“ที่ผ่านมาพบว่า สาเหตุสำคัญของผู้ที่ไม่มาชำระหนี้ ลำดับแรก คือ ไม่มีงานทำ ไม่มีเงิน ถัดมาคือมีเงิน มีงานทำ แต่ตั้งใจไม่มาชำระหนี้ ซึ่งสถิติสาขาที่มีผู้ค้างชำระมากที่สุดคือ สังคมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ อยู่ที่ประมาณ 72% ส่วนกลุ่มแพทย์ 51% และกลุ่มสาธารณสุข-พยาบาลอยู่ที่ 57% โดยจำนวนผู้กู้กรอ.ตั้งแต่ปี 2549 มีทั้งหมดจำนวน 345,100 ราย ใช้งบประมาณรวม 18,074 ล้านบาท ครบกำหนดชำระจำนวน 267,184 ราย เป็นเงิน 10,318 ล้านบาท ค้างชำระ จำนวน 190,700 ราย เป็นเงิน 7,243 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินจำนวนมาก และที่น่าตกใจคืออาชีพแพทย์และพยาบาล ซึ่งมีงานทำแน่นอน แต่ไม่ยอมมาชำระหนี้ ทางแก้ปัญหานอกจากสร้างวินัยและจิตสำนึกให้แต่ละคนแล้ว ยังต้องดูระบบติดตามหนี้ ที่จะต้องมีความเข้มข้นมากขึ้นด้วย ” นายเปรมประชา ศุภสมุทร กรรมการกองทุนกรอ. กล่าว
ในเรื่องการจัดเก็บหนี้ และลดจำนวนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือเอ็นพีแอล ลง ซึ่งที่ผ่ายมาคณะกรรมการกองทุนกรอ.ได้เห็นชอบจัดตั้งคณะกรรมการยุทศาสตร์ 2 ชุด คือคณะกรรมการยุทศาสตร์วางแผน ที่จะต้องกำหนดสาขาการปล่อยกู้ ซึ่งจะต้องเป็ฯสามารถที่มองไปในอนาคตข้างหน้า 4 ปีว่าจบแล้วมีงานทำแน่นอน และคณะกรรมการยุทธศาสตร์ คุณธรรม จริยธรรม เพื่อหามาตรการดูแลผู้ที่ไม่มาชำระหนี้
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1446730799
กยศ.เผย หมอ-พยาบาลไม่ชำระหนี้เพิ่มขึ้น สายสังคมมากสุด
ในเรื่องการจัดเก็บหนี้ และลดจำนวนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือเอ็นพีแอล ลง ซึ่งที่ผ่ายมาคณะกรรมการกองทุนกรอ.ได้เห็นชอบจัดตั้งคณะกรรมการยุทศาสตร์ 2 ชุด คือคณะกรรมการยุทศาสตร์วางแผน ที่จะต้องกำหนดสาขาการปล่อยกู้ ซึ่งจะต้องเป็ฯสามารถที่มองไปในอนาคตข้างหน้า 4 ปีว่าจบแล้วมีงานทำแน่นอน และคณะกรรมการยุทธศาสตร์ คุณธรรม จริยธรรม เพื่อหามาตรการดูแลผู้ที่ไม่มาชำระหนี้
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1446730799