เคยสงสัยกันหรือเปล่าครับ ว่าความแตกต่างของบัตรวีซ่า (Visa) และบัตรมาสเตอร์การ์ด (Master Card) นั้นคืออะไร เพราะทั้งสองอย่างก็สามารถใช้ชำระสินค้าหรือบริการได้เหมือนกัน หนำซ้ำยังเป็นบัตรที่มีความเป็น International หรือนิยมใช้ไปทั่วโลกเสียอีก เอาล่ะครับ วันนี้เราจะมาพูดถึงความแตกต่างของเจ้าบัตรสองค่ายนี้กัน
1. การยอมรับ คงต้องบอกว่าความต่างอันดับแรกนั้นอยู่ที่การยอมรับและการใช้งาน วีซ่ามีเครือข่ายการใช้งานมากถึง 28 ล้าน จากร้านค้าหรือองค์การต่างๆ ทั้งน้อยใหญ่ทั่วโลก รวมถึงมีตู้เอทีเอ็มสำหรับถอนเงินอัตโนมัติถึง 200 ประเทศทั่วโลก แต่มาสเตอร์การที่มีเครือข่าวการใช้งานมากกว่า 30 ล้านนั้นไม่สามารถเข้าถึงคนทุกกลุ่ม ยกตัวอย่างเช่น ผมสามารถใช้บัตรวีซ่าซื้อของในอีกประเทศหนึ่ง แต่ไม่สามารถใช้มาสเตอร์การ์ดได้ในอีกประเทศหนึ่ง เป็นต้น
2. ผลประโยชน์ที่ได้รับ ทั้งวีซ่าและมาสเตอร์การ์ดนั้นต่างหยิบยื่นผลประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไปให้กับผู้ใช้งาน ซึ่งผลประโยชน์ที่ว่านี้ก็แตกต่างกันออกไปตามแต่ชนิดการให้บริการ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ใช้บัตรวีซ่า สามารถจองห้องพักพร้อมชำระได้ รวมไปถึงการอัพเกรดห้อง การใช้งานฟิตเนส สปา ซาวน่า หรือท่องเที่ยว พร้อมได้แต้มสำหรับนำไปสะสมเพื่อรับบริการพิเศษ ส่วนทางด้านมาสเตอร์การ์ดนั้นก็มีบริการแบบนี้เช่นเดียว ดังนั้นไม่ถือว่าแตกต่างกันมากนักในข้อนี้ อยู่ที่สถานที่หรือบริการที่เจ้าของบัตรต้องการใช้งานมากกว่า
3. ส่วนลด แน่นอนกว่าทั้งสองบัตรนั้นย่อมมีการให้ส่วนลด เพื่อเพิ่มยอดการใช้งานและคืนผลประโยชน์ให้กับลูกค้า ทั้งนี้ส่วนลดนั้นถือเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการมัดใจลูกค้าก็ว่าได้ เช่น การซื้อของ การเช่าบริการต่างๆ ข้อนี้ก็ถือว่าบัตรทั้งสองไม่แตกต่างกันมากนัก เพราะต่างก็แข่งขันกันด้านส่วนลด (วีซ่าลดได้สูงสุด 15% ดังนั้นมาสเตอร์การ์ดก็คงประมาณนี้) รวมไปถึงการสะสมแต้มอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับว่าผู้ใช้งานนั้นจะเลือกใช้แบบไหน ที่เหมาะสมกับตน แนะนำว่าขณะที่ตัดสินใจทำบัตรเครดิตนั้นควรสอบถามบริการต่างๆ จากเจ้าหน้าที่ให้ดีเสียก่อน
จะเห็นได้ว่า ความแตกต่างของบัตรเครดิตทั้งวีซ่าและมาสเตอร์การ์ดนั้นมีไม่ค่อยมาก ส่วนใหญ่จะเป็นที่การยอมรับ และเครือข่ายการให้บริการในด้านต่างๆ เสียมากกว่า ดังนั้นก็อย่างที่บอกไปแล้วว่าหากคุณเลือกที่จะใช้งานไม่ว่าวีซ่าหรือมาสเตอร์การ์ด จำเป็นที่จะต้องสอบถามข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ของบัตรนั้นให้ดีเสียก่อน เพื่อที่จะรู้ได้ว่า บัตรแบบไหนหรือบริการแบบใดเหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของคุณ และจะได้ไม่เกิดปัญหาต่างๆ เช่นบริการไม่ตรงกับความต้องการเกิดขึ้นในภายหลัง
รู้ไหมว่าบัตรเครดิตวีซ่าและมาสเตอร์การ์ด แตกต่างกันอย่างไร แบบไหนดีกว่ากัน
1. การยอมรับ คงต้องบอกว่าความต่างอันดับแรกนั้นอยู่ที่การยอมรับและการใช้งาน วีซ่ามีเครือข่ายการใช้งานมากถึง 28 ล้าน จากร้านค้าหรือองค์การต่างๆ ทั้งน้อยใหญ่ทั่วโลก รวมถึงมีตู้เอทีเอ็มสำหรับถอนเงินอัตโนมัติถึง 200 ประเทศทั่วโลก แต่มาสเตอร์การที่มีเครือข่าวการใช้งานมากกว่า 30 ล้านนั้นไม่สามารถเข้าถึงคนทุกกลุ่ม ยกตัวอย่างเช่น ผมสามารถใช้บัตรวีซ่าซื้อของในอีกประเทศหนึ่ง แต่ไม่สามารถใช้มาสเตอร์การ์ดได้ในอีกประเทศหนึ่ง เป็นต้น
2. ผลประโยชน์ที่ได้รับ ทั้งวีซ่าและมาสเตอร์การ์ดนั้นต่างหยิบยื่นผลประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไปให้กับผู้ใช้งาน ซึ่งผลประโยชน์ที่ว่านี้ก็แตกต่างกันออกไปตามแต่ชนิดการให้บริการ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ใช้บัตรวีซ่า สามารถจองห้องพักพร้อมชำระได้ รวมไปถึงการอัพเกรดห้อง การใช้งานฟิตเนส สปา ซาวน่า หรือท่องเที่ยว พร้อมได้แต้มสำหรับนำไปสะสมเพื่อรับบริการพิเศษ ส่วนทางด้านมาสเตอร์การ์ดนั้นก็มีบริการแบบนี้เช่นเดียว ดังนั้นไม่ถือว่าแตกต่างกันมากนักในข้อนี้ อยู่ที่สถานที่หรือบริการที่เจ้าของบัตรต้องการใช้งานมากกว่า
3. ส่วนลด แน่นอนกว่าทั้งสองบัตรนั้นย่อมมีการให้ส่วนลด เพื่อเพิ่มยอดการใช้งานและคืนผลประโยชน์ให้กับลูกค้า ทั้งนี้ส่วนลดนั้นถือเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการมัดใจลูกค้าก็ว่าได้ เช่น การซื้อของ การเช่าบริการต่างๆ ข้อนี้ก็ถือว่าบัตรทั้งสองไม่แตกต่างกันมากนัก เพราะต่างก็แข่งขันกันด้านส่วนลด (วีซ่าลดได้สูงสุด 15% ดังนั้นมาสเตอร์การ์ดก็คงประมาณนี้) รวมไปถึงการสะสมแต้มอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับว่าผู้ใช้งานนั้นจะเลือกใช้แบบไหน ที่เหมาะสมกับตน แนะนำว่าขณะที่ตัดสินใจทำบัตรเครดิตนั้นควรสอบถามบริการต่างๆ จากเจ้าหน้าที่ให้ดีเสียก่อน
จะเห็นได้ว่า ความแตกต่างของบัตรเครดิตทั้งวีซ่าและมาสเตอร์การ์ดนั้นมีไม่ค่อยมาก ส่วนใหญ่จะเป็นที่การยอมรับ และเครือข่ายการให้บริการในด้านต่างๆ เสียมากกว่า ดังนั้นก็อย่างที่บอกไปแล้วว่าหากคุณเลือกที่จะใช้งานไม่ว่าวีซ่าหรือมาสเตอร์การ์ด จำเป็นที่จะต้องสอบถามข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ของบัตรนั้นให้ดีเสียก่อน เพื่อที่จะรู้ได้ว่า บัตรแบบไหนหรือบริการแบบใดเหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของคุณ และจะได้ไม่เกิดปัญหาต่างๆ เช่นบริการไม่ตรงกับความต้องการเกิดขึ้นในภายหลัง