- เมื่อผมเป็นนักศึกษายามฯญี่ปุ่น ตอนที่ 7 (เที่ยวรอบญี่ปุ่นแบบไม่เสียค่าเดินทางสักเยน Part 1)

6 ตอนผ่านไป ผู้เขียนยิ่งมันส์มือ เลยขอลากยาวจนเรียนจบเลยละกันครับ

ตอนเก่าๆสำหรับผู้ที่พึ่งมาอ่าน
- เมื่อผมเป็นนักเรียนยามฯญี่ปุ่น ตอนที่ 1 (ก้าวแรกสู่ญี่ปุ่น)
http://ppantip.com/topic/33890742
- เมื่อผมเป็นนักศึกษายามฯญี่ปุ่น ตอนที่ 2 (แนะนำองค์กร JCG)
http://ppantip.com/topic/33922481
- เมื่อผมเป็นนักศึกษายามฯญี่ปุ่น ตอนที่ 3 (ก้าวสู่การเป็นนักศึกษาเต็มตัว)
http://ppantip.com/topic/34136336
- เมื่อผมเป็นนักศึกษายามฯญี่ปุ่น ตอนที่ 4 (ปีหนึ่งมีทั้งฮาเฮ และโศกเศร้า)
http://ppantip.com/topic/34152040
- เมื่อผมเป็นนักศึกษายามฯญี่ปุ่น ตอนที่ 5 (แยกวิชาเอก มุ่งสู่เส้นทาง Navigator)
http://ppantip.com/topic/34238619
- เมื่อผมเป็นนักศึกษายามฯญี่ปุ่น ตอนที่ 6 (เก็บตกเนื้อหาปลีกย่อย)
http://ppantip.com/topic/34358144

นิยมชมชอบ มีข้อสงสัย หรืออยากติติงอะไร เชิญคอมเม้นได้เลยครับ
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

     พอผมขึ้นสู่ชั้นปีทื่ 3 ก็เรียนก็ยิ่งหนักขึ้น ยากขึ้นตามลำดับ วิชาเอกเริ่มจะมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เริ่มจะสอนสิ่งที่ต้องนำไปใช้ในการบังคับเรือจริงๆ แต่ถ้าจะมาอธิบายตอนนี้คงจะใช้เวลาอีกพอสมควร และน่าเบื่ออย่างแน่นอน ผมเลยขอเปลี่ยนข้ามนำเอาการฝึกภาคเรือฝึกมาเสนอก่อนละกันครับ


เรือที่จะพาผมไปเที่ยวรอบญี่ปุ่น (รอบโลกก็เรือลำนี้แหล่ะ)

     ก่อนอื่นต้องขออธิบายการฝึกภาคเรือฝึกก่อนนะครับ การฝึกภาคเรือฝึกนั้น เป็นส่วนหนึ่งของการจบการศึกษา นักศึกษาของวิทยาลัยทุกคนต้องผ่านการฝึกภาคเรือฝึกตลอดหลักสูตร 3 ครั้งดังนี้
1. การฝึกภาคเรือฝึกชั้นปีที่ 3 ระยะการฝึก 4 เดือน จะสอนพื้นฐานทุกอย่างเกี่ยวกับการทำงานแต่ละฝ่าย 3 ฝ่าย (เดินเรือ, ห้องเครื่อง, สื่อสาร) อย่างที่เคยกล่าวกันไปแล้วในตอนที่ผ่านมา การฝึกในครั่งนี้ จะเป็นแบ่งออกเป็นการออกเรือจริง 4 ครั้ง
1.1 ออกเรือทดลองสนาม จะนำเรือออกไปวนบริเวณใกล้ๆ และทิ้งสมอแถวๆวิทยาลัยประมาณ 5-6 วัน เพื่อปรับตัว สอนการใช้ชีวิต และกิจวัตรประจำวันบนเรือ
1.2 ออกเรือวนขึ้นเหนือ เป็นการเดินทางจากวิทยาลัยจังหวัดคุเระ ไปตามท่าเรือต่างๆที่องค์กรและวิทยาลัยกำหนดไว้ แล้ววนกลับมายังวิทยาลัยในห้วงระยะเวลา 45 วัน
1.3 ออกเรือวนลงใต้ เป็นการเดินทางจากวิทยาลัยจังหวัดคุเระ ไปตามท่าเรือต่างๆที่องค์กรและวิทยาลัยกำหนดไว้ แล้ววนกลับมายังวิทยาลัยในห้วงระยะเวลา 45 วัน
1.4 ออกเรือเพื่อทำการสอบภาคปฎิบัติ ซึ่งการสอบจะแยกกันไปแต่ละฝ่าย ฝ่ายเดินเรือของผมจะมี 2 สถานีการสอบภาคปฎิบัติคือ สถานีคอสแบริ่ง และสถานีออกคำสั่งทิ้งสมอเรือ ประมาณ 2-3 วัน
ส่วนวันที่เหลือจะเป็นการจอดอยู่ภายในท่าเรือของวิทยาลัยเพื่อเรียนวิชาทฤษฎี, เตรียมแผนการออกเรือ 1.2 และ 1.3, ใช้เวลาวันหยุด และสอบข้อเขียน


สถานีทิ้งสมอเรือ

2. การฝึกภาคเรือฝึกชั้นปีที่ 4 ระยะการฝึก 4 เดือน จะเป็นการทบทวนวิชาของแต่ละฝ่ายประมาณ 30 วัน เข้าอู่ต่อเรือเพื่อเรียนวิชาต่อเรือ ซ่อมแซมเรือประมาณ 30 วัน อยู่เข้าเวรเรือหยุดประมาณ 20 วัน ที่เหลือจะแบ่งกันไประหว่างการออกไปฝึกวิชาอื่นๆที่ไม่เคยได้ทดลองจริงๆเช่น การทิ้งสมอเรือเพื่อการกลับหัวเรือ การลากจูงเรือ การทดลองวิ่งเรือซิกแซก การปรับค่าผิดพลาดของเข็มทิศ ฯลฯ รวมไปถึงการสอบภาคทฤษฎีอีกด้วย นอกจากนั้นช่วงเวลาเรือหยุด และเรือเข้าอู่ต่อเรือนั้น ทางวิทยาลัยจะให้นักศึกษาอ่านหนังสือสอบข้อเขียนใบอนุญาตเรือเดินสมุทรระดับต้นเรือและกัปตันให้ได้ (ถ้าเป็นฝ่ายอื่นก็จะเป็นการสอบใบอนุญาตของฝ่ายนั้นๆ) และวางแผนการเดินเรือสำหรับการฝึกภาคเรือฝึกที่ 3


ฝึกอู่ต่อเรือ

3.  การฝึกภาคเรือฝึกชั้นปีที่ 5 ระยะการฝึก 4 เดือน เป็นการฝึกเดินเรือรอบโลก (ท่านอ่านไม่ผิด รอบโลก) ออกเดินทางจากญี่ปุ่นไปทางตะวันออก แล้ววนกลับมาที่ญี่ปุ่นทางตะวันตก ใช้ระยะเวลาประมาณ 90-100 วัน ท่าเรือที่จะจอดทางองค์กรจะประสานขออนุญาตไปยังประเทศที่เป็นมิตร ประมาณ 3-4 ประเทศ เพื่อเข้าเทียบท่าเติมเสบียง น้ำมัน และให้นักศึกษาได้ทัศนศึกษา เรียนรู้และพักผ่อน (ปีที่ผมฝึกได้ไปที่ฮอนโนลูลู, บัลติมอล, อิสตันบลู และสิงคโปร) ส่วนวันที่เหลือจะใช้ในการเตรียมตัวออกเรือ และเตรียมตัวลงจากเรือหลังจากฝึกจบสิ้น


ผ่านคลองปานามา

ในตอนนี้จะเน้นไปทางการฝึกที่ 1 อย่างเดียว ที่เหลือถ้ามีโอกาสจะนำมาเล่าให้ฟังในโอกาสต่อไปครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่