ชวนอ่านหนังสือ COOL JAPAN VOL.2 ความงาม ความฝัน การแบ่งกั้น โลกแห่งความล่องลอย





ายละเอียดและความเห็นส่วนตัว   :   หนังสือ COOL  JAPAN  Vol.2  ความงาม  ความฝัน  การแบ่งกั้น  โลกแห่งความล่องลอย  ราคา  295  บาท  ความหนาประมาณ  270  หน้า  หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 2 PART  PART แรก คลื่น-ลม ,  PART ที่สอง  ความคิด  โดยเนื้อหาทั้งหมดมี 21 บท (รวมบทสรุป)  ในแต่ละบทผู้เขียนได้แบ่งเป็นหัวข้อย่อยๆ สั้นๆ ให้เราได้อ่านง่ายขึ้นอีกด้วย (เหมาะสำหรับคนรุ่นใหม่มากเลยทีเดียว)  ที่น่าสนใจมากๆ คือส่วนของหน้าปกของหนังสือคือภาพคลื่นยักษ์ซึ่งเป็นผลงานของศิลปินชาวญี่ปุ่นชื่อ คัตสึชิคะ โฮะคุไซ  ซึ่งในภายหลังมีอิทธิพลต่องานศิลปะของฝั่งตะวันตกเป็นอย่างมากภายหลังจากยุคเอะโดะ (ยุคที่ญี่ปุ่นปิดประเทศประมาณ 200 ปี)


ต่อจาก  COOL JAPAN เล่มสีขาวตัวหนังสือสีแดงที่เพิ่งอ่านจบไปไม่นานนัก  เล่มนี้เปรียบเสมือนภาคต่อของเล่มแรกนั้น  อยากจะถามท่านที่ได้ผ่านมาอ่านข้อความนี้ว่า  เมื่อท่านนึกถึงประเทศญี่ปุ่นท่านคิดถึงสิ่งใด?? หลายท่านคงเริ่มกลับมานั่งครุ่นคิดหาคำตอบ   ดังที่ทาง Woman and Books กลับมานั่งคิดเช่นกัน…


เมื่อนึกถึงประเทศญี่ปุ่นภาพที่ปราฏขึ้นมาชัดเจนคือ  ประเทศที่มีระเบียบวินัย  ความงดงามของสถานที่ท่องเที่ยวที่ยังคงเป็นธรรมชาติ  ความงดงามของวัฒนธรรมของแต่ละยุคแต่ละสมัยที่ยังดำรงอยู่จวบจนปัจจุบันและยังคงดำเนินอยู่ร่วมกันกับความทันสมัยทางเทคโนโลยีได้กลมกลืนกันอย่างไม่น่าเชื่อ  หลังจากอ่านหนังสือเล่มนี้จนจบสิ่งแรกที่คิดขึ้นมาคือ  อยากหาหนังสือประวัติศาสตร์และศิลปะวัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่นมาอ่านเพิ่มเติมอย่างละเอียดจัง…


COOL JAPAN Vol.2  เป็นหนังสือที่จะทำให้เราได้พบกับประเทศญี่ปุ่นในหลากหลายมุม  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวทางวัฒนธรรม  ประวัติศาสตร์  สถาปัตยกรรมแบบญี่ปุ่น  ศาสนา  และปัญหาที่ทางญี่ปุ่นกำลังประสบพบเจอและหาทางแก้ไขอยู่  เราจะได้พบกับความละเมียดละไมในการใช้ชีวิต  สิ่งที่มีอิทธิพลต่อแนวคิดของคนญี่ปุ่น  สำหรับผู้ที่ชอบผู้ที่สนใจในประเทศญี่ปุ่น ชอบความราบเรียบเนิบช้าที่แฝงไปด้วยข้อคิดต่างๆ มากมายเดี๋ยวจะลองยกเนื้อหาที่น่าสนใจบางส่วนมาให้อ่านกันนะคะ


นักเขียนชื่อดังชาวญี่ปุ่นได้เคยกล่าวไว้ว่าคนญี่ปุ่นทั้งประเทศนั้น  “เหมือนกันอย่างกับเป็นคนเดียว”  เมื่อหลายสิ่งปรากฏและเกิดขึ้นได้หลอมรวมพวกเราให้กลมกลืนและเป็น  “คนญี่ปุ่น”  อย่างที่ทุกคนเห็น

เมื่อเข้าสู่สภาวะที่วุ่นวายสับสนทั้งภายในและภายนอกประเทศ  ก็ถึงเวลาปิด  ปิดตนเองเพื่อพิจารณาปิดกั้นบางสิ่งปิดกั้นบางอย่าง  ตามประวัติศาสตร์นั้นในยุคเอะโดะได้ปิดประเทศอย่างจริงจังผ่านกฏหมาย  นับจากปี 1633  และสิ้นสุดในปี 1867  เกิดอะไรขึ้นและเพราะเหตุใด…
ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นก่อนยุคเอะโดะได้หมดสิ้นไป  เข้าสู่สังคมที่มีเสถียรภาพ  ความสงบสุขที่เกิดขึ้น  การเฉลิมฉลอง  200ปีที่อยู่กับตัวเอง  ภาพสะท้อนได้ออกมาในรูปแบบงานศิลปะ  ภาพพิมพ์แกะไม้  งานวรรณกรรม  เครื่องเขิน  สิ่งทอ  กระเบื้องเคลือบ  สิ่งเหล่านี้ในยุคนี้ส่งผลให้งานศิลปะตะวันตกได้รับอิทธิพลจากญี่ปุ่นเป้นอย่างมากในคราวที่เปิดประเทศมาอีกหน…

ความมีระเบียบ  การพึ่งพาตนเอง  การรับวัฒนธรรมจากภายนอกของญี่ปุ่น  และการตีความมาใช้ในแบบตนเอง  ถึงแม้ชาวต่างชาติจะไปอยู่ที่ญี่ปุ่นจนสามารถพูดภาษาญี่ปุ่นได้ถนัดหากแต่ถึงกระนั้นเราก็ไม่เข้าใจชาวญี่ปุ่นอยู่ดี

เทศกาลชมดอกซากุระเป็นเทศกาลการพิจารณาถึงการร่วงโรยของดอกซากุระ  ความไม่ยั่งยืน  ความงามอันแสนสั้น  สะท้อนถึงความชั่วคราวของสรรพสิ่ง  ความร่วงโรยและจบลงยังหมายถึงการผลิดอกออกผลใหม่ในวันหน้าด้วย  บางทีสิ่งที่สำคัญที่สุดในการสร้างขึ้นใหม่เพื่อทดแทนสิ่งที่ถูกทำลายไปคือ  “ความคิด”

ภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเข้าสู่สภาวะถดถอย  และความหวังในการหาทางออก  สิ่งใดคือต้นเหตุของสภาวะถดถอยที่เกิดขึ้น?  สังคมที่เปลี่ยนแปลงไป  การต้องปรับตัวเมื่อเข้าสู่สังคมสูงวัย  จะช่วยได้หรือไม่  เหตุใดการนำเข้าแรงงานต่างชาติจึงไม่อยู่ในความคิดของคนญี่ปุ่น?



ผู้เขียนพยายามที่จะถ่ายทอดความเป็นญี่ปุ่นทั้งวัฒนธรรม  ความคิดและจิตใจผ่านตัวหนังสือเพื่อที่จะสื่อให้เข้าใจถึงความเป็นจริงที่ชาวญี่ปุ่นได้ประสบพบเจออยู่ผ่านเรื่องราวของอดีต  เพื่อหวังว่าจะช่วยเปลี่ยนแปลงอนาคต  โดยยังมีความหวังอยู่ลึกๆ ว่าญี่ปุ่นจะกลับมายืนตระหง่านเป็นนผู้นำได้อย่างเช่นอดีตที่เคยเป็นมา  ขอเอาใจช่วยอยู่ห่างๆนะคะ ท่านใดสนใจศึกษาข้อมูลเรื่องราวของประเทศญี่ปุ่น  COOL JAPAN Vol.2 เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ทำให้เราได้รับรู้และเข้าใจในความเป็นญี่ปุ่นมากขึ้นคะ

Woman and Books


https://womanandbooks.wordpress.com/2015/11/13/0007-cool-japan-vol-2-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%A1-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9D%E0%B8%B1%E0%B8%99-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%9A/
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่