ถ้าโลกหมุนเร็วกว่านี้น้ำหนักตัวเราบนตาชั่งจะเบากว่านี้มั้ย ?

กระทู้คำถาม
ถ้าสมมติมีโลกสองโลก ขนาดเท่ากัน เหมือนกันทุกประการ ต่างกันแค่อย่างเดียวคือ "หมุนรอบตัวเองเร็วไม่เท่ากัน"​

โลก A คือ คือโลกนี้แหละ เราชั่งตาชั่งได้ค่า ๆ นึง หากเราเดินทางจากโลก A ไปยังโลก B ซึ่ง "หมุน"​ เร็วกว่ามาก ๆ จะทำให้ค่าที่วัดได้จากตาชั่งเดียวกัน ต่างกันหรือเปล่าครับ ?​

ผมสงสัยว่า "น่าจะ"​ ต่างกัน ผมนึกถึงการโคจรของวัตถุต่าง ๆ ในอวกาศซึ่งไม่หล่นลงมา (อยู่ในสภาพไร้น้ำหนัก) ก็เพราะว่าโคจรเร็วพอเหมาะกับแรงโน้มถ่วง หรือ "เคลื่อนที่"​ เร็วพอที่แรงหนีศูนย์กลางจะเหมาะกับแรงโน้มถ่วงให้อยู่ในวงโคจรได้

เป็นไปได้หรือไม่ที่มันก็เกิดขึ้นเหมือนกันหากโลกเราหมุนเร็วมาก ๆ แน่นอนว่าคนที่เกิดอยู่บนโลกย่อมไม่รู้สึกว่าโลกหมุนเร็ว แต่รู้สึกว่า "ทำไมตัวเองเบาจัง ?"
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
ใช่ครับ

https://en.wikipedia.org/wiki/Gravity_of_Earth#Latitude

แรงหนีศูนย์กลางจากการหมุนมีผลต่อน้ำหนักที่ชั่งได้ครับ แต่ถามว่ามันมีนัยสำคัญขนาดนั้นไหม ก็แล้วแต่มุมมอง
ถ้าอิงตาม WikiPedia แรงหนีศูนย์กลางที่เส้นศูนย์สูตร จะออกแรงสวนทางกับแรงดึงดูดโลกได้ประมาณ 0.3% ของแรงดึงดูดโลก

แต่ถ้าโลกมันหมุนเร็วกว่านี้อยู่แล้วแต่แรก คุณก็ไม่รู้หรอกว่าตัวเบาจัง เพราะคุณก็ชินกับแบบนั้น
แต่ถ้ามาเพิ่มทีหลัง คุณก็คงจะรู้สึกได้ ถ้าสัมผัสคุณวัดความละเอียดของน้ำหนักระดับ 0.1% ได้ แถมการจะเร่งความเร็วการหมุนของโลกก็ไม่ใช่ง่ายๆด้วยสิ (แถมคุณคงไปรู้สึกถึงการเร่งของการหมุนมากกว่าครับ เรื่องน้ำหนักนี่คงเป็นเรื่องรองไปเลย)


...บางทีหลายคนก็รีบกัดจขกท.เกินไป
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่