สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
เป็นระบบที่เรียกกันว่า segmental box girder โดยชิ้นส่วนคอนกรีตที่เรียกว่า box girder นี้ จะนำมาต่อกันโดยใช้เครนช่วยพยุง
สาเหตุที่ต้องทำเป็นชิ้นๆ เนื่องจากสแปน หรือระยะระหว่างเสาถึงเสาของสะพานมีระยะค่อนข้างมาก (อาจมากกว่า 100 เมตรขึ้นไป)
การทำชิ้นส่วนทีเดียวความยาว 100 เมตรนั้น ทำได้ แต่ยกขึ้นวางนั้น ค่อนข้างน่าปวดหัว อีกทั้งพื้นที่ก่อสร้างจำกัด เลยมีคนคิดค้น
วิธีนี้ขึ้น (มร.ปราด้า ผมได้ยินมาอย่างนี้) แต่ๆๆ เจ้าชิ้นส่วนหลายๆ ชิ้นจะยึดมันยังไงให้เป็นแท่งยาว เราร้อย tendon strand ซึ่งมีกำลังรับ
แรงดึงได้สูงมากเข้าไปในรู (ตามรูป จขกท) ใช้ไฮดรอลิคแจ็คหัวท้ายดึงมันให้ตึง และให้ยืดอีกเล็กน้อยตามที่คำนวนมา ให้ยืดอีก
ทำไม เราจะให้มี stress ค้างอยู่ในเหล็ก tendon นี้ครับ ให้มันทำหน้าที่รับแรงดึงตอนใช้งานให้ได้ดีที่สุด อีกประการที่เราดึงมัน
ให้ยืดอีก คล้ายเราจะอัดแท่งให้แนบสนิทติดกัน(เกิด friction ที่หน้าสัมผัสของแต่ละชิ้นส่วน) เกิดการโก่งตัวเล็กน้อยที่ผิวด้านบน
ของชิ้นส่วนคอนกรีต แต่ตอนใช้งานมีน้ำหนักลงแล้ว การโก่งตัวจะตกลงด้านล่างพอดีกับที่ออกแบบไว้ครับ มันก็จะไม่โก่งลงจนเลย
ลิมิต รับรองว่าอยู่ได้สบายครับ ตัว tendon เองมีค่า tensile strength ประมาณ 2000 Mpa (ประมาณ 20000 กก/ตร.ซม. หรือ 20 ตัน/ตร.ซม. เยอะมากนะครับ)
นั่นละครับ มันไม่ย้วยเลยเพราะดึงด้วยแรงมหาศาลนี่ละครับ
ปล.จะเรียกว่าให้ยืดก็ไม่ถูกนัก เรียกว่าเพิ่มแรงดึงดีกว่า แต่ดึงเท่าไรนั้น มีปัจจัยเผื่อหลายอย่างครับ ผมเองก็ลืมวิชานี้ไปเสียเกือบหมดแล้ว
พอดีหาเจอเอาวิธีร้อย strand ข้างในมาให้ดูครับ มันโค้งลงด้านล่างเห็นไหมครับ นี่เป็นวิธีของ post-tension เลยคือต้องทำให้คอนกรีต
ทั้งหมดโก่งขึ้นด้านบนก่อนที่มันจะรับน้ำหนัก (รับ นน. แล้วจะโก่งลง)
สาเหตุที่ต้องทำเป็นชิ้นๆ เนื่องจากสแปน หรือระยะระหว่างเสาถึงเสาของสะพานมีระยะค่อนข้างมาก (อาจมากกว่า 100 เมตรขึ้นไป)
การทำชิ้นส่วนทีเดียวความยาว 100 เมตรนั้น ทำได้ แต่ยกขึ้นวางนั้น ค่อนข้างน่าปวดหัว อีกทั้งพื้นที่ก่อสร้างจำกัด เลยมีคนคิดค้น
วิธีนี้ขึ้น (มร.ปราด้า ผมได้ยินมาอย่างนี้) แต่ๆๆ เจ้าชิ้นส่วนหลายๆ ชิ้นจะยึดมันยังไงให้เป็นแท่งยาว เราร้อย tendon strand ซึ่งมีกำลังรับ
แรงดึงได้สูงมากเข้าไปในรู (ตามรูป จขกท) ใช้ไฮดรอลิคแจ็คหัวท้ายดึงมันให้ตึง และให้ยืดอีกเล็กน้อยตามที่คำนวนมา ให้ยืดอีก
ทำไม เราจะให้มี stress ค้างอยู่ในเหล็ก tendon นี้ครับ ให้มันทำหน้าที่รับแรงดึงตอนใช้งานให้ได้ดีที่สุด อีกประการที่เราดึงมัน
ให้ยืดอีก คล้ายเราจะอัดแท่งให้แนบสนิทติดกัน(เกิด friction ที่หน้าสัมผัสของแต่ละชิ้นส่วน) เกิดการโก่งตัวเล็กน้อยที่ผิวด้านบน
ของชิ้นส่วนคอนกรีต แต่ตอนใช้งานมีน้ำหนักลงแล้ว การโก่งตัวจะตกลงด้านล่างพอดีกับที่ออกแบบไว้ครับ มันก็จะไม่โก่งลงจนเลย
ลิมิต รับรองว่าอยู่ได้สบายครับ ตัว tendon เองมีค่า tensile strength ประมาณ 2000 Mpa (ประมาณ 20000 กก/ตร.ซม. หรือ 20 ตัน/ตร.ซม. เยอะมากนะครับ)
นั่นละครับ มันไม่ย้วยเลยเพราะดึงด้วยแรงมหาศาลนี่ละครับ
ปล.จะเรียกว่าให้ยืดก็ไม่ถูกนัก เรียกว่าเพิ่มแรงดึงดีกว่า แต่ดึงเท่าไรนั้น มีปัจจัยเผื่อหลายอย่างครับ ผมเองก็ลืมวิชานี้ไปเสียเกือบหมดแล้ว
พอดีหาเจอเอาวิธีร้อย strand ข้างในมาให้ดูครับ มันโค้งลงด้านล่างเห็นไหมครับ นี่เป็นวิธีของ post-tension เลยคือต้องทำให้คอนกรีต
ทั้งหมดโก่งขึ้นด้านบนก่อนที่มันจะรับน้ำหนัก (รับ นน. แล้วจะโก่งลง)
แสดงความคิดเห็น
การเอาลวดมาขึงชิ้นส่วนสะพาน stressing tension tendon มันทำให้แข็งแรงได้ยังไงครับ
แล้วรูดดึงชิ้นส่วนสะพานให้ชิดกัน มันดูยังไงก็ไม่น่าแข็งแรงนะครับ มันจะไม่ย้วยบ้างหรอครับ รบกวนช่วยอธิบายหน่อยครับ ขอบคุณครับ