กองทัพบกไทยลงนามข้อตกลงกับยูเครนในการสร้างรถหุ้มเกราะล้อยาง BTR-3E1 ในไทย

กระทู้ข่าว
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของสภาความมั่นคงและความปลอดภัยแห่งชาติยูเครน(NSDC:National Security and Defence Council) ได้มีการออกประกาศแถลงว่า
เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายนที่ผ่านมา ไทยและยูเครนได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือในการผลิตรถหุ้มเกราะล้อยาง BTR-3E1 ภายในประเทศไทย

กองทัพบกไทยได้สั่งจัดหารถหุ้มเกราะล้อยางตระกูล BTR-3E1 จำนวน ๙๖คัน เป็นชุดแรกในปี พ.ศ.๒๕๕๐(2007) ประกอบด้วย
รถรบทหารราบ BTR-3E1 ๖๔คัน, รถเกราะที่บังคับการ BTR-3K ๔คัน, รถเกราะพยาบาล BTR-3S ๓คัน, รถเกราะติดเครื่องยิงลูกระเบิด 81mm BTR-3M1 ๙คัน, รถเกราะติดเครื่องยิงลูกระเบิด 120mm BTR-3M2 ๔คัน,
รถเกราะติดอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง BTR-3RK ๖คัน และรถเกราะกู้ซ่อม BTR-3BR ๖คัน ต่อมาในเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๔(2011) กองทัพบกไทยได้สั่งจัดหารถเกราะ BTR-3E1 เพิ่มอีกเป็นชุดที่สองจำนวน ๑๒๑คัน
ปัจจุบันตามรายงานของทางยูเครนระบุว่าได้มีการส่งมอบรถเกราะ BTR-3E1 ให้ไทยแล้ว ๒๓๓คัน(น่าจะรวมรถของนาวิกโยธิน กองทัพเรือไทย ๑๒คันด้วย) โดยเป็นส่วนหนึ่งสัญญาวงเงิน $270 million(ประมาณ ๙,๗๐๐ล้านบาท)
ในปี พ.ศ.๒๕๕๖(2013) Ukroboronprom รัฐวิสาหกิจด้านการผลิตและส่งออกยุทโธปกรณ์ของยูเครน ได้รับสัญญาจัดหารถเกราะ BTR-3E1 เพิ่มเติมอีก ๒๑คัน สำหรับกองทัพบกไทย
ซึ่งสัญญาดังกล่าวครอบคลุมถึงการจัดส่งชิ้นส่วนของรถเกราะ BTR-3E1 รุ่นลำเลียงพล ๑๕คัน และรถเกราะติดอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง BTR-3RK ๖คัน จากยูเครนมาทำการประกอบภายในประเทศไทยด้วย

"เอกสารที่เพิ่งลงนามไปอยู่ในกรอบข้อตกลงการมีส่วนร่วมของตัวแทนของยูเครนในงานแสดงนานาชาติ Defense & Security 2015 ที่จัดขึ้นที่กรุงเทพฯ เป็นเอกสารเพื่อการให้มีการเปิดสายการผลิตของรถเกราะตระกูล BTR-3 ภายในดินแดนของราชอาณาจักรไทย"
สภาความมั่นคงและความปลอดภัยแห่งชาติยูเครนกล่าวในการแถลง โดยตัวแทนของฝ่ายยูเครนในการลงนามข้อตกลงนี้คือรัฐมนตรีกลาโหมยูเครน Stepan Poltorak
ซึ่งทางสภาความมั่นคงและความปลอดภัยแห่งชาติยูเครนได้กล่าวอีกด้วยว่า ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือระหว่างไทยกับยูเครนและตามข้อตกลงอีกสองฉบับก่อนหน้านี้ ยูเครนจะส่งออกรถหุ้มเกราะ รถถัง และยานยนต์สนับสนุนต่างๆให้ไทยด้วย
"ข้อตกลงใหม่นี้จะเป็นหารายได้เพิ่มเติมให้กับทางยูเครน มันจะยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถด้านการผลิตและปรับปรุงความทันสมัยของยุทโธปกรณ์ทางทหารตามความต้องการภายใน ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการเพิ่มความแข็งแกร่งของตำแหน่งยูเครนในภูมิภาคเอเชีย"
รองประธานสภาความมั่นคงและความปลอดภัยแห่งชาติยูเครน Oleh Hladkovsky กล่าว ตามข้อมูลในข้างต้นการประกอบรถเกราะตระกูล BTR-3E1 ในไทยจะรวมทั้งรุ่นลำเลียงพล และรุ่นอื่นๆทั้งหมดที่ไทยมีประจำการและต้องการจัดหาเพิ่มเติม
โดยทั้งหมดรวมถึงการฝึกศึกษาและถ่ายทอด Technology ด้วย แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดหารายการยุทโธปกรณ์อื่นที่ไม่ได้ผลิตในยูเครน เช่น เครื่องยนต์ดีเซล MTU เยอรมนี

โครงการจัดหายุทโธปกรณ์จากยูเครนของกองทัพบกไทยทั้งรถเกราะ BTR-3E1 และรถถังหลัก Oplot-M ได้รับผลกระทบล่าช้าจากกรณีที่รัสเซียผนวก Crimea และสนับสนุนกลุ่มติดอาวุธนิยมรัสเซียแทรกแซงสงครามภายในเขต Donbass
ทำให้ยูเครนต้องนำอุตสาหกรรมทางทหารของตนไปผลิตยุทโธปกรณ์สำหรับกองกำลังความมั่นคงของตนเป็นหลัก ซึ่งส่งผลกระทบต่อการผลิตอาวุธเพื่อส่งออกต่างประเทศเช่นไทยพอสมควร
การที่ไทยและยูเครนมีการลงนามข้อตกลงในการผลิตรถเกราะล้อยาง BTR-3E1 ร่วมกันน่าจะเป็นการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นของทั้งสองฝ่าย และไทยยังจะได้ประโยชน์ในการถ่ายทอด Technology การสร้างรถเกราะด้วยตนเองในประเทศด้วยครับ

http://aagth1.blogspot.com/2015/11/btr-3e1_10.html?m=1

ปล.ติดว่าดีนะครับ ปัญหาของเขา ทำให้ส่งล่าช้า ถ้าเปิดสายในไทยได้ น่าจะต่อยอดไปหา รถของ DTI BWS มันต้องมีซื้อบ้างแหละครับ เพราะเห็นว่า btr จะลง2กอ
พันใน พล 2 รอ.  หมด เต็มอัตราแล้ว1กองพัน อีก1ยังไม่เต็ม  ส่วน DTI น่าจะไปทัพภาค
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่