สวัสดีค่ะ เมื่อช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน 2558 ได้มีโอกาสไปฝึกปฏิบัติธรรมที่วัดอัมพวัน หลวงพ่อจรัญ จ.สิงห์บุรี ต้องบอกก่อนว่าเคยได้ไปปฏิบัติธรรมถือศีล 8 มาบ้าง แต่ครั้งนี้เพิ่งรูจักคำว่าการฝึกกรรมฐาน ไม่เคยรู้สึกยากอะไรขนาดนี้ (หรือยิ่งแก่ยิ่งกรรมเยอะไม่แน่ใจ) เคยเข้าใจมาตลอดว่าการนั่งสมาธิคือการกำหนดลมหายใจ พุทธโธ แต่วัดนี้แตกต่างอย่างไรเดี๋ยวมาเล่ารายละเอียดให้ฟังค่ะ
เมื่อเดินทางเข้าไปภายในวัดอัมพวัน สิ่งแรกที่จะเห็นคือ รูปองค์สมเด็จพระเจ้าตากสิน แต่ละท่านที่มาถึงจะมาสักการะบูชาที่นี่ก่อน และด้านหลังพระรูปจะเป็นอาคารที่ลูกศิษย์หลวงพ่อจรัญ มารอพบหลวงพ่อตามเวลาที่กำหนดค่ะ
ท่านที่เคารพและศรัทธาหลวงพ่อจรัญ สามารถมาถวายปัจจัย สิ่งของ อาหารโรงทาน และรับพรจากท่านได้ โดยในช่วงที่เราไปนั้นเปลี่ยนเวลาใหม่ ท่านจะมาพบวันละ 2 เวลา คือ 09.30 น. และ 13.30 น. และห้ามนำดอกไม้มาถวาย เพราะหลวงพ่อท่านแพ้เกสรดอกไม้ แต่ละวันมีผู้คนมากราบไหว้ รับพรเยอะมาก โดยเฉพาะในวันอาทิตย์ คนจะเนืองแน่นเป็นพิเศษ เพราะเปนวันที่คนออกศีล 8 จะมารอกราบและรับพรจากท่านก่อนกลับ
นอกจากนี้ โรงทาน เป็นอีกสถานที่ที่ดีมากๆ ของที่นี่ ที่โรงทานมีอาหารรอรับประชาชนที่มาวัดตลอดทุกวัน (อาหารเจ) และเยอะมากๆ ในวันอาทิตย์ โดยประชาชนผู้ใจบุญจะมาทำโรงทานให้กับแขกที่มาวัด และผู้ที่ออกศีล เช่น ขนมจีนน้ำยา ลอดช่อง กระเพาะปลา ไอศครีม น้ำสมุนไพร ลูกอม ฯลฯ อร่อยทุกอย่าง กินจนพุงกางเลยก่อนกลับ
1. การเตรียมความพร้อมก่อนมาปฏิบัติธรรม
ลำดับแรกต้องเตรียมใจล้วนๆ กับความตั้งใจที่จะไปปฏิบัติธรรม ไม่ว่าจะด้วยศรัทธา เพื่อความเป็นสิริมงคล หรือเพื่อสร้างบุญบารมี ต้องมีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติ เพราะการไปปฏิบัติธรรมที่วัดอัมพวัน ไม่สบายเหมือนอยู่บ้านแน่นอน ทั้งการตื่นนอน ที่หลับที่นอน เวลาว่าง ห้องน้ำ อาหาร ล้วนแล้วแต่ต้องอยู่แบบสมถะ ยิ่งถ้าเป็นวันศุกร์ เสาร์ คนมาปฏิบัติธรรมเยอะมาก กว่า 300 คนขึ้นไป ยิ่งแออัด พื้นที่การนอนแค่พอดีตัว เอากระเป๋าใบใหญ่มาไม่เหมาะ เพราะแทบจะไม่มีที่วาง กลางคืนคนจะเดินข้ามเท้ากันไปมา เพราะไม่มีทางเดินค่ะ (อยากใหปรับปรุงเรื่องที่วางกระเป๋ามีกฎให้วางบนหัวนอน อย่าวางของตรงเท้า คนเดินติดกระเป๋า) นอกจากนี้ ทางวัดมีกฎไม่รับคนที่ 1) มาแก้บน 2) เจ็บป่วย 3) เครียดออกจากงาน 4) มีอาการทางจิตประสาท
2. สิ่งของที่ควรเตรียมมา
1) บัตรประจำตัวประชาชน (ห้ามลืม)
2) ผ้าเช็ดตัว (เอาผืนเล็กมา เพราะมีห้องอาบน้ำเดี่ยว ใช้เสร็จไม่มีที่ตากผ้า ถ้าได้มุมนอนติดกำแพงถึงจะพอมีที่ตาก)
3) อุปกรณ์อาบน้ำ เช่น สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน แชมพู ถ้าจะสระผม ไม่มีไดร์เป่า ต้องเช็ดให้แห้งเอง และอาจจะต้องอาบนำบ่อย ช่วงที่เราไปอาบนำวันละ 3-4 รอบ แทบทุกเวลาที่พัก เพราะอากาศร้อนชื้นตัวเหนียวตลอด (บางคนอาจมีชุดนอนสีขาวมาเปลี่ยน แต่ส่วนใหญ่นอนทั้งชุดปฏิบัติธรรมนั่นแหละ)
4) ยารักษาโรคประจำตัว ส่วนยาสามัญทั่วไปทางวัดจัดไว้ใหที่หน้าทางเข้าอาคารปฏิบัติธรรม
5) ทรัพย์สินของมีค่า ถ้าไม่จำเป็นควรเก็บไว้ที่บ้านค่ะ ทางวัดมีย่ามให้ยืม แต่มิจฉาชีพแฝงตัวก็มีต้องระมัดระวัง เวลานั่งสมาธิเอากระเป๋าแขวนคอไว้ก็จริง แต่การมีทรัพย์สินมากทำให้จิตเราพะวาพะวังได้เช่นกัน เงินสด ไม่ต้องพกมาเยอะ เอาแค่พอมาทำบุญ และซื้อของกิน เครื่องดื่ม (มีขายตลอด) ส่วนโทรศัพท์ถ้าจะพกมาก็ได้ แต่ถ้าตั้งใจจริงควรตัดค่ะ ไม่เล่น และไม่มีที่ชาร์ทแบต พกไว้ก็พะวงอีกกลัวหาย ทรัพย์สินมีค่าทั้งหมดห้ามเอาไว้ในกระเป๋าเสือผาเด็ดขาด ที่ผ่านมาขนาดพกติดตัวตอนมาปฏิบัติธรรม ยังมีฉกกันไปตอนเผลอเลยค่ะ
ช่องรับชุดปฏิบัติธรรม และช่องส่งใบลงทะเบียน
นอกจากนี้ ทางวัดมีอุปกรณ์ให้ยืมแทบทุกอย่างเลยค่ะ ไม่ตองเตรียมมา แค่ช่วยทำบุญชำระหนี้สงฆ์ ค่าน้ำค่าไฟ ค่าซักผ้า ของที่มีให้ผู้ปฏิบัติธรรมยืม ได้แก่
1) ชุดขาว 2 ชุด (ผู้หญิงจะได้เป็นชุดผ้าถุง ส่วนผู้ชายได้ชุดกางเกง)
2) เข็มขัดรัดผ้าถุง
3) ผ้าสไบขาว
4) กระเป๋าย่ามใบเล็กไว้ใส่ทรัพย์สิน
5) สมุดระเบียบปฏิบัติและบทสวด 1 เล่ม แจกให้เอากลับบ้านไปได้เลย แต่ถ้ากลับมาครั้งต่อไปต้องพกกลับมาด้วย
6) ขันน้ำ (ใส่อุปกรณ์อาบน้ำ) ในห้องน้ำจะเป็นฝักบัวทั้งหมด และมีส้วมในห้องน้ำค่ะ มีทั้งห้องแบบชักโครก และนั่งยอง)
7) ปลอกหมอน
ของทั้งหมดคืนเมื่อเลิกปฏิบัติธรรมค่ะ (ยกเว้นสมุด) ไม่ต้องซักเอง แค่นำผ้าไปวางใส่ตระกร้าไว้ตรงจุดใกล้ๆ ที่รับชุด และคลี่ออกตามที่ป้ายแจ้งไว้ แต่คนที่อยู่ 7 วันอาจจะต้องซักผ้าใส่ระหว่างปฏิบัติธรรมค่ะ
3. ระยะเวลาการปฏิบัติธรรม
การฝึกปฏิบัติธรรมวัดอัมพวัน มี 2 ระยะ คือ แบบ 3 วัน และ 7 วัน ปกติในคู่มือจะบอกว่า 7 วัน ต้องไปก่อนวันโกน หรือ 3 วันไปวันศุกร์ แต่ตอนที่ไปจริงๆ เห็นว่าไปวันไหนก็ได้ตามสะดวก ในวันศุกร์เย็นจะมีพิธีสมาทานกรรมฐาน (ขออนุญาตถือศีล) และในเช้ามืดวันอาทิตย์จะมีพิธีลากรรมฐาน (ออกศีล) ส่วนใครจะอยู่ต่อ 7 วัน ก็อยู่ปฏิบัติต่อไปจนครบ 7 วัน ตราบใดที่ยังใส่ชุดขาวอยู่ถือว่ายังเป็นผู้ปฏิบัติธรรม เช่น เข้าปฏิบัติธรรมวันศุกร์เย็น ถ้าปฏิบัติ 3 วัน ออกศีลในวันอาทิตย์ ถ้าปฏิบัติ 7 วัน ออกศีลในวันพฤหัส หรือถ้ามาวันเสาร์ อาจจะแยกไปทำพิธีสมาทานกรรมฐานต่างหาก พอวันอาทิตย์มาเข้าพิธีลากรรมฐานรวมกับกลุ่มใหญ่ที่มาในวันศุกร์ แต่ยังคงอยู่ปฏิบัติต่อจนถึงวันจันทร์
4. การเดินทาง
สำหรับการเดินทางไปวัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี (ต้องระบุจังหวัดเพราะเพิ่งรู้ว่ามีหลายวัดอัมพวันมาก) สามารถเดินทางได้หลายวิธี ได้แก่
1. ขับรถไป (จากกรุงเทพไปประมาณ 1.30 - 2 ชม.) วิ่งเส้นทางด่วนบางปะอิน ตรงไปอยุธยา - สิงห์บุรี ง่ายที่สุด GPS เลยค่ะ ตอนเราไปใช้ GPS เหมือนกัน วิ่งสบายๆ รถไม่ติด
2. นั่งรถตู้ มีท่ารถที่ห้างเซนจูรี่ อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ส่งถึงหนาวัดเลย
3. รถบัสที่หมอชิต ส่งที่หน้าปากทางเขาวัด และนั่งรถรับจ้างเข้าไป ประมาณ 1 กม.
หมายเหตุ : พิธีปฐมนิเทศน์ สมาทานศีล จะเริ่มที่อาคารปฏิบัติธรรมประมาณ 17.00 น. แต่ 16.45 น. คนกเริ่มทยอยเข้าแลว ดังนั้น ผู้ที่ตั้งใจมาปฏิบัติธรรม ควรมาเผื่อเวลา มาถึงอย่างช้าที่สุด 15.00 น. เพื่อลงทะเบียน รับชุด เก็บสัมภาระ อาบน้ำ นุ่งชุดขาว เตรียมพร้อมให้เสร็จก่อน 16.00 น.
5. การลงทะเบียน
หลังจากเข้ามาในโซนปฏิบัติธรรมแล้ว ให้ไปรับใบลงทะเบียนที่เจ้าหน้าที่ ตรงจุดลงทะเบียน (มีป้ายบอก) แล้วเจ้าหน้าที่จะชี้แจงให้ทราบว่าต้องทำอย่างไรบาง (ตั้งใจฟังด้วยนะคะเพราะอาจจะโดนดุ และเจ้าหน้าที่เน้นย้ำมากว่า ตอนยื่นใบลงทะเบียนต้องนำบัตรประชาชนแนบที่มุมซ้ายของกระดาษ ทำไมต้องย้ำหลายรอบมิเข้าใจเหมือนกัน)
เมื่อกรอกข้อมูลลงในช่องจนครบทุกช่องแล้ว เซ็นชื่อ แล้วนำมาที่จุดรับชุด ยื่นใบสมัครพร้อมกับบัตรประจำตัวประชาชน แล้วเจ้าหน้าที่ที่นุ่งขาวอยู่ในห้อง จะเขียนบัตรประจำตัว แล้วส่งให้เราพร้อมกับคืนบัตรประชาชน บัตรประจำตัวนี้จะต้องพกติดอกตลอดเวลาที่ปฏิบัติธรรม เพื่อป้องกันกลุ่มมิฉาชีพแฝงตัวเข้ามาขโมยของตอนปฏิบัติธรรม คนที่เข้ามาแต่ละวัน จะได้บัตรคนละสี
6. การเข้าที่พัก
ที่บัตรประจำตัวจะระบุชื่อ เป็นรหัสตัวเลข และระบุอาคารที่พัก เลขที่นอน เมื่อไปถึงอาคารที่พักแล้ว ให้ดูตรงเลขบรรทัดที่ 2 นั่นคือเลขที่นอน ที่เขาระบุให้เราไปนอน ระวังดูผิดสลับกับเลขที่ประจำตัวนะคะ
ที่นอนแต่ละที่จะมีหมอนให้ 1 ใบ ให้เรานำปลอกหมอนที่ยืมมาใส่ให้เรียบร้อย ส่วนใครต้องการผ้าห่ม จะมีไว้ที่มุมห้องภายในห้องพัก (วันกลับเห็นเจ้าหน้าที่เก็บผ้าห่มไปซัก แต่ตอนเราหยิบมาใช้ เรายังไดกลิ่นอับๆ อยู่นะ)
7. เวลาปฏิบัติธรรม
การปฐมนิเทศน์วันแรก จะเริ่มประมาณ 17.00 น. (บทสวดทั้งหมดอยู่ในหนังสือระเบียบปฏิบัติฯ) จะมีเจ้าหน้าที่มาชี้แจงกฎระเบียบ ซึ่งสามารถอ่านได้ในคู่มือ จากนั้นจะมีพระอาจารย์มาสอนถึงการปฏิบัติธรรม ตลอดจนวิธีปฏิบัติกรรมฐาน ซึ่งในเบื้องต้นจะมี 2 แบบคือ การเดินจงกรม และการนั่งสมาธิกำหนดจิตไวที่ท้อง (ยุบหนอ พองหนอ) เรื่อยไปจนถึงเวลา 21.00 น. จึงจะทยอยออกจากอาคาร
หมายเหตุ อาคารปฏิบัติธรรมหลัก จะมี 2 ชั้น โดยจะแบ่งกลุ่มผู้ปฏิบัติใหม่ และกลุ่มผู้เคยปฏิบัติแล้ว ใครที่มาใหม่ต้องฟังการบรรยาย และฝึกปฏิบัติตามพระอาจารย์ ส่วนคนที่เคยทำแล้วเริ่มปฏิบัติธรรมได้เลย พระอาจารย์จะช่วยจับเวลา และบอกให้สลับจากเดินเป็นนั่ง จากนั่งเป็นเดิน ในกลุ่มฝึกใหม่อาจจะฝึกทีละ 15 นาที (เดิน 15 นั่ง 15 ทำครบ 2 อย่างเรียกว่า 1 บัลลังก์) ส่วนผู้ปฏิบัติเก่าจะปฏิบัตินานกว่า
ช่วงเวลาการปฏิบัติธรรม แบ่งออกเป็น 4 ช่วง คือ
1) 04.00 - 06.00 น. (ก่อนตี 3 คนจะตื่นกันแล้ว ลงมาจองห้องน้ำอาบน้ำ แปรงฟัน ยิ่งคืนแรกคนไม่ชิน นอนกันไม่หลับ ลุกเดินกันทั้งคืน)
2) 08.00 - 11.00 น.
3) 13.00 - 16.00 น.
4) 18.00 - 21.00 น.
ควรเข้าอาคารปฏิบัติธรรมก่อนเวลา 15 นาที และถ้าคนเยอะมาก ต้องนั่งชิดกันหน่อย ห่างกัน 1 ช่วงแขน (คนเยอะมากในวันศุกร์ เสาร์ วันอาทิตย์กจะกลับกัน วันธรรมดาคนจะน้อย)
การปฏิบัติวิปัสนากรรมฐานของที่วัดนี้ ขั้นพื้นฐานมี 2 แบบตามที่กล่าวไปแล้วคือ เดินจงกรม กับ นั่งวิปัสสนา ในการเดินพระอาจารย์สอนให้ยืนหลับตาแลวตั้งสมาธิไว้ที่กะหม่อม จากนั้นค่อยๆ แสกนลงมาที่ท้อง (ท่องว่า "ยืน") แลวจากท้องไล่ลงไปที่ปลายเท้า (ท่องว่า "หนอ") จากปลายเท้า แสกนกลับมาที่ท้อง (ท่องว่า "ยืน") จากท้องขึ้นมาจนถึงกะหม่อม (ท่องว่า "หนอ") สลับขึน-ลง จนครบ 5 เที่ยว จากนั้นจึงก้มหน้า ลืมตา แล้วเดิน "ย่างหนอ" (วันปฏิบัติธรรมช่วงศุกร์เสาร์ คนจะเยอะมาก เดินได้ไม่เกิน 7 ก้าว) แล้วจึงหยุด-ยืน-กลับ-ยืน-ย่าง อยู่แบบนั้น สำหรับคนที่มาใหม่พระอาจารย์จะให้ฝึกออกเสียง (ขอไม่อธิบายละเอียดมากนะคะ ต้องไปลองทำเอง)
ในการนั่งวิปัสนา ของวัดอัมพวันจะให้กำหนดสมาธิไว้ที่ท้อง "หยุบหนอ พองหนอ" ตามที่กล่าวไว้ข้างตน
นับว่าเป็นการฝึกความอดทนทางกายสุดๆ ในระหว่างที่มาฝึกปฏิบัติขอให้ยึดเอาความถูกต้องเป็นหลัก แล้วนำกลับไปปฏิบัติเอง ส่วนใครที่มาเพราะไม่สบายใจ ผิดหวัง หรืออะไรกตามแต่หลวงพ่อก็พูดว่าการมาฝึกปฏิบัติแค่ไม่กี่วันอย่าเพิ่งคาดหวังว่าจะเกิดบารมี หรือแก้ไขปัญหาอะไรได้ เอาหลักให้ถูกต้องก่อน
การลาศีล จะทำในวันอาทิตย์ช่วงเช้ามืด เจ้าหน้าที่จะขอคืนบัตรประจำตัว เมื่อทานขาวเช้าเสร็จ เก็บสัมภาระ อาบน้ำ แล้วนำชุด ของใช้ไปคืนตรงที่ซักผ้า ที่สำคัญอย่าลืมบริจาคค่าซักรีดดวยนะคะ อันนี้สำคัญ เพื่อให้คนรุ่นหลังต่อจากเราได้ใช้ต่อ
8. เวลารับประทานอาหาร
รับประทาน 2 มื้อ คือ 6.30 น. และ 11.30 น. อาหารจะเป็นอาหารเจทุกมื้อ ใครที่ไม่กินผักอาจใช้ชีวิตยากขึ้นไปอีก
9. ที่จอดรถ
ท่านสามารถจอดรถได้ที่ลานจอดของวัด หรือลองขับเข้ามาจอดถนนด้านหน้าที่ฝึกปฏิบัติธรรม (มาประมาณเที่ยงอาจจะยังมีที่)
การปฏิบัติธรรม วัดอัมพวัน สิงห์บุรี (หลวงพ่อจรัญ)
เมื่อเดินทางเข้าไปภายในวัดอัมพวัน สิ่งแรกที่จะเห็นคือ รูปองค์สมเด็จพระเจ้าตากสิน แต่ละท่านที่มาถึงจะมาสักการะบูชาที่นี่ก่อน และด้านหลังพระรูปจะเป็นอาคารที่ลูกศิษย์หลวงพ่อจรัญ มารอพบหลวงพ่อตามเวลาที่กำหนดค่ะ
ท่านที่เคารพและศรัทธาหลวงพ่อจรัญ สามารถมาถวายปัจจัย สิ่งของ อาหารโรงทาน และรับพรจากท่านได้ โดยในช่วงที่เราไปนั้นเปลี่ยนเวลาใหม่ ท่านจะมาพบวันละ 2 เวลา คือ 09.30 น. และ 13.30 น. และห้ามนำดอกไม้มาถวาย เพราะหลวงพ่อท่านแพ้เกสรดอกไม้ แต่ละวันมีผู้คนมากราบไหว้ รับพรเยอะมาก โดยเฉพาะในวันอาทิตย์ คนจะเนืองแน่นเป็นพิเศษ เพราะเปนวันที่คนออกศีล 8 จะมารอกราบและรับพรจากท่านก่อนกลับ
นอกจากนี้ โรงทาน เป็นอีกสถานที่ที่ดีมากๆ ของที่นี่ ที่โรงทานมีอาหารรอรับประชาชนที่มาวัดตลอดทุกวัน (อาหารเจ) และเยอะมากๆ ในวันอาทิตย์ โดยประชาชนผู้ใจบุญจะมาทำโรงทานให้กับแขกที่มาวัด และผู้ที่ออกศีล เช่น ขนมจีนน้ำยา ลอดช่อง กระเพาะปลา ไอศครีม น้ำสมุนไพร ลูกอม ฯลฯ อร่อยทุกอย่าง กินจนพุงกางเลยก่อนกลับ
1. การเตรียมความพร้อมก่อนมาปฏิบัติธรรม
ลำดับแรกต้องเตรียมใจล้วนๆ กับความตั้งใจที่จะไปปฏิบัติธรรม ไม่ว่าจะด้วยศรัทธา เพื่อความเป็นสิริมงคล หรือเพื่อสร้างบุญบารมี ต้องมีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติ เพราะการไปปฏิบัติธรรมที่วัดอัมพวัน ไม่สบายเหมือนอยู่บ้านแน่นอน ทั้งการตื่นนอน ที่หลับที่นอน เวลาว่าง ห้องน้ำ อาหาร ล้วนแล้วแต่ต้องอยู่แบบสมถะ ยิ่งถ้าเป็นวันศุกร์ เสาร์ คนมาปฏิบัติธรรมเยอะมาก กว่า 300 คนขึ้นไป ยิ่งแออัด พื้นที่การนอนแค่พอดีตัว เอากระเป๋าใบใหญ่มาไม่เหมาะ เพราะแทบจะไม่มีที่วาง กลางคืนคนจะเดินข้ามเท้ากันไปมา เพราะไม่มีทางเดินค่ะ (อยากใหปรับปรุงเรื่องที่วางกระเป๋ามีกฎให้วางบนหัวนอน อย่าวางของตรงเท้า คนเดินติดกระเป๋า) นอกจากนี้ ทางวัดมีกฎไม่รับคนที่ 1) มาแก้บน 2) เจ็บป่วย 3) เครียดออกจากงาน 4) มีอาการทางจิตประสาท
2. สิ่งของที่ควรเตรียมมา
1) บัตรประจำตัวประชาชน (ห้ามลืม)
2) ผ้าเช็ดตัว (เอาผืนเล็กมา เพราะมีห้องอาบน้ำเดี่ยว ใช้เสร็จไม่มีที่ตากผ้า ถ้าได้มุมนอนติดกำแพงถึงจะพอมีที่ตาก)
3) อุปกรณ์อาบน้ำ เช่น สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน แชมพู ถ้าจะสระผม ไม่มีไดร์เป่า ต้องเช็ดให้แห้งเอง และอาจจะต้องอาบนำบ่อย ช่วงที่เราไปอาบนำวันละ 3-4 รอบ แทบทุกเวลาที่พัก เพราะอากาศร้อนชื้นตัวเหนียวตลอด (บางคนอาจมีชุดนอนสีขาวมาเปลี่ยน แต่ส่วนใหญ่นอนทั้งชุดปฏิบัติธรรมนั่นแหละ)
4) ยารักษาโรคประจำตัว ส่วนยาสามัญทั่วไปทางวัดจัดไว้ใหที่หน้าทางเข้าอาคารปฏิบัติธรรม
5) ทรัพย์สินของมีค่า ถ้าไม่จำเป็นควรเก็บไว้ที่บ้านค่ะ ทางวัดมีย่ามให้ยืม แต่มิจฉาชีพแฝงตัวก็มีต้องระมัดระวัง เวลานั่งสมาธิเอากระเป๋าแขวนคอไว้ก็จริง แต่การมีทรัพย์สินมากทำให้จิตเราพะวาพะวังได้เช่นกัน เงินสด ไม่ต้องพกมาเยอะ เอาแค่พอมาทำบุญ และซื้อของกิน เครื่องดื่ม (มีขายตลอด) ส่วนโทรศัพท์ถ้าจะพกมาก็ได้ แต่ถ้าตั้งใจจริงควรตัดค่ะ ไม่เล่น และไม่มีที่ชาร์ทแบต พกไว้ก็พะวงอีกกลัวหาย ทรัพย์สินมีค่าทั้งหมดห้ามเอาไว้ในกระเป๋าเสือผาเด็ดขาด ที่ผ่านมาขนาดพกติดตัวตอนมาปฏิบัติธรรม ยังมีฉกกันไปตอนเผลอเลยค่ะ
ช่องรับชุดปฏิบัติธรรม และช่องส่งใบลงทะเบียน
นอกจากนี้ ทางวัดมีอุปกรณ์ให้ยืมแทบทุกอย่างเลยค่ะ ไม่ตองเตรียมมา แค่ช่วยทำบุญชำระหนี้สงฆ์ ค่าน้ำค่าไฟ ค่าซักผ้า ของที่มีให้ผู้ปฏิบัติธรรมยืม ได้แก่
1) ชุดขาว 2 ชุด (ผู้หญิงจะได้เป็นชุดผ้าถุง ส่วนผู้ชายได้ชุดกางเกง)
2) เข็มขัดรัดผ้าถุง
3) ผ้าสไบขาว
4) กระเป๋าย่ามใบเล็กไว้ใส่ทรัพย์สิน
5) สมุดระเบียบปฏิบัติและบทสวด 1 เล่ม แจกให้เอากลับบ้านไปได้เลย แต่ถ้ากลับมาครั้งต่อไปต้องพกกลับมาด้วย
6) ขันน้ำ (ใส่อุปกรณ์อาบน้ำ) ในห้องน้ำจะเป็นฝักบัวทั้งหมด และมีส้วมในห้องน้ำค่ะ มีทั้งห้องแบบชักโครก และนั่งยอง)
7) ปลอกหมอน
ของทั้งหมดคืนเมื่อเลิกปฏิบัติธรรมค่ะ (ยกเว้นสมุด) ไม่ต้องซักเอง แค่นำผ้าไปวางใส่ตระกร้าไว้ตรงจุดใกล้ๆ ที่รับชุด และคลี่ออกตามที่ป้ายแจ้งไว้ แต่คนที่อยู่ 7 วันอาจจะต้องซักผ้าใส่ระหว่างปฏิบัติธรรมค่ะ
3. ระยะเวลาการปฏิบัติธรรม
การฝึกปฏิบัติธรรมวัดอัมพวัน มี 2 ระยะ คือ แบบ 3 วัน และ 7 วัน ปกติในคู่มือจะบอกว่า 7 วัน ต้องไปก่อนวันโกน หรือ 3 วันไปวันศุกร์ แต่ตอนที่ไปจริงๆ เห็นว่าไปวันไหนก็ได้ตามสะดวก ในวันศุกร์เย็นจะมีพิธีสมาทานกรรมฐาน (ขออนุญาตถือศีล) และในเช้ามืดวันอาทิตย์จะมีพิธีลากรรมฐาน (ออกศีล) ส่วนใครจะอยู่ต่อ 7 วัน ก็อยู่ปฏิบัติต่อไปจนครบ 7 วัน ตราบใดที่ยังใส่ชุดขาวอยู่ถือว่ายังเป็นผู้ปฏิบัติธรรม เช่น เข้าปฏิบัติธรรมวันศุกร์เย็น ถ้าปฏิบัติ 3 วัน ออกศีลในวันอาทิตย์ ถ้าปฏิบัติ 7 วัน ออกศีลในวันพฤหัส หรือถ้ามาวันเสาร์ อาจจะแยกไปทำพิธีสมาทานกรรมฐานต่างหาก พอวันอาทิตย์มาเข้าพิธีลากรรมฐานรวมกับกลุ่มใหญ่ที่มาในวันศุกร์ แต่ยังคงอยู่ปฏิบัติต่อจนถึงวันจันทร์
4. การเดินทาง
สำหรับการเดินทางไปวัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี (ต้องระบุจังหวัดเพราะเพิ่งรู้ว่ามีหลายวัดอัมพวันมาก) สามารถเดินทางได้หลายวิธี ได้แก่
1. ขับรถไป (จากกรุงเทพไปประมาณ 1.30 - 2 ชม.) วิ่งเส้นทางด่วนบางปะอิน ตรงไปอยุธยา - สิงห์บุรี ง่ายที่สุด GPS เลยค่ะ ตอนเราไปใช้ GPS เหมือนกัน วิ่งสบายๆ รถไม่ติด
2. นั่งรถตู้ มีท่ารถที่ห้างเซนจูรี่ อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ส่งถึงหนาวัดเลย
3. รถบัสที่หมอชิต ส่งที่หน้าปากทางเขาวัด และนั่งรถรับจ้างเข้าไป ประมาณ 1 กม.
หมายเหตุ : พิธีปฐมนิเทศน์ สมาทานศีล จะเริ่มที่อาคารปฏิบัติธรรมประมาณ 17.00 น. แต่ 16.45 น. คนกเริ่มทยอยเข้าแลว ดังนั้น ผู้ที่ตั้งใจมาปฏิบัติธรรม ควรมาเผื่อเวลา มาถึงอย่างช้าที่สุด 15.00 น. เพื่อลงทะเบียน รับชุด เก็บสัมภาระ อาบน้ำ นุ่งชุดขาว เตรียมพร้อมให้เสร็จก่อน 16.00 น.
5. การลงทะเบียน
หลังจากเข้ามาในโซนปฏิบัติธรรมแล้ว ให้ไปรับใบลงทะเบียนที่เจ้าหน้าที่ ตรงจุดลงทะเบียน (มีป้ายบอก) แล้วเจ้าหน้าที่จะชี้แจงให้ทราบว่าต้องทำอย่างไรบาง (ตั้งใจฟังด้วยนะคะเพราะอาจจะโดนดุ และเจ้าหน้าที่เน้นย้ำมากว่า ตอนยื่นใบลงทะเบียนต้องนำบัตรประชาชนแนบที่มุมซ้ายของกระดาษ ทำไมต้องย้ำหลายรอบมิเข้าใจเหมือนกัน)
เมื่อกรอกข้อมูลลงในช่องจนครบทุกช่องแล้ว เซ็นชื่อ แล้วนำมาที่จุดรับชุด ยื่นใบสมัครพร้อมกับบัตรประจำตัวประชาชน แล้วเจ้าหน้าที่ที่นุ่งขาวอยู่ในห้อง จะเขียนบัตรประจำตัว แล้วส่งให้เราพร้อมกับคืนบัตรประชาชน บัตรประจำตัวนี้จะต้องพกติดอกตลอดเวลาที่ปฏิบัติธรรม เพื่อป้องกันกลุ่มมิฉาชีพแฝงตัวเข้ามาขโมยของตอนปฏิบัติธรรม คนที่เข้ามาแต่ละวัน จะได้บัตรคนละสี
6. การเข้าที่พัก
ที่บัตรประจำตัวจะระบุชื่อ เป็นรหัสตัวเลข และระบุอาคารที่พัก เลขที่นอน เมื่อไปถึงอาคารที่พักแล้ว ให้ดูตรงเลขบรรทัดที่ 2 นั่นคือเลขที่นอน ที่เขาระบุให้เราไปนอน ระวังดูผิดสลับกับเลขที่ประจำตัวนะคะ
ที่นอนแต่ละที่จะมีหมอนให้ 1 ใบ ให้เรานำปลอกหมอนที่ยืมมาใส่ให้เรียบร้อย ส่วนใครต้องการผ้าห่ม จะมีไว้ที่มุมห้องภายในห้องพัก (วันกลับเห็นเจ้าหน้าที่เก็บผ้าห่มไปซัก แต่ตอนเราหยิบมาใช้ เรายังไดกลิ่นอับๆ อยู่นะ)
7. เวลาปฏิบัติธรรม
การปฐมนิเทศน์วันแรก จะเริ่มประมาณ 17.00 น. (บทสวดทั้งหมดอยู่ในหนังสือระเบียบปฏิบัติฯ) จะมีเจ้าหน้าที่มาชี้แจงกฎระเบียบ ซึ่งสามารถอ่านได้ในคู่มือ จากนั้นจะมีพระอาจารย์มาสอนถึงการปฏิบัติธรรม ตลอดจนวิธีปฏิบัติกรรมฐาน ซึ่งในเบื้องต้นจะมี 2 แบบคือ การเดินจงกรม และการนั่งสมาธิกำหนดจิตไวที่ท้อง (ยุบหนอ พองหนอ) เรื่อยไปจนถึงเวลา 21.00 น. จึงจะทยอยออกจากอาคาร
หมายเหตุ อาคารปฏิบัติธรรมหลัก จะมี 2 ชั้น โดยจะแบ่งกลุ่มผู้ปฏิบัติใหม่ และกลุ่มผู้เคยปฏิบัติแล้ว ใครที่มาใหม่ต้องฟังการบรรยาย และฝึกปฏิบัติตามพระอาจารย์ ส่วนคนที่เคยทำแล้วเริ่มปฏิบัติธรรมได้เลย พระอาจารย์จะช่วยจับเวลา และบอกให้สลับจากเดินเป็นนั่ง จากนั่งเป็นเดิน ในกลุ่มฝึกใหม่อาจจะฝึกทีละ 15 นาที (เดิน 15 นั่ง 15 ทำครบ 2 อย่างเรียกว่า 1 บัลลังก์) ส่วนผู้ปฏิบัติเก่าจะปฏิบัตินานกว่า
ช่วงเวลาการปฏิบัติธรรม แบ่งออกเป็น 4 ช่วง คือ
1) 04.00 - 06.00 น. (ก่อนตี 3 คนจะตื่นกันแล้ว ลงมาจองห้องน้ำอาบน้ำ แปรงฟัน ยิ่งคืนแรกคนไม่ชิน นอนกันไม่หลับ ลุกเดินกันทั้งคืน)
2) 08.00 - 11.00 น.
3) 13.00 - 16.00 น.
4) 18.00 - 21.00 น.
ควรเข้าอาคารปฏิบัติธรรมก่อนเวลา 15 นาที และถ้าคนเยอะมาก ต้องนั่งชิดกันหน่อย ห่างกัน 1 ช่วงแขน (คนเยอะมากในวันศุกร์ เสาร์ วันอาทิตย์กจะกลับกัน วันธรรมดาคนจะน้อย)
การปฏิบัติวิปัสนากรรมฐานของที่วัดนี้ ขั้นพื้นฐานมี 2 แบบตามที่กล่าวไปแล้วคือ เดินจงกรม กับ นั่งวิปัสสนา ในการเดินพระอาจารย์สอนให้ยืนหลับตาแลวตั้งสมาธิไว้ที่กะหม่อม จากนั้นค่อยๆ แสกนลงมาที่ท้อง (ท่องว่า "ยืน") แลวจากท้องไล่ลงไปที่ปลายเท้า (ท่องว่า "หนอ") จากปลายเท้า แสกนกลับมาที่ท้อง (ท่องว่า "ยืน") จากท้องขึ้นมาจนถึงกะหม่อม (ท่องว่า "หนอ") สลับขึน-ลง จนครบ 5 เที่ยว จากนั้นจึงก้มหน้า ลืมตา แล้วเดิน "ย่างหนอ" (วันปฏิบัติธรรมช่วงศุกร์เสาร์ คนจะเยอะมาก เดินได้ไม่เกิน 7 ก้าว) แล้วจึงหยุด-ยืน-กลับ-ยืน-ย่าง อยู่แบบนั้น สำหรับคนที่มาใหม่พระอาจารย์จะให้ฝึกออกเสียง (ขอไม่อธิบายละเอียดมากนะคะ ต้องไปลองทำเอง)
ในการนั่งวิปัสนา ของวัดอัมพวันจะให้กำหนดสมาธิไว้ที่ท้อง "หยุบหนอ พองหนอ" ตามที่กล่าวไว้ข้างตน
นับว่าเป็นการฝึกความอดทนทางกายสุดๆ ในระหว่างที่มาฝึกปฏิบัติขอให้ยึดเอาความถูกต้องเป็นหลัก แล้วนำกลับไปปฏิบัติเอง ส่วนใครที่มาเพราะไม่สบายใจ ผิดหวัง หรืออะไรกตามแต่หลวงพ่อก็พูดว่าการมาฝึกปฏิบัติแค่ไม่กี่วันอย่าเพิ่งคาดหวังว่าจะเกิดบารมี หรือแก้ไขปัญหาอะไรได้ เอาหลักให้ถูกต้องก่อน
การลาศีล จะทำในวันอาทิตย์ช่วงเช้ามืด เจ้าหน้าที่จะขอคืนบัตรประจำตัว เมื่อทานขาวเช้าเสร็จ เก็บสัมภาระ อาบน้ำ แล้วนำชุด ของใช้ไปคืนตรงที่ซักผ้า ที่สำคัญอย่าลืมบริจาคค่าซักรีดดวยนะคะ อันนี้สำคัญ เพื่อให้คนรุ่นหลังต่อจากเราได้ใช้ต่อ
8. เวลารับประทานอาหาร
รับประทาน 2 มื้อ คือ 6.30 น. และ 11.30 น. อาหารจะเป็นอาหารเจทุกมื้อ ใครที่ไม่กินผักอาจใช้ชีวิตยากขึ้นไปอีก
9. ที่จอดรถ
ท่านสามารถจอดรถได้ที่ลานจอดของวัด หรือลองขับเข้ามาจอดถนนด้านหน้าที่ฝึกปฏิบัติธรรม (มาประมาณเที่ยงอาจจะยังมีที่)