“อาการที่เกิดขึ้นกับ “ปอ-ทฤษฎี สหวงษ์” เป็นเรื่องใหม่ ยังไม่เคยมีรายงานเกิดขึ้นในประเทศไทย แต่เคยเกิดขึ้นในภูมิภาคเขตร้อนชื้น” ทีมแพทย์โรงพยาบาลรามาธิบดี แถลงข่าวเผยอาการทรุดหนักอย่างรวดเร็วของพระเอกหนุ่มเพื่อคลายข้อสงสัยว่า “เหตุใดจึงรุนแรงนัก?” พร้อมให้ข้อมูลว่าเป็นเพราะ “ภาวะแทรกซ้อน” จึงส่งให้เกล็ดเลือดต่ำ เลือดเป็นกรด ตกเลือด ไตวายเฉียบพลัน หัวใจหยุดเต้นชั่วขณะ จนเข้าขั้นวิกฤตต้องใช้เครื่องปั๊มหัวใจ ซึ่งขณะนี้อาการทรงตัวและอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิดแล้ว
“ภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นไม่ได้บ่อย ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของบุคคล จึงไม่อยากให้ประชาชนแตกตื่นกับอาการนี้ คนเรามีสิทธิ์เจอได้แต่ไม่บ่อยนัก” คือข้อมูลที่หลายคนควรรับรู้ไว้ แต่ถึงอย่างนั้นก็ควรทำความเข้าใจ “ไข้เลือดออก” และเฝ้าระวังเอาไว้อยู่ดี
อ.นพ.ชัยวัฒน์ วชิรศักดิ์ศิริ สาขาการบริบารผู้ป่วยนอก ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช ช่วยให้ข้อมูลอย่างเข้าใจง่ายเอาไว้ว่า แท้จริงแล้ว สายพันธุ์ของไข้เลือดออกมีทั้งหมด 4 สายพันธุ์ด้วยกัน แต่เคยพบในไทยเพียง 2 สายพันธุ์เท่านั้น และทั้งหมดล้วนเกิดจาก “ไวรัสเดงกี่” (Dengue Haemorrhagic Fever: DHF) ทั้งสิ้น
“ความหนักเบาของโรค มันขึ้นอยู่กับหลายๆ อย่างครับ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของโรคอย่างเดียว ทั้งเรื่องภูมิคุ้มกันของคนไข้เอง และระยะเวลาที่ติดเชื้อด้วย ปกติแล้ว โรคไข้เลือดออกมันจะเป็นโรคชนิด “เฉียบพลัน” อยู่แล้ว หมายถึงมีไข้เพิ่มสูงภายใน 1-2 วัน ซึ่งจะแบ่งอาการของคนไข้ออกเป็น 2 ชนิดหลักๆ คือ “เป็นแล้วช็อก” กับ “เป็นแล้วไม่ช็อก” อย่างคุณปอจะอยู่ในประเภทเป็นแล้วช็อก คือมีปฏิกิริยากับตัวเชื้อไวรัสค่อนข้างเยอะ ทำให้เกิดอาการขาดน้ำและเกล็ดเลือดต่ำลงอย่างรวดเร็ว อาการก็เลยอยู่ในระดับรุนแรงขึ้นมา”
หลายเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า เหตุใดโรงพยาบาลเอกชนที่พระเอกหนุ่มเข้ารับการรักษาจึงไม่สามารถช่วยให้หายขาดได้ตั้งแต่แรก จนต้องส่งตัวมายังโรงพยาบาลรามาฯ ในนาทีวิกฤต? เกี่ยวกับเรื่องนี้ อาจารย์นายแพทย์ชัยวัฒน์มองว่าน่าจะเป็นเพราะอุปสรรคเรื่องความพร้อมเรื่องอุปกรณ์การแพทย์
“ทราบมาว่าเขาเกล็ดเลือดต่ำมากและมีเลือดออก จึงจำเป็นต้องให้สารการแข็งตัวของเลือดบางอย่าง ซึ่งยาตัวนี้ทางโรงพยาบาลเอกชนไม่ค่อยมี เพราะยามันแพงมาก หรือถ้าต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือไอซียู โรงพยาบาลรัฐจะพร้อมกว่าอยู่แล้วครับ โดยเฉพาะไข้เลือดออกที่อาการจะเปลี่ยนแปลงค่อนข้างเร็วด้วย ถ้าไปที่แรกในระยะที่วิกฤตมากแล้วด้วย โรงพยาบาลเองอาจจะรับมือไม่ไหว แต่เพื่อความปลอดภัยของคนไข้ ผมว่าการพาไปโรงพยาบาลที่ใกล้บ้านที่สุดน่าจะดีกว่า แต่ถ้าโรงพยาบาลประเมินแล้วว่าศักยภาพโรงพยาบาลไม่ไหว เดี๋ยวจะมีการส่งต่อไปตามขั้นตอนการรักษาเอง”
จริงๆ แล้ว โรคไข้เลือดออกไม่ใช่เรื่องใหม่ และมีข่าวว่าเด็กๆ เสียชีวิตจากโรคนี้อยู่บ่อยๆ เนื่องจากผู้ปกครองแยกไม่ออก คิดว่าป่วยเป็นไข้หวัดทั่วๆ ไป กระทั่งร่างกายเกิดอาการช็อกจึงทราบว่าผิดปกติ แต่กว่าจะส่งผู้ป่วยถึงมือหมอ หลายๆ ครั้งก็สายเกินไปเสียแล้ว และนี่คือความแตกต่างระหว่าง “ไข้หวัดใหญ่” กับ “ไข้เลือดออก”
“ถ้าเป็นไข้วันแรก จะแยกไม่ได้เลยครับ อาการทุกอย่างจะเหมือนกันหมด คือจะมีไข้สูงอย่างเดียว อาจจะมีปวดตามเนื้อตามตัว คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหารบ้าง จะแยกอาการไม่ค่อยได้ แต่พอวันที่ 2-3 จะเห็นชัดขึ้น ถ้าเป็นไข้เลือดออกจะยิ่งปวดตัว แต่ถ้าเป็นไข้หวัดจะมีอาการไอกับน้ำมูกเยอะขึ้น อันนี้คือความต่างครับ ดังนั้น ถ้าพบว่ามีอาการไข้สูงลอย 2-7 วัน ไม่มีอาการร่วมเลย ให้พึงระวังว่าจะเป็นไข้เลือดออกเอาไว้ก่อน ถ้าเริ่มไม่สบาย มีไข้ ปวดเนื้อปวดตัวโดยไม่มีสาเหตุ ให้ไปเช็กที่โรงพยาบาลหน่อยดีกว่า
ส่วนเรื่องเฝ้าระวัง เอาเป็นว่าหลักการที่ดีที่สุดเลยคือการหลีกเลี่ยงการเป็นไข้เลือดออก ในเมื่อเรารู้ว่าช่วงนี้มีแต่ยุงลาย เราก็ทำยังไงก็ได้ให้ไม่มียุงลายในชุมชนของเรา เริ่มจากการป้องกันก่อน เช่น กำจัดแหล่งน้ำยุงลาย ภาชนะที่มีน้ำขังต้องคว่ำให้หมด พ่นยาฆ่ายุง นอนกางมุ้ง ฯลฯ แต่ถ้าป้องกันไม่ไหวจริงๆ ก็จะต้องมีความเข้าใจและตื่นตัวที่จะไม่ปล่อยให้ป่วยหลายๆ วันแล้วค่อยมาโรงพยาบาล เช่น ถ้าใครมีลูกหรือญาติที่มีไข้ขึ้นมา ไม่มีอาการร่วมเลย มีไข้อย่างเดียว ปวดเมื่อยตามตัว ภายใน 1-2 วัน น่าจะต้องไปที่โรงพยาบาลได้แล้วครับ”
ความเชื่อเรื่องที่ว่า “เคยเป็นไข้เลือดออกแล้ว จะไม่เป็นอีก” นั้น แท้จริงแล้วเป็นความจริงเพียงครึ่งเดียว! ข้อเท็จจริงทั้งหมดคือ ถ้าเป็นไข้เลือดออกสายพันธุ์ไหนแล้ว จะไม่กลับมาเป็นชนิดเดิมอีก ในเมื่อไข้เลือดออกมีทั้งหมด 4 สายพันธุ์ ดังนั้น ชีวิตคนเราจึงมีสิทธิเป็นได้ทั้งหมด 3-4 ครั้งนั่นเอง
สำหรับไข้เลือดออกชนิดเฉียบพลันและรุนแรงอย่างกรณีของพระเอกหนุ่มนิสัยดีรายนี้ ยังคงอยู่ในระดับที่ประเมินยาก ต้องรักษาไปตามอาการ ขณะนี้จึงถือเป็นช่วงเวลาแห่งการส่งกำลังใจและร่วมส่งต่อน้ำใจให้แก่กัน โดยสามารถบริจาคเกล็ดเลือด "กรุ๊ป A" ให้ "ปอ-ทฤษฎี สหวงษ์" ได้ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ห้องปฏิบัติการคลังเลือด อาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ ชั้น 3 เวลา 08.30-16.30 น. โทร.02-200-3772
Credit :
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9580000125587
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
จากกระทู้
http://ppantip.com/topic/34433289
คนแข็งแรงระวัง! กระตุ้นภูมิคุ้มกัน “ไข้เลือดออก” ดีเกิน ทำอาการทรุดเร็ว ชี้ฟื้นตัวหลังพ้นวิกฤต 48 ชม.
สธ. ชี้ ป่วย “ไข้เลือดออก” ซ้ำต่างสายพันธุ์ เสี่ยงอาการรุนแรง เผย ร่างกายบางคนกระตุ้นภูมิคุ้มกันรวดเร็วต่อเนื่อง เส้นเลือดรั่วสูญเสียสารน้ำ เกล็ดเลือด ร่างกายทรุดเร็วจนเกิดภาวะช็อก เช่น เคส “ปอ ทฤษฎี” มักพบในคนแข็งแรง ชี้ หากพ้นวิกฤตใน 48 ชั่วโมง อาการจะดีขึ้น
นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า การควบคุมโรคไข้เลือดออกต้องอาศัยความร่วมมือทุกภาคส่วน โดยเฉพาะนักเรียนที่ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่สุดต้องช่วยกันกำจัดลูกน้ำยุงลาย ก็จะสามารถช่วยลดอุบัติการณ์ลงได้ ทั้งนี้ สธ. จะทำหนังสือประสานไปยังกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เพื่อขอให้เอาชั่วโมงลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ให้นักเรียนไปช่วยกันกำจัดลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า จากการสำรวจ พบว่า บ้านของคนไทยยังพบแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอยู่ 30% ในโรงเรียนพบมาก 40% ส่วนในวัดพบแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายมากถึง 60% การป้องกันและลดการเจ็บป่วยไข้เลือดออกทุกฝ่ายจึงต้องร่วมมือกันในการควบคุมโรค สำหรับโรคไข้เลือดออกนั้น เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี ในประเทศไทยมีอยู่ 4 สายพันธุ์ โดยทั้ง 4 สายพันธุ์ความรุนแรงของโรคไม่ต่างกัน แต่พบว่าเมื่อป่วยไข้เลือดออกจากสายพันธุ์ใดสายพันธุ์หนึ่งแล้ว เมื่อกลับมาป่วยโรคไข้เลือดออกอีกด้วยสายพันธุ์อื่นมักจะมีอาการรุนแรงขึ้น ซึ่งอาการรุนแรงที่เกิดขึ้นนั้น เนื่องจากร่างกายเรามีภูมิต้านทานที่เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกีอยู่ก่อนแล้ว อย่างเช่น กรณีของนักแสดงหนุ่มปอ ทฤษฎี สหวงษ์ ที่อาการรุนแรง เพราะภาวะภูมิต้านทานทำงานมากเกินไป ก็เพราะร่างกายตอบสนองต่อเชื้อไวรัสและกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นอย่างรวดเร็ว
“ ตรงนี้เป็นกลไกของร่างกายที่เมื่อได้รับเชื้อเข้าไปแล้ว ภูมิคุ้มกันในเลือดก็จะไปจับสารไวรัส และกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายขึ้นมา ซึ่งบางคนกระบวนการนี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วต่อเนื่อง ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและปฏิกิริยาของแต่ละบุคคลด้วย ทำให้เกิดการไปทำลายเซลล์อื่น ๆ ในร่างกาย หากเกิดที่หลอดเลือดก็จะทำให้สารน้ำรั่วออกจากเส้นเลือด ร่างกายจึงสูญเสียสารน้ำและเกล็ดเลือด ทำให้เกิดภาวะช็อกขึ้นได้ นอกจากนี้ หากไปเกิดที่อวัยวะอื่นก็จะทำให้ระบบอวัยวะนั้นเสียหาย ซึ่งเรื่องนี้ไม่สามารถคาดเดาได้ ถือว่าเป็นช่วงวิกฤตที่เกิดขึ้น 48 ชั่วโมง หากผ่าน 48 ชั่วโมงนี้ไปได้ ร่างกายก็จะฟื้นตัว เหลือเพียงการรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น ส่วนกรณีของนักแสดงหนุ่มนั้นไม่ทราบว่าเริ่มเกิดภาวะดังกล่าวในช่วงเวลาใด ” นพ.โอภาส กล่าวและว่า ภาวะเช่นนี้ถือว่าพบได้บ่อย อย่างอัตราการเสียชีวิตของไข้เลือดออกที่พบว่า ป่วย 1,000 ราย มักเสียชีวิต 1 รายนั้น ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ก็เป็นเพราะมีอาการรุนแรง และส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับคนที่แข็งแรง
นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ข้อสังเกตของการเกิดโรคไข้เลือดออกในช่วงระยะ 5 ปีที่ผ่านมา พบว่า 1. กลุ่มอายุมีความเปลี่ยนแปลงไป ทำให้สามารถเป็นไข้เลือดออกได้ทุกกลุ่มวัยไม่เฉพาะเด็ก ซึ่งเมื่อเป็นกลุ่มวัยอื่นทำให้แพทย์ไม่ค่อยนึกถึงไข้เลือดออก แต่มีการย้ำเตือนให้แพทย์ตระหนักถึงโรคไข้เลือดออกว่าเป็นโรคประจำถิ่น 2. น้ำหนักตัวที่ไม่สัมพันธ์กับอายุ ทำให้การวินิจฉัยไม่ชัดเจน รวมทั้งการรักษาที่ทำให้แพทย์ปรับขนาดยาได้ยากขึ้น 3. พื้นที่ในการระบาดของโรคที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ทำให้บางครั้งประชาชนในพื้นที่ไม่ได้ตระหนักมากพอ และ 4. พบว่าบางคนป่วยมากกว่า 1 โรค พร้อมกัน เช่น ป่วยเป็นไข้หวัด พร้อมไข้เลือดออก ก็จะทำให้อากาของโรคแย่ลง
“สิ่งที่ต้องระวังคือในช่วงไข้ลง หากไข้ลงจากการที่อาการดีขึ้น ผู้ป่วยจะรู้สึก หิวอยากทานอาหาร หรือสดใสขึ้น แต่ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก มักจะไข้ลง ตัวเย็น แต่ซึมลง ไม่อยากอาหาร ซึ่งอาการดังกล่าวเป็นสัญญาณอันตรายว่าอาจเข้าสู่ภาวะช็อก ทั้งนี้ หากเกิดโรคในเด็กส่วนใหญ่พ่อแม่จะสังเกตได้เร็วเพราะเด็กจะซึมอย่างเห็นได้ชัด แต่เมื่อเป็นผู้ใหญ่จะอดทนมากกว่าทำให้อาการของโรคดำเนินมาถึงจุดที่แย่ลง” นพ.สุวรรณชัย กล่าว
Credit :
http://manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9580000125554
“ปอ-ทฤษฎี” รายแรกในไทย! “ไข้เลือดออกแทรกซ้อน” จนวิกฤต
“อาการที่เกิดขึ้นกับ “ปอ-ทฤษฎี สหวงษ์” เป็นเรื่องใหม่ ยังไม่เคยมีรายงานเกิดขึ้นในประเทศไทย แต่เคยเกิดขึ้นในภูมิภาคเขตร้อนชื้น” ทีมแพทย์โรงพยาบาลรามาธิบดี แถลงข่าวเผยอาการทรุดหนักอย่างรวดเร็วของพระเอกหนุ่มเพื่อคลายข้อสงสัยว่า “เหตุใดจึงรุนแรงนัก?” พร้อมให้ข้อมูลว่าเป็นเพราะ “ภาวะแทรกซ้อน” จึงส่งให้เกล็ดเลือดต่ำ เลือดเป็นกรด ตกเลือด ไตวายเฉียบพลัน หัวใจหยุดเต้นชั่วขณะ จนเข้าขั้นวิกฤตต้องใช้เครื่องปั๊มหัวใจ ซึ่งขณะนี้อาการทรงตัวและอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิดแล้ว
“ภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นไม่ได้บ่อย ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของบุคคล จึงไม่อยากให้ประชาชนแตกตื่นกับอาการนี้ คนเรามีสิทธิ์เจอได้แต่ไม่บ่อยนัก” คือข้อมูลที่หลายคนควรรับรู้ไว้ แต่ถึงอย่างนั้นก็ควรทำความเข้าใจ “ไข้เลือดออก” และเฝ้าระวังเอาไว้อยู่ดี
อ.นพ.ชัยวัฒน์ วชิรศักดิ์ศิริ สาขาการบริบารผู้ป่วยนอก ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช ช่วยให้ข้อมูลอย่างเข้าใจง่ายเอาไว้ว่า แท้จริงแล้ว สายพันธุ์ของไข้เลือดออกมีทั้งหมด 4 สายพันธุ์ด้วยกัน แต่เคยพบในไทยเพียง 2 สายพันธุ์เท่านั้น และทั้งหมดล้วนเกิดจาก “ไวรัสเดงกี่” (Dengue Haemorrhagic Fever: DHF) ทั้งสิ้น
“ความหนักเบาของโรค มันขึ้นอยู่กับหลายๆ อย่างครับ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของโรคอย่างเดียว ทั้งเรื่องภูมิคุ้มกันของคนไข้เอง และระยะเวลาที่ติดเชื้อด้วย ปกติแล้ว โรคไข้เลือดออกมันจะเป็นโรคชนิด “เฉียบพลัน” อยู่แล้ว หมายถึงมีไข้เพิ่มสูงภายใน 1-2 วัน ซึ่งจะแบ่งอาการของคนไข้ออกเป็น 2 ชนิดหลักๆ คือ “เป็นแล้วช็อก” กับ “เป็นแล้วไม่ช็อก” อย่างคุณปอจะอยู่ในประเภทเป็นแล้วช็อก คือมีปฏิกิริยากับตัวเชื้อไวรัสค่อนข้างเยอะ ทำให้เกิดอาการขาดน้ำและเกล็ดเลือดต่ำลงอย่างรวดเร็ว อาการก็เลยอยู่ในระดับรุนแรงขึ้นมา”
หลายเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า เหตุใดโรงพยาบาลเอกชนที่พระเอกหนุ่มเข้ารับการรักษาจึงไม่สามารถช่วยให้หายขาดได้ตั้งแต่แรก จนต้องส่งตัวมายังโรงพยาบาลรามาฯ ในนาทีวิกฤต? เกี่ยวกับเรื่องนี้ อาจารย์นายแพทย์ชัยวัฒน์มองว่าน่าจะเป็นเพราะอุปสรรคเรื่องความพร้อมเรื่องอุปกรณ์การแพทย์
“ทราบมาว่าเขาเกล็ดเลือดต่ำมากและมีเลือดออก จึงจำเป็นต้องให้สารการแข็งตัวของเลือดบางอย่าง ซึ่งยาตัวนี้ทางโรงพยาบาลเอกชนไม่ค่อยมี เพราะยามันแพงมาก หรือถ้าต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือไอซียู โรงพยาบาลรัฐจะพร้อมกว่าอยู่แล้วครับ โดยเฉพาะไข้เลือดออกที่อาการจะเปลี่ยนแปลงค่อนข้างเร็วด้วย ถ้าไปที่แรกในระยะที่วิกฤตมากแล้วด้วย โรงพยาบาลเองอาจจะรับมือไม่ไหว แต่เพื่อความปลอดภัยของคนไข้ ผมว่าการพาไปโรงพยาบาลที่ใกล้บ้านที่สุดน่าจะดีกว่า แต่ถ้าโรงพยาบาลประเมินแล้วว่าศักยภาพโรงพยาบาลไม่ไหว เดี๋ยวจะมีการส่งต่อไปตามขั้นตอนการรักษาเอง”
จริงๆ แล้ว โรคไข้เลือดออกไม่ใช่เรื่องใหม่ และมีข่าวว่าเด็กๆ เสียชีวิตจากโรคนี้อยู่บ่อยๆ เนื่องจากผู้ปกครองแยกไม่ออก คิดว่าป่วยเป็นไข้หวัดทั่วๆ ไป กระทั่งร่างกายเกิดอาการช็อกจึงทราบว่าผิดปกติ แต่กว่าจะส่งผู้ป่วยถึงมือหมอ หลายๆ ครั้งก็สายเกินไปเสียแล้ว และนี่คือความแตกต่างระหว่าง “ไข้หวัดใหญ่” กับ “ไข้เลือดออก”
“ถ้าเป็นไข้วันแรก จะแยกไม่ได้เลยครับ อาการทุกอย่างจะเหมือนกันหมด คือจะมีไข้สูงอย่างเดียว อาจจะมีปวดตามเนื้อตามตัว คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหารบ้าง จะแยกอาการไม่ค่อยได้ แต่พอวันที่ 2-3 จะเห็นชัดขึ้น ถ้าเป็นไข้เลือดออกจะยิ่งปวดตัว แต่ถ้าเป็นไข้หวัดจะมีอาการไอกับน้ำมูกเยอะขึ้น อันนี้คือความต่างครับ ดังนั้น ถ้าพบว่ามีอาการไข้สูงลอย 2-7 วัน ไม่มีอาการร่วมเลย ให้พึงระวังว่าจะเป็นไข้เลือดออกเอาไว้ก่อน ถ้าเริ่มไม่สบาย มีไข้ ปวดเนื้อปวดตัวโดยไม่มีสาเหตุ ให้ไปเช็กที่โรงพยาบาลหน่อยดีกว่า
ส่วนเรื่องเฝ้าระวัง เอาเป็นว่าหลักการที่ดีที่สุดเลยคือการหลีกเลี่ยงการเป็นไข้เลือดออก ในเมื่อเรารู้ว่าช่วงนี้มีแต่ยุงลาย เราก็ทำยังไงก็ได้ให้ไม่มียุงลายในชุมชนของเรา เริ่มจากการป้องกันก่อน เช่น กำจัดแหล่งน้ำยุงลาย ภาชนะที่มีน้ำขังต้องคว่ำให้หมด พ่นยาฆ่ายุง นอนกางมุ้ง ฯลฯ แต่ถ้าป้องกันไม่ไหวจริงๆ ก็จะต้องมีความเข้าใจและตื่นตัวที่จะไม่ปล่อยให้ป่วยหลายๆ วันแล้วค่อยมาโรงพยาบาล เช่น ถ้าใครมีลูกหรือญาติที่มีไข้ขึ้นมา ไม่มีอาการร่วมเลย มีไข้อย่างเดียว ปวดเมื่อยตามตัว ภายใน 1-2 วัน น่าจะต้องไปที่โรงพยาบาลได้แล้วครับ”
ความเชื่อเรื่องที่ว่า “เคยเป็นไข้เลือดออกแล้ว จะไม่เป็นอีก” นั้น แท้จริงแล้วเป็นความจริงเพียงครึ่งเดียว! ข้อเท็จจริงทั้งหมดคือ ถ้าเป็นไข้เลือดออกสายพันธุ์ไหนแล้ว จะไม่กลับมาเป็นชนิดเดิมอีก ในเมื่อไข้เลือดออกมีทั้งหมด 4 สายพันธุ์ ดังนั้น ชีวิตคนเราจึงมีสิทธิเป็นได้ทั้งหมด 3-4 ครั้งนั่นเอง
สำหรับไข้เลือดออกชนิดเฉียบพลันและรุนแรงอย่างกรณีของพระเอกหนุ่มนิสัยดีรายนี้ ยังคงอยู่ในระดับที่ประเมินยาก ต้องรักษาไปตามอาการ ขณะนี้จึงถือเป็นช่วงเวลาแห่งการส่งกำลังใจและร่วมส่งต่อน้ำใจให้แก่กัน โดยสามารถบริจาคเกล็ดเลือด "กรุ๊ป A" ให้ "ปอ-ทฤษฎี สหวงษ์" ได้ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ห้องปฏิบัติการคลังเลือด อาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ ชั้น 3 เวลา 08.30-16.30 น. โทร.02-200-3772
Credit : http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9580000125587
จากกระทู้ http://ppantip.com/topic/34433289
สธ. ชี้ ป่วย “ไข้เลือดออก” ซ้ำต่างสายพันธุ์ เสี่ยงอาการรุนแรง เผย ร่างกายบางคนกระตุ้นภูมิคุ้มกันรวดเร็วต่อเนื่อง เส้นเลือดรั่วสูญเสียสารน้ำ เกล็ดเลือด ร่างกายทรุดเร็วจนเกิดภาวะช็อก เช่น เคส “ปอ ทฤษฎี” มักพบในคนแข็งแรง ชี้ หากพ้นวิกฤตใน 48 ชั่วโมง อาการจะดีขึ้น
นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า การควบคุมโรคไข้เลือดออกต้องอาศัยความร่วมมือทุกภาคส่วน โดยเฉพาะนักเรียนที่ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่สุดต้องช่วยกันกำจัดลูกน้ำยุงลาย ก็จะสามารถช่วยลดอุบัติการณ์ลงได้ ทั้งนี้ สธ. จะทำหนังสือประสานไปยังกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เพื่อขอให้เอาชั่วโมงลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ให้นักเรียนไปช่วยกันกำจัดลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า จากการสำรวจ พบว่า บ้านของคนไทยยังพบแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอยู่ 30% ในโรงเรียนพบมาก 40% ส่วนในวัดพบแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายมากถึง 60% การป้องกันและลดการเจ็บป่วยไข้เลือดออกทุกฝ่ายจึงต้องร่วมมือกันในการควบคุมโรค สำหรับโรคไข้เลือดออกนั้น เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี ในประเทศไทยมีอยู่ 4 สายพันธุ์ โดยทั้ง 4 สายพันธุ์ความรุนแรงของโรคไม่ต่างกัน แต่พบว่าเมื่อป่วยไข้เลือดออกจากสายพันธุ์ใดสายพันธุ์หนึ่งแล้ว เมื่อกลับมาป่วยโรคไข้เลือดออกอีกด้วยสายพันธุ์อื่นมักจะมีอาการรุนแรงขึ้น ซึ่งอาการรุนแรงที่เกิดขึ้นนั้น เนื่องจากร่างกายเรามีภูมิต้านทานที่เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกีอยู่ก่อนแล้ว อย่างเช่น กรณีของนักแสดงหนุ่มปอ ทฤษฎี สหวงษ์ ที่อาการรุนแรง เพราะภาวะภูมิต้านทานทำงานมากเกินไป ก็เพราะร่างกายตอบสนองต่อเชื้อไวรัสและกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นอย่างรวดเร็ว
“ ตรงนี้เป็นกลไกของร่างกายที่เมื่อได้รับเชื้อเข้าไปแล้ว ภูมิคุ้มกันในเลือดก็จะไปจับสารไวรัส และกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายขึ้นมา ซึ่งบางคนกระบวนการนี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วต่อเนื่อง ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและปฏิกิริยาของแต่ละบุคคลด้วย ทำให้เกิดการไปทำลายเซลล์อื่น ๆ ในร่างกาย หากเกิดที่หลอดเลือดก็จะทำให้สารน้ำรั่วออกจากเส้นเลือด ร่างกายจึงสูญเสียสารน้ำและเกล็ดเลือด ทำให้เกิดภาวะช็อกขึ้นได้ นอกจากนี้ หากไปเกิดที่อวัยวะอื่นก็จะทำให้ระบบอวัยวะนั้นเสียหาย ซึ่งเรื่องนี้ไม่สามารถคาดเดาได้ ถือว่าเป็นช่วงวิกฤตที่เกิดขึ้น 48 ชั่วโมง หากผ่าน 48 ชั่วโมงนี้ไปได้ ร่างกายก็จะฟื้นตัว เหลือเพียงการรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น ส่วนกรณีของนักแสดงหนุ่มนั้นไม่ทราบว่าเริ่มเกิดภาวะดังกล่าวในช่วงเวลาใด ” นพ.โอภาส กล่าวและว่า ภาวะเช่นนี้ถือว่าพบได้บ่อย อย่างอัตราการเสียชีวิตของไข้เลือดออกที่พบว่า ป่วย 1,000 ราย มักเสียชีวิต 1 รายนั้น ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ก็เป็นเพราะมีอาการรุนแรง และส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับคนที่แข็งแรง
นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ข้อสังเกตของการเกิดโรคไข้เลือดออกในช่วงระยะ 5 ปีที่ผ่านมา พบว่า 1. กลุ่มอายุมีความเปลี่ยนแปลงไป ทำให้สามารถเป็นไข้เลือดออกได้ทุกกลุ่มวัยไม่เฉพาะเด็ก ซึ่งเมื่อเป็นกลุ่มวัยอื่นทำให้แพทย์ไม่ค่อยนึกถึงไข้เลือดออก แต่มีการย้ำเตือนให้แพทย์ตระหนักถึงโรคไข้เลือดออกว่าเป็นโรคประจำถิ่น 2. น้ำหนักตัวที่ไม่สัมพันธ์กับอายุ ทำให้การวินิจฉัยไม่ชัดเจน รวมทั้งการรักษาที่ทำให้แพทย์ปรับขนาดยาได้ยากขึ้น 3. พื้นที่ในการระบาดของโรคที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ทำให้บางครั้งประชาชนในพื้นที่ไม่ได้ตระหนักมากพอ และ 4. พบว่าบางคนป่วยมากกว่า 1 โรค พร้อมกัน เช่น ป่วยเป็นไข้หวัด พร้อมไข้เลือดออก ก็จะทำให้อากาของโรคแย่ลง
“สิ่งที่ต้องระวังคือในช่วงไข้ลง หากไข้ลงจากการที่อาการดีขึ้น ผู้ป่วยจะรู้สึก หิวอยากทานอาหาร หรือสดใสขึ้น แต่ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก มักจะไข้ลง ตัวเย็น แต่ซึมลง ไม่อยากอาหาร ซึ่งอาการดังกล่าวเป็นสัญญาณอันตรายว่าอาจเข้าสู่ภาวะช็อก ทั้งนี้ หากเกิดโรคในเด็กส่วนใหญ่พ่อแม่จะสังเกตได้เร็วเพราะเด็กจะซึมอย่างเห็นได้ชัด แต่เมื่อเป็นผู้ใหญ่จะอดทนมากกว่าทำให้อาการของโรคดำเนินมาถึงจุดที่แย่ลง” นพ.สุวรรณชัย กล่าว
Credit : http://manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9580000125554