อันนี้ เป็นกระทู้ภาค 2 นะคะ เป็นภาคต่อจาก พาดูโรงไฟฟ้า ซื้อผ้าซิ่นที่หงสา แต่ภาคนี้ เราจะโฟกัสไปที่ “ชาวบ้านได้อะไรจากการลงทุนของเหมืองและโรงไฟฟ้าบ้าง ? ”
ข้างล่างนี้คือ ลิ้งค์กระทู้เก่าค่ะ
http://ppantip.com/topic/34279730
อันนี้ ขอแท็ก การลงทุน เพราะถือว่า ต่อจากกระทู้ที่แล้ว มันอาจจะมิติบางอย่างเชื่อมโยงกับการลงทุน
แท็ก สิ่งแวดล้อม กับ Green living
สุดท้าย ขอแท็ก การท่องเที่ยวด้วย เพราะจะพาไปดู ๆ ที่ที่อาจจะได้รับการพัฒนาให้เป็นที่เที่ยวที่ต่อไปในหงสา และพาดูที่เที่ยว ที่ช็อปบางที่ที่น่านด้วย
อันนี้ น่าจะถือเป็น CR Consumer Review นะคะ เพราะจ่ายค่าเดินทางเอง ...
อารัมภบทมายืดยาว เข้าเรื่องกันดีกว่า
สืบเนื่องมาจากกระทู้ที่แล้ว ... ที่เล่าถึงการไปเยี่ยมชมโรงไฟฟ้าหงสา มิติที่ดิฉันสนใจมากที่สุด คือ เรื่องผลกระทบที่มีต่อชาวบ้านหงสาบริเวณที่จะทำเหมือง ทางฝ่ายโรงไฟฟ้าหงสาก็เอื้อเฟื้อ อนุญาตให้ไปดูงานเพิ่มเติมได้ในส่วนที่สนใจ และได้กรุณาพาไปดูงานในส่วนอื่น ๆ อย่างละเอียดที่โครงการได้ทำการชดเชย เยียวยา ฝึกอาชีพ ให้กับชาวเมืองหงสาที่ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองและสร้างโรงไฟฟ้าที่นี่ด้วย
เราปฏิเสธไม่ได้ ว่า การพัฒนาและความเจริญมันสะพัดทั่วไปทุกที่ ในขณะที่เรานึกเสียดายพื้นที่ที่ต้องเอามาทำเหมืองหรือสร้างโครงการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เราระลึกแบบโหยหาถึง virgin land สมัยที่ยังไม่มีผู้คนเข้ามาอยู่มากมายนัก แต่ขณะเดียวกัน เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ทุกคนต้องการ “น้ำไหล ไฟสว่าง เน็ตแรง สัญญาณมือถือครอบคลุมทุกพื้นที่ โรงพยาบาลดี เครื่องมือพร้อม สภาพความเป็นอยู่ที่สะดวกและปลอดภัย” กันทั้งนั้น ...
ของพวกนี้ ถ้าไม่มีไฟฟ้าเสียอย่างก็เกิดขึ้นไม่ได้ ดิฉันเคยอ่านเรื่อง “โต๊ะโตะจัง กับ โต๊ะโตะจังทั้งหลาย” ซึ่งเป็นหนังสือของ คุณ คุโรนายางิ เท็ตสึโกะ นักแสดงชาวญี่ปุ่นที่ได้รับเลือกให้เป็นทูตของโครงการยูนิเซฟ เข้าไปเยี่ยมและช่วยเหลือประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ทั้งประเทศที่อดอยากจากภัยของความแห้งแล้ง และสงคราม ในทวีปแอฟริกา ยุโรป และ เอเชียตะวันออก
มีอยู่ตอนหนึ่ง ที่เธอพูดถึงสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศอิรัก น่าหดหู่มาก ที่พบว่า “การที่ไม่มีไฟฟ้า เนื่องจากโรงไฟฟ้าถูกทำลาย” ทำให้ ไม่มีน้ำประปาใช้ตามบ้านเรือน (เครื่องปั๊มทำงานไม่ได้) น้ำเสียท่วมเอ่อบ้านเรือนและเหม็นคลุ้งไปทั่ว เนื่องจากน้ำเสียไม่ได้รับการระบายและบำบัด (โรงบำบัดน้ำเสียก็ต้องใช้ปั๊มและไฟฟ้า) โรงพยาบาลไม่มียา หรือ ถึงมียาก็หมดอายุหรือเสื่อมสภาพ (ตู้เย็นเก็บยาในโรงพยาบาลใช้งานไม่ได้เนื่องจากไม่มีไฟฟ้า) เครื่องปั๊มหัวใจ เครื่องช่วยหายใจเหมือนเศษขยะที่วางกองไว้เฉย ๆ บุคลากรทางการแพทย์ได้แต่เฝ้ามองคนไข้อาการแย่ลงไปเรื่อย ๆ ต่อหน้าต่อตาด้วยความรู้สึกอึดอัดว่า “อยากรักษา แต่รักษาไม่ได้”
ออกตัวก่อนว่า ตัวดิฉันเอง ไม่ได้ทั้ง “โปร”
และไม่ได้ทั้ง “ต่อต้าน”โรงไฟฟ้า เคยบริจาคเงิน และคอยฟังกรีนพีซอย่างตั้งอกตั้งใจ ที่ตั้งคำถามถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของโครงการพัฒนาต่างๆ ทั่วโลกด้วยซ้ำ แม้ว่า หลาย ๆ สิ่งที่กรีนพีซพูด จะไม่ถูกเป๊ะไปเสียทุกอย่าง แต่ก็ถือว่ามีคุณูปการในการกระตุ้นให้เกิดจิตสำนึกเรื่องสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น
จนมาคิดได้ว่า ถ้ามีโอกาส ก็แล้วทำไมถึงไม่ไปดูให้เห็นด้วยตาตัวเองว่า นอกเหนือจากในแง่ธุรกิจของโรงไฟฟ้าแล้ว ชาวบ้านในพื้นที่มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นหรือไม่
อ้อ...เขียนมาถึงตรงนี้ อาจมีผู้ตั้งคำถามอีกว่า ดิฉันถือหุ้นใน RATCH หรือ BANPU รึเปล่า ? มีส่วนได้ส่วนเสียแค่ไหน ?
คิดว่า มีส่วนได้ส่วนเสียในฐานะผู้ใช้ไฟของ กฟน. ซึ่งซื้อไฟจาก กฟผ. อีกที
ส่วนในฐานะผู้ถือหุ้น ก็ขอเฉลยเลยแล้วกันค่ะ ว่าตัวเองมีหุ้นทั้งใน RATCH และ BANPU จริง ๆ
แต่บอกจำนวนแล้ว สัญญาก่อนนะคะว่าจะไม่ขำ ...
มี RATCH อยู่ 500 หุ้น และ BANPU อยู่ 2 พันกว่าหุ้นค่ะ
มากมายจนทำให้ปั่นราคาได้เลยนะคะ 555
ส่วนงานที่ดิฉันได้มีโอกาสไปเยี่ยมชม คือ หน่วยงาน SD (Social Development) ที่มีหน้าที่ สำรวจความเป็นอยู่ของชาวบ้าน จ่ายเงินชดเชย ฝึกอาชีพ และดูแลให้ชาวบ้านมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ได้รับการชดเชยที่เหมาะสม เป็นธรรม และครบถ้วนตามพันธะสัญญาที่ให้ไว้กับรัฐบาลลาวในตอนที่เซ็นสัญญาเริ่มทำโครงการ นั่นคือ
- แต่ละครอบครัว จะต้องได้รับการพัฒนาให้มีรายได้พ้นขีดความยากจนภายใน 3 ปี
- ภายใน 10 ปี รายได้แต่ละครอบครัวต้องเพิ่มขึ้น 150%
- รายได้ของประชาชนในเมืองหงสาจะต้องสูงกว่าขีดความยากจนภายในปี 2020
โจทย์สั้น ๆ เพียง 3 บรรทัดนี้แหละค่ะ ที่ถูกตีความ และแปรเป็นโครงการต่าง ๆ ที่มีรายละเอียดยิบย่อยมากมายหลายแขนง
สำนักงานของ SD นะคะ
ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า “ขีดความยากจน” หรือ “เส้นแบ่งความยากจน” (poverty line หรือ poverty threshold) แปลว่า อะไร
แปลได้ง่าย ๆ ก็คือ ระดับรายได้ที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตในประเทศหนึ่ง
เพราะงั้น ตัวเลขที่เป็นเส้นแบ่งตัวนี้ ก็ไม่เท่ากันในแต่ละประเทศ มีรายละเอียดปลีกย่อยมากมายที่ต้องไปดู
แต่เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ปัจจุบัน ขีดความยากจนนานาชาติ นับกันคร่าว ๆ จะอยู่ที่ประมาณ 1.25 เหรียญสหรัฐต่อวัน หรือ ประมาณ 45 บาทต่อวัน (คิดจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ 36 บาท ต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ)
แปลว่า หากมีรายได้ต่ำกว่านี้ต่อวัน จะถือว่ายากจน
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%88%E0%B8%99
โจทย์ของทางโครงการก็คือ จะต้องทำอย่างไรก็ได้ให้ รายได้ของประชาชนอยู่สูงกว่า ขีดความยากจน โดยผ่านทางการฝึกพัฒนาอาชีพต่าง ๆ ทั้งในด้านปศุสัตว์ การเกษตร การฝึกวิชาชีพ งานฝีมือ และทักษะเฉพาะทางต่าง ๆ
มิติการพัฒนาพวกนี้มีความสำคัญอย่างไร ?
ลองนึกถึงใจเขาใจเรานะคะ ตอนดิฉันเห็นรายละเอียดของโรงไฟฟ้าครั้งแรก พบว่า แม้จะผลิตได้ถึง 1,878 เมกะวัตต์ MWs แต่จำหน่ายให้การไฟฟ้าลาวเพียง 100 เมกะวัตต์ หรือ 5.32% ของกำลังการผลิตเท่านั้น ส่วน 1,473 เมกะวัตต์ หรือ 78.43% ส่งกลับไปขายที่เมืองไทย
รายละเอียดเรื่องกำลังการผลิต
กำลังการผลิตไฟฟ้ารวม เมื่อเดินเครื่องครบ 3 โรง โรงละ 626 MWs จะอยู่ที่ 1,878 MWs
โดยจะจำหน่ายให้แก่ การไฟฟ้าลาว 100MWs ส่วนที่เหลือ 1,473 MWs จะจำหน่ายให้กับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ
ตอนนั้น ความคิดแรกที่แว่บเข้ามาคือ เพื่อนบ้านเค้าจะรู้สึกอย่างไรบ้าง ถ้าพบว่า เราเข้ามาขอสัมปทานใช้ทรัพยากรเค้า ผลิตไฟฟ้าเพื่อส่งกลับไปยังบ้านเรา เพื่อให้บ้านเรามีพลังงานไฟฟ้าใช้ในราคาที่ผู้ใช้ไฟพอใจและรับได้
ประเด็นพวกนี้ในเชิงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มันอาจมีความ “อ่อนไหว” อยู่บ้าง หากเราไม่บริหารจัดการให้ดีจริง ๆ หรือ ทำให้เพื่อนบ้านรู้สึกว่า เราไม่ได้มาเอาผลประโยชน์อย่างเดียว แต่เป็นข้อตกลงที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการ give and take ให้และรับ อย่างเพื่อนบ้านที่มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน ปรองดองกัน สมานประโยชน์กันและไม่เอาเปรียบกัน
พูดถึงประเด็น “อ่อนไหว” นี้ ก็ขอออกนอกเรื่องสักเล็กน้อย เมื่อกลางๆ ปีที่ผ่านมา ได้มีโอกาสไปเข้าฟังการสัมมนาเกี่ยวกับเรื่องการลงทุนในต่างประเทศที่จัดขึ้นที่ศูนย์ประชุมสิริกิตติ์ มีจนท.ระดับสูงท่านหนึ่งของกระทรวงการต่างประเทศ (ขออภัยที่จำชื่อและตำแหน่งท่านไม่ได้) พูดถึงประเด็นพวกนี้ไว้ได้อย่างน่าสนใจ ในฐานะหน้าด่านของประเทศ ท่านก็ต้องคอยรับคอมเมนต์และฟีดแบคจากจนท.ประเทศต่าง ๆ ที่คอยเตือนถึงประเด็นอ่อนไหวที่เราอาจจะพูดไป หรือ ทำไป โดยเจตนาหรือไม่เจตนา เช่น
ท่านบอกว่า คนอินเดียรู้สึกเจ็บปวด เวลาได้ยินคนไทยพูดว่า “เจองูกับเจอแขก ให้ตีแขกก่อน” หรือ คนลาวอาจรู้สึกเหมือนโดนกด ถ้าเราจะพยายามสนิทกับเค้าโดยบอกเค้าว่า “เราเป็นบ้านพี่เมืองน้องกัน” (เพราะคำถามต่อมาคือ ใครพี่ ใครน้อง เราเป็นเพื่อนบ้านเท่าเทียมไม่ใช่รึ ?)
เพราะงั้น มิติทางสังคมพวกนี้ ก็อาจสามารถเป็นประเด็นทางธุรกิจได้ไม่แพ้เรื่องอื่น ๆ
กรอบใหญ่ในการทำงานของทางโครงการ คือ ต้องทำตามกฎหมายและข้อกำหนดด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ทางการลาว กำหนดร่วมกันกับธนาคารโลก ดูแลเรื่องความเป็นอยู่ชาวบ้าน คุณภาพอากาศ สิ่งแวดล้อมให้อยู่ในกรอบการพัฒนาที่ยั่งยืน
มาต่อกันที่โครงการนะคะ
เที่ยวนี้ ดิฉัน ได้พบผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาสังคม หรือ SD Director คือ คุณ ลิขิต พงศ์พงัน และทีมงาน (คุณ สุรานี คุณ นก และ อ.ทองแหลง) ซึ่งได้กรุณาพาไปดูบ่อนเลี้ยงสัตว์ ฟาร์มแลนด์ หรือ ศูนย์การเรียนรู้ของโครงการ ตลอดจนไปดูการฝึกอาชีพต่าง ๆ ของชาวบ้านเช่น การเพาะเลี้ยงเห็ด การทำอิฐบล็อกจากขี้เถ้าลอย (fly ash) การเลี้ยงสัตว์เป็นต้น
จริง ๆ ทางโครงการยังมีการฝึกอะไรต่อมิอะไรอีกหลากหลายให้กับชาวบ้านที่เป็นการเปิดโลกทัศน์ใหม่ ๆ ให้กับสิ่งที่ชาวบ้านเคยรู้เคยทำมาก่อน อาทิ เช่นการฝึกให้แม่หญิงขับรถบรรทุก การฝึกอาชีพ เช่น การเดินไฟฟ้า การทอผ้า การนวดแผนโบราณ การถนอมอาหาร การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
ดูโรงไฟฟ้า พาเที่ยวหงสา ตอน 2 (ว่าด้วยมิติการพัฒนาสังคม)
อันนี้ เป็นกระทู้ภาค 2 นะคะ เป็นภาคต่อจาก พาดูโรงไฟฟ้า ซื้อผ้าซิ่นที่หงสา แต่ภาคนี้ เราจะโฟกัสไปที่ “ชาวบ้านได้อะไรจากการลงทุนของเหมืองและโรงไฟฟ้าบ้าง ? ”
ข้างล่างนี้คือ ลิ้งค์กระทู้เก่าค่ะ http://ppantip.com/topic/34279730
อันนี้ ขอแท็ก การลงทุน เพราะถือว่า ต่อจากกระทู้ที่แล้ว มันอาจจะมิติบางอย่างเชื่อมโยงกับการลงทุน
แท็ก สิ่งแวดล้อม กับ Green living
สุดท้าย ขอแท็ก การท่องเที่ยวด้วย เพราะจะพาไปดู ๆ ที่ที่อาจจะได้รับการพัฒนาให้เป็นที่เที่ยวที่ต่อไปในหงสา และพาดูที่เที่ยว ที่ช็อปบางที่ที่น่านด้วย
อันนี้ น่าจะถือเป็น CR Consumer Review นะคะ เพราะจ่ายค่าเดินทางเอง ...
อารัมภบทมายืดยาว เข้าเรื่องกันดีกว่า
สืบเนื่องมาจากกระทู้ที่แล้ว ... ที่เล่าถึงการไปเยี่ยมชมโรงไฟฟ้าหงสา มิติที่ดิฉันสนใจมากที่สุด คือ เรื่องผลกระทบที่มีต่อชาวบ้านหงสาบริเวณที่จะทำเหมือง ทางฝ่ายโรงไฟฟ้าหงสาก็เอื้อเฟื้อ อนุญาตให้ไปดูงานเพิ่มเติมได้ในส่วนที่สนใจ และได้กรุณาพาไปดูงานในส่วนอื่น ๆ อย่างละเอียดที่โครงการได้ทำการชดเชย เยียวยา ฝึกอาชีพ ให้กับชาวเมืองหงสาที่ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองและสร้างโรงไฟฟ้าที่นี่ด้วย
เราปฏิเสธไม่ได้ ว่า การพัฒนาและความเจริญมันสะพัดทั่วไปทุกที่ ในขณะที่เรานึกเสียดายพื้นที่ที่ต้องเอามาทำเหมืองหรือสร้างโครงการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เราระลึกแบบโหยหาถึง virgin land สมัยที่ยังไม่มีผู้คนเข้ามาอยู่มากมายนัก แต่ขณะเดียวกัน เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ทุกคนต้องการ “น้ำไหล ไฟสว่าง เน็ตแรง สัญญาณมือถือครอบคลุมทุกพื้นที่ โรงพยาบาลดี เครื่องมือพร้อม สภาพความเป็นอยู่ที่สะดวกและปลอดภัย” กันทั้งนั้น ...
ของพวกนี้ ถ้าไม่มีไฟฟ้าเสียอย่างก็เกิดขึ้นไม่ได้ ดิฉันเคยอ่านเรื่อง “โต๊ะโตะจัง กับ โต๊ะโตะจังทั้งหลาย” ซึ่งเป็นหนังสือของ คุณ คุโรนายางิ เท็ตสึโกะ นักแสดงชาวญี่ปุ่นที่ได้รับเลือกให้เป็นทูตของโครงการยูนิเซฟ เข้าไปเยี่ยมและช่วยเหลือประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ทั้งประเทศที่อดอยากจากภัยของความแห้งแล้ง และสงคราม ในทวีปแอฟริกา ยุโรป และ เอเชียตะวันออก
มีอยู่ตอนหนึ่ง ที่เธอพูดถึงสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศอิรัก น่าหดหู่มาก ที่พบว่า “การที่ไม่มีไฟฟ้า เนื่องจากโรงไฟฟ้าถูกทำลาย” ทำให้ ไม่มีน้ำประปาใช้ตามบ้านเรือน (เครื่องปั๊มทำงานไม่ได้) น้ำเสียท่วมเอ่อบ้านเรือนและเหม็นคลุ้งไปทั่ว เนื่องจากน้ำเสียไม่ได้รับการระบายและบำบัด (โรงบำบัดน้ำเสียก็ต้องใช้ปั๊มและไฟฟ้า) โรงพยาบาลไม่มียา หรือ ถึงมียาก็หมดอายุหรือเสื่อมสภาพ (ตู้เย็นเก็บยาในโรงพยาบาลใช้งานไม่ได้เนื่องจากไม่มีไฟฟ้า) เครื่องปั๊มหัวใจ เครื่องช่วยหายใจเหมือนเศษขยะที่วางกองไว้เฉย ๆ บุคลากรทางการแพทย์ได้แต่เฝ้ามองคนไข้อาการแย่ลงไปเรื่อย ๆ ต่อหน้าต่อตาด้วยความรู้สึกอึดอัดว่า “อยากรักษา แต่รักษาไม่ได้”
ออกตัวก่อนว่า ตัวดิฉันเอง ไม่ได้ทั้ง “โปร” และไม่ได้ทั้ง “ต่อต้าน”โรงไฟฟ้า เคยบริจาคเงิน และคอยฟังกรีนพีซอย่างตั้งอกตั้งใจ ที่ตั้งคำถามถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของโครงการพัฒนาต่างๆ ทั่วโลกด้วยซ้ำ แม้ว่า หลาย ๆ สิ่งที่กรีนพีซพูด จะไม่ถูกเป๊ะไปเสียทุกอย่าง แต่ก็ถือว่ามีคุณูปการในการกระตุ้นให้เกิดจิตสำนึกเรื่องสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น
จนมาคิดได้ว่า ถ้ามีโอกาส ก็แล้วทำไมถึงไม่ไปดูให้เห็นด้วยตาตัวเองว่า นอกเหนือจากในแง่ธุรกิจของโรงไฟฟ้าแล้ว ชาวบ้านในพื้นที่มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นหรือไม่
อ้อ...เขียนมาถึงตรงนี้ อาจมีผู้ตั้งคำถามอีกว่า ดิฉันถือหุ้นใน RATCH หรือ BANPU รึเปล่า ? มีส่วนได้ส่วนเสียแค่ไหน ?
คิดว่า มีส่วนได้ส่วนเสียในฐานะผู้ใช้ไฟของ กฟน. ซึ่งซื้อไฟจาก กฟผ. อีกที
ส่วนในฐานะผู้ถือหุ้น ก็ขอเฉลยเลยแล้วกันค่ะ ว่าตัวเองมีหุ้นทั้งใน RATCH และ BANPU จริง ๆ
แต่บอกจำนวนแล้ว สัญญาก่อนนะคะว่าจะไม่ขำ ...
มี RATCH อยู่ 500 หุ้น และ BANPU อยู่ 2 พันกว่าหุ้นค่ะ
มากมายจนทำให้ปั่นราคาได้เลยนะคะ 555
ส่วนงานที่ดิฉันได้มีโอกาสไปเยี่ยมชม คือ หน่วยงาน SD (Social Development) ที่มีหน้าที่ สำรวจความเป็นอยู่ของชาวบ้าน จ่ายเงินชดเชย ฝึกอาชีพ และดูแลให้ชาวบ้านมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ได้รับการชดเชยที่เหมาะสม เป็นธรรม และครบถ้วนตามพันธะสัญญาที่ให้ไว้กับรัฐบาลลาวในตอนที่เซ็นสัญญาเริ่มทำโครงการ นั่นคือ
- แต่ละครอบครัว จะต้องได้รับการพัฒนาให้มีรายได้พ้นขีดความยากจนภายใน 3 ปี
- ภายใน 10 ปี รายได้แต่ละครอบครัวต้องเพิ่มขึ้น 150%
- รายได้ของประชาชนในเมืองหงสาจะต้องสูงกว่าขีดความยากจนภายในปี 2020
โจทย์สั้น ๆ เพียง 3 บรรทัดนี้แหละค่ะ ที่ถูกตีความ และแปรเป็นโครงการต่าง ๆ ที่มีรายละเอียดยิบย่อยมากมายหลายแขนง
สำนักงานของ SD นะคะ
ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า “ขีดความยากจน” หรือ “เส้นแบ่งความยากจน” (poverty line หรือ poverty threshold) แปลว่า อะไร
แปลได้ง่าย ๆ ก็คือ ระดับรายได้ที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตในประเทศหนึ่ง
เพราะงั้น ตัวเลขที่เป็นเส้นแบ่งตัวนี้ ก็ไม่เท่ากันในแต่ละประเทศ มีรายละเอียดปลีกย่อยมากมายที่ต้องไปดู
แต่เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ปัจจุบัน ขีดความยากจนนานาชาติ นับกันคร่าว ๆ จะอยู่ที่ประมาณ 1.25 เหรียญสหรัฐต่อวัน หรือ ประมาณ 45 บาทต่อวัน (คิดจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ 36 บาท ต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ)
แปลว่า หากมีรายได้ต่ำกว่านี้ต่อวัน จะถือว่ายากจน
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%88%E0%B8%99
โจทย์ของทางโครงการก็คือ จะต้องทำอย่างไรก็ได้ให้ รายได้ของประชาชนอยู่สูงกว่า ขีดความยากจน โดยผ่านทางการฝึกพัฒนาอาชีพต่าง ๆ ทั้งในด้านปศุสัตว์ การเกษตร การฝึกวิชาชีพ งานฝีมือ และทักษะเฉพาะทางต่าง ๆ
มิติการพัฒนาพวกนี้มีความสำคัญอย่างไร ?
ลองนึกถึงใจเขาใจเรานะคะ ตอนดิฉันเห็นรายละเอียดของโรงไฟฟ้าครั้งแรก พบว่า แม้จะผลิตได้ถึง 1,878 เมกะวัตต์ MWs แต่จำหน่ายให้การไฟฟ้าลาวเพียง 100 เมกะวัตต์ หรือ 5.32% ของกำลังการผลิตเท่านั้น ส่วน 1,473 เมกะวัตต์ หรือ 78.43% ส่งกลับไปขายที่เมืองไทย
รายละเอียดเรื่องกำลังการผลิต
กำลังการผลิตไฟฟ้ารวม เมื่อเดินเครื่องครบ 3 โรง โรงละ 626 MWs จะอยู่ที่ 1,878 MWs
โดยจะจำหน่ายให้แก่ การไฟฟ้าลาว 100MWs ส่วนที่เหลือ 1,473 MWs จะจำหน่ายให้กับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ
ตอนนั้น ความคิดแรกที่แว่บเข้ามาคือ เพื่อนบ้านเค้าจะรู้สึกอย่างไรบ้าง ถ้าพบว่า เราเข้ามาขอสัมปทานใช้ทรัพยากรเค้า ผลิตไฟฟ้าเพื่อส่งกลับไปยังบ้านเรา เพื่อให้บ้านเรามีพลังงานไฟฟ้าใช้ในราคาที่ผู้ใช้ไฟพอใจและรับได้
ประเด็นพวกนี้ในเชิงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มันอาจมีความ “อ่อนไหว” อยู่บ้าง หากเราไม่บริหารจัดการให้ดีจริง ๆ หรือ ทำให้เพื่อนบ้านรู้สึกว่า เราไม่ได้มาเอาผลประโยชน์อย่างเดียว แต่เป็นข้อตกลงที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการ give and take ให้และรับ อย่างเพื่อนบ้านที่มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน ปรองดองกัน สมานประโยชน์กันและไม่เอาเปรียบกัน
พูดถึงประเด็น “อ่อนไหว” นี้ ก็ขอออกนอกเรื่องสักเล็กน้อย เมื่อกลางๆ ปีที่ผ่านมา ได้มีโอกาสไปเข้าฟังการสัมมนาเกี่ยวกับเรื่องการลงทุนในต่างประเทศที่จัดขึ้นที่ศูนย์ประชุมสิริกิตติ์ มีจนท.ระดับสูงท่านหนึ่งของกระทรวงการต่างประเทศ (ขออภัยที่จำชื่อและตำแหน่งท่านไม่ได้) พูดถึงประเด็นพวกนี้ไว้ได้อย่างน่าสนใจ ในฐานะหน้าด่านของประเทศ ท่านก็ต้องคอยรับคอมเมนต์และฟีดแบคจากจนท.ประเทศต่าง ๆ ที่คอยเตือนถึงประเด็นอ่อนไหวที่เราอาจจะพูดไป หรือ ทำไป โดยเจตนาหรือไม่เจตนา เช่น
ท่านบอกว่า คนอินเดียรู้สึกเจ็บปวด เวลาได้ยินคนไทยพูดว่า “เจองูกับเจอแขก ให้ตีแขกก่อน” หรือ คนลาวอาจรู้สึกเหมือนโดนกด ถ้าเราจะพยายามสนิทกับเค้าโดยบอกเค้าว่า “เราเป็นบ้านพี่เมืองน้องกัน” (เพราะคำถามต่อมาคือ ใครพี่ ใครน้อง เราเป็นเพื่อนบ้านเท่าเทียมไม่ใช่รึ ?)
เพราะงั้น มิติทางสังคมพวกนี้ ก็อาจสามารถเป็นประเด็นทางธุรกิจได้ไม่แพ้เรื่องอื่น ๆ
กรอบใหญ่ในการทำงานของทางโครงการ คือ ต้องทำตามกฎหมายและข้อกำหนดด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ทางการลาว กำหนดร่วมกันกับธนาคารโลก ดูแลเรื่องความเป็นอยู่ชาวบ้าน คุณภาพอากาศ สิ่งแวดล้อมให้อยู่ในกรอบการพัฒนาที่ยั่งยืน
มาต่อกันที่โครงการนะคะ
เที่ยวนี้ ดิฉัน ได้พบผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาสังคม หรือ SD Director คือ คุณ ลิขิต พงศ์พงัน และทีมงาน (คุณ สุรานี คุณ นก และ อ.ทองแหลง) ซึ่งได้กรุณาพาไปดูบ่อนเลี้ยงสัตว์ ฟาร์มแลนด์ หรือ ศูนย์การเรียนรู้ของโครงการ ตลอดจนไปดูการฝึกอาชีพต่าง ๆ ของชาวบ้านเช่น การเพาะเลี้ยงเห็ด การทำอิฐบล็อกจากขี้เถ้าลอย (fly ash) การเลี้ยงสัตว์เป็นต้น
จริง ๆ ทางโครงการยังมีการฝึกอะไรต่อมิอะไรอีกหลากหลายให้กับชาวบ้านที่เป็นการเปิดโลกทัศน์ใหม่ ๆ ให้กับสิ่งที่ชาวบ้านเคยรู้เคยทำมาก่อน อาทิ เช่นการฝึกให้แม่หญิงขับรถบรรทุก การฝึกอาชีพ เช่น การเดินไฟฟ้า การทอผ้า การนวดแผนโบราณ การถนอมอาหาร การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ