนำหน้าอย่างเดียว หันมาอีกทีพ่อหายไปไหนก็ไม่รู้ ตามหากันอยู่ซักพัก ปรากฏว่าพ่อไม่มีวันเกิดบนพาสปอร์ต เจ้าหน้าที่ก็เลยให้ออกจากช่องอัตโนมัติไปที่ช่องที่มีเจ้าหน้าที่แทน
เราไปถึงย่างกุ้งประมาณแปดโมงนิดๆ ตามเวลาของประเทศพม่าซึ่งช้ากว่าไทยครึ่งโมง เช้าวันแรกบริษัททัวร์จะยังไม่มีอาหารบริการเพราะฉะนั้นต้องหาอะไรรองท้องมาให้เรียบร้อย กรุ๊ปทัวร์ของเรามีสมาชิกทั้งหมด 33 คน ก็ถือว่าเยอะพอสมควร (มีทัวร์หนึ่งที่เราติดต่อไว้ แต่เวลาไม่ตรงกัน จำกัดคนไว้ไม่เกิน 20 คนเท่านั้น)
ข้อปฏิบัติหลักๆ ในการมาเที่ยวพม่ากับทัวร์มีอยู่ 2 ข้อคือ
หนึ่ง ทำใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องถนนหนทาง ห้องน้ำ แล้วก็เด็กๆ ที่จะมาขอบริจาคทรัพย์เล็กๆ น้อยๆ จากเรา ซึ่งถ้าเราใจอ่อนให้คนหนึ่ง เราจะต้องให้อีกสิบคนที่เหลือด้วย เพราะฉะนั้นไกด์จะบอกเลยว่า ถ้าอดสงสารไม่ได้ให้มาให้ที่ประตูรถแทน
ส่วน
ข้อที่สองก็คือ ทำตาม ไกด์บอกให้ทำอะไรก็ต้องตามนั้น วัดนี้ให้ถอดรองเท้าไว้บนรถ วัดนั้นให้ใส่รองเท้าลงไปก่อน ตอนนี้ถ่ายรูปได้ ตอนนี้อย่าเพิ่งถ่ายรูป สำหรับข้อนี้เรายอมรับว่าอึดอัดมากตามประสาคนที่เที่ยวเองมาตลอด เวลา 15 นาทีกับการถ่ายรูป เก็บกล้องไปเลยยังง่ายกว่า
ทริปนี้เราก็เลยได้รูปติดมือกลับมาน้อยมาก ถ้าเราไปเที่ยวเองจะต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่กล้องอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง แต่รอบนี้ไปพม่า 3 วัน แบตเตอรี่ก้อนเดียวยังไม่หมดเลย ทริปนี้รูปที่เราถ่ายส่วนใหญ่จะเป็นตอนที่นั่งอยู่บนรถมากกว่า สำหรับรูปวัดและสถานที่ท่องเที่ยวในกระทู้นี้ (บางรูป) เราขออนุญาตเอารูปจากตอนที่เราไปเที่ยวเองมาให้ดูแทน
วันแรกเราเดินทางจากสนามบินมิงกาลาดงที่ย่างกุ้งไปยังเมืองหงสาวดี หรือพะโค (Bago) อดีตเมืองหลวงของรัฐมอญโบราณ ซึ่งอยู่ห่างจากย่างกุ้งประมาณ 80 กิโลเมตร
เจดีย์ไจก์ปุ๊น พระ 4 ทิศ (Kyaikpun)
เจดีย์ไจก์ปุ๊นมีลักษณะพิเศษคือ เป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมที่ล้อมรอบด้วยพระพุทธรูปทั้ง 4 ทิศ ที่นี่ถ้าเราอยากถ่ายรูปจะต้องเสียค่ากล้อง 300 จ๊าต
วัดไจ้คะวาย (Kyakhat Wine Monastery)
วัดไจ้คะวายเป็นวัดที่เราอยากไปมากเพราะตอนมาครั้งแรกไม่ได้แวะ แต่พอไปถึงจริงๆ แล้วอยากเปลี่ยนชื่อเป็น ‘วัดวุ่นวาย’ มาก เราไปถึงประมาณ 11 โมง เป็นช่วงที่พระและสามเณรกำลังบิณฑบาตอยู่พอดี ที่นี่เป็นโรงเรียนสงฆ์ที่มีพระและสามเณรจำพรรษาอยู่กว่า 500 รูป ทั้งพระและสามเณร นักท่องเที่ยวที่ตั้งใจมาทำบุญและถ่ายรูป แม่ค้าขายของที่ระลึกที่ฮาร์ดเซลล์สุดๆ เรียกว่าหลบกันไม่ถูกเลยทีเดียว
สำหรับคนที่อยากนำของมาทำบุญ ไกด์พม่าบอกว่าอยากให้บริจาคเป็นเงิน ข้าวสาร อาหารแห้ง และของใช้อย่างพวกน้ำยาล้างจานหรือน้ำยาล้างห้องน้ำมากกว่า พวกสมุดและดินสอที่วัดได้รับบริจาคเยอะมากจนใช้ไม่ทัน ถ้าใครไม่ได้เตรียมของไปจากไทยก็สามารถไปซื้อที่พม่าได้ ไกด์จะแวะมินิมาร์ทที่เมืองหงสาวดีให้ประมาณ 15 นาที
มื้อกลางวันที่เมืองหงสาวดี กุ้งแม่น้ำ เมนูที่ทุกทัวร์จะต้องมี ถูกใจคนชอบกินกุ้งอย่างเรามาก
พระราชวังบุเรงนอง (Kanbawza Thadi Palace)
พระราชวังบุเรงนองที่เราเห็นกันในปัจจุบันเป็นพระราชวังจำลองที่สร้างขึ้นมาใหม่โดยการอ้างอิงจากพงศาวดาร พระเจ้าบุเรงนองทรงสร้างพระราชวังนี้เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางการปกครองและออกว่าราชการ พระราชวังนี้ถูกเผาทำลายในปี ค.ศ. 1599 จากซากปรักหักพังที่ยังหลงเหลืออยู่ทำให้สันนิษฐานได้ว่าบริเวณนี้เคยเป็นที่ประทับของพระเจ้าบุเรงนอง 1 ใน 3 มหาราชของพม่า รัฐบาลพม่าเริ่มสร้างพระราชวังนี้ขึ้นมาใหม่ในปี ค.ศ. 1990 แต่ตอนที่เราไปด้านนอกของพระราชวังมีการบรูณะอยู่
เจดีย์ชเวมอดอร์ (Shwe Mordore) หรือพระธาตุมุเตา
เจดีย์ชเวมอดอร์เป็นเจดีย์ที่สูงที่สุดในพม่าและมีอายุเก่าแก่กว่า 2,000 ปี ภายในบรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า นอกจากนี้เจดีย์ชเวมอดอร์ยังเป็น 1 ใน 5 มหาบูชาสถานศักดิ์สิทธิ์ของชาวพม่าอีกด้วย แต่น่าเสียดายที่ที่นี่อยู่ระหว่างการบูรณะเช่นเดียวกัน
เจดีย์ชเวมอดอร์มีทางขึ้นหลายทาง ครั้งนี้เราได้ขึ้นด้านหลังคนละฝั่งกับที่มาครั้งแรก ขึ้นมาก็จะเจอจุดอธิษฐานเลย (บริเวณที่ชิ้นส่วนของเจดีย์หล่นลงมาเพราะแผ่นดินไหว) ที่นี่ไกด์ไม่อนุญาตให้พวกเราเดินรอบองค์พระเจดีย์ เพราะมีเวลาจำกัด ถ้ามาที่นี่ช่วงกลางวันอากาศและพื้นรอบๆ องค์พระเจดีย์จะร้อนมาก ถ้าใครมีร่มหรือหมวกพกไปด้วยจะดีกว่า
หลังจากออกจากเมืองหงสาวดีแล้วพวกเราก็เดินทางต่อไปยังเมืองไจ้โท (Kyaitho) รัฐมอญ ระหว่างทางเราจะผ่านแม่น้ำสะโตง (Sittoung River) ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างเขตหงสาวดีกับรัฐมอญ ตามประวัติศาสตร์ไทยหลายคนอาจจะเคยได้ยินเรื่องที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยิงพระแสงปืนข้ามแม่น้ำแห่งนี้ได้
สิ่งที่ไกด์คนไทยเน้นย้ำกับพวกเรามาตั้งแต่ออกจากสนามบินก็คือ “คนเขียนประวัติศาสตร์ไทยกับพม่าเป็นคนละคนกัน” เพราะฉะนั้นถ้าไม่อยากให้การมาเที่ยวครั้งนี้หมดสนุก ก็เพียงแค่รับฟังไว้เฉยๆ เพราะตามประวัติศาสตร์ของพม่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราชไม่ได้ทรงยิงพระแสงปืนด้วยพระองค์เอง แต่ทรงจ้างมือปือชาวโปรตุเกสมายิงแทน
เส้นทางไปยังพระธาตุอินทร์แขวนเมื่อสองปีที่แล้วกับปัจจุบันแทบไม่แตกต่างกัน ตลอดสองข้างทางยังเป็นทุ่งนาสุดลูกหูลูกตาเหมือนเดิม แต่ครั้งนี้เราจะเห็นว่ามีการขยายถนนอยู่เป็นระยะๆ ระหว่างทางก่อนที่จะถึงคิมปูนแคมป์จะมีจุดพักรถ เป็นร้านอาหารคล้ายกับๆ ร้านแม่ต่างๆ ของบ้านเรา ห้องน้ำที่นี่ถือว่าสะอาดใช้ได้
พวกเราไปถึงคิมปูนแคมป์เกือบห้าโมงเย็น ที่นี่เราจะต้องเปลี่ยนไปขึ้นรถหกล้อหรือที่หลายคนเรียกว่ารถขนหมู ซึ่งเป็นรถประเภทเดียวที่จะพาเราขึ้นพระธาตุอินทร์แขวนได้ สำหรับกรุ๊ปทัวร์ 33 คนถือว่าเกือบแน่น นั่งแถวละ 5 คนก็เต็มพอดี (ถ้าไม่ได้มากับทัวร์และต้องนั่งรวมกับชาวพม่าจะต้องนั่งแถวละ 6 คน แต่ถ้ามากับทัวร์ที่คนน้อยกว่านี้ก็จะนั่งสบายกว่า)
จากคิมปูนแคมป์ไปถึงยอดเขาไจก์ทีโยจะใช้เวลาเดินทางประมาณ 45 นาที ตอนแรกเราตั้งใจจะไปถ่ายรูปพระธาตุอินทร์แขวนก่อนพระอาทิตย์ตก เพราะคราวที่แล้วได้รูปไปไม่ค่อยถูกใจเท่าไหร่ แต่ครั้งนี้ไม่รู้พระอาทิตย์จะรีบไปไหน ฟ้ามืดตั้งแต่เรายังอยู่บนรถหกล้ออยู่เลย
คืนแรกพวกเราพักที่ Yoe Yoe Lay Hotel จากจุดที่รถหกล้อจอดจะต้องเดินเลยพระธาตุอินทร์แขวนไปอีก ข้างบนนี้เราจะต้องดูแลเรื่องกระเป๋ากันเอง บริษัททัวร์จะไม่ดูแลให้ ถ้าใครไม่อยากลากกระเป๋าไปที่โรงแรมเองสามารถจ้างลูกหาบได้ ราคาใบละ 1,500 จ๊าต เท่าที่เราเห็นไม่มีคนลากกระเป๋าเองซักคน เพราะว่าไกลพอสมควร
[CR] พม่าเหมือนเดิม เพิ่มเติมคือพ่อแม่ :: แชร์ประสบการณ์เที่ยวพม่ากับบริษัททัวร์
จริงๆ แล้วครั้งนี้เป็นการไปพม่าครั้งที่ 2 ของเรา ครั้งแรกเราไปกับเพื่อนๆ ไปเช่ารถพร้อมคนขับที่นู่น แล้วก็มีบางวันที่โบกแท็กซี่กันเองในย่างกุ้ง แต่พอเอาแผนนี้ไปเสนอกับที่บ้าน แม่บอกว่าไม่โอเค ขอไปกับทัวร์สบายใจกว่า
ด้วยความที่เราเคยวางแผนเที่ยวเองซะส่วนใหญ่ การไปเที่ยวกับบริษัททัวร์ก็เลยเป็นอะไรที่เราต้องหาความรู้เพิ่มเติม อย่างแรกก็คือ ไม่รู้ว่าบริษัททัวร์จะเชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน อย่างที่สองคือเรื่องการบริการ เราไม่ได้ต้องการทัวร์ที่หรูมาก แต่เรื่องอาหารการกินต้องโอเค อุตส่าห์พาพ่อแม่ไปทั้งทีก็อยากให้ประทับใจ
หลังจากที่หาข้อมูลอยู่ซักพัก เราก็เจอเอเจนซี่เจ้าหนึ่งที่มีเพื่อนๆ ในพันทิปเคยใช้บริการอยู่พอสมควร ซึ่งพอเปรียบเทียบราคาและโปรแกรมทัวร์แล้วค่อนข้างพอใจ เราก็เลยตัดสินใจจอง จริงๆ แล้วเราจะบอกว่าโปรแกรมทัวร์ส่วนใหญ่ก็คล้ายๆ กัน เพราะสุดท้ายเอเจนซี่จะส่งต่อให้บริษัททัวร์เดียวกัน ถ้าสังเกตดีๆ ในโปรแกรมทัวร์ส่วนใหญ่จะระบุชื่อทัวร์ไว้ด้วย โปรแกรมทัวร์แบบเดียวกัน ถ้าคนละเอเจนซี่ก็อาจจะราคาไม่เท่ากันได้
ตอนที่เรายืนยันการจองทางเอเจนซี่จะส่ง Invoice มาให้เราโอนค่ามัดจำและก่อนวันเดินทาง 14 วัน เราจะต้องโอนค่าทัวร์ส่วนที่เหลือไปให้ครบ (เงื่อนไขของแต่ละเอเจนซี่อาจจะแตกต่างกัน) สำหรับใบเสร็จรอบแรกอาจจะต้องตามเล็กน้อย อาทิตย์กว่าถึงจะได้ แต่รอบที่สองส่งมาให้เร็วมาก เจ้าหน้าที่ที่ประสานงานถือว่าใช้ได้ ตามเอกสารหรือสงสัยอะไร จะตอบกลับมาค่อนข้างเร็ว
ถ้าใครยังไม่มั่นใจว่าบริษัททัวร์ที่ใช้บริการนั้นเชื่อถือได้หรือไม่ สามารถใช้เลขใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวไปตรวจสอบที่ฐานข้อมูลผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ หรือเว็บไซต์ของกรมการท่องเที่ยวได้
ก่อนวันเดินทาง 1-2 วัน ทางบริษัททัวร์จะส่งรายละเอียดการเดินทางมาให้ อาจจะกระชั้นไปหน่อย แต่ก็อุ่นใจว่าพอไปถึงสนามบินแล้วจะมีรายชื่อของเราอย่างแน่นอน สำหรับเรื่องแลกเงิน ถ้าใครไม่อยากเสียเวลาหาที่แลกเงินและต้องวุ่นวายกับการขอแบงค์ดอลลาร์ใหม่ๆ ก็ให้พกเงินไทยไปแลกเงินพม่าที่ไกด์ได้ รวมถึงแบงค์ใหม่ๆ สำหรับทำบุญด้วย
วันเดินทางเราจะต้องไปถึงสนามบินก่อนเวลาเครื่องออกอย่างน้อย 2.50 ชั่วโมง หลังจากติดแท็กที่กระเป๋าแล้วเราจะต้องเช็คอินด้วยตัวเอง จะเจอกับไกด์อีกทีก็ที่หน้าเกทตอนรอขึ้นเครื่องเลย
สำหรับใครที่พ่อแม่อาจจะไม่ค่อยได้เดินทางบ่อยนัก เวลาผ่านตม.เราแนะนำว่าให้พ่อแม่อยู่ข้างหน้า เพราะถ้ามีปัญหาอะไรเราจะได้ช่วยได้ แต่เราเดินนำหน้าอย่างเดียว หันมาอีกทีพ่อหายไปไหนก็ไม่รู้ ตามหากันอยู่ซักพัก ปรากฏว่าพ่อไม่มีวันเกิดบนพาสปอร์ต เจ้าหน้าที่ก็เลยให้ออกจากช่องอัตโนมัติไปที่ช่องที่มีเจ้าหน้าที่แทน
เราไปถึงย่างกุ้งประมาณแปดโมงนิดๆ ตามเวลาของประเทศพม่าซึ่งช้ากว่าไทยครึ่งโมง เช้าวันแรกบริษัททัวร์จะยังไม่มีอาหารบริการเพราะฉะนั้นต้องหาอะไรรองท้องมาให้เรียบร้อย กรุ๊ปทัวร์ของเรามีสมาชิกทั้งหมด 33 คน ก็ถือว่าเยอะพอสมควร (มีทัวร์หนึ่งที่เราติดต่อไว้ แต่เวลาไม่ตรงกัน จำกัดคนไว้ไม่เกิน 20 คนเท่านั้น)
ข้อปฏิบัติหลักๆ ในการมาเที่ยวพม่ากับทัวร์มีอยู่ 2 ข้อคือ หนึ่ง ทำใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องถนนหนทาง ห้องน้ำ แล้วก็เด็กๆ ที่จะมาขอบริจาคทรัพย์เล็กๆ น้อยๆ จากเรา ซึ่งถ้าเราใจอ่อนให้คนหนึ่ง เราจะต้องให้อีกสิบคนที่เหลือด้วย เพราะฉะนั้นไกด์จะบอกเลยว่า ถ้าอดสงสารไม่ได้ให้มาให้ที่ประตูรถแทน
ส่วนข้อที่สองก็คือ ทำตาม ไกด์บอกให้ทำอะไรก็ต้องตามนั้น วัดนี้ให้ถอดรองเท้าไว้บนรถ วัดนั้นให้ใส่รองเท้าลงไปก่อน ตอนนี้ถ่ายรูปได้ ตอนนี้อย่าเพิ่งถ่ายรูป สำหรับข้อนี้เรายอมรับว่าอึดอัดมากตามประสาคนที่เที่ยวเองมาตลอด เวลา 15 นาทีกับการถ่ายรูป เก็บกล้องไปเลยยังง่ายกว่า
ทริปนี้เราก็เลยได้รูปติดมือกลับมาน้อยมาก ถ้าเราไปเที่ยวเองจะต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่กล้องอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง แต่รอบนี้ไปพม่า 3 วัน แบตเตอรี่ก้อนเดียวยังไม่หมดเลย ทริปนี้รูปที่เราถ่ายส่วนใหญ่จะเป็นตอนที่นั่งอยู่บนรถมากกว่า สำหรับรูปวัดและสถานที่ท่องเที่ยวในกระทู้นี้ (บางรูป) เราขออนุญาตเอารูปจากตอนที่เราไปเที่ยวเองมาให้ดูแทน
วันแรกเราเดินทางจากสนามบินมิงกาลาดงที่ย่างกุ้งไปยังเมืองหงสาวดี หรือพะโค (Bago) อดีตเมืองหลวงของรัฐมอญโบราณ ซึ่งอยู่ห่างจากย่างกุ้งประมาณ 80 กิโลเมตร
เจดีย์ไจก์ปุ๊น พระ 4 ทิศ (Kyaikpun)
เจดีย์ไจก์ปุ๊นมีลักษณะพิเศษคือ เป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมที่ล้อมรอบด้วยพระพุทธรูปทั้ง 4 ทิศ ที่นี่ถ้าเราอยากถ่ายรูปจะต้องเสียค่ากล้อง 300 จ๊าต
วัดไจ้คะวาย (Kyakhat Wine Monastery)
วัดไจ้คะวายเป็นวัดที่เราอยากไปมากเพราะตอนมาครั้งแรกไม่ได้แวะ แต่พอไปถึงจริงๆ แล้วอยากเปลี่ยนชื่อเป็น ‘วัดวุ่นวาย’ มาก เราไปถึงประมาณ 11 โมง เป็นช่วงที่พระและสามเณรกำลังบิณฑบาตอยู่พอดี ที่นี่เป็นโรงเรียนสงฆ์ที่มีพระและสามเณรจำพรรษาอยู่กว่า 500 รูป ทั้งพระและสามเณร นักท่องเที่ยวที่ตั้งใจมาทำบุญและถ่ายรูป แม่ค้าขายของที่ระลึกที่ฮาร์ดเซลล์สุดๆ เรียกว่าหลบกันไม่ถูกเลยทีเดียว
สำหรับคนที่อยากนำของมาทำบุญ ไกด์พม่าบอกว่าอยากให้บริจาคเป็นเงิน ข้าวสาร อาหารแห้ง และของใช้อย่างพวกน้ำยาล้างจานหรือน้ำยาล้างห้องน้ำมากกว่า พวกสมุดและดินสอที่วัดได้รับบริจาคเยอะมากจนใช้ไม่ทัน ถ้าใครไม่ได้เตรียมของไปจากไทยก็สามารถไปซื้อที่พม่าได้ ไกด์จะแวะมินิมาร์ทที่เมืองหงสาวดีให้ประมาณ 15 นาที
มื้อกลางวันที่เมืองหงสาวดี กุ้งแม่น้ำ เมนูที่ทุกทัวร์จะต้องมี ถูกใจคนชอบกินกุ้งอย่างเรามาก
พระราชวังบุเรงนอง (Kanbawza Thadi Palace)
พระราชวังบุเรงนองที่เราเห็นกันในปัจจุบันเป็นพระราชวังจำลองที่สร้างขึ้นมาใหม่โดยการอ้างอิงจากพงศาวดาร พระเจ้าบุเรงนองทรงสร้างพระราชวังนี้เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางการปกครองและออกว่าราชการ พระราชวังนี้ถูกเผาทำลายในปี ค.ศ. 1599 จากซากปรักหักพังที่ยังหลงเหลืออยู่ทำให้สันนิษฐานได้ว่าบริเวณนี้เคยเป็นที่ประทับของพระเจ้าบุเรงนอง 1 ใน 3 มหาราชของพม่า รัฐบาลพม่าเริ่มสร้างพระราชวังนี้ขึ้นมาใหม่ในปี ค.ศ. 1990 แต่ตอนที่เราไปด้านนอกของพระราชวังมีการบรูณะอยู่
เจดีย์ชเวมอดอร์ (Shwe Mordore) หรือพระธาตุมุเตา
เจดีย์ชเวมอดอร์เป็นเจดีย์ที่สูงที่สุดในพม่าและมีอายุเก่าแก่กว่า 2,000 ปี ภายในบรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า นอกจากนี้เจดีย์ชเวมอดอร์ยังเป็น 1 ใน 5 มหาบูชาสถานศักดิ์สิทธิ์ของชาวพม่าอีกด้วย แต่น่าเสียดายที่ที่นี่อยู่ระหว่างการบูรณะเช่นเดียวกัน
เจดีย์ชเวมอดอร์มีทางขึ้นหลายทาง ครั้งนี้เราได้ขึ้นด้านหลังคนละฝั่งกับที่มาครั้งแรก ขึ้นมาก็จะเจอจุดอธิษฐานเลย (บริเวณที่ชิ้นส่วนของเจดีย์หล่นลงมาเพราะแผ่นดินไหว) ที่นี่ไกด์ไม่อนุญาตให้พวกเราเดินรอบองค์พระเจดีย์ เพราะมีเวลาจำกัด ถ้ามาที่นี่ช่วงกลางวันอากาศและพื้นรอบๆ องค์พระเจดีย์จะร้อนมาก ถ้าใครมีร่มหรือหมวกพกไปด้วยจะดีกว่า
หลังจากออกจากเมืองหงสาวดีแล้วพวกเราก็เดินทางต่อไปยังเมืองไจ้โท (Kyaitho) รัฐมอญ ระหว่างทางเราจะผ่านแม่น้ำสะโตง (Sittoung River) ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างเขตหงสาวดีกับรัฐมอญ ตามประวัติศาสตร์ไทยหลายคนอาจจะเคยได้ยินเรื่องที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยิงพระแสงปืนข้ามแม่น้ำแห่งนี้ได้
สิ่งที่ไกด์คนไทยเน้นย้ำกับพวกเรามาตั้งแต่ออกจากสนามบินก็คือ “คนเขียนประวัติศาสตร์ไทยกับพม่าเป็นคนละคนกัน” เพราะฉะนั้นถ้าไม่อยากให้การมาเที่ยวครั้งนี้หมดสนุก ก็เพียงแค่รับฟังไว้เฉยๆ เพราะตามประวัติศาสตร์ของพม่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราชไม่ได้ทรงยิงพระแสงปืนด้วยพระองค์เอง แต่ทรงจ้างมือปือชาวโปรตุเกสมายิงแทน
เส้นทางไปยังพระธาตุอินทร์แขวนเมื่อสองปีที่แล้วกับปัจจุบันแทบไม่แตกต่างกัน ตลอดสองข้างทางยังเป็นทุ่งนาสุดลูกหูลูกตาเหมือนเดิม แต่ครั้งนี้เราจะเห็นว่ามีการขยายถนนอยู่เป็นระยะๆ ระหว่างทางก่อนที่จะถึงคิมปูนแคมป์จะมีจุดพักรถ เป็นร้านอาหารคล้ายกับๆ ร้านแม่ต่างๆ ของบ้านเรา ห้องน้ำที่นี่ถือว่าสะอาดใช้ได้
พวกเราไปถึงคิมปูนแคมป์เกือบห้าโมงเย็น ที่นี่เราจะต้องเปลี่ยนไปขึ้นรถหกล้อหรือที่หลายคนเรียกว่ารถขนหมู ซึ่งเป็นรถประเภทเดียวที่จะพาเราขึ้นพระธาตุอินทร์แขวนได้ สำหรับกรุ๊ปทัวร์ 33 คนถือว่าเกือบแน่น นั่งแถวละ 5 คนก็เต็มพอดี (ถ้าไม่ได้มากับทัวร์และต้องนั่งรวมกับชาวพม่าจะต้องนั่งแถวละ 6 คน แต่ถ้ามากับทัวร์ที่คนน้อยกว่านี้ก็จะนั่งสบายกว่า)
จากคิมปูนแคมป์ไปถึงยอดเขาไจก์ทีโยจะใช้เวลาเดินทางประมาณ 45 นาที ตอนแรกเราตั้งใจจะไปถ่ายรูปพระธาตุอินทร์แขวนก่อนพระอาทิตย์ตก เพราะคราวที่แล้วได้รูปไปไม่ค่อยถูกใจเท่าไหร่ แต่ครั้งนี้ไม่รู้พระอาทิตย์จะรีบไปไหน ฟ้ามืดตั้งแต่เรายังอยู่บนรถหกล้ออยู่เลย
คืนแรกพวกเราพักที่ Yoe Yoe Lay Hotel จากจุดที่รถหกล้อจอดจะต้องเดินเลยพระธาตุอินทร์แขวนไปอีก ข้างบนนี้เราจะต้องดูแลเรื่องกระเป๋ากันเอง บริษัททัวร์จะไม่ดูแลให้ ถ้าใครไม่อยากลากกระเป๋าไปที่โรงแรมเองสามารถจ้างลูกหาบได้ ราคาใบละ 1,500 จ๊าต เท่าที่เราเห็นไม่มีคนลากกระเป๋าเองซักคน เพราะว่าไกลพอสมควร