10 ความจริงของการก่อการร้ายที่เราไม่อยากรับรู้


                                                     Credit: LIONEL BONAVENTURE/AFP/Getty Images

หลังจากโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นกลางกรุงปารีสเมื่อวันที่ 13 พ.ย 2015 ตอกย้ำให้เราได้เห็นว่าปัญหาการก่อการร้ายนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันถือเป็นภัยคุกคามต่อโลกอันดับหนึ่งที่ยากต่อการแก้ไข และปัจจุบันมันก็ยิ่งทวีคูณความรุนแรงมากขึ้น โดยแรงจูงใจในการลงมือก่อเหตุมีได้หลายปัจจัยด้วยกันทั้ง เชื้อชาติ ศาสนา ดินแดน เศรษฐกิจ สังคม และโดยเฉพาะอุดมการณ์ ซึ่งถือเป็นเรื่องระเอียดอ่อนเกินกว่าจะแก้ไขได้อย่างสิ้นซากถาวร เพราะหากอุดมการณ์นั้นๆมีแนวคิดที่รุนแรงร้ายกาจมันก็เหมือนกับเป็นไวรัสที่แพร่พันธุ์เป็นไฟลามทุ่งอย่างรวดเร็ว และก็สายเกินไปที่จะหยุดยั้งมัน

การโจมตีกรุงปารีสนับว่าเป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจเลย เมื่อพิจารณาจาก 10 ความจริงอันหลีกเลี่ยงไม่ได้ในการเกิดขึ้นของการก่อการร้าย มีสาเหตุหลายอย่างเลยที่ชาวยุโรปในทุกวันนี้ต้องจำใจอยู่ด้วยความหวาดระแวงกับภัยคุกคามดังกล่าว


1.เราไม่สามารถกันผู้ก่อการร้ายให้ออกไปได้

ปัจจุบันมีการหลั่งไหลเข้ามาในพรมแดนทั่วทุกหนแห่งในทุกนาที ยกตัวอย่างเช่นสหรัฐอเมริกามีพื้นที่ชายฝั่งมากถึง 9,500 ไมล์ กรีซเป็นเจ้าของเกาะกว่า 6,000 เกาะและมีชายฝั่งยาวกว่า 10,000 ไมล์ ด้วยพื้นที่ขนาดนี้ย่อมต้องมีช่องโหว่มากมาย เรายังสามารถเดินทางออกจากอีรักและซีเรียเพื่อไปตุรกี และจากตุรกีไปบัลแกเรียได้อย่างง่ายดายไม่ว่าจะเป็นไปอย่างถูกกฎหมายหรือลักลอบเข้าไป ทุกๆปีมีผู้คนกว่า 800 ล้านคนเดินทางเข้าไปสหรัฐ และมี 1.7 พันล้านคนเดินทางเข้าไปในทวีปยุโรป แน่นอนว่าเป็นไปไม่ได้เลยที่จะสร้างกำแพงที่สูงและยาวมากพอจะครอบคลุมพื้นที่ชายแดนรอบประเทศหรือทั้งทวีปเพื่อป้องกันการไหลเข้ามาของบุคคลอันไม่พึงประสงค์ได้ ซึ่งทุกวันนี้ก็ต้องทำใจยอมรับ


2. ภัยคุกคามนั้นแฝงอยู่ท่ามกลางพวกเราแม้ว่าจะเป็นคนชาติเดียวกัน

เหตุการณ์โจมตีที่กรุงลอนดอนเมื่อปี 2005 ผู้ก่อการร้ายนั้นคือชาวอังกฤษด้วยกันเอง เช่นเดียวกับเหตุการณ์ระเบิดในงานวิ่งมาราธอนที่บอสตันผู้ลงมือก็คือชาวสหรัฐด้วยกัน และล่าสุดที่กรุงปารีสมีการระบุว่าตัวผู้ก่อการร้ายส่วนใหญ่มีสัญชาติฝรั่งเศสอีกเช่นกัน ทุกๆประเทศในโลกปัจจุบันล้วนมีคนหนุ่มสาวที่มีความคิดรุนแรง และอินเตอร์เน็ตถูกใช้เป็นเครื่องมืออันตรายมในการเผยแพร่อุดมการณ์และง่ายต่อการถูกปั่นหัว แม้ว่าจะมีการเพิ่มทหารรักษาดินแดนไปคุ้มกันตามพรมแดนโดยรอบและเพิ่มความเข้มงวดในการกันไม่ให้ผู้อพยพจากสงครามเข้ามาในประเทศมากขึ้นกว่าเดิม มันก็เปล่าประโยชน์ทันทีในเมื่อภัยคุกคามนั้นมาจากคนบ้านเดียวกัน

3. แม้จะมีมาตรการเฝ้าระวังมากขึ้นก็ไม่สามารหยุดยั้งการก่อการร้ายได้

เมื่อปี 2013 เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน ก็ได้ทำให้เราได้รู้ว่า สหรัฐมีระบบที่สามารถแฮ็กและสอดส่องผู้คนไปได้ทั้งโลก โดยให้เหตุผลว่าเพื่อเป็นการเฝ้าระวังภัยการก่อการร้าย เช่นเดียวกับรัฐบาลส่วนใหญ่ในยุโรป ปัญหาก็คือข้อมูลที่ถูกสะสมไม่ว่าจะได้จากภาพถ่ายดาวเทียว ภาพจากโดรน อีเมลของคุณ หรือแม้กระทั้งข้อความในมือถือของคุณ ยิ่งมีการสะสมข้อมูลดังกล่าวมากขึ้นมันก็ยิ่งยากที่จะแยกสัญญาติรบกวนออกไปได้ จากข้อมูลการสืบสวนของวอชิงตันโพสหน่วยความมั่นคงสหรัฐมีการลักลอบดักฟังการสื่อสารเหล่านี้เป็นพันๆล้านข้อความในแต่ละวัน ทำให้เรารู้เลยว่าสหรัฐใช้มาตรการเฝ้าระวังอย่างหนักหน่วงและก็มากจนเกินไปด้วยซ้ำเพราะส่งผลต่อการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมีซูเปอร์คอมพิวเตอร์อันล้ำสมัยที่ถูกออกแบบมาเพื่อเค้นหาบุคคลที่มีพฤติกรรมต้องสงสัย แต่ไม่ทุกข้อมูลที่จะได้รับการวิเคราะห์ จนมีหลายครั้งที่ต้องเสียเวลาไปวันๆโดยที่ไม่ได้อะไรเลยนอกจากข้อมูลที่ประดั่งอัดแน่นเข้ามาเกินจะวิเคราะห์ได้ทั่วถึง แต่ก็มีหลายครั้งเหมือนกันที่เจ้าหน้าที่เหมือนจะโชคดีได้ตัวผู้ต้องสงสัยเข้าและมีแนวโน้มที่จะลงมือก่อการร้ายด้วย แม้จะรู้ตัวผู้ต้องสงสัยแล้ว ก็ต้องวิเคราะห์สืบสวนถึงวิธีการที่จะลงมือก่อเหตุ และดูว่ามีส่วนเชื่อมโยงไปสู่การโจมตีครั้งก่อนๆหรือไม่ จึงจะลงมือจับกุมทันที แต่สุดท้ายก็ลงเอยด้วยการจับกุมผู้ร้ายปลายแถวที่จะลงมือก่ออาชญากรรมทั่วไปมาแทน


4. แม้จะสามารถกำจัดไอซิสออกไปได้แต่ก็ใช่ว่าการก่อการร้ายจะหยุดหายไป

เราไม่ควรมองโลกในแง่ดีเกินไป กลุ่มก่อการร้ายไอซิสไม่ใช่กลุ่มหัวรุนแรงที่น่ากลัวที่สุดในทุกวันนี้แน่นอน เพราะก่อนที่จะมีไอซิส กลุ่มคนเหล่านี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของอัลกออิดะห์(al Qaeda)มาก่อน กลุ่มที่เคยก่อเหตุเศร้าสลดจนโลกไม่มีวันลืมอย่าง 9/11 ทั้งยังระเบิดกรุงมาดริดและลอนดอน ก่อนที่จะมีอัลกออิดะห์ เคยมีกลุ่มเฮซบอลเลาะห์ (Hezbollah) และกลุ่มฮามาส (Hamas) มาก่อน และอีกเช่นกันก่อนที่จะมี 2 กลุ่มนี้เคยมีกลุ่มอาบู นีดาล  (Abu Nidal) กลุ่มกันยาทมิฬ(Black September) และกลุ่มพีแอลโอ (PLO) ออกมาผงาดเมื่อครั้งในอดีต โลกเราได้เผชิญกับภัยก่อการร้ายมากมายนับครั้งไม่ถ้วน ตั้งแต่ช่วง 1970 กับ 1980 จนกระทั้ง 9/11   ไอซิสอาจจะยังไม่ใช่อำมหิตที่เกรี้ยวกราดที่สุดในวันนี้เพราะหากเมื่อคนกลุ่มนี้ได้ถูกกำจัดจนพังทลายไปจากอีรักและซีเรียก็จะยังคงมีกลุ่มใหม่ๆถือกำเนิดขึ้นมาสานต่อหรือมีแนวคิดที่รุนแรงกว่าเกิดขึ้นอย่างแน่นอน เป็นวงจรอุบาทที่ไม่มีวันยุติลง
ไม่ใช่เพียงแต่ชาวมุสลิมที่สามารถสร้างหายนะได้ ชนชาติอื่นๆหรือคนบ้านเดียวกันก็รับประกันไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น นายแอนเดอส์ เบห์ริง เบรวิก ชาวนอร์เวย์ ผู้มีอุดมการณ์ขวาจัดทำการสังหารหมู่ไปกว่า 77 รายเมื่อปี 2006 โดยเหยื่อส่วนใหญ่เป็นเยาวชน และกว่าครึ่งของการตายในตะวันตกที่เป็นผลพวงมาจากการก่อการร้าย ล้วนแล้วแต่เป็นผู้ก่อเหตุที่ไม่ใช่ชาวมุสลิม เป็นการก่อการร้ายแบบหมาป่าเดียวดาย (Lone Wolf) หรือผู้ที่ก่อเหตุเพียงลำพังไม่ได้ขึ้นตรงคำสั่งจากใคร แต่ซึมซับแนวคิดอุดมการณ์มาจากกลุ่มใดก็ตาม และเราก็ไม่สามารพูดอย่างเต็มปากว่าชาวพุทธจะรักสงบเสมอไปตัวอย่างเช่นเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2012 ได้มีนักเคลื่อนไหวชาวพุทธก่อเหตุสังหารหมู่ที่หมู่บ้านยาน ไท ประเทศเมียนมาร์ คร่าชีวิตไป 70 คน โดย 28 คนเป็นเด็ก ถูกสังหารด้วยการฟันจนตาย

5. การก่อการร้ายยังคงเป็นภัยคุกคามที่เล็กน้อยหากว่ากันตามสถิติ

จากสถิติ 2015 Global Terrorism Index ช่วงระหว่างปี 2000-2014 มีชาวตะวันตกเพียงร้อยละ 2.6 เท่านั้นที่เสียชีวิตจากการก่อการร้าย โดยสถิติดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าเหยื่อส่วนใหญ่มักอยู่ในเขตความไม่สงบหรืออยู่ในพื้นที่ความขัดแย้งไม่ว่าจะเป็น ซีเรีย อีรัก ไนจีเรีย อัฟกานิสถาน เอลซาวาดอร์  ฮอนดูรัส และซูดานใต้  ดังนั้นจะเป็นการดีที่สุดถ้าหากเราหลีกเลี่ยงพื้นที่เสี่ยงได้

ุ6. แม้จะไม่ได้อยู่เขตความขัดแย้งเราก็ไม่สามารถวางใจได้

แม้สถิติในข้อข้างต้นจะทำให้เราอุ่นใจบ้าง แต่อย่างที่เห็นในปัจจุบันภัยคุกคามนี้ลามเข้ามาในสถานที่สำคัญที่มีคนพลุกพล่านและกำลังดำเนินชีวิตไปอย่างปกติแล้วเรียบร้อย หากมองในอีกมิติหนึ่งยุโรปในตอนนี้ก็เหมือนกับระเบิดเวลาอันเนื่องมาจากวิกฤติผู้อพยพจากซีเรีย ซึ่งตอนนี้ก็มากกว่า 750,000 คนไปแล้ว โดยไม่ใช่เรื่องยากเกินกว่าการคาดเดาเลยที่จะมีกลุ่มผู้ไม่พึงประสงค์แฝงตัวเข้ามาด้วย

7.การวางมาตรการตอบกลับอย่างไม่รัดกุมอาจจะทำให้สถานการณ์กลับเลวร้ายยิ่งกว่าเดิม

หลังโศกนาฏกรรมกรุงปารีส ฝรั่งเศสรีบส่งกำลังภาคพื้นเข้าไปโจมตีฐานที่มั่นของไอซิสและซีเรียทันที แต่กลับไหวตัวทันเสียก่อน ยิ่งถ้าตะวันตกตอบกลับด้วยการทิ้งระเบิดไส่ไอซิสทุกคนที่เจอ ความเสี่ยงที่คนบริสุทธิ์จะโดนลูกหลงเข้าไปด้วยก็จะเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันถ้าตะวันตกเข้าไปถล่มซีเรียก็เหมือนเป็นการช่วยเหลือกบฏซีเรียอื่นๆโดยไม่ตั้งใจ และอาจเหมือนเป็นการช่วยรบให้กับอัสซาดที่ตะวันตกต่อต้านอยู่ด้วยซ้ำ ดังนั้นตะวันตกควรที่จะวางแผนให้บทบาทของทหารไปในทางป้องกันและตอบโต้การโจมตีของผู้ก่อการร้าย ด้วยการมองให้ออกว่าเป้าหมายใดกันแน่ที่ควรโจมตีรวมถึงต้องเข้าใจไปถึงการเปลี่ยนแปลงของแต่ละภูมิภาคด้วย

8. ปัญหาการก่อการร้ายควรได้รับการจัดการอย่างเด็ดขาดและตรงจุด

เราสามารปรับเปลี่ยนนโยบายเพื่อลดความเสี่ยงในการถูกโจมตีได้ เราสามารตัดช่องทางที่เป็นตัวหล่อเลี้ยงทางการเงินให้กับกลุ่มหัวรุนแรงได้ ด้วยการบังคับใช้กฎหมายไปยังชุมชนต่างๆที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นเป้าหมายของผู้ก่อการร้ายในการเข้าไปเกณฑ์คน และเพิ่มกำลังในการสังเกตการณ์พื้นที่ดังกล่าวด้วยการรายงานความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ต้องสงสัยอย่างต่อเนื่อง หรือจัดศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพให้กับเยาวชนที่มีแนวโน้มที่ง่ายต่อการถูกดึงดูดด้วยแนวคิดที่รุนแรง แต่ทุกวันนี้ยังไม่มีการดดำเนินมาตรการใดๆตามที่กล่าวมา

9. การจะรับมือกับปัญหานี้ต้องมาพร้อมค่าใช้จ่ายที่สูงลิบลิ่ว

เราจะสามารถเพิ่มหน่วยรักษาความปลอดภัยหรือกระตุ้นตำรวจและหน่วยงานต่างๆเพื่อแก้ไขปัญหาก่อการร้ายนี้ได้ ก็ต้องใช้ทรัพยากรบุคคลและจำนวนเงินมหาศาล ตำรวจมากขึ้นก็หมายถึงค่าใช้จ่ายความปลอดภัยที่เพิ่มมากขึ้น


10. อย่าใช้แต่ความโกรธแค้นอย่างเดียวในการลงมือตอบโต้ผู้ก่อการร้าย

การตอบโต้กลับในทันที อาจจะทำให้เป็นการเข้าทางกลุ่มคนเหล่านี้ด้วยซ้ำไป หลังเหตุการณ์ 9/11 บินลาเดนกระตุกถ้ำเสืออย่างสหรัฐอย่างได้ผลเกินคาด นำไปสู่การประกาศสงครามกับผู้ก่อการร้ายแทบจะทันควัน และลงท้ายด้วยสงครามอีรักอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ มีผู้คนสูญเสียจำนวนมาก ไม่เพียงแต่เป้าหมายอย่างพวกหัวรุนแรง แต่รวมปึงผู้บริสุทธิ์จำนวนมาก และทหารที่เข้าไปรบเพื่อชาติอีกนับไม่ถ้วน เช่นเดียวกับการตอบโต้กลับของฝรั่งเศสหลังจากาปารีสถูกโจมตี ก็เข้าไปทิ้งระเบิดในอีรักและซีเรียทันที จะเห็นได้ว่าตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันผู้นำโลกก็ยังคงใช้ความรุนแรงตอบกลับความรุนแรงโดยไม่คิดหน้าคิดหลังอย่างถี่ถ้วน ยิ่งเพิ่มระดับความรุนแรงเข้าก็จะยิ่งเข้าทางกลุ่มคนเหล่านี้มากเท่านั้น ท้ายสุดเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สามอย่างไม่รู้ตัวที่ปัจจุบันก็ใกล้จะพูดได้อย่างเต็มปากแล้วด้วยซ้ำ ทางที่ดีไม่ควรใช้อารมณ์นาตอบโต้กลับด้วยความรุนแรง สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายมากขึ้น ผู้คนเสียชีวิตและมีผู้อพยพหลั่งไหลเข้ามามากกว่าเดิมจากที่เป็นอยู่ยังแทบควบคุมไม่ได้ ทั้งยังเสียงประมาณไปอีกมาก

ทางที่ดีเราควรที่จะตอบโต้ด้วยการตัดช่องทางผลที่เป็นผลประโยชน์แก่คนกลุ่มนี้ จะดีที่สุดถ้าเม็ดเงินหรืออาวุธมากมายไม่สามารไปถึงมือไอซิสได้อีก นับว่าเป็นวิธีการที่ลดความเสี่ยงที่สุดแล้ว เพราะความโกรธที่มากเกินไปก็คือจุดอ่อนที่น่ากลัวไม่แพ้กัน


Credit: foreignpolicy.com
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่