“จักรยาน” เป็นพาหนะอีกทางเลือกหนึ่ง
ในการเดินทางไปไหนมาไหน
ของคนญี่ปุ่นในชีวิตประจำวัน
ทั้งปั่นไปเรียน ปั่นไปซื้อของซุปเปอร์
ปั่นไปขึ้นรถไฟ ป้อนเข้าสู่ระบบหลัก
รวดเร็ว ยืนหยุ่น ออกกำลังกายไปในตัว
และประหยัดตังค์ (ข้อนี้เน้น)
สาธารณูปโภคและสภาพบ้านเมืองของญี่ปุ่น
แม้จะเป็นมิตรกับจักรยาน
แต่จักรยานก็ถือเป็นยานพาหนะอยู่ดี
จำเป็นต้องมีกฎระเบียบข้อบังคับกะเขาด้วย!
ยิ่งการเที่ยวแบบ “ปั่นชมเมือง”
ก็กำลังเริ่มฮิตในหมู่ นทท. ชาวไทย
ที่มักเช่าจักรยานตามจุดบริการใกล้ๆสถานีรถไฟ
รู้กฎระเบียบไว้บ้าง จะทำให้เที่ยวได้สนุกยิ่งขึ้นครับ!
///////////////////////////////////////////////////////
แม้เราจะเห็นคนญี่ปุ่นขี่จักรยานบนฟุตบาท
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ฟุตบาท ‘ทุกที่’
จะสามารถขี่ได้
บางที่จะมีป้ายกำกับแปะไว้เลยว่า
‘ห้ามขี่บนฟุตบาท’
คุณก็ต้องลงไปขี่บนถนน
ซึ่งจะต้องขี่ “ชิดซ้าย” เสมอ!
หากบางที่มี “เลนจักรยาน” บนถนน
คุณก็ต้องลงไปขี่บนเลนนั้น
.
.
.
แล้วฟุตบาทไหนบ้างล่ะที่ขี่ได้?
ให้สังเกตป้ายสีฟ้าๆ มีรูป คนจูงมือ+จักรยาน
พร้อมคำ「自転車通行可ここから」ครับ
(บางแห่งอาจมีสัญลักษณ์บนพื้นเลย)
แต่ก็มี กรณียกเว้น
สำหรับเด็กอายุไม่ถึง 13
และผู้สูงวัยที่อายุมากกว่า 70 ปี
สามารถขี่ได้!!
แต่ก็ต้องขี่ ‘ชิดฝั่งถนน + ขี่ช้าๆ’
และ ‘คนเดินเท้า’ ต้องมาก่อนเสมอ!!
.
.
-ทางม้าลายแทบทุกแห่งในญี่ปุ่น
พ่วงเลนข้ามสำหรับจักรยานมาด้วย
ควรปั่นข้ามเฉพาะในเลนนี้
-บางสถานที่มีลานจอดจักรยานโดยเฉพาะ
บางที่ก็จอดริมฟุตบาทในพื้นที่ที่กำหนด
.
.
-“ห้ามซ้อนสอง” (แบบเดียวกะมอไซด์)
ยกเว้นคนซ้อน เป็นเด็กอายุไม่ถึง 6 ขวบ
ซึ่งบางครั้ง มีการติดตั้งที่นั่ง+เข็มขัดรัด ไว้ด้านหลัง
ภาพน่ารักๆที่คุณแม่ขี่จักรยานไป ลูกน้อยนั่งหลับไป
จึงพบเห็นได้เสมอ ^^
-ห้ามขี่ “คู่ขนาน” แต่ ให้เรียงแถวกันไป
ฟุตบาทบางแห่งไม่ได้กว้างมาก
การขี่คู่ขนานเป็นการกินพื้นที่
.
.
.
-ไฟหน้า+ตัวสะท้อนแสงด้านท้าย
เป็น “อุปกรณ์จำเป็น” ในยามค่ำคืน
หากไม่มีอาจถูกพี่หนวดเรียกได้!
-‘กางร่มไป ขี่จักรยานไป’...อาจดู Cool
แต่จริงๆแล้วไม่สมควร เพราะเหลือมือเดียวบังคับ
และร่มอาจชนผู้อื่นรอบๆ ไหนจะแรงต้านลมอีก
(หากฝนตกหนัก ให้ใส่ ‘ชุดกันฝน’ แทน)
ฯลฯ
++++++++++++++++++++++++++++++
แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะปฎิบัติตามกฎเสมอไป
บางคนจอดจักรยานมั่วซั่ว จอดในที่ห้ามจอด
ก็โดนตำรวจอุ้มกันไป
อยากได้คืน...ค่าปรับ 10,000 เยนจ้า
(แพงชนิดที่บางทีซื้อใหม่ยังคุ้มกว่า ฮ่าๆๆ)
.
.
.
อย่างไรก็ตาม
แม้จะมีคนทำผิดกฎบ้าง
แต่หากคุณเดินไปตามท้องถนนในญี่ปุ่น
ก็ยังรู้สึกถึง “ความปลอดภัย” ในระดับที่สูงอยู่ดี
อาจเพราะ...
คตินึงที่คนญี่ปุ่นยึดมั่นมาตลอด คือ
.
.
“จักรยานมาก่อนรถ และ คนมาก่อนจักรยาน”
.
.
นั่นหมายความว่า “คนเดินเท้า” สำคัญที่สุด!!
/////////////////////////////////////////////
รถยนต์ มอไซด์ จักรยาน
คนเดินเท้า คนใช้ไม้เท้า ผู้ใช้รถเข็น ฯลฯ
...บนท้องถนนมีตัวแปรมากมายเหลือเกิน
หากทุกคน “เคารพ” กฎระเบียบซึ่งกันและกัน
ก็อยู่ในสังคมด้วยกันอย่างแฮปปี้ได้
.
.
“จักรยานมาก่อนรถ และ คนมาก่อนจักรยาน”
.
.
วันนี้คุณใช้คตินี้เหรอยังครับ?
ขอบคุณเกร็ดน่ารู้ญี่ปุ่นจาก
http://www.facebook.com/JapanPerspectives
。
。
。
** จากประสบการณ์การปั่นจักรยานของผม ที่เมือง Kanazawa เมื่อปีที่แล้ว ได้ทำให้ผมเห็นเมืองในอีก ‘มิติ’ นึง
ได้พาผมย่างกรายเข้าไปในพื้นที่ที่ไม่เคยเหลียวมอง เข้าไปในซอกซอย ที่ถ้าหากเดิน หรือนั่งรถ...คงไม่ได้สัมผัสถึง
...ใครไปเที่ยวญี่ปุ่น ลองหาโอกาสเช่าจักรยานปั่นดูนะครับ...สุโค้ยมาก! ^o^
『 ปั่นจักรยานในญี่ปุ่น 』
“จักรยาน” เป็นพาหนะอีกทางเลือกหนึ่ง
ในการเดินทางไปไหนมาไหน
ของคนญี่ปุ่นในชีวิตประจำวัน
ทั้งปั่นไปเรียน ปั่นไปซื้อของซุปเปอร์
ปั่นไปขึ้นรถไฟ ป้อนเข้าสู่ระบบหลัก
รวดเร็ว ยืนหยุ่น ออกกำลังกายไปในตัว
และประหยัดตังค์ (ข้อนี้เน้น)
สาธารณูปโภคและสภาพบ้านเมืองของญี่ปุ่น
แม้จะเป็นมิตรกับจักรยาน
แต่จักรยานก็ถือเป็นยานพาหนะอยู่ดี
จำเป็นต้องมีกฎระเบียบข้อบังคับกะเขาด้วย!
ยิ่งการเที่ยวแบบ “ปั่นชมเมือง”
ก็กำลังเริ่มฮิตในหมู่ นทท. ชาวไทย
ที่มักเช่าจักรยานตามจุดบริการใกล้ๆสถานีรถไฟ
รู้กฎระเบียบไว้บ้าง จะทำให้เที่ยวได้สนุกยิ่งขึ้นครับ!
///////////////////////////////////////////////////////
แม้เราจะเห็นคนญี่ปุ่นขี่จักรยานบนฟุตบาท
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ฟุตบาท ‘ทุกที่’
จะสามารถขี่ได้
บางที่จะมีป้ายกำกับแปะไว้เลยว่า
‘ห้ามขี่บนฟุตบาท’
คุณก็ต้องลงไปขี่บนถนน
ซึ่งจะต้องขี่ “ชิดซ้าย” เสมอ!
หากบางที่มี “เลนจักรยาน” บนถนน
คุณก็ต้องลงไปขี่บนเลนนั้น
.
.
.
แล้วฟุตบาทไหนบ้างล่ะที่ขี่ได้?
ให้สังเกตป้ายสีฟ้าๆ มีรูป คนจูงมือ+จักรยาน
พร้อมคำ「自転車通行可ここから」ครับ
(บางแห่งอาจมีสัญลักษณ์บนพื้นเลย)
แต่ก็มี กรณียกเว้น
สำหรับเด็กอายุไม่ถึง 13
และผู้สูงวัยที่อายุมากกว่า 70 ปี
สามารถขี่ได้!!
แต่ก็ต้องขี่ ‘ชิดฝั่งถนน + ขี่ช้าๆ’
และ ‘คนเดินเท้า’ ต้องมาก่อนเสมอ!!
.
.
-ทางม้าลายแทบทุกแห่งในญี่ปุ่น
พ่วงเลนข้ามสำหรับจักรยานมาด้วย
ควรปั่นข้ามเฉพาะในเลนนี้
-บางสถานที่มีลานจอดจักรยานโดยเฉพาะ
บางที่ก็จอดริมฟุตบาทในพื้นที่ที่กำหนด
.
.
-“ห้ามซ้อนสอง” (แบบเดียวกะมอไซด์)
ยกเว้นคนซ้อน เป็นเด็กอายุไม่ถึง 6 ขวบ
ซึ่งบางครั้ง มีการติดตั้งที่นั่ง+เข็มขัดรัด ไว้ด้านหลัง
ภาพน่ารักๆที่คุณแม่ขี่จักรยานไป ลูกน้อยนั่งหลับไป
จึงพบเห็นได้เสมอ ^^
-ห้ามขี่ “คู่ขนาน” แต่ ให้เรียงแถวกันไป
ฟุตบาทบางแห่งไม่ได้กว้างมาก
การขี่คู่ขนานเป็นการกินพื้นที่
.
.
.
-ไฟหน้า+ตัวสะท้อนแสงด้านท้าย
เป็น “อุปกรณ์จำเป็น” ในยามค่ำคืน
หากไม่มีอาจถูกพี่หนวดเรียกได้!
-‘กางร่มไป ขี่จักรยานไป’...อาจดู Cool
แต่จริงๆแล้วไม่สมควร เพราะเหลือมือเดียวบังคับ
และร่มอาจชนผู้อื่นรอบๆ ไหนจะแรงต้านลมอีก
(หากฝนตกหนัก ให้ใส่ ‘ชุดกันฝน’ แทน)
ฯลฯ
++++++++++++++++++++++++++++++
แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะปฎิบัติตามกฎเสมอไป
บางคนจอดจักรยานมั่วซั่ว จอดในที่ห้ามจอด
ก็โดนตำรวจอุ้มกันไป
อยากได้คืน...ค่าปรับ 10,000 เยนจ้า
(แพงชนิดที่บางทีซื้อใหม่ยังคุ้มกว่า ฮ่าๆๆ)
.
.
.
อย่างไรก็ตาม
แม้จะมีคนทำผิดกฎบ้าง
แต่หากคุณเดินไปตามท้องถนนในญี่ปุ่น
ก็ยังรู้สึกถึง “ความปลอดภัย” ในระดับที่สูงอยู่ดี
อาจเพราะ...
คตินึงที่คนญี่ปุ่นยึดมั่นมาตลอด คือ
.
.
“จักรยานมาก่อนรถ และ คนมาก่อนจักรยาน”
.
.
นั่นหมายความว่า “คนเดินเท้า” สำคัญที่สุด!!
/////////////////////////////////////////////
รถยนต์ มอไซด์ จักรยาน
คนเดินเท้า คนใช้ไม้เท้า ผู้ใช้รถเข็น ฯลฯ
...บนท้องถนนมีตัวแปรมากมายเหลือเกิน
หากทุกคน “เคารพ” กฎระเบียบซึ่งกันและกัน
ก็อยู่ในสังคมด้วยกันอย่างแฮปปี้ได้
.
.
“จักรยานมาก่อนรถ และ คนมาก่อนจักรยาน”
.
.
วันนี้คุณใช้คตินี้เหรอยังครับ?
ขอบคุณเกร็ดน่ารู้ญี่ปุ่นจาก
http://www.facebook.com/JapanPerspectives
。
。
。
** จากประสบการณ์การปั่นจักรยานของผม ที่เมือง Kanazawa เมื่อปีที่แล้ว ได้ทำให้ผมเห็นเมืองในอีก ‘มิติ’ นึง
ได้พาผมย่างกรายเข้าไปในพื้นที่ที่ไม่เคยเหลียวมอง เข้าไปในซอกซอย ที่ถ้าหากเดิน หรือนั่งรถ...คงไม่ได้สัมผัสถึง
...ใครไปเที่ยวญี่ปุ่น ลองหาโอกาสเช่าจักรยานปั่นดูนะครับ...สุโค้ยมาก! ^o^