ล่าสุดสำนักระบาดวิทยา กองควบคุมโรคได้สรุปสถานการณ์ผู้ป่วยโรคเอดส์จากสถานบริการสาธารณสุขภาครัฐและเอกชน พบว่ากลุ่มที่ติดเชื้อเอชไอวีมากที่สุดคือ กลุ่มวัยรุ่น-วัยทำงาน และคาดว่าจะมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วง
คำถามและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเชื้อเอชไอวี/เอดส์
คำถามที่ 1 : เชื้อไวรัสเอชไอวี เป็นตัวการสำคัญที่ทำร้ายร่างกายของคนให้เป็นโรคเอดส์
ข้อเท็จจริง : เชื้อเอชไอวีหรือ Human immunodeficiency virus เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่ทำลายภาวะภูมิคุ้มกันร่างกายให้บกพร่อง อันเป็นที่มาของโรคเอดส์เองนั่นเอง (Acquired Immune Deficiency Syndrome-AIDS)
เชื้อไวรัสเอชไอวีจะทำลายเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งทำหน้าที่ป้องกันการติดเชื้อหรือก่อให้เกิดโรคต่างๆ ที่อยู่รอบๆ ตัวเรา แต่เมื่อเซลล์โดนทำลายจนอ่อนแอ ทำให้ประสิทธิภาพการป้องกันโรคต่างๆ ลดลง เปิดโอกาสให้โรคแทรกซ้อนหรือเชื้อฉวยโอกาสเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย เช่น วัณโรค โรคปอดอักเสบเรื้อรังหรือมะเร็งบางชนิด ซึ่งเชื้อเอชไอวี ไม่ได้ทำร้ายร่างกายเราโดยตรง แต่เป็นเชื้อฉวยโอกาสที่เป็นสาเหตุ ทำให้ผู้ติดเชื้อเจ็บป่วยและเสียชีวิตลง
ทั้งนี้เชื้อไวรัสเอชไอวีไม่ได้ทำลายเซลล์ภูมิคุ้มกันอย่างรวดเร็ว ดังนั้นคนติดเชื้อจึงอาจไม่รู้ตัวหรือแสดงอาการป่วยชัดเจนจนกว่าจะนานหลายปี ซึ่งลักษณะภายนอกของคนติดเชื้อจะมีสุขภาพแข็งแรง ปกติดีเหมือนคนทั่วไป แต่จะรู้ตัวอีกทีก็ตอนที่ตรวจเลือดหรือติดเชื้อฉวยโอกาสรุนแรง อาการป่วยเรื้อรังและหนักขึ้นเรื่อยๆ
คำถามที่ 2 : ถ้าคนเป็นแม่ติดเชื้อเอชไอวี ลูกก็ต้องติดด้วย
ข้อเท็จจริง : ในกรณีที่ลูกโตแล้ว แต่แม่เพิ่งรู้ตัวว่าติดเชื้อทีหลัง โดยเฉพาะโอกาสที่ลูกยังดูดนมแม่จะมีโอกาสเสี่ยงสูง เพราะการให้ลูกดูดนม แม่ที่ติดเชื้อเอชไอวี นมแม่สามารถถ่ายทอด เชื้อเอชไอวีให้กันได้ แต่ในกรณีที่แม่ติดเชื้อเอชไอวีขณะตั้งครรภ์ ลูกในท้องจะมีสิทธิติดเชื้อเอชไอวี ทั้งนี้ถ้าแม่รู้ตัวและยังตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรก การรับประทานยาต้านเชื้อ สามารถลดที่ลูกจะเสี่ยงติดเชื้อหรือไม่ติดเชื้อเอชไอวีเลย
คำถามที่ 3 : แค่จูบกันก็ติดเชื้อเอชไอวีได้แล้ว
ข้อเท็จจริง : ไม่จริง การจูบสัมผัสริมฝีปากด้านนอก (จูบแบบแห้ง) ไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี เช่นเดียวกับการจูบแบบประกบปาก (จูบแบบเปียก) แต่ว่าถ้าจูบในขณะที่คนนั้นมีแผลในปากหรือเหงือกอักเสบ และตนเองก็มีแผลหรือเลือดออกในช่องปากด้วย ก็มีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อได้ อย่างไรก็ตามก็ยังไม่เคยมีรายงานว่ามีคนติดเชื้อเอชไอวีจากการจูบ
คำถามที่ 4 : เล่นกีฬาร่วมกันก็มีสิทธิติดเชื้อเอชไอวีได้
ข้อเท็จจริง : การอยู่ร่วมกันหรือเล่นกีฬาร่วมกันกับคนหมู่มาก ย่อมไม่มีวันรู้ได้ว่าคนไหนติดหรือไม่ติดเชื้อเอชไอวี การเล่นกีฬาปกติไม่สามารถแพร่เชื้อเอชไอวีได้ ยกเว้นกรณีที่ผู้เล่นคนติดเชื้อเอชไอวีหนึ่งเกิดบาดเจ็บเลือดออก และคนปฐมพยาบาลเข้าไปห้ามเลือดโดยไม่สวมถุงมือ ถ้าเกิดมีบาดแผลเปิดอยู่ด้วยหรือเอามือไปขยี้ตาที่มีเนื้อเยื่อบุอ่อน โอกาสเสี่ยงติดเชื้อก็มี ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุด คือถ้าเกิดการบาดเจ็บเลือดตกยางออก อย่าพยายามสัมผัสแผลหรือห้ามเลือดด้วยมือเปล่า ทั้งนี้เพื่อสุขอนามัยโดยรวมของคนที่บาดเจ็บด้วย ให้เรียกแพทย์สนามหรือเจ้าหน้าที่มาปฐมพยาบาลจนเลือดหยุดไหล และทำความสะอาดแผล ปิดปากแผลให้เรียบร้อยด้วยผ้าก๊อซจะดีที่สุด แต่ก็ยังไม่เคยมีรายงานอีกเช่นกันว่ามีคนติดเชื้อเอชไอวีจากกรณีแบบนี้
คำถามที่ 5 : การอยู่ร่วมกันในบ้านเดียวกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี ทั้งการหายใจรดกันหรือรับประทานอาหารร่วมกันทำให้เสี่ยงติดเชื้อเอชไอวีด้วย
ข้อเท็จจริง : ไม่จริงเลย เชื้อเอชไอวีเป็นไวรัสที่ไวและอ่อนแอเมื่อโดนความร้อนจากแสงแดดหรือสัมผัสกับอากาศภายนอกร่างกาย จึงไม่สามารถแพร่หรือติดต่อทางการหายใจหรือการรับประทานอาหารร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการใช้จาน ชาม แก้วน้ำ หรือช้อนส้อมร่วมกัน การกอด การจับมือ การหอมแก้ม การใช้ห้องน้ำหรือโทรศัพท์สาธารณะ การว่ายน้ำร่วมสระเดียวกัน ซึ่งโอกาสเสี่ยงติดเชื้อมีน้อย
ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ติดเชื้อหรือแพร่เชื้อเอชไอวีไปสู่คนที่คุณรัก อย่าลืมใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์อย่างถูกต้อง ไม่เปลี่ยนคู่นอนหลายคู่และหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ ถ้าทำได้แบบนี้ก็เท่ากับป้องกันโรคเอดส์และยังป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ได้อีก
ขอขอบคุณข้อมูลจาก healthtoday.net
Report by LIV Capsule
รู้จริงเรื่องโรคเอดส์
คำถามและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเชื้อเอชไอวี/เอดส์
คำถามที่ 1 : เชื้อไวรัสเอชไอวี เป็นตัวการสำคัญที่ทำร้ายร่างกายของคนให้เป็นโรคเอดส์
ข้อเท็จจริง : เชื้อเอชไอวีหรือ Human immunodeficiency virus เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่ทำลายภาวะภูมิคุ้มกันร่างกายให้บกพร่อง อันเป็นที่มาของโรคเอดส์เองนั่นเอง (Acquired Immune Deficiency Syndrome-AIDS)
เชื้อไวรัสเอชไอวีจะทำลายเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งทำหน้าที่ป้องกันการติดเชื้อหรือก่อให้เกิดโรคต่างๆ ที่อยู่รอบๆ ตัวเรา แต่เมื่อเซลล์โดนทำลายจนอ่อนแอ ทำให้ประสิทธิภาพการป้องกันโรคต่างๆ ลดลง เปิดโอกาสให้โรคแทรกซ้อนหรือเชื้อฉวยโอกาสเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย เช่น วัณโรค โรคปอดอักเสบเรื้อรังหรือมะเร็งบางชนิด ซึ่งเชื้อเอชไอวี ไม่ได้ทำร้ายร่างกายเราโดยตรง แต่เป็นเชื้อฉวยโอกาสที่เป็นสาเหตุ ทำให้ผู้ติดเชื้อเจ็บป่วยและเสียชีวิตลง
ทั้งนี้เชื้อไวรัสเอชไอวีไม่ได้ทำลายเซลล์ภูมิคุ้มกันอย่างรวดเร็ว ดังนั้นคนติดเชื้อจึงอาจไม่รู้ตัวหรือแสดงอาการป่วยชัดเจนจนกว่าจะนานหลายปี ซึ่งลักษณะภายนอกของคนติดเชื้อจะมีสุขภาพแข็งแรง ปกติดีเหมือนคนทั่วไป แต่จะรู้ตัวอีกทีก็ตอนที่ตรวจเลือดหรือติดเชื้อฉวยโอกาสรุนแรง อาการป่วยเรื้อรังและหนักขึ้นเรื่อยๆ
คำถามที่ 2 : ถ้าคนเป็นแม่ติดเชื้อเอชไอวี ลูกก็ต้องติดด้วย
ข้อเท็จจริง : ในกรณีที่ลูกโตแล้ว แต่แม่เพิ่งรู้ตัวว่าติดเชื้อทีหลัง โดยเฉพาะโอกาสที่ลูกยังดูดนมแม่จะมีโอกาสเสี่ยงสูง เพราะการให้ลูกดูดนม แม่ที่ติดเชื้อเอชไอวี นมแม่สามารถถ่ายทอด เชื้อเอชไอวีให้กันได้ แต่ในกรณีที่แม่ติดเชื้อเอชไอวีขณะตั้งครรภ์ ลูกในท้องจะมีสิทธิติดเชื้อเอชไอวี ทั้งนี้ถ้าแม่รู้ตัวและยังตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรก การรับประทานยาต้านเชื้อ สามารถลดที่ลูกจะเสี่ยงติดเชื้อหรือไม่ติดเชื้อเอชไอวีเลย
คำถามที่ 3 : แค่จูบกันก็ติดเชื้อเอชไอวีได้แล้ว
ข้อเท็จจริง : ไม่จริง การจูบสัมผัสริมฝีปากด้านนอก (จูบแบบแห้ง) ไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี เช่นเดียวกับการจูบแบบประกบปาก (จูบแบบเปียก) แต่ว่าถ้าจูบในขณะที่คนนั้นมีแผลในปากหรือเหงือกอักเสบ และตนเองก็มีแผลหรือเลือดออกในช่องปากด้วย ก็มีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อได้ อย่างไรก็ตามก็ยังไม่เคยมีรายงานว่ามีคนติดเชื้อเอชไอวีจากการจูบ
คำถามที่ 4 : เล่นกีฬาร่วมกันก็มีสิทธิติดเชื้อเอชไอวีได้
ข้อเท็จจริง : การอยู่ร่วมกันหรือเล่นกีฬาร่วมกันกับคนหมู่มาก ย่อมไม่มีวันรู้ได้ว่าคนไหนติดหรือไม่ติดเชื้อเอชไอวี การเล่นกีฬาปกติไม่สามารถแพร่เชื้อเอชไอวีได้ ยกเว้นกรณีที่ผู้เล่นคนติดเชื้อเอชไอวีหนึ่งเกิดบาดเจ็บเลือดออก และคนปฐมพยาบาลเข้าไปห้ามเลือดโดยไม่สวมถุงมือ ถ้าเกิดมีบาดแผลเปิดอยู่ด้วยหรือเอามือไปขยี้ตาที่มีเนื้อเยื่อบุอ่อน โอกาสเสี่ยงติดเชื้อก็มี ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุด คือถ้าเกิดการบาดเจ็บเลือดตกยางออก อย่าพยายามสัมผัสแผลหรือห้ามเลือดด้วยมือเปล่า ทั้งนี้เพื่อสุขอนามัยโดยรวมของคนที่บาดเจ็บด้วย ให้เรียกแพทย์สนามหรือเจ้าหน้าที่มาปฐมพยาบาลจนเลือดหยุดไหล และทำความสะอาดแผล ปิดปากแผลให้เรียบร้อยด้วยผ้าก๊อซจะดีที่สุด แต่ก็ยังไม่เคยมีรายงานอีกเช่นกันว่ามีคนติดเชื้อเอชไอวีจากกรณีแบบนี้
คำถามที่ 5 : การอยู่ร่วมกันในบ้านเดียวกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี ทั้งการหายใจรดกันหรือรับประทานอาหารร่วมกันทำให้เสี่ยงติดเชื้อเอชไอวีด้วย
ข้อเท็จจริง : ไม่จริงเลย เชื้อเอชไอวีเป็นไวรัสที่ไวและอ่อนแอเมื่อโดนความร้อนจากแสงแดดหรือสัมผัสกับอากาศภายนอกร่างกาย จึงไม่สามารถแพร่หรือติดต่อทางการหายใจหรือการรับประทานอาหารร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการใช้จาน ชาม แก้วน้ำ หรือช้อนส้อมร่วมกัน การกอด การจับมือ การหอมแก้ม การใช้ห้องน้ำหรือโทรศัพท์สาธารณะ การว่ายน้ำร่วมสระเดียวกัน ซึ่งโอกาสเสี่ยงติดเชื้อมีน้อย
ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ติดเชื้อหรือแพร่เชื้อเอชไอวีไปสู่คนที่คุณรัก อย่าลืมใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์อย่างถูกต้อง ไม่เปลี่ยนคู่นอนหลายคู่และหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ ถ้าทำได้แบบนี้ก็เท่ากับป้องกันโรคเอดส์และยังป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ได้อีก
ขอขอบคุณข้อมูลจาก healthtoday.net
Report by LIV Capsule