สวัสดีครับ เมื่อประมาณสุดสัปดาห์ที่แล้วผมได้รับมอบหมายภารกิจ ให้เป็นตัวแทนของพ่อแล้วก็ร้านเพื่อไปกินเลี้ยงโต๊ะจีนครับ ซึ่งเพื่อนๆ ก็คงจะมีประสบการณ์ซักครั้งนึ่ง ที่ได้รับเชิญ ไปกินเลี้ยงโต๊ะจีน ไม่ว่าจะเป็นงานมงคลสมรส งานอุปสมบท หรืองานพบปะ สังสรรค์ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ เดียวนี้ก็นิยมเลี้ยงโต๊ะจีนกันทั้งนั้น แต่งานที่ผมไปในครั้งนี้เป็นงานกินเลี้ยงโต๊ะจีนของศาลเจ้าครับ เป็นงานใหญ่งานนึ่ง จึงอยากจะแบ่งปันประสบการณ์ดีๆ แล้วเราไปดูกันซิว่า กินเลี้ยงของศาลเจ้าเขาทำอะไรกันบ้าง
งานของศาลเจ้านี้จะจัดเป็นประจำทุกปีครับ จัดทีก็หลายวัน มีงิ้ว มีหนังกลางแปลง มหรสพ ตามแต่จะมีเจ้าภาพมาร่วมทำบุญ คล้ายกับงานวัดดีๆ นี่เอง และในวันท้ายๆของงานก็จะจัดให้มีการกินเลี้ยงโต๊ะจีน โดยจะแจกเทียบเชิญแขกให้มาร่วมงาน โดยแขกส่วนใหญ่ก็คือชุมชนการค้า หรือ ผู้หลักผู้ใหญ่ที่เป็นที่นับหน้าถือตา มากินเลี้ยงสังสรรค์พบปะพูดคุย และร่วมกันทำบุญการกุศล โดยร่วมกันประมูล(เปีย)ของมงคลต่างๆ ตามแต่ศาลเจ้าจะจัดหามา เพื่อเงินที่ได้นำมาบำรุงกิจการต่างๆของศาลเจ้า และสาธารณะประโยชน์ต่อไปครับ
พอวันงานมาถึงผมนี่ต้องรีบเลิกงานเร็วกว่าปกติ เพื่อเตรียมตัวไปงาน พอไปถึงก็ราวๆ หกโมงเย็น ตะวันจะลับขอบฟ้าแล้ว พอจอดรถเสร็จเรียบร้อยก็เดินเข้างานกันเลย
ปีนี้ดีจังยังไม่ค่อยมีคนมาเลย ต้องขอเลือกที่นั่งยุทธศาสตร์ดีๆหน่อย โต๊ะจีนจะมีอยู่สองส่วน คือส่วนหน้า เห็นมีป้ายชื่อปักอยู่ ทางกรรมการศาลเจ้าคงกันที่ไว้ให้ผู้หลักผู้ใหญ่ที่ไปแจกเทียบเชิญมาสองสามโต๊ะ ส่วนที่เหลือแขกท่านอื่นก็สามารถ นั่งได้ตามอัธยาศัย สังเกตดีๆนะครับด้านหลังมีหนังกลางแปลงด้วย
แม่ผมซึ่งมีประสบการณ์สูงรีบบอกทันทีเลยว่า ลูกให้นั่งห่างๆ ลำโพงหน่อยเพราะเดี๋ยวถ้างิ้วเริ่มการแสดง บวกกับงานประมูลเริ่ม เสียงคงจะดังมากๆ กว่าจะเลิกงานหูดับกันพอดี พอจะนั่งนางบอกเดี๋ยวๆ ห้ามนั่งใกล้ดวงไฟด้วย เดียวแมลงเม่าบินมาตอมไฟ จะเป็นอุปสรรคในการร่วมงานอีก
พอได้ที่นั่งที่ถูกใจแล้ว ก็มาสำรวจรอบๆงานกันหน่อย ศาลเจ้าติดโคมไฟประดับสวยงานเชียว แต่มาศาลเจ้าพ่อร่มขาวแล้วจะไม่ทราบประวัติเลยก็ใช่ที่ แขกเกลื่อก็ยังไม่ค่อยมา ก็ต้องหาผู้หลักผู้ใหญ่ในงานสอบถามประวัติความเป็นมาของศาลเจ้ากันหน่อย
ได้ประวัติ คราวๆ มาดังนี้ครับ ศาลเจ้าพ่อร่มขาว ตั้งอยู่ที่ ต.บ้านสร้าง อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา สร้างมาแต่สมัยใดไม่ปรากฏ สันนิษฐานว่าน่าจะอยู่ในช่วงราวราชกาลที่ 4 เวลาใกล้เคียงกับที่หลวงพ่อพัน บูรณปฏิสังขรณ์วัดบ้านสร้าง เดิมชื่อวัดบ้านขวางปากน้ำกรงเหล็ก ที่ก่อนหน้า เคยปล่อยทิ้งร้างมาแต่สมัยอยุธยา พอชุมชนเริ่มขยายขึ้น จึงมีการสร้างศาลขึ้น เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้แก่ ผู้คนที่เดินทางโดยเรือ เดิมเป็นศาลเจ้าไม้ธรรมดา สมัยก่อนพ่อค้าวาณิชย์ ที่เดินทางมาค้าขายทางน้ำ ผ่านมาทางแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งตะวันออกเข้ามาทางปากครองโพธิ์ ผ่านทุ่งสามเรือน ก่อนจะถึงวัดบ้านสร้าง ก็มักจะแวะสักการะ ขอพรให้เดินทางปลอดภัย ค้าขายรุ่งเจริญรุ่งเรื่อง
ต่อมาการค้าขายในละแวกใกล้เคียงเจริญรุ่งเรืองกันตามลำดับ มีชุมชนย่านการค้า ท่าข้าว โรงสี ล้วนอาศัยเดินทางโดยเรือ ต่างผ่านศาลเจ้าพ่อร่มขาวทั้งสิ้น ในปี 2535 ผู้หลักผู้ใหญ่ในตอนนั้น ได้แก่ ป๋าเส่ย แป๊ะฮ้ง และแม่เกี๋ย เป็นหัวเรือใหญ่ในการจัดสร้างศาลเจ้าที่ก่ออิฐถือปูน จากนั้นก็มีงานสมโภชเป็นประจำทุกปี เรื่อยมา จนถึงปัจจุบัน
ข้างๆ ตัวศาลเจ้าจะเห็น ต้นไผ่สูงประดับโคมไฟสวยงาม อันนี้ถามดูได้ความว่า คือเต็งลั้งครับ หรือ เห็นเขาเรียกกันว่า ตะเกียงฟ้าดิน เป็นการทำบุญใหญ่ในงานวันนี้เลยครับ เจ้าของกิจการ ห้างร้าน จะแข่งกันประมูล(เปีย) เชื่อว่าได้ไปแล้วจะทำให้อยู่เย็นเป็นสุข กิจการค้าขายเจริญรุ่งเรื่องครับ ก็เหมือนกันเป็นการประชาสัมพันธ์ กิจการของตัวเองไปด้วยครับ เงินที่ได้มา ศาลเจ้าก็จะนำมาบำรุงกิจการของศาล แล้วก็ดำเนินกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ต่อไป เรียกว่าคืนกำไรสู่สังคมอีกทางนึ่งครับ
นี่เลยครับจะขาดไปเสียไม่ได้เลย ถ้าไปกินโต๊ะจีนงานทั่วไปอาจจะมี เวทีดนตรี นักร้องลูกทุ่ง วงดนตรีสตริง หมอลำ มหรสพอื่นๆตามแต่รสนิยมของเจ้าภาพ แต่งานศาลเจ้าจะขาด การแสดงงิ้วไปเสียไม่ได้เลย เดียวนี้นานๆทีจะได้ดูซักที เรียกว่าปีละครั้งกันเลยทีเดียว ถ้าสังเกตดีๆจะเห็น บันไดหน้าโรงงิ้ว เดียวงิ้วจะลงทางนี้ไป สักการะเจ้าพ่อร่มขาว และเทพเจ้าไฉซิงเอี๊ย
ข้างโรงงิ้วก็มีร้านขายน้ำตาลปั้นเป็นรูปต่างๆ ผมชอบมากเลย เป็นรูปสัตว์ต่างๆ ลิงถือกล้วย กับอาแป๊ะตกปลา นึกถึงสมัยเด็กๆ เลยมาดูงิ้วทีไรต้องรบเร้าให้แม่ซื้อให้ทุกทีเลย เดียวนี้นะถ้าไม่ใช่งานประจำปีศาลเจ้าก็แทบจะไม่ได้พบเห็นกันแล้ว
เอา หล่ะ พอได้เวลา ประมาณ หกโมงครึ่ง ผู้คนเริ่มเดินทางมา เริ่มได้ยินเสียงดนตรีแบบจีนแล้ว แม่ก็มอบหมายให้นำเทียบเชิญที่ได้ ใส่เงินมาจากที่บ้านแล้ว นำไปที่ช่วยงานที่โต๊ะกรรมการ ที่เห็นสองซองนี่ มีร้านค้าข้างๆฝากมาครับ ก็รู้ๆกันอยู่ช่วงปลายปีงานแต่งมงคลสมรสชุกมากๆ ไม่ว่างเลยฝากมาอีกใบนึ่ง
แม่แถมซองพิเศษมาให้อีกซองนึ่ง ด้วยความสงสัยจึงต้องถาม จนรู้ว่านี่เป็นเงินค่าของที่เปียไปเมื่อปีที่แล้วเป็นผลไม้ทิพย์ ให้ผมแจ้งกับกรรมการด้วย จึงทำให้ทราบว่า ของที่เราเปียไปนั้นไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินในปีนั้นเลยก็ได้ คือพอเปียไปแล้วได้ของ รองานในปีถัดไปค่อยนำเงินมาจ่ายเขาก็ได้ ไม่ต้องรีบจ่ายในปีที่ประมูล
เข้ามาแล้วตามธรรมเนียมก็ต้อง จุดธูปเพื่อ สักการบูชา ขอพรเจ้าพ่อกันหน่อยครับ ว่าแต่เขาใช้ธูปกันกี่ดอกกันนะ แต่เห็นมีคนแนะนำว่าปีนี้ให้ใช้ 31 ดอก ก็ตามๆ เขาไป
ผู้คนเริ่มเดินทางกันมาหนาตามากขึ้นแล้วครับ
อีกมุมนึ่งตรงแทนบูชาด้านหน้าศาลเจ้าพ่อครับ
เข้ามาด้านในศาลแล้วครับ น้ำตาจะไหล ควันธูปเขาตา ตรงผนังมีภาษาจีนเขียนอยู่แต่เสียดายจังผมไม่ เข้าใจความหมาย ภาพจิตกรรมภายในสวยงามมากครับ
ด้านข้างตรงชายคาของศาลเจ้าพ่อ มีเครื่องหอม กระดาษเงินกระดาษทอง ต่างๆมากมายครับ เห็นเจ้าหน้าที่บอกว่า พอเสร็จงานเขาจะนำมาเผา คล้ายๆ พิธีกงเต็ก ในวันรุ่งขึ้นครับ
อีกมุมหนึ่งของศาลครับ มีสระบัวเล็กๆ อยู่ด้วยครับ
กลับมาที่โต๊ะจีนกันหน่อย อยากจะบอกว่าโต๊ะจีนที่แม่เลือก ฮวงจุ้ยดีมากเลยครับ ไม่แอดัด ลมผัดผ่าน เย็นสบาย ห่างลำโพงเสียงไม่ดัง คุยกันได้อย่างออกรสกับพวกป้าๆได้สบายเลยแต่ แม่ครับมันมืดมากเลย ถ่ายภาพไม่ค่อยเห็นเลย เดียวต้องไปแอบส่องดูสิ มีโต๊ะไหนให้ผมได้แอบแฝงเข้าไปได้ บ้าง
ที่สำคัญกลับมา ป้าๆ กินกันเกือบหมดแล้ว ผมยังไม่ได้ถ่ายรูปเลย
ซักพักนึ่งได้ยินเสียงประทัด เหมือนเป็นเสียงบอกกล่าวเจ้าพ่อ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผมต้องรีบรุกออกจากที่นั่งมาเก็บภาพ หนังกลางแปลงอย่างด่วน เหมือนจะฉายบทนำเป็นการ บอกกล่าวคารวะเทพเจ้า เง็กเซียน เทพเจ้าต่าง ๆ เป็นภาษาจีนผมก็ฟังไม่ออกเหมือนกัน ที่เห็นบนจอผ้าใบ ถ้าจำไม่ผิดน่าจะเป็นเทพเจ้าโป้ยเซียนหรือเปล่านะ ด้านหน้าเด็กๆ เหล่าจอมยุทธ์น้อยกำลังวิ่ง เล่นประลอง วรยุทธ์ กันใหญ่เลย
หลังจาก ตามหาคนรู้จักเพื่อจะแอบแฝง ขอนั่งด้วย ก็มาเจอะโต๊ะหลานพอดี เลยขอนั่งกับเด็กๆดีกว่า ปล่อยพวกป้าๆเขาเม้ากันไป พอจานที่สองมาปุ๊บ บอกหลานเดี๋ยวๆ ขออาถ่ายรูปก่อน
อาหารอย่างที่สอง นี่เด็กๆ ฟินกันใหญ่ เป็นขนมจีบ ขอลองหน่อยสิ โอ้โห้ อร่อยมากๆ บอกได้คำเดียวว่า มันเด้งมากๆ เลย แทบจะกระดอนออกจากปาก แผ่นที่ใช่ห่อขนมจีบเหมือน เขาจะทำเอง สีเหลืองอ่อน ปกติ ถ้างานอื่น แผ่นห่อมันจะออกสีเหลืองจัด กินแล้วมีกลิ่นแปลกๆ แต่นี่ไม่มีเลย
ฟินอยู่ได้ไม่นาน งิ้วก็เริ่มโหมโรง เป็นการคล้ายการร่ายรำ โหมโรงหรือเปล่านะ แล้วก็มีบทร้อง ด้วย เห็นเด็กๆ หน้าโรงงิ้วหนังดูกันใหญ่
ต่อจากนั้นไม่นาน กรรมการประกาศอะไรซักอย่าง ได้ยิ่งแว่วๆว่า ไฉซิงเอี๊ย นักแสดงก็ลงมาจากโรงงิ้วมา ทำการสักการบูชาเจ้าพ่อที่ศาลครับ
ในภาพผมเห็น นักแสดงงิ้วคนนึ่งถือฉัตรเหลืองมาด้วย มาทำการคารวะที่ศาลเจ้าพ่อ มีการกล่าวเป็นภาษาจีน คงจะประมาณ เป็นการบอกกล่าว ฟ้าดิน เทพบนสวรรค์ เง็กเซียนฮ่องเต้ ประมาณนี้หล่ะมั่ง
แฟนคลับโรงงิ้วใครคงคิดว่าจะมี แต่ อากง อาม่า สูงอายุครับ เพราแฟนคลับหลักๆ ของโรงงิ้ว คือกลุ่มเด็กๆ ครับ งิ้วไปไหน หนูตามไปด้วย สังเกตดีนะครับ โต๊ะจีน แถวหน้าโรงงิ้วนี่มีแต่เด็กๆ ทั้งนั้นเลย น้ำตาลปั้นหน้าโรงงิ้ว ก็ก็ปั้นมือเป็นระวิงเลย
หลังจากจานเรียกน้ำย่อยผ่านไป ก็ตามมาด้วยกระเพาะปลาน้ำแดงครับ เนื้อปูเน้นๆ กระเพาะปลาคำโตๆ ถูกใจที่สุดเลย
หลังจากบอกกล่าวเทพเจ้า สิ่งศักดิ์สิทธ์เสร็จเรียบร้อย ก็เริ่มประมูล(เปีย) ของมงคลอย่างแรก ก็คือ ส้มถาดแรกครับ เห็นเขาเรียกว่า ส้มหัวมังกรครับ เจ้าของกิจการห้างร้านให้ความสำคัญกันมากๆ
แข่งกันเปียใหญ่เลย เริ่มแรกก็ราคาไม่กี่พันบาท ไล่ราคากันไปจนขึ้นหลักหมื่นบาท ที่น่าสังเกตในการเปียนั้น กรรมการศาลเจ้าจะแถม ลอตเตอรี่ให้ด้วยครับ ถ้าราคาหลักพันก็จะได้อยู่ที่สี่ฉบับ น่าจะเกี่ยวกับคนจีนชอบเล่นสี่ละมั่ง ทุกช่วงราคาที่เพิ่มขึ้น ก็จะเพิ่มจำนวน ลอตเตอรี่ให้ด้วย พอใกล้จะสิ้นสุด ก็จะนับ หนึ่ง สอง ถ้าไม่มีใครให้สูงกว่านี้ สาม ทางกรรมการจะตีผ่าง ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีจีนชนิดนึ่ง ของจีน รูปร่างคล้ายๆ ฆ้อง ผสมฉาบของไทยเรา แต่บางกว่ามาก ดัง สามครั้ง ผ่าง ผ่าง ผ่าง แล้วของชิ้นนั้นก็จะสิ้นสุดที่ผู้ประมูลที่ให้ราคาสูงที่สุด ราคาส้มถาดนี้มาจบที่ สามหมื่นห้าพันบาทครับ แถมลอตเตอรี่ให้สามสิบฉบับครับ
อาหารจานถัดมาก็คือ เต้าหู้ทรงเครื่องครับ ที่เห็นเต้าหู้ในจาน นะไม่ใช่เล็กๆนะครับ ใหญ่ประมาณ เกือบเท่ากำปั้น เห็นจะได้ ตักมาใส่ถ้วยเราก็แทบจะเต็มถ้วยเลย กุ้งก็กรุบกรอบเด้งดีจัง ที่สำคัญไม่เผ็ดด้วยครับ รสชาติออกหวาน หลานๆชอบกันใหญ่เลย
EXP กินเหลา(โต๊ะจีน) ร่วมงานประจำปีที่ศาลเจ้าพ่อร่มขาว
งานของศาลเจ้านี้จะจัดเป็นประจำทุกปีครับ จัดทีก็หลายวัน มีงิ้ว มีหนังกลางแปลง มหรสพ ตามแต่จะมีเจ้าภาพมาร่วมทำบุญ คล้ายกับงานวัดดีๆ นี่เอง และในวันท้ายๆของงานก็จะจัดให้มีการกินเลี้ยงโต๊ะจีน โดยจะแจกเทียบเชิญแขกให้มาร่วมงาน โดยแขกส่วนใหญ่ก็คือชุมชนการค้า หรือ ผู้หลักผู้ใหญ่ที่เป็นที่นับหน้าถือตา มากินเลี้ยงสังสรรค์พบปะพูดคุย และร่วมกันทำบุญการกุศล โดยร่วมกันประมูล(เปีย)ของมงคลต่างๆ ตามแต่ศาลเจ้าจะจัดหามา เพื่อเงินที่ได้นำมาบำรุงกิจการต่างๆของศาลเจ้า และสาธารณะประโยชน์ต่อไปครับ
พอวันงานมาถึงผมนี่ต้องรีบเลิกงานเร็วกว่าปกติ เพื่อเตรียมตัวไปงาน พอไปถึงก็ราวๆ หกโมงเย็น ตะวันจะลับขอบฟ้าแล้ว พอจอดรถเสร็จเรียบร้อยก็เดินเข้างานกันเลย
ปีนี้ดีจังยังไม่ค่อยมีคนมาเลย ต้องขอเลือกที่นั่งยุทธศาสตร์ดีๆหน่อย โต๊ะจีนจะมีอยู่สองส่วน คือส่วนหน้า เห็นมีป้ายชื่อปักอยู่ ทางกรรมการศาลเจ้าคงกันที่ไว้ให้ผู้หลักผู้ใหญ่ที่ไปแจกเทียบเชิญมาสองสามโต๊ะ ส่วนที่เหลือแขกท่านอื่นก็สามารถ นั่งได้ตามอัธยาศัย สังเกตดีๆนะครับด้านหลังมีหนังกลางแปลงด้วย
แม่ผมซึ่งมีประสบการณ์สูงรีบบอกทันทีเลยว่า ลูกให้นั่งห่างๆ ลำโพงหน่อยเพราะเดี๋ยวถ้างิ้วเริ่มการแสดง บวกกับงานประมูลเริ่ม เสียงคงจะดังมากๆ กว่าจะเลิกงานหูดับกันพอดี พอจะนั่งนางบอกเดี๋ยวๆ ห้ามนั่งใกล้ดวงไฟด้วย เดียวแมลงเม่าบินมาตอมไฟ จะเป็นอุปสรรคในการร่วมงานอีก
พอได้ที่นั่งที่ถูกใจแล้ว ก็มาสำรวจรอบๆงานกันหน่อย ศาลเจ้าติดโคมไฟประดับสวยงานเชียว แต่มาศาลเจ้าพ่อร่มขาวแล้วจะไม่ทราบประวัติเลยก็ใช่ที่ แขกเกลื่อก็ยังไม่ค่อยมา ก็ต้องหาผู้หลักผู้ใหญ่ในงานสอบถามประวัติความเป็นมาของศาลเจ้ากันหน่อย
ได้ประวัติ คราวๆ มาดังนี้ครับ ศาลเจ้าพ่อร่มขาว ตั้งอยู่ที่ ต.บ้านสร้าง อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา สร้างมาแต่สมัยใดไม่ปรากฏ สันนิษฐานว่าน่าจะอยู่ในช่วงราวราชกาลที่ 4 เวลาใกล้เคียงกับที่หลวงพ่อพัน บูรณปฏิสังขรณ์วัดบ้านสร้าง เดิมชื่อวัดบ้านขวางปากน้ำกรงเหล็ก ที่ก่อนหน้า เคยปล่อยทิ้งร้างมาแต่สมัยอยุธยา พอชุมชนเริ่มขยายขึ้น จึงมีการสร้างศาลขึ้น เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้แก่ ผู้คนที่เดินทางโดยเรือ เดิมเป็นศาลเจ้าไม้ธรรมดา สมัยก่อนพ่อค้าวาณิชย์ ที่เดินทางมาค้าขายทางน้ำ ผ่านมาทางแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งตะวันออกเข้ามาทางปากครองโพธิ์ ผ่านทุ่งสามเรือน ก่อนจะถึงวัดบ้านสร้าง ก็มักจะแวะสักการะ ขอพรให้เดินทางปลอดภัย ค้าขายรุ่งเจริญรุ่งเรื่อง
ต่อมาการค้าขายในละแวกใกล้เคียงเจริญรุ่งเรืองกันตามลำดับ มีชุมชนย่านการค้า ท่าข้าว โรงสี ล้วนอาศัยเดินทางโดยเรือ ต่างผ่านศาลเจ้าพ่อร่มขาวทั้งสิ้น ในปี 2535 ผู้หลักผู้ใหญ่ในตอนนั้น ได้แก่ ป๋าเส่ย แป๊ะฮ้ง และแม่เกี๋ย เป็นหัวเรือใหญ่ในการจัดสร้างศาลเจ้าที่ก่ออิฐถือปูน จากนั้นก็มีงานสมโภชเป็นประจำทุกปี เรื่อยมา จนถึงปัจจุบัน
ข้างๆ ตัวศาลเจ้าจะเห็น ต้นไผ่สูงประดับโคมไฟสวยงาม อันนี้ถามดูได้ความว่า คือเต็งลั้งครับ หรือ เห็นเขาเรียกกันว่า ตะเกียงฟ้าดิน เป็นการทำบุญใหญ่ในงานวันนี้เลยครับ เจ้าของกิจการ ห้างร้าน จะแข่งกันประมูล(เปีย) เชื่อว่าได้ไปแล้วจะทำให้อยู่เย็นเป็นสุข กิจการค้าขายเจริญรุ่งเรื่องครับ ก็เหมือนกันเป็นการประชาสัมพันธ์ กิจการของตัวเองไปด้วยครับ เงินที่ได้มา ศาลเจ้าก็จะนำมาบำรุงกิจการของศาล แล้วก็ดำเนินกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ต่อไป เรียกว่าคืนกำไรสู่สังคมอีกทางนึ่งครับ
นี่เลยครับจะขาดไปเสียไม่ได้เลย ถ้าไปกินโต๊ะจีนงานทั่วไปอาจจะมี เวทีดนตรี นักร้องลูกทุ่ง วงดนตรีสตริง หมอลำ มหรสพอื่นๆตามแต่รสนิยมของเจ้าภาพ แต่งานศาลเจ้าจะขาด การแสดงงิ้วไปเสียไม่ได้เลย เดียวนี้นานๆทีจะได้ดูซักที เรียกว่าปีละครั้งกันเลยทีเดียว ถ้าสังเกตดีๆจะเห็น บันไดหน้าโรงงิ้ว เดียวงิ้วจะลงทางนี้ไป สักการะเจ้าพ่อร่มขาว และเทพเจ้าไฉซิงเอี๊ย
ข้างโรงงิ้วก็มีร้านขายน้ำตาลปั้นเป็นรูปต่างๆ ผมชอบมากเลย เป็นรูปสัตว์ต่างๆ ลิงถือกล้วย กับอาแป๊ะตกปลา นึกถึงสมัยเด็กๆ เลยมาดูงิ้วทีไรต้องรบเร้าให้แม่ซื้อให้ทุกทีเลย เดียวนี้นะถ้าไม่ใช่งานประจำปีศาลเจ้าก็แทบจะไม่ได้พบเห็นกันแล้ว
เอา หล่ะ พอได้เวลา ประมาณ หกโมงครึ่ง ผู้คนเริ่มเดินทางมา เริ่มได้ยินเสียงดนตรีแบบจีนแล้ว แม่ก็มอบหมายให้นำเทียบเชิญที่ได้ ใส่เงินมาจากที่บ้านแล้ว นำไปที่ช่วยงานที่โต๊ะกรรมการ ที่เห็นสองซองนี่ มีร้านค้าข้างๆฝากมาครับ ก็รู้ๆกันอยู่ช่วงปลายปีงานแต่งมงคลสมรสชุกมากๆ ไม่ว่างเลยฝากมาอีกใบนึ่ง
แม่แถมซองพิเศษมาให้อีกซองนึ่ง ด้วยความสงสัยจึงต้องถาม จนรู้ว่านี่เป็นเงินค่าของที่เปียไปเมื่อปีที่แล้วเป็นผลไม้ทิพย์ ให้ผมแจ้งกับกรรมการด้วย จึงทำให้ทราบว่า ของที่เราเปียไปนั้นไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินในปีนั้นเลยก็ได้ คือพอเปียไปแล้วได้ของ รองานในปีถัดไปค่อยนำเงินมาจ่ายเขาก็ได้ ไม่ต้องรีบจ่ายในปีที่ประมูล
เข้ามาแล้วตามธรรมเนียมก็ต้อง จุดธูปเพื่อ สักการบูชา ขอพรเจ้าพ่อกันหน่อยครับ ว่าแต่เขาใช้ธูปกันกี่ดอกกันนะ แต่เห็นมีคนแนะนำว่าปีนี้ให้ใช้ 31 ดอก ก็ตามๆ เขาไป
ผู้คนเริ่มเดินทางกันมาหนาตามากขึ้นแล้วครับ
อีกมุมนึ่งตรงแทนบูชาด้านหน้าศาลเจ้าพ่อครับ
เข้ามาด้านในศาลแล้วครับ น้ำตาจะไหล ควันธูปเขาตา ตรงผนังมีภาษาจีนเขียนอยู่แต่เสียดายจังผมไม่ เข้าใจความหมาย ภาพจิตกรรมภายในสวยงามมากครับ
ด้านข้างตรงชายคาของศาลเจ้าพ่อ มีเครื่องหอม กระดาษเงินกระดาษทอง ต่างๆมากมายครับ เห็นเจ้าหน้าที่บอกว่า พอเสร็จงานเขาจะนำมาเผา คล้ายๆ พิธีกงเต็ก ในวันรุ่งขึ้นครับ
อีกมุมหนึ่งของศาลครับ มีสระบัวเล็กๆ อยู่ด้วยครับ
กลับมาที่โต๊ะจีนกันหน่อย อยากจะบอกว่าโต๊ะจีนที่แม่เลือก ฮวงจุ้ยดีมากเลยครับ ไม่แอดัด ลมผัดผ่าน เย็นสบาย ห่างลำโพงเสียงไม่ดัง คุยกันได้อย่างออกรสกับพวกป้าๆได้สบายเลยแต่ แม่ครับมันมืดมากเลย ถ่ายภาพไม่ค่อยเห็นเลย เดียวต้องไปแอบส่องดูสิ มีโต๊ะไหนให้ผมได้แอบแฝงเข้าไปได้ บ้าง
ที่สำคัญกลับมา ป้าๆ กินกันเกือบหมดแล้ว ผมยังไม่ได้ถ่ายรูปเลย
ซักพักนึ่งได้ยินเสียงประทัด เหมือนเป็นเสียงบอกกล่าวเจ้าพ่อ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผมต้องรีบรุกออกจากที่นั่งมาเก็บภาพ หนังกลางแปลงอย่างด่วน เหมือนจะฉายบทนำเป็นการ บอกกล่าวคารวะเทพเจ้า เง็กเซียน เทพเจ้าต่าง ๆ เป็นภาษาจีนผมก็ฟังไม่ออกเหมือนกัน ที่เห็นบนจอผ้าใบ ถ้าจำไม่ผิดน่าจะเป็นเทพเจ้าโป้ยเซียนหรือเปล่านะ ด้านหน้าเด็กๆ เหล่าจอมยุทธ์น้อยกำลังวิ่ง เล่นประลอง วรยุทธ์ กันใหญ่เลย
หลังจาก ตามหาคนรู้จักเพื่อจะแอบแฝง ขอนั่งด้วย ก็มาเจอะโต๊ะหลานพอดี เลยขอนั่งกับเด็กๆดีกว่า ปล่อยพวกป้าๆเขาเม้ากันไป พอจานที่สองมาปุ๊บ บอกหลานเดี๋ยวๆ ขออาถ่ายรูปก่อน
อาหารอย่างที่สอง นี่เด็กๆ ฟินกันใหญ่ เป็นขนมจีบ ขอลองหน่อยสิ โอ้โห้ อร่อยมากๆ บอกได้คำเดียวว่า มันเด้งมากๆ เลย แทบจะกระดอนออกจากปาก แผ่นที่ใช่ห่อขนมจีบเหมือน เขาจะทำเอง สีเหลืองอ่อน ปกติ ถ้างานอื่น แผ่นห่อมันจะออกสีเหลืองจัด กินแล้วมีกลิ่นแปลกๆ แต่นี่ไม่มีเลย
ฟินอยู่ได้ไม่นาน งิ้วก็เริ่มโหมโรง เป็นการคล้ายการร่ายรำ โหมโรงหรือเปล่านะ แล้วก็มีบทร้อง ด้วย เห็นเด็กๆ หน้าโรงงิ้วหนังดูกันใหญ่
ต่อจากนั้นไม่นาน กรรมการประกาศอะไรซักอย่าง ได้ยิ่งแว่วๆว่า ไฉซิงเอี๊ย นักแสดงก็ลงมาจากโรงงิ้วมา ทำการสักการบูชาเจ้าพ่อที่ศาลครับ
ในภาพผมเห็น นักแสดงงิ้วคนนึ่งถือฉัตรเหลืองมาด้วย มาทำการคารวะที่ศาลเจ้าพ่อ มีการกล่าวเป็นภาษาจีน คงจะประมาณ เป็นการบอกกล่าว ฟ้าดิน เทพบนสวรรค์ เง็กเซียนฮ่องเต้ ประมาณนี้หล่ะมั่ง
แฟนคลับโรงงิ้วใครคงคิดว่าจะมี แต่ อากง อาม่า สูงอายุครับ เพราแฟนคลับหลักๆ ของโรงงิ้ว คือกลุ่มเด็กๆ ครับ งิ้วไปไหน หนูตามไปด้วย สังเกตดีนะครับ โต๊ะจีน แถวหน้าโรงงิ้วนี่มีแต่เด็กๆ ทั้งนั้นเลย น้ำตาลปั้นหน้าโรงงิ้ว ก็ก็ปั้นมือเป็นระวิงเลย
หลังจากจานเรียกน้ำย่อยผ่านไป ก็ตามมาด้วยกระเพาะปลาน้ำแดงครับ เนื้อปูเน้นๆ กระเพาะปลาคำโตๆ ถูกใจที่สุดเลย
หลังจากบอกกล่าวเทพเจ้า สิ่งศักดิ์สิทธ์เสร็จเรียบร้อย ก็เริ่มประมูล(เปีย) ของมงคลอย่างแรก ก็คือ ส้มถาดแรกครับ เห็นเขาเรียกว่า ส้มหัวมังกรครับ เจ้าของกิจการห้างร้านให้ความสำคัญกันมากๆ
แข่งกันเปียใหญ่เลย เริ่มแรกก็ราคาไม่กี่พันบาท ไล่ราคากันไปจนขึ้นหลักหมื่นบาท ที่น่าสังเกตในการเปียนั้น กรรมการศาลเจ้าจะแถม ลอตเตอรี่ให้ด้วยครับ ถ้าราคาหลักพันก็จะได้อยู่ที่สี่ฉบับ น่าจะเกี่ยวกับคนจีนชอบเล่นสี่ละมั่ง ทุกช่วงราคาที่เพิ่มขึ้น ก็จะเพิ่มจำนวน ลอตเตอรี่ให้ด้วย พอใกล้จะสิ้นสุด ก็จะนับ หนึ่ง สอง ถ้าไม่มีใครให้สูงกว่านี้ สาม ทางกรรมการจะตีผ่าง ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีจีนชนิดนึ่ง ของจีน รูปร่างคล้ายๆ ฆ้อง ผสมฉาบของไทยเรา แต่บางกว่ามาก ดัง สามครั้ง ผ่าง ผ่าง ผ่าง แล้วของชิ้นนั้นก็จะสิ้นสุดที่ผู้ประมูลที่ให้ราคาสูงที่สุด ราคาส้มถาดนี้มาจบที่ สามหมื่นห้าพันบาทครับ แถมลอตเตอรี่ให้สามสิบฉบับครับ
อาหารจานถัดมาก็คือ เต้าหู้ทรงเครื่องครับ ที่เห็นเต้าหู้ในจาน นะไม่ใช่เล็กๆนะครับ ใหญ่ประมาณ เกือบเท่ากำปั้น เห็นจะได้ ตักมาใส่ถ้วยเราก็แทบจะเต็มถ้วยเลย กุ้งก็กรุบกรอบเด้งดีจัง ที่สำคัญไม่เผ็ดด้วยครับ รสชาติออกหวาน หลานๆชอบกันใหญ่เลย